สหรัฐฯ เผยผลการจัดอันดับการละเมิด ลิขสิทธิ์ หรือการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาพบว่า ไทยติดอยู่ในอันดับ 40 จาก 45 ประเทศ ถึงแม้คนไทยจะเห็นด้วยให้เอาผิดผู้ซื้อสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา 78.4% แต่กลับมีสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสูงถึง 63% เข้าข่าย “ปากว่าตาขยิบ”
ในการประเมินมีตัวชี้วัดค่าความคุ้มครอง 6 ประเภท ได้แก่ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า การเข้าสู่ตลาด การบังคับใช้กฎหมาย การให้สัตยาบันในสนธิสัญญาระหว่างประเทศ สำหรับประเทศไทยมีคะแนนเพียง 9.53 เท่านั้น จากคะแนนเต็ม 35
คนไทยส่วนมากเห็นด้วยให้เอาผิด แต่กลับละเมิดลิขสิทธิ์เอง
ผลสำรวจการละเมิด ลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญาในสายตา ประชาชน ที่จัดทำโดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ พบว่า ประชาชนร้อยละ 63.0 เคยซื้อสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา แต่ส่วนมากเป็น ซีดีเพลง/ภาพยนตร์ และเครื่องแต่งกาย
และอีกร้อยละ 37.0 ระบุว่า ไม่เคยซื้อสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ โดยให้เหตุผลว่า “ไม่ชอบ ผิดกฎหมายเห็นใจเข้าของผลงาน” ส่วนผลสำรวจความพึงพอใจ ต่อการมือปราบปรามแก้ไขปัญหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของรัฐบาลพบว่า ร้อยละ 57.4 พอใจ ขณะที่ร้อยละ 42.6 ไม่ค่อยพอใจ
เหตุใดคนไทย จึงชื่นชอบการละเมิดลิขสิทธิ์
นักศึกษาจากวิทยาลัยชั้นนำแห่งหนึ่งใน กรุงเทพ ฯ ให้เหตุผลต่อการเลือกซื้อสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาไว้ว่า “เพราะตัวสินค้ามีราคาถูกกว่าของแท้” อีกทั้งยังหาซื้อได้ง่ายทั่วไป โดยเฉพาะกระเป๋า เสื้อผ้า รองเท้าและเคสโทรศัพท์เถื่อน
เหตุผลที่ผู้บริโภคไม่เลือกซื้อสินค้า ลิขสิทธิ์ ที่จดกับเว็บ https://idgthailand.com/จดลิขสิทธิ์/ ก็ดี หรือจากที่อื่นก็ดี เป็นผลมาจากความต้องการคุณค่าจากตัวสินค้าปลอมที่ตราหน้าว่าเป็นของแท้ เพื่อศักดิ์ศรี เพื่อผลประโยชน์ด้านภาพลักษณ์ หรือเพื่อสถานภาพทางสังผม ซึ่งจัดเป็นคุณค่าทางจิตใจมาก จนไม่สนว่าจะเป็นของจริงหรือปลอม