หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ประเทศสมาชิก EU ขอคณะกรรมาธิการยุโรปปรับปรุงร่างแผนการปฏิรูปกฎหมายแบตเตอรี่  (อ่าน 13 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 25 พ.ค. 21, 17:39 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 


ประเทศสมาชิกอียูขอให้คณะกรรมาธิการยุโรปปรับปรุงร่างแผนการปฏิรูปกฎหมายแบตเตอรี่ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 ที่ประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอียูทั้ง 27 ประเทศ พิจารณาแผนการปฏิรูปกฎหมายแบตเตอรี่ฉบับใหม่ ของสหภาพยุโรป ซึ่งมุ่งยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วให้สูงขึ้นอย่างครบวงจร ทั้งการรวบรวม จัดเก็บ รวมถึงการคัดแยกและนําซากผลิตภัณฑ์กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ดี หลายประเทศมองว่าแผนการฯ ดังกล่าวเป็นการตั้งเป้าหมายที่สูงเกินไปจนอาจอยู่ในวิสัยที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ และ ยังเป็นการสร้างภาระเกินสมควรต่อภาครัฐและผู้ประกอบการ จึงขอให้คณะกรรมาธิการยุโรปมีความเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ กลับไปทบทวนอีกครั้งก่อนเสนอร่างกฎหมายเข้าที่ประชุมฯ เพื่อพิจารณาต่อไปในช่วงปลายปีนี้ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2565

.

สําหรับ 3 ประเด็นสําคัญของการปฏิรูปกฎหมายที่ชาติสมาชิกอียูให้ความสําคัญ มีดังนี้

.

1) กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน โดยให้ผู้ผลิตรายงานข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของแบตเตอรี่ที่จะวางจําหน่ายในยุโรป เพื่อสื่อสารเรื่องผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศไปยังผู้ซื้อและผู้บริโภคด้วยฉลากคาร์บอน โดยให้เริ่มมีผลตั้งแต่ปี 2567

.

2) กําหนดมาตรฐานการรีไซเคิลแบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว โดยเพิ่มอัตราการเก็บรวบรวมแบตเตอรี่แบบพกพาเมื่อหมดอายุการใช้งานไปรีไซเคิลเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันร้อยละ 45 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 65 ในปี 2558 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 70 ในปี 2573

.

3) กําหนดอัตราการกู้คืนวัสดุที่มีค่า เช่น โคบอลต์ ลิเธียม นิกเกิล และตะกั่ว เพื่อนํามาใช้ประโยชน์ใหม่ในปริมาณที่สูงขึ้น

.

ประเด็นสําคัญของการปฏิรูปกฎหมายดังกล่าวเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ประเทศอิตาลีระบุว่าการกําหนดนโยบายและมาตรการทางกฎหมายที่ใช้บังคับกับภาคธุรกิจควรต้องคํานึงว่ากฎหมายใหม่นั้นจะสร้างปัญหาในการปฏิบัติจริงหรือไม่ และไม่สร้างภาระจนเกินควรต่อทั้งผู้ประกอบการและภาครัฐ ขณะที่เดนมาร์กและ เอสโตเนียแม้จะเห็นด้วยกับแผนการปฏิรูปกฎหมายดังกล่าวในหลักการ อย่างไรก็ตาม ได้แสดงความกังวลถึงบทบัญญัติดังกล่าวว่าจะเพิ่มภาระ ทางด้านต้นทุนในการดําเนินธุรกิจ และทําให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs เผชิญกับอุปสรรคในการบริหารงานและการเติบโตของธุรกิจ ด้านสาธารณรัฐเช็ก เบลเยียม และลัตเวีย เสริมว่าภาระที่เกิดขึ้นแก่ผู้ประกอบการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยุโรปในเวทีการค้าโลกอีกด้วย ทั้งยังอาจทําให้เกิดการผลักภาระไปยังผู้บริโภคด้วยการเพิ่มราคาสินค้า หรือบริการให้สูงขึ้น รวมถึงทําให้ต้นทุนในการดําเนินงานและการให้บริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่จําเป็น

.

นอกจากนี้ บัลแกเรียไม่เห็นด้วยกับการปรับเพิ่มเป้าหมายการเก็บรวบรวมแบตเตอรี่แบบพกพาเมื่อหมดอายุการใช้งานให้ไปรีไซเคิลขึ้นอีกร้อยละ 20 ในปี 2568 เนื่องจากมองว่าเป็นการกําหนดเป้าหมายที่สูงเกินไปจนทําให้ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง ทั้งนี้ เยอรมนีเห็นว่าการยกระดับมาตรฐานและการกํากับดูแลแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วในภูมิภาคยุโรปควรคํานึงถึงขีดความสามารถในการบริหารจัดการของแต่ละประเทศสมาชิกด้วย และต้องไม่กระทบต่อทิศทางการดําเนินงานในปัจจุบันของประเทศนั้นๆ ขณะที่บางประเทศ เช่น ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ ประสงค์ให้มีการขยายขอบเขตการใช้บังคับกฎหมายให้ครอบคลุมแบตเตอรี่ที่ใช้งานในสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและจักรยานไฟฟ้าอีกด้วย

.

จากบทความข้างต้น ผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนหรือเข้าทำธุรกิจด้านแบตเตอรี่ หรือทำการส่งออกแบตเตอรี่ให้กับสหภาพยุโรป ควรติดตามและศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับปรุงร่างแผนการปฏิรูปกฎหมายแบตเตอรี่ของคณะกรรมาธิการยุโรป เพื่อเตรียมพร้อมและปรับธุรกิจให้เข้ากับกฎหมายของประเทศที่เข้าไปทำกิจการต่าง ๆ
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:  การลงทุน ธุรกิจ การท่องเที่ยว ข่าวต่างประเทศ 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม