หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: หัวเว่ยจัดงานประชุมนวัตกรรมการศึกษาระดับอุดมศึกษาในเอเชียแปซิฟิก  (อ่าน 18 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 15 มิ.ย. 21, 15:09 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 


หัวเว่ยจัดงานประชุมนวัตกรรมการศึกษาระดับอุดมศึกษาในเอเชียแปซิฟิกผ่านไลฟ์สตรีมมิง ภายใต้ธีม "เปิดรับยุคใหม่ของการศึกษาอัจฉริยะ" โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมชั้นนำหลากหลายทั้งจาก ยูเนสโก-ICHEI, NUS, โอเพ่น ยูนิเวอร์ซิตี้, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย และพีดับบลิวซี รวมถึงผู้อำนวยการด้านข้อมูลข่าวสาร พันธมิตร และผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงธุรกิจอีก 450 ราย เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความเห็นในประเด็นสำคัญในอุตสาหกรรมการศึกษา เช่น วิทยาเขตอัจฉริยะ การศึกษาออนไลน์ และห้องเรียนอัจฉริยะ ตลอดจนหารือร่วมกันถึงแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยี ความท้าทายและโอกาสสำหรับข้อมูลการศึกษาในยุคหลังการแพร่ระบาด

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว และเริ่มมีการขยับอันดับในมหาวิทยาลัยโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่เทคโนโลยีเริ่มทวีบทบาทความสำคัญมากขึ้นในการเรียนการสอน และการจัดการของมหาวิทยาลัย

นายนิโคลัส มา ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ หัวเว่ย เอเชีย แปซิฟิก เผยถึงความเข้าใจของหัวเว่ยต่อการพัฒนาเทคโนโลยีระดับอุดมศึกษาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงวิสัยทัศน์ของหัวเว่ยต่ออนาคตของแวดวงอุดมศึกษา หัวเว่ยให้บริการวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยกว่า 300 แห่งในเอเชียแปซิฟิกด้วยโซลูชันไอซีทีเพื่อการศึกษา และได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาจัดทำโครงการไอซีที อะคาเดมี 224 แห่ง และมีผู้ผ่านการอบรมแล้วกว่า 10,000 คน นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้พัฒนาทักษะผู้เชี่ยวชาญด้านไอซีที กว่า 4,300 คนในหลายประเทศ เพื่อให้บริการลูกค้าในอุตสาหกรรมการศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง และสร้างผู้มีความสามารถด้านนวัตกรรมคุณภาพสูงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้มากขึ้น

ศาสตราจารย์เชา เจียนหัว ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสของยูเนสโก ICHEI ร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มใหม่ที่น่าตื่นเต้นในด้านการศึกษา ศาสตราจารย์เชาเผยว่า อุตสาหกรรมการศึกษาทุกวันนี้กำลังปรับเปลี่ยนตามเทคโนโลยีดิจิทัลสำคัญ 5 อย่าง ได้แก่ AR, การเรียนรู้แบบไฮบริดส่วนบุคคล, กลศาสตร์เกม, AI และ IoT ยิ่งไปกว่านั้น จะมีรูปแบบการใช้งานใหม่ 5 อย่างในแวดวงการศึกษา ได้แก่ ระบบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม การติดตามสุขภาพจิต การศึกษาทางไกลส่วนบุคคล การประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ และการศึกษาแบบร่วมมือกันส่วนบุคคล การศึกษาออนไลน์กำลังพลิกโฉมอุตสาหกรรมด้วยความยืดหยุ่น การเข้าถึงที่ง่าย และการปรับเปลี่ยนตามตัวนักเรียน นอกจากนี้ ระบบอีเลิร์นนิงกำลังค่อย ๆ กลายเป็นวิธีการสอนที่พบเห็นได้ทั่วไปในการศึกษาออนไลน์เนื่องจากผลกระทบของโควิด-19

การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในช่วง 18 เดือนให้หลังนี้ ได้ส่งผลกระทบครั้งใหญ่ต่อการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก อาจารย์และนักศึกษาจำนวนมากไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้เหมือนเคย ในเวทีสนทนาครั้งนี้ ผู้ร่วมอภิปรายได้แสดงให้เห็นถึงแนวทางของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในการใช้เทคโนโลยี เพื่อรับมือกับผลกระทบดังกล่าว ตลอดจนแผนและวิสัยทัศน์สำหรับรูปแบบการสอนและการจัดการในอนาคต และวิธีเร่งการทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันของมหาวิทยาลัยต่างๆ

ศาสตรจารย์แอนดรูว์ เชา ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสของ ICHEI (ยูเนสโก) และรองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการศึกษาระดับสูง ของมหาวิทยาลัย Southern University of Science and Technology เผยว่า ICHEI ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มระหว่างประเทศสำหรับอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาภายใต้ชื่อ International Institute for Online Education (IIOE) หนึ่งในเป้าหมายของ IIOE คือยกระดับความสามารถด้านไอซีที ของอาจารย์ในระดับอุดมศึกษา เพื่อให้ปรับตัวกับการเปลี่ยนการศึกษาสู่รูปแบบดิจิทัลได้

ด้านรองศาสตรจารย์เอิร์ล ลิม รองประธานฝ่ายนวัตกรรมและคุณภาพการสอน มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ย้ำเตือนว่า เทคโนโลยีจะช่วยให้เราพัฒนาระบบการเรียนการสอน (และระบบแนะนำ) ที่ประมวลผลตามองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อประเมินว่านักเรียนจะได้เรียนรู้ มีทักษะ และบรรลุผลได้อย่างไร อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบเรื่องคนสำคัญมากกว่า เพราะเทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น หากอาจารย์ไม่กำหนดคุณค่าอย่างเหมาะสม (ระดับความยาก ชุดความรู้ และชุดทักษะ) แก่การประเมิน หากนักศึกษาและอาจารย์ไม่ใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติเหล่านี้ ระบบที่ดีที่สุดก็ไม่มีประโยชน์

สำหรับความท้าทายเบื้องต้นที่มหาวิทยาลัยและสถาบันการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาต้องเผชิญอยู่นั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิรพล สังข์โพธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ย้ำว่า การทำให้แน่ใจว่านักศึกษาจะมีอุปกรณ์และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมคือภารกิจแรกในการสร้างนวัตกรรมการเรียนออนไลน์ กฎระเบียบและข้อบังคับในบางประเทศยังเป็นอุปสรรคในการใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย

ในหัวข้อการประเมินและการสอบ ศาสตราจารย์ริคกี้ รองประธานฝ่ายนักศึกษาและการสนับสนุน มหาวิทยาลัยโอเพ่น ยูนิเวอร์ซิตี้แห่งฮ่องกงให้ความเห็นว่า การสอบกำลังถูกมองว่าเป็นเครื่องมือแบบเก่าในบริบทปัจจุบัน การสอบอาจจะสะดวกแต่อาจไม่ใช่เครืองมือเดี่ยวที่ดีที่สุดในปัจจุบันแล้ว เนื่องจากการรับข้อมูลมีรูปแบบและขอบข่ายใช้ประเมินแตกต่างออกไปมากมาย ส่วนความเห็นต่อปัจจัยสู่ความสำเร็จสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลในระดับอุดมศึกษานั้น นายโจเซฟ โฮ ผู้อำนวยการจากฝ่ายกลยุทธ์ พีดับบลิวซี ให้ความเห็นว่า ความรู้ในการใช้สิ่งที่มีอยู่ในทุกวันนี้และนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์นั้นมีบทบาทสำคัญยิ่ง ขณะเดียวกันก็ต้องรักษาการมีส่วนร่วมนั้นไว้เพื่อให้ได้มากกว่าเพียงการสอนด้วย กุญแจสำคัญคือการรักษาการสื่อสารให้คงอยู่และให้นักศึกษามีส่วนร่วมเสมอ ในกรณีเดียวกันนี้ รศ.ดร.นูริแซม ซาฟีย์รองคณบดีฝ่ายเครือข่ายและศิษย์เก่า คณะไอเอสที มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (Universiti Kebangsaan Malaysia) เน้นว่า ปัจจัยความสำเร็จสำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลในระดับอุดมศึกษา คือการเปิดรับการสอนออนไลน์แบบใหม่ รวมถึงการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพและการจัดการการเปลี่ยนสู่การเรียนออนไลน์
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม