ทำดนตรีจากโค้ด? Culture ของ Live Coding ที่ทำให้ตรรกกะและดนตรีได้มาเจอกัน
คืนวันหนึ่ง ขณะผมได้เลื่อนดู facebook ไปอย่างไร้จุดหมาย มีวีดีโอหนึ่งตัวเตะตาผมเป็นพิเศษ มันเป็นคลิปที่มีคนคนนึงเหมือนกำลังเล่นดีเจอยู่กลางร้าน NOMA (ในสมัยที่ยังตั้งอยู่ที่RCA) แต่เมื่อผมตั้งใจมองจริงๆ บนโต๊ะที่เขาเล่นอยู่นั้นกลับมีเพียงแค่คอมพิวเตอร์เพียง 1 เครื่องเท่านั้น ภาพที่ฉายอยู่ข้างหลังเขาเต็มไปด้วยโค้ดคอมพิวเตอร์มากมายเรียงรายเต็มกำแพง ในชั่วขณะนั้นมีคำถามเกิดขึ้นมากมายว่าสิ่งนี้คืออะไร ทำไมคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวถึงสามารถสร้างเสียงและภาพได้มากมายขนาดนี้
เวลาปีครึ่งผ่านไป ความสงสัยในวีดีโอตัวนี้ย้อนกลับมาอีกครั้งหนึ่งในความคิดของผมอีกครั้งหนึ่ง มันทำให้ผมตัดสินใจพิมพ์ค้นหาใน google “Coding music” วินาทีที่นิ้วกระทบปุ่ม Enter บนคีย์บอร์ดคำถามของผมก็ได้รับคำตอบที่ตามมากับคำถามใหม่อีกมากมายนับไม่ถ้วน ผมค้นพบว่าสิ่งที่ผมเห็นในวีดีโอที่กล่าวไว้ต้นบทความเนี่ย จริงๆแล้วมันมีชื่อเรียกกว่า Live Coding” (คือดนตรีจากการเขียนโค้ดสด) ต้นกำเนิดของดนตรีประเภทนี้ก็คงไม่ต่างกับสิ่งที่ผมเห็นในคลิปไปมากนัก นั่นคือเกิดจากความชอบของคนกลุ่มเล็กๆที่ Hamburg ประเทศเยอมันนี ที่มีต่อการเล่นดนตรีผ่านการพิมพ์โค้ดกันสดๆ ราวกับการ Improvisation ของนักดนตรีที่เล่นเครื่องดนตรียามคำ่คืนแบบที่เราคุ้นชินกัน แล้วตลอดระยะเวลา 20 ที่ผ่านมา ก็มีการรวมกลุ่มเกิดขึ้นตามจุดต่างๆบนโลก เข่น ญี่ปุ่น อเมริกา หรือแม้แต่อินเดีย
การ Live Coding สารมารถทำได้โดยการพิมพ์ชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างสียง ไม่ว่าจะผ่านโปรแกรมทำเพลง เช่น Ableton Live, Logic Pro, Fl Studio หรือ เครื่องดนตรี อิเลิกทรอนิกส์ต่างๆเช่น Drum Machine, Synthesizer หรือแม้แต่ Sampler นอกจากนี้ศิลปินบางส่วนยังใช้การ Live Coding เพื่อสร้างงาน visuals art อีกด้วย (อันนี้ล้ำมากๆ) ซึ่งดนตรีชนิดนี้เต็มไปด้วยไอเดียเกี่ยวกับ sound design, pattern กลอง รวมถึงสัดส่วนโน้ตดนตรี ที่มนุษย์ยากจะเลียนแบบ
ระหว่างดนตรีกำลังดำเนินไป โค้ดที่เป็นตัวสร้างเสียงและภาพมักจะถูกฉาย อยู่ข้างหลังนักดนตรี เพื่อเป็นทั้ง visual ให้กับดนตรีที่กำลังเกิดขึ้น พร้อมกับประสานความเข้าใจของผู้ชม ผู้ฟังและผู้ที่กำลังเล่นเสียงนั้นอยู่ การผสมผสานศักยภาพของคอมพิวเตอร์ กับ จินตนาการของผู้เล่นนี่แหละจึงทำให้เกิดการสร้างสรรค์ภาพและเสียงที่แตกต่างไปจากสิ่งที่ผมเคยได้ยินมา จริงๆแล้วในไทยเราเอง ก็มีคิลปินที่ได้หยิบการ Live Coding มาสร้างสรรค์งาน เช่น Lavandula (พี่กิจ แห่ง Into the pit Magazine) ที่สร้างเสียง สำหรับการผ่อนคลายชวน relax จาก code และ พี่จิม The ███████ (The Black Codes) ที่นำความดุดัน ซับซ้อนและพิศวง ออกมาทางเสียงดนตรีผ่าน code คอมพิวเตอร์ ซึ่งพี่แกนี้นี่แหละคือคนที่ผมเห็นในคลิป facebook ในย่อหน้าแรก
ทั้งนี้ทั้งนั้นแม้ว่าดนตรีประเภทนี้ดูเหมือนว่าจะใช้ความเข้าใจทางคอมพิวเตอร์ที่ค่อนข้างสูง แต่ก็มีศิลปิน Live Coding จำนวนไม่น้อยที่เริ่มมาจากการไม่เคยเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์มาก่อน อีกทั้งศัพท์ที่ใช้ในการ Live Coding นั้นมีความเชื่อมโยงกับศัพท์ดนตรีอย่างมากเช่น ภาษาของโปรแกรมที่ชื่อว่า Sonnic Pi หนึ่งในโปรแกรมยอดฮิตสำหรับ Live Coding ดนตรี ที่ใช้คำเช่น Play, Scale, Amp, Reverb เป็นต้น จึงทำให้ผู้สนใจสามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยาก
ละสำหรับใครที่ชอบในดนตรีและอยากลองการเขียนโปรแกรม หรือแม้แต่สร้างเสียงใหม่ การลองเล่น Live Coding ก็อาจะเป็น หนึ่งทางเลือกที่อาจจะทำให้คุณได้สนุกและค้นพบเสียงใหม่ๆได้สักพักนึงเลยหล่ะ
ที่มา เพจ สอนทำเพลง mr arranger
https://www.mrarranger.com/blog/culture-live-coding/
โปรแกรม Live Coding ที่แนะนำในบทความ
Sonic pi : https://sonic-pi.net/
ช่องทางการติดต่อของคนที่เล่น Live Coding ทั่วโลก
Toplap : https://toplap.org/
เพจ S t a c k e r s ข่าวสารและ showcase Live coding ในเมืองไทย
https://www.facebook.com/stkr.coders
เขียนและเรียบเรียงโดย - ธนภัทร โอกาสเลิศ (Corner PPL.) (Guest Writer)
[/youtube][/youtube][/youtube][/youtube][/youtube]