หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ‘SMEs’ กุญแจสู่การค้าระหว่างประเทศของสหภาพยุโรป  (อ่าน 29 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 27 พ.ย. 21, 22:32 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

ธุรกิจนำเข้าและส่งออกของ EU กว่า 98% เป็นธุรกิจ SMEs ส่งผลให้ SMEs เป็นหนึ่งในกระดูกสันหลังของการค้าระหว่างประเทศที่เป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ EU และการที่ EU ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีดิจิทัลภายใต้ European Green Deal โดยคณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมยุโรปฉบับใหม่ประกอบด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนา SMEs เพื่อความยั่งยืนและดิจิทัล (SME Strategy for a Sustainable and Digital Europe) ซึ่งกำหนดกลยุทธ์เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจ SMEs ได้แก่

.

(1) การปรับเปลี่ยนสู่ความยั่งยืนและดิจิทัล เช่น ยกระดับเครือข่ายธุรกิจยุโรป (EEN) ในการเป็นที่ปรึกษาให้กับธุรกิจ SMEs ทั้งด้านการลงทุนและเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยให้บริการคำแนะนำและอบรมด้านดิจิทัลให้แก่ลูกจ้าง SMEs Digital Volunteer ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะและกลุ่มผู้มีประสบการณ์ในการแบ่งปันความรู้ทางด้านดิจิทัลให้แก่ธุรกิจ

.

(2) การปรับปรุงกฎระเบียบและขั้นตอนการบริหารจัดการที่เป็นข้อจำกัดสำหรับธุรกิจ SMEs และพัฒนาการเข้าถึงตลาด เช่น บทบาทของ EU SME Envoy เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานระดับนโยบายของ EU กับหน่วยงาน SMEs ระดับประเทศสมาชิก ส่วนบทบาทในการส่งเสริมการเข้าถึงตลาดจะใช้ข้อบท SMEs ในการพัฒนาด้านทรัพย์สินทางปัญญา ลดขั้นตอนที่ซับซ้อนในการจดทะเบียน IP และปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับการออกแบบอุตสาหกรรม

.

(3) พัฒนาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนการระดมทุนของ SMEs แก่ประชาชนทั่วไปโดยการเสนอขาย Initial Public Offering (IPO) ส่งเสริมการลงทุนภายใต้โครงการ InvestEU กำหนดข้อริเริ่มการลงทุนด้านเทคโนโลยีสีเขียวเพื่อรวบรวมเงินทุนจากทั้งสามภาคส่วนคือ EU ประเทศสมาชิก และภาคเอกชนเพื่อให้ SMEs และ Start-up มีพัฒนาการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ให้บริการประเมินความเสี่ยงก่อนที่จะร่วมลงทุน (Due Diligence) ด้านเทคโนโลยีเพื่อเตรียมความพร้อมด้านการลงทุนของ SMEs และ Start-ups

.

ด้านการดำเนินธุรกิจกับประเทศที่สาม

.

EU ส่งเสริมธุรกิจ SMEs ที่ดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกับคู่ค้าจากประเทศที่สามด้วยการแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านธุรกิจและสนับสนุนเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจ ได้แก่ (1) เว็บไซต์ Access2Markets ที่รวบรวมข้อมูลการค้าแบบครบวงจร เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ของ EU สามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงทางการค้า (FTA) ที่ EU จัดทำกับประเทศคู่ค้าทั้งที่เกี่ยวกับนโยบายการค้า ขั้นตอนและพิธีการศุลกากรสำหรับการส่งออกไปยังประเทศที่สาม (2) Chief Trade Enforcement Officer (CTEO) มีหน้าที่ในการควบคุมและปรับปรุงการปฏิบัติให้สอดคล้องตามความตกลง FTA ขจัดอุปสรรคทางการค้าที่มีต่อ SMEs และอำนวยความสะดวกให้ธุรกิจของ EU เข้าถึงตลาดในประเทศที่สาม และ (3) ข้อบท SMEs ใน FTA มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการของ SMEs ไปยังประเทศที่สาม และลดทอนแนวทางปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมโดยการใช้มาตรการเยียวยาทางการค้าเมื่อธุรกิจของ EU ได้รับผลกระทบจากสินค้านำเข้าจากประเทศที่สาม นอกจากนี้ข้อบท SMEs ใน FTA ยังเป็นการผลักดันการเติบโตของธุรกิจ SMEs ในระดับสากลให้ได้รับประโยชน์จาก FTA อย่างเต็มที่

.

ในปัจจุบันการจัดทำ FTA ของ EU กำหนดให้มีข้อบท SMEs ใน FTA เช่น ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร แคนาดา และตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง (MERCOSUR) ซึ่งสะท้อนถึงบทบาทสำคัญของ SMEs ต่อ EU ในการค้าโลก โดยเนื้อหาสาระของข้อบท SMEs มีความหลากหลายและแตกต่างกันออกไปในแต่ละ FTA เช่น FTA ญี่ปุ่น-EU กำหนดให้ทั้งสองฝ่ายจัดทำเว็บไซต์ที่สาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลภายใต้ความตกลง ได้แก่ ขั้นตอนและกฎระเบียบด้านศุลกากร กฎหมายด้านสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ขั้นตอนการประเมินความสอดคล้อง (Conformity Assessment) มาตรการ SPS การจัดซื้อจัดจ้างโดยภาครัฐ และขั้นตอนการจดทะเบียนทางธุรกิจและภาษี ทั้งนี้เว็บไซต์จะสามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลอัตราภาษีศุลกากร มาตรการทางภาษี กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า การคืนภาษี และการคืนเงินหรือยกเว้นภาษีศุลกากร นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งศูนย์ติดต่อด้าน SMEs (SMEs Contact Point) ที่ร่วมมือกับระดับรัฐบาลของประเทศสมาชิกเพื่อให้ธุรกิจ SMEs ได้รับประโยชน์จาก FTA อย่างมีเสถียรภาพ

.

จากข้อมูลข้างต้น การผลักดันและส่งเสริมธุรกิจ SMEs ของ EU ให้เติบโตในระดับสากลถือเป็นเป้าหมายหลักในนโยบายสร้างความสามารถในการแข่งขันด้าน SMEs ของ EU ซึ่งสอดคล้องกับไทยที่มุ่งส่งเสริมการเติบโตของ SMEs ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นผู้ประกอบการและภาคเอกชนไทยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในการเตรียมความพร้อมเรื่องการจัดทำ FTA กับ EU โดยเฉพาะในส่วนของข้อบท SMEs

ขอบคุณข้อมูลจาก:https://globthailand.com/brussels-231121/



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:  ข่าวต่างประเทศ 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม