หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: BTS ควรลดค่าบริการได้เที่ยวละ 20 บาท ไม่ใช่ขึ้นราคา  (อ่าน 51 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 9 ก.พ. 22, 11:01 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

BTS ควรลดค่าบริการได้เที่ยวละ 20 บาท ไม่ใช่ขึ้นราคา
AREA แถลง ฉบับที่ 112/2565: วันพุธที่ 09 กุมภาพันธ์ 2565

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4


กิจการรถไฟลอยฟ้าของเรา เมื่อหมดสัมปทาน ราคาน่าจะลดลงเกือบพอๆ กับรถประจำทางด้วยซ้ำไป เพราะโครงสร้างทุกอย่างตลอดจนตัวรถต้องตกเป็นของรัฐเมื่อครบ 30 ปี แต่ก็น่างงที่ทำไปทำมา กรุงเทพมหานครกลับกลายเป็นหนี้ BTS นับหมื่นล้าน แถมต้องต่อสัญญาและค่าโดยสารก็แพงขึ้นเรื่อยๆ








เรามาลองดูค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสว่าควรลดเท่าไหร่

บีทีเอสมีกำไร กำไรปี 2562-3 (ล้านบาท) จำนวน 8,162.5 ล้านบาท
อัตราเพิ่มของกำไรใน 10 ปีล่าสุด (ดูจากอัตราเพิ่มของผู้ใช้บริการ) เป็น 5.79%
ดังนั้นกำไรที่คาดว่าจะเป็นในปี 2572 เมื่อหมดสัมปทานช่วงแรก จึงควรเป็น 14,337.2 ล้านบาท
ประมาณการกำไรเฉพาะส่วนสัมปทานเดิม มีกำไรเป็น 60% ของกำไรทั้งหมด
กำไรจากเฉพาะสัมปทานเดิม จึงเป็นเงินประมาณ 8,602.34 ล้านบาท
จำนวนผู้โดยสาร ณ ปี 2562 มี 247.6 ล้านเที่ยว
จำนวนผู้โดยสารในอีก 10 ปีข้างหน้า ถ้าเพิ่มขึ้น 5.79% ก็น่าจะเป็น 434.9 ล้านเที่ยว
ถ้าเอา 8,602.34 ล้านมาหารด้วย 434.9 ล้านเที่ยว ก็จะได้เงินคืนแก่ผู้โดยสารทั้งระบบถึง 19.8 บาท หรือราว 20 บาท ณ ปี 2572 นั่นเอง
แต่ถ้าทอนมาเป็นการลดค่าโดยสารจากในอนาคต ก็อาจลดได้ประมาณ 20 บาทต่อเที่ยวจากปัจจุบัน
การที่ค่าบริการรถไฟฟ้าของไทยแพงกว่าประเทศอื่นๆ แสดงว่ามีการโก่งค่ารถไฟฟ้าหรือไม่ การบริหารของรัฐหน่อนยาน มีผลประโยชน์ทับซ้อน และผลประโยชน์ไปตกแก่นายทุนแทนที่จะเป็นประชาชนหรือไม่

ค่าบริการรถไฟฟ้าบีทีเอสของเราแสนแพงจริงๆ เรามาเปรียบเทียบกันดู และมาดูว่าความจริงควรมีส่วนลดอย่างไรบ้างสำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอสในอนาคต จากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า

ที่กรุงมะนิลา ค่ารถไฟฟ้าอยู่ที่ 15-30 peso (10-20 บาท)
ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ คิดค่าโดยสาร 0.8-7.2 ringgit (6-53 บาท) แต่กัวลาลัมเปอร์มีค่าครองชีพแพงกว่าไทย ดังนั้นจึงควรมีราคาไม่เกิน 35 บาทเท่านั้น
ที่กรุงจาการ์ตา คิด 3,000-14,000 rupiah (7-30 บาท) หรือถ้าคิดในแง่ค่าครองชีพไทย ราคาก็ไม่เกิน 25 บาทต่อเที่ยว
ที่สิงคโปร์ ค่าบริการตก 0.92 - 2.03 ดอลลาร์สิงคโปร์ (21-46 บาท) แต่สิงคโปร์มีค่าครองชีพมากกว่าเรา 3 เท่า ก็คงเป็นเงินไม่เกินเที่ยวละ 18 บาท
ที่กรุงโตเกียว ตั๋ววันคิด 800 yen (233 บาท หากขึ้นไปกลับก็ตกเที่ยวละ 116 ถ้าค่าครองชีพญี่ปุ่นแพงกว่าไทย 4 เท่า ก็เท่ากับ 29 บาทเท่านั้น) ก็ถูกกว่าไทยอีกแล้ว
ที่นครนิวยอร์ก ค่าโดยสารประมาณ 2.75 USD (83 บาท ถ้าคิดว่าค่าครองชีพไทยต่ำกว่า 4 เท่า ก็เท่ากับ 21 บาทเท่านั้น) ซึ่งก็ยังถูกกว่าไทยอยู่ดี และยังนั่งได้ทั้งรถเมล์อีกต่างหาก
ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าค่าโดยสารบีทีเอส “แพงหูฉี่” จริงๆ เทียบกับรถประจำทางแล้วแพงกว่ากันหลายเท่า ถ้านั่งแท็กซี่จากสนามบินสุวรรณภูมิเข้าเมือง นั่งแท็กซี่ยังคุ้มกว่า ยิ่งถ้า 2 คนขึ้นไปยิ่งคุ้มมาก

กิจการรถไฟฟ้าอาจจะกลายเป็นกิจการผูกขาดในอนาคต สัมปทานก็ไม่รู้จักหมดต่อออกไปเรื่อยๆ ทำให้รัฐหรือภาคประชาชนเสียเปรียบหรือไม่ โปรดสังวร



การค้นหาจากเว็บ

Manila 15-30 peso (10-20 บาท) https://lrmc.com.ph/light-rail-manila-one/

Kuala Lumpur 0.8-7.2 ringgit (6-53 บาท)

https://www.myrapid.com.my/clients/Myrapid_Prasarana_37CB56E7-2301-4302-9B98-DFC127DD17E9/contentms/img/faretable_2017/25072017-FareTable-CashlessTnGo.png

Singapore 0.92 - 2.03 (21-46 บาท) https://mrt.sg/fare

Jakarta 3,000-14,000 rupiah (7-30 บาท) https://jakartaglobe.id/context/jakarta-sets-mrt-ticket-price/

Tokyo ทั้งวัน 800 yen (233 บาท หากขึ้นไปกลับก็ตกเที่ยวละ 116 ถ้าค่าครองชีพญี่ปุ่นแพงกว่าไทย 4 เท่า ก็เท่ากับ 29 บาทเท่านั้น) https://www.tokyometro.jp/th/ticket/travel/index.html

New York 2.75 USD (83 บาท ถ้าคิดว่าค่าครองชีพไทยต่ำกว่า 4 เท่า ก็เท่ากับ 21 บาทเท่านั้น)

https://new.mta.info/fares




ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม