ปัญหาอุทกภัย ภัยแล้ง หิมะถล่ม พายุหมุน พืชและสัตว์ที่สูญพันธุ์ลง โรคอุบัติใหม่ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ล้วนแล้วเกิดจากภาวะโลกร้อน ซึ่งถูกสะสมมาเป็นเวลายาวนาน ตั้งแต่สมัยยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Ravolution) ตั้งแต่ช่วงกลางของศตวรรษที่ 18 เป็นการถ่ายเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรม ไปสู่สังคมอุตสาหกรรม มีการเริ่มใช้พลังไอน้ำในการทำอุตสาหกรรม และพัฒนามาสู่การใช้เหล็กและไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นจนสู่ในยุคปัจจุบัน ก่อให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้าง ในด้านสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ นี่เป็นปัญหาระดับโลกที่ทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบและหาแนวทางแก้ไข
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน มีด้วยกันหลากหลายปัจจัย เช่น การขยายตัวของเมืองทำให้เพิ่มปริมาณของก๊าซเรือนกระจก เพราะต้องเพิ่มพื้นที่อุตสาหกรรม ทำให้จำเป็นต้องลดพื้นที่ป่าและเพิ่มพื้นที่เมืองแทน, เกิดจากการเผาไหม้ของถ่านหิน ซึ่งทำให้ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาและการสร้างก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ เป็นต้น จากการสำรวจพบว่า ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
-ช่วงต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในปี 1750 ได้มีคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศนั้นอยู่ที่ 280 ppm
-ปี 2005 มีคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเพิ่มเป็น 380 ppm
-ปี 2021 เดือนพฤษภาคม มีคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศสูงถึง 419.3 ppm ซึ่งถือว่ามากที่สุดที่เคยวัดได้
หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมโลกของเราเผชิญปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมหลัก ๆ ด้วยกัน 3 ด้าน คือ ภาวะโลกร้อน ภาวะมลพิษ และปัญหาด้านทรัพยากร ซึ่งล้วนเกิดจากการทำอุตสาหกรรมทั้งสิ้น จากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงทำให้เกิดข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม เช่น พิธีสารโตเกียว (1997), ข้อตกลงปารีส (2015) และ COP26 เป็นต้น โดยมีข้อตกลงดังนี้
1. การรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยโลกให้ต่ำกว่า 2 องศา และไม่ควรเกิน 1.5 องศา โดยเปรียบเทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรม
2. จำกัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
3. ทบทวนการมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุกๆ 5 ปี
4. เปิดโอกาสให้ประเทศที่ร่ำรวย สามารถช่วยเหลือประเทศที่มีฐานะด้อยกว่าผ่านเงินทุนสนับสนุนด้านภูมิอากาศ
ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของต้นเหตุการเกิดผลกระทบทางธรรมชาติจึงมีความสำคัญ ในอดีตที่ผ่านมาการเข้าถึงของข้อมูลอาจจะยังน้อยมากกว่าในปัจจุบัน ซึ่งเด็กรุ่นใหม่ๆ สมัยนี้สามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่า ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ผ่านกิจกรรม โครงการและจิตอาสาต่างๆ เช่น ปลูกป่าชายเลน เก็บขยะใน
แม่น้ำ เก็บขยะสิ่งปฏิกูลริมชายหาดและทะเล เป็นต้น รเมื่อทุกคนมีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง ก็จะสามารถเผยแพร่ความรู้ไปสู่พ่อ
แม่ลูกหลาน และจะทำให้ทุกคนเกิดจิตสำนึกที่ดีในการช่วยดูแลโลกต่อไป