จากงานแถลงข่าว "ทรู-ดีแทค" ศุภชัย เจียรวนนท์ ย้ำชัด ทำได้ไม่ขัดกฎหมาย ผู้บริโภค-อุตสาหกรรม ได้ประโยชน์
สำหรับความคืบหน้าในขั้นตอนของการควบรวมกิจการนั้น ปัจจุบันในส่วนของผู้ถือหุ้นยังคงดำเนินไปตามขั้นตอน ขณะที่ในส่วนของกสทช. บริษัทได้ยื่นไฟลิ่งไปตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 ซึ่งจะต้องมีการอนุมัติภายใน 90 วัน หรือในเดือนพฤษาคม 2565 แต่ขณะนี้ยังไม่มีได้รับการอนุมัติเงื่อนไขจะลดผลกระทบทางลบ และเพิ่มผลกระทบทางบวก
“ตามประกาศประกาศควบรวมปี 2561 การควบรวมสามารถทำได้เลย กสทช.ไม่มีอำนาจในการอนุมัติ มีเพียงอำนาจอนุมัติสร้างเงื่อนไขที่จะลดผลกระทบทางลบ และเพิ่มผลกระทบทางบวก ซึ่งหากบริษัทไม่รับเงื่อนไข กสทช.สามารถเอาไปฟ้องร้องศาลปกครอง เพื่อขัดขวางการควบรวบได้ แต่ไม่มีใครอยากไปสู่กระบวนการฟ้องร้อง ดังนั้นเราพร้อมทำงานร่วมกับ กสทช.เพื่อผลลัพธ์ที่เกิดประโยชน์สูงสุด” นายศุภชัย กล่าว
แม้วันนั้นจะไม่มาถึง แต่ศุภชัย และซิกเว่ ได้ให้เหตุผลการควบรวมนี้สำเร็จจะสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านการแข่งขัน ในหลายๆ ด้าน ได้แก่
ผู้บริโภคได้ประโยชน์ การตั้งบริษัทใหม่ เป็นการนำสิ่งที่ดีที่สุดของทั้งสององค์กรมารวมกัน ซึ่งผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์ในทันที
ไร้กังวลเรื่องค่าบริการแพงขึ้น เมื่อควบรวมเป็นที่เรียบร้อย การแข่งขันจะไม่สามารถผูกขาดด้านราคาได้ เนื่องจากมีกสทช. กำหนดเพดานราคาค่าบริการพื้นฐานอย่างชัดเจน
ไม่มีการปลดพนักงาน ไม่มีใครถือหุ้นใหญ่ ทีมบริหารเลือกจากความเหมาะสม เมื่อการควบรวมสำเร็จผู้ถือหุ้นทั้งสองฝ่ายจะมีสัดส่วนถือหุ้นเพียง 30% เป็นการถือหุ้นที่ไม่มีใครถือหุ้นใหญ่ และการเลือกผู้บริหารจะเลือกจากความเหมาะสม และไม่มีการคัดเลือกพนักงานออกแค่อย่างใด
ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เพิ่มโอกาสการเข้าถึงสำหรับคนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และผลักดันให้ไทยก้าวขึ้นไปเป็นดิจิทัลฮับของอาเซียน
ตั้งกองทุนสนับสนุนสตาร์ทอัพไปเป็นแชมป์เปี้ยน หลังจากที่ทั้งสองจัดตั้งบริษัทใหม่เป็นที่เรียบร้อย ซิกเว่ บอกว่าภายใต้บริษัทใหม่นี้ จะมีการนำเงิน7,300 ล้านบาท มาเป็นกองทุนสนับสนุนสตาร์ทอัพไทย เพื่อพาสู่ระดับโลก เพื่อนำพาประเทศไทยเป็นแชมป์เปี้ยนดิจิทัลในภูมิภาคนี้