หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: สคทช.เร่งชงร่างกม.บริหารจัดการที่ดิน ส.ป.ก.-วันแม็บ เป็นของขวัญปีใหม่66  (อ่าน 40 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 23 ต.ค. 22, 21:28 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 




หาของขวัญปีใหม่ให้ชาวไทยตามนโยบายลุงตู่ สคทช.เร่งเครื่องร่างกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน ดันร่างพระราชบัญญัติส.ป.ก.ที่พร้อมสุดออกใช้นำร่อง ส่วนวันแม็บของ 9 หน่วยงานบอกชาวบ้านสบายใจไร้ผลกระทบแน่
แหล่งข่าวสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา การประชุมคณะทำงานศึกษาการตรา แก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน ในคณะอนุกรรมการกลั่นกรองกฎหมายการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ได้มีความเห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินและคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม พ.ศ.. ให้นำเสนอคณะอนุกรรมการกลั่นกรองกฎหมายการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน ที่มีดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ภายในปลายเดือนตุลาคมหรือต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ ก่อนจะนำกลับเข้าบอร์ดใหญ่คทช.เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป คาดว่าภายในไม่เกินกลางเดือนธันวาคมนี้
หากผ่านครม.ก็ต้องส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาก่อนนำเข้าสู่สภาซึ่งจะเสนอเข้าช่องทางด่วนของรัฐสภาเพราะเป็นกฎหมายสำคัญเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ เป็นกฎหมายนำร่องในเรื่องการจัดที่ดินเพื่อความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งส.ป.ก.มีความพร้อมมากที่สุดเพราะได้พัฒนากฎหมายนำร่องมาก่อนแล้ว
การเอาที่ของรัฐมาบริหารจัดการจะต้องมีกฎหมายส.ป.ก.รองรับ การเป็นอยู่ต้องมีความหลากหลายจึงต้องทำโซนนิ่งจัดสัดส่วนกันใหม่ให้เหมาะกับการใช้ประโยชน์สูงสุดและสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้ด้วย เช่นที่อยู่อาศัย เกษตรกรรม ชุมชน ที่เพื่อสาธารณูปโภค ที่ทรัพยากรที่ต้องอนุรักษ์ แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวยังเปิดเผยด้วยว่า การปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1: 4000 หรือ One Map ที่เตรียมจะให้เป็นของขวัญปีใหม่ 2566 แก่ประชาชนตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีนั้น ความจริงทำเสร็จตั้งแต่ปี 2561 ผ่านคณะกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ (กปนร.) แต่ครม.ขณะนั้นแค่รับทราบเพราะเกรงเรื่องผลกระทบ ประกอบกับเกิดหน่วยงาน คทช. จึงได้โอนเรื่องมาให้ คทช.ดำเนินการต่อในปี 2562 ซึ่งต้องมาตั้งต้นกันใหม่ในปี 2563
ที่ดูเหมือนช้าทั้งๆที่บอกว่าทำเสร็จแล้ว ก็เพราะต้องปรับแผนที่ให้ชัดเจนและแก้ปัญหาเรื่องผลกระทบทับซ้อน หลักการของเส้นแนวที่ดินทั้งหมดที่เดิมมีอยู่มากกว่า 450 ล้านไร่ ตอนนี้ 207 ล้านไร่ภายใน 9 หน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินของรัฐซึ่งประกอบด้วย กรมที่ดิน กรมธนารักษ์ กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมส่งเสริมสหกรณ์ และกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ตกลงกันได้แล้ว สามารถรู้ขอบเขตและอาณาเขตของตนเองชัดเจน แต่ส่วนที่มีปัญหาทับซ้อนกับหน่วยงานอื่นที่เคยฟ้องร้องกัน ให้มีคณะกรรมการชุดหนึ่งเข้าไปแก้ไขให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายโดยประชาชนต้องเดือดร้อนน้อยที่สุด
คณะกรรมการ คทช.มีมติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565ให้แก้ไขปัญหาผลกระทบ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) ได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อประชาชนจากการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ 9 ข้อต่อ คทช.แล้วเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565 ซึ่ง สคทช.จะเสนอต่อ ครม.ในเร็ววันนี้
ของขวัญปีใหม่คือให้สบายใจว่าเรื่อง One Map จะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ





noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม