ในระหว่างการประชุมอัลตราบรอดแบนด์ ฟอรัม ครั้งที่ 8 (Ultra-Broadband Forum หรือ UBBF) นายริชาร์ด จิน (Richard Jin) ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ธุรกิจออปติคัลของหัวเว่ย กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ "ปลดปล่อยศักยภาพของไฟเบอร์ พร้อมก้าวสู่ F5.5G" (Unleashing Fiber Potential and Striding to F5.5G) ซึ่งเขาได้แสดงความสำคัญของการสื่อสารด้วยไฟเบอร์ที่มีต่อการพัฒนาของสังคม และนำเสนอความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สำคัญ 8 ประการของหัวเว่ยในการเข้าถึงเครือข่ายไฟเบอร์และการรับส่งสัญญาณข้อมูลด้วยออปติคัล ตลอดจนประโยชน์ของไฟเบอร์ออปติกที่มีต่ออุตสาหกรรม พร้อมเรียกร้องให้อุตสาหกรรมตลอดทั้งห่วงโซ่ทำงานร่วมกันเพื่อก้าวสู่ F5.5G
เครือข่ายไฟเบอร์กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญสำหรับอนาคต โดยในช่วงของการเปลี่ยนแปลงจาก F5G เป็น F5.5G นั้น นวัตกรรมเทคโนโลยีการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการตรวจจับไฟเบอร์จะช่วยปลดปล่อยศักยภาพของไฟเบอร์และเปิดตลาดใหม่ ทั้งนี้ หัวเว่ยได้สร้างนวัตกรรมเทคโนโลยี 8 ประการ เพื่อเร่งการการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมสู่ F5.5G ได้แก่
1. ความเข้ากันได้ของ 50G PON: 50G PON เป็นเทคโนโลยี PON รุ่นต่อไปที่ออกโดยหน่วยงานกำหนดมาตรฐาน ITU-T โครงสร้างส่วนประกอบและนวัตกรรมการประมวลผลทำให้หัวเว่ยสามารถปรับปรุงกำลังส่งและความไวของตัวรับสัญญาณของโมดูลออปติคัล 50G PON เพื่อให้ครอบคลุมถึง 40 กิโลเมตร นอกจากนี้ หัวเว่ยยังรวม GPON, 10G PON และ 50G PON ไว้ในพอร์ตเดียวโดยใช้เทคโนโลยีการติดตั้งที่มีความแม่นยำสูงพิเศษ นวัตกรรมนี้จะช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายอัปเกรดจาก GPON และ 10G PON เป็น 50G PON ได้อย่างราบรื่นโดยไม่ต้องสร้างเครือข่ายขึ้นใหม่ พร้อมมอบประสบการณ์การใช้งาน 10G ทุกหนทุกแห่งได้อย่างรวดเร็ว
2. สเปกตรัม Super C+L: หัวเว่ยได้ทำการทดลองและใช้นวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาโซลูชันใหม่สำหรับการขยายสเปกตรัม และการปรับปรุงแบนด์วิดท์สำหรับรับส่งข้อมูล โดยในระหว่างกระบวนการผลิตนั้น ฟลักซ์ของก๊าซและอุณหภูมิความร้อนจะถูกควบคุมอย่างแม่นยำเพื่อให้ได้สารเจือ (doping) ที่มีความเข้มข้นสูง และเพิ่มอัตราขยายของย่านความถี่ L นวัตกรรมเหล่านี้ช่วยเพิ่มสเปกตรัมการส่งสัญญาณ Super C+L เป็น 12 THz และเพิ่มแบนด์วิดท์ได้ถึง 50% เพื่อประสิทธิภาพการส่งสัญญาณที่สูงขึ้น นอกจากนี้ อัตราความยาวคลื่นเดียวที่ 400G และ 800G ช่วยรองรับการเข้าถึงด้วยความเร็ว 100 Tbps ต่อไฟเบอร์ ซึ่งจะสนับสนุนการเดินหน้าสู่ยุค 10G
3. การเชื่อมต่อข้ามช่องสัญญาณแบบออปติคัล (Optical Cross-Connect: OXC): ระบบ OXC ของหัวเว่ยใช้อัลกอริทึมดอทเมทริกซ์ 3 มิติ ซึ่งช่วยเพิ่มความหนาแน่นของสายเคเบิลของแบ็คเพลนที่เป็นออปติคัลทั้งหมดได้อีก 35% ลดการเชื่อมต่อไฟเบอร์ภายนอกของ ROADM (Reconfigurable Optical Add/Drop Multiplexer) ลดขนาดของทั้งระบบลงถึง 90% และลดการใช้พลังงานลงกว่า 60% นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้พัฒนาวัสดุใหม่สำหรับ OXC LCOS (Liquid Crystal on Silicon) เพื่อลดเวลาตอบสนอง LCD ที่ใช้สวิตช์แบบเลือกความยาวคลื่น (wavelength selective switching: WSS) จาก 200 ms เป็น 100 ms โดยจัดเตรียมและป้องกันความยาวคลื่นได้เร็วขึ้น รวมทั้งสร้างเครือข่ายอไจล์สีเขียวที่เป็นออปติคัลทั้งหมด
4. OptiX Alps-WDM: หัวเว่ยเปิดตัวโซลูชันการรวม Metro WDM ที่มีชื่อว่า OptiX Alps-WDM เพื่อแก้ปัญหาการกระจายบริการที่ไม่สม่ำเสมอ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่ำ และความยุ่งยากในการวางเครือข่ายเมโทร ทั้งนี้ การใช้สวิตช์ WSS ซึ่งหัวเว่ยเป็นผู้พัฒนา จะช่วยให้โมดูลที่เชื่อมโยงกันในเครือข่ายเมโทร และเทคโนโลยีฉลากออปติคัลแบบดิจิทัล สามารถแชร์ความยาวคลื่นระหว่างวงแหวนในสถาปัตยกรรมเครือข่ายที่เลเยอร์การเข้าถึงเครือข่ายเมโทร และสามารถจัดเตรียมและปรับแต่งได้อย่างยืดหยุ่น เทคโนโลยีเหล่านี้เพิ่มแบนด์วิดท์ 10 เท่า และลดการปล่อยคาร์บอน 90% ช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายลด OPEX ลง 20% ตอบโจทย์สถาปัตยกรรมเครือข่ายเป้าหมายที่ย้ายเครือข่าย WDM ไปยังไซต์ และทำให้เกิดวิวัฒนาการของเครือข่ายที่ราบรื่นในช่วง 10 ปีข้างหน้า
อ่านข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับเต็มได้ที่ https://www.thaipr.net/general/3258367