หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: พ่อครับ-เเม่คะ  (อ่าน 2859 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 25 ม.ค. 10, 17:45 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 


ThaiHealth.or.th
เทคนิคป้องกันพ่อแม่ปะทะ ‘อารมณ์’ ลูก

อย่าตกลงไปใน "กับดักพ่อแม่"



พ่อแม่บางคนมองว่าบทบาทพ่อแม่นั้นต้องแสดงอย่างจริงจัง และเข้มข้น เพื่อให้ลูกๆ ยอมรับนับถือ จึงเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า "ใช้พลังมากเกินไป" เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการควบคุมสถานการณ์ต่างๆ และทำให้เด็กๆ ขาดพื้นที่ในการแสดงความเป็นตัวตนของเขา



พ่อ แม่ที่เข้มงวด และจำกัดการแสดงออกกจะทำให้เด็กต้องไปหาพื้นที่อื่นในการเปิดเผยตัวตนของเขา โดยอาจจะเป็นกลุ่มเพื่อน หรือโลกอินเทอร์เน็ต ยิ่งการที่พ่อแม่ไปกำหนดว่า "ลูกของฉันจะต้องไม่เป็นแบบ..หรือแบบ..." จะทำให้เด็กๆ ตกอยู่ในความเสี่ยงมากขึ้น ว่าวันใดวันหนึ่งเขาอาจทำให้พ่อแม่ผิดหวัง เมื่อเขาอาจจะเผลอทำผิดพลาดขึ้นมาสักวัน



ใช้การคุยให้เป็นประโยชน์



การคุยที่สร้างสรรค์กับลูกช่วงวัยรุ่นไม่ใช่การเปิดฉากเล่า ประสบการณ์ของพ่อแม่เพียงฝ่ายเดียว แต่ควรเป็นการตั้งคำถามเพื่อเปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ เช่น ยาเสพติด ความรักกับเพื่อนต่างเพศ ฯลฯ



ระวังประโยคชวนฟิวส์ขาด



ในกรณีที่ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกเริ่มมีปัญหา การเอ่ยประโยคชวนฟิวส์ขาด เช่น "ตอนที่พ่อแม่อายุเท่าลูกเนี่ยนะ....." มี โอกาสทำให้สถานการณ์บานปลายมากยิ่งขึ้นได้ ไม่ใช่ว่าประสบการณ์ในอดีตของพ่อแม่เป็นสิ่งที่ไม่มีคุณค่า แต่การนำเรื่องราวในอดีตที่คุณคิดว่าดีมาเปรียบเทียบกับพฤติกรรมของลูกใน ช่วงวัยรุ่นเป็นสิ่งที่อันตรายมาก และสามารถสร้างรอยร้าวลึกในหัวใจเด็กๆ ได้



หาก พ่อแม่ใช้อย่างไม่ระวัง ในจุดนี้พึงเข้าใจด้วยว่า สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในตอนที่พ่อแม่ยังเด็กๆ กับ ณ เวลาปัจจุบันมันเปลี่ยนไปหมดแล้ว เด็กสมัยนี้มีอินเทอร์เน็ต มีคอมพิวเตอร์ มีโทรศัพท์มือถือ มีเพื่อนใน Hi5 มียูทูบ เพลงที่ลูกฟังในปัจจุบันก็อาจไม่เหมือนกับเพลงที่พ่อแม่ฟังในช่วงอายุ เดียวกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งการจะคุยกันให้เข้าใจได้นั้นก็เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องตระหนักรู้ ให้ได้ว่า ในช่วงอายุของลูกนั้นเขาจะได้พบกับอะไรบ้าง



ทิ้งความเยือกเย็นเมื่อไร แย่แน่



ไม่ว่าจะเจอปัญหาที่ยุ่งยากเพียงใด หรือว่าคุณจะอยากตีลูกตัวดีสักป้าบ ฯลฯ แต่คนเป็นพ่อแม่ก็ต้องใจเย็นเข้าไว้ เพราะการที่พ่อแม่ "หลุด" นั่นหมายถึงคุณพร้อมจะปล่อยข้อความผรุสวาทมากมายตามมา และทำให้ความสัมพันธ์กับลูกๆ เลวร้ายลงไปอีก ทางแก้คือ หาก สถานการณ์เข้าขั้นวิกฤต อาจเดินหนีไปอยู่คนละห้อง หาเวลาอยู่เงียบๆ สักพัก หายใจเข้าออกยาวๆ สงบสติอารมณ์ ไปอาบน้ำ ไปทำกับข้าว ก่อนจนอารมณ์ดีค่อยกลับมาคุยกันใหม่



ฟังลูกบ้าง



ใน จุดนี้คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจต้องยอมรับว่า อาจมีบางครั้งที่คุณฟังลูกเพียงผ่าน ๆ ไม่ได้ใส่ใจอะไรกับเรื่องราวของเขามากนัก และเด็กบางคนก็มีปัญหาตรงที่ว่าเขาไม่สามารถจะบอกเล่าเรื่องราวได้อย่างที่ ใจเขาต้องการ เพราะฉะนั้น การพูดและการคุยระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก (ในร่างผู้ใหญ่) ก็จำเป็นต้องใช้ใจร่วมด้วย พยายามเข้าใจในสารที่ลูก พยายามจะสื่อ เพราะการรับฟังปัญหาของลูกถือเป็นอีกหนึ่งของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่คนเป็นพ่อ แม่ทุกคนสามารถมอบให้กับลูกได้



อย่ายอมแพ้



บาง ครั้งการปะทะคารมกับลูกวัยรุ่นที่กำลังหลงผิดในกับสิ่งยั่วยุต่างๆ อาจทำให้พ่อแม่รู้สึกว่าเหนื่อยเหลือเกิน ยอมแพ้เสียทีก็ดีเหมือนกัน แต่มันจะไม่ใช่เรื่องดีเลย หากพ่อแม่ยอมแพ้และปล่อยให้ลูกเดินต่อไปในทางที่มืด และเลวลงเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น พ่อแม่ที่ดีไม่ควรล้มเลิกความตั้งใจที่จะสั่งสอนลูกให้ตั้งมั่นอยู่ในทางที่ถูกต้อง



ลงโทษเมื่อไร



หากพบว่าลูกกระทำเรื่องที่ผิดกฎหมาย หรือผิดศีลธรรม พ่อแม่มีสิทธิทุกประการที่จะยับยั้ง และทำให้มันยุติลงให้ได้ อย่ากลัวหากจะต้องลงโทษลูกของตัวเองให้เขาสำนึกในความผิดนั้นๆ หรือหากจำเป็นก็ควรขอความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยา แทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่า ๆ



ยืดหยุ่น



เพราะ แนวทางในการดูแลลูกวัยรุ่นให้อยู่กับร่องกับรอย ก็คือการให้เขาได้มีสิทธิเลือก ได้แสดงความคิดเห็น ดังนั้นพ่อแม่อาจต้องยืดหยุ่นต่อกฎต่างๆ มากขึ้น ปรับเทคนิคการพูดให้เหมาะสม เพื่อให้พ่อแม่ยังคงเป็นพ่อแม่ที่น่ารักของลูกๆ วัยรุ่นอยู่ได้ เช่น หากพ่อแม่ต้องการให้เด็กๆ ช่วยไปทิ้งขยะ (โดยที่ลูกๆ ไม่ค่อยอยากช่วยเท่าไร) คงไม่ดีแน่หากจะใช้การออกคำสั่งเสียงเขียวว่า "เอาขยะไปทิ้งเดี๋ยวนี้นะ" แต่หากลองใช้ประโยคที่ว่า "วันนี้ตาลูกไปทิ้งขยะแล้ว จะไปทิ้งขยะตอนนี้หรือจะไปหลังจากทานข้าวเสร็จ" ลูกฟังจบเขาจะพบว่ามีทางให้เขาเลือก และเขาก็จะเลือกทางที่เขาต้องการ



และ สุดท้าย หากพ่อแม่พบว่าเขายังไม่ทำงานที่รับมอบหมายเสียที คุณก็ยังสามารถยกสิ่งที่เขาเคยตอบขึ้นมาอ้างได้ด้วย "ลูกบอกแม่ว่าจะไปทิ้งขยะหลังจากทานข้าวเสร็จใช่ไหม" แค่คำพูดนี้ก็สามารถทำให้เด็กออกไปทิ้งขยะได้โดยที่ไม่รู้สึกแย่แล้วค่ะ

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 25 ม.ค. 10, 18:38 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

พ่อแบบไหนที่ลูกๆ ปรารถนา

สร้างภูมิคุ้มกันครอบครัว ด้วยรักและเข้าใจ

คุณ พ่อเป็นบุคคลหนึ่งที่มีความหมายและมีอิทธิพลมากในชีวิตของลูกๆ ทุกคน ดังนั้นการเป็นคุณพ่อที่ดีให้ลูกรู้สึกไว้วางใจและภาคภูมิใจจึงเป็นสิ่งที่ มีความสำคัญมาก



ดังนั้นให้เรามาดูกันว่า คุณพ่อแบบไหนนะ…ที่เรียกว่าเป็นคุณพ่อที่ดีที่ลูกๆ ทุกคนปรารถนา



1. คุณพ่อผู้เสียสละ การเป็นคุณพ่อที่ดีต้องใส่ใจต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของภรรยาและลูกเป็น อันดับแรก หากคุณพ่อติดเหล้าหรือบุหรี่ก็ควรจะละและเลิกเสียเพื่อคุณแม่และลูกรัก เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นภัยอันตรายต่อลูก ต่อภรรยาและตัวของคุณพ่อเองด้วย



2. คุณพ่อผู้ปกป้อง ในฐานะที่เป็นคุณพ่อหน้าที่หลักที่สำคัญก็คือการเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองที่ เข้มแข็งและแข็งแรง ทั้งในการดูแลบ้านเรือนให้มีความปลอดภัย พร้อมทั้งสอนลูกให้รู้จักการดูแลรักษาความปลอดภัยด้วย เช่น การสอนให้ลูกนั่งเก้าอี้นิรภัยติดรถยนต์ที่เหมาะกับอายุและน้ำหนักตัวของลูก รวมทั้งการดูแลในเรื่องการเงิน เช่น การทำประกันภัยรถยนต์ ทำประกันชีวิต และการเก็บเงินเป็นทุนการศึกษาสำหรับลูก เป็นต้น



3. คุณพ่อนักบริหารเวลา ในฐานะที่เป็นหัวหน้าครอบครัว คุณพ่ออาจต้องทำงานหนักเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว แต่ทั้งนี้คุณพ่อก็ต้องไม่ลืมที่จะแบ่งเวลาให้กับลูกๆ ด้วย เช่น การเล่านิทานก่อนนอน การเล่นกีฬากับลูก และการใช้เวลาในวันหยุดกับลูกๆ จำไว้ว่าช่วงเวลาที่ลูกยังอยู่ในวัยเด็กนั้นมีไม่มากนัก ดังนั้นคุณพ่อควรใช้เวลาในช่วงนี้ใกล้ชิดกับลูกให้มากที่สุด เพื่อที่คุณพ่อจะไม่รู้สึกเสียใจเมื่อลูกก้าวเข้าสู่วัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่ ต้องการอิสระและอาจจะไม่โหยหาความใกล้ชิดจากคุณพ่ออีกต่อไป



4. คุณพ่อผู้ช่วยของคุณแม่ การเป็นคุณพ่อไม่จำเป็นต้องแสดงความแข็งแกร่งทำแต่งานนอกบ้านเท่านั้น การช่วยเหลืองานในบ้าน กวาดบ้าน ถูบ้าน ซักผ้า ล้างขวดนม หรือทำอาหารแทนคุณแม่บ้างก็เป็นสิ่งช่วยแบ่งเบาภาระให้คุณแม่ได้ ทั้งยังทำให้คุณแม่ชื่นใจและมีกำลังใจดูแลลูกต่อไป



5. คุณพ่อกุ๊กกิ๊ก ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการเป็นคนเจ้าชู้แต่อย่างใด แต่หมายถึงการที่คุณพ่อควรแสดงออกทางความรักอย่างสม่ำเสมอ ทั้งกับคุณแม่และลูกๆ เช่น การกอดกัน การหอมกัน และการบอกรักกันในครอบครัว เพราะการกระทำเช่นนี้เป็นการสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นที่สุดภายในครอบครัว



6. คุณพ่อผู้ให้กำลังใจ เรื่องการให้กำลังใจนับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะการให้กำลังใจเป็นสิ่งที่เด็กๆ ทุกคนต้องการ วิธีการให้กำลังใจกับลูกทำได้ง่ายๆ เช่น การแสดงความภาคภูมิใจในตัวลูกเมื่อลูกทำสิ่งที่ดี การชมเชยและการให้รางวัลเมื่อลูกประสบความสำเร็จในการเรียนหรือในงานเล็กๆ น้อยๆ ที่ได้รับการมอบหมายจากผู้ใหญ่



7. คุณพ่อตัวกลางที่ดี คุณพ่อไม่ควรทะเลาะกับคุณแม่ต่อหน้าลูก อีกทั้งเมื่อคุณแม่และลูกๆ ทะเลาะกัน คุณพ่อควรทำตัวเป็นกลาง อย่าลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดความน้อยใจและสร้างรอยร้าวในครอบครัว



8. คุณพ่อตัวอย่าง คุณพ่อต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกๆ ในทุกๆ เรื่อง โดยเฉพาะในเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรมเช่น ความสุภาพ ความขยัน ความอดทน ความซื่อสัตย์ ความเมตตากรุณา การให้อภัยตัวเองและผู้อื่น การดำรงชีวิตอย่างพอเพียง และการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและประเทศชาติ



การ เป็นคุณพ่อที่ดีนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องที่ยากเลย เพียงแค่ทำด้วยการให้ความรัก ให้ความเข้าใจ ให้เวลา รวมทั้งการให้ความอบอุ่นควบคู่คุณธรรม เพียงเท่านี้คุณก็จะเป็นคุณพ่อซึ่งเป็นที่รักของคุณแม่และลูกๆ อีกทั้งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับครอบครัวอีกด้วย














noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 25 ม.ค. 10, 18:39 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ฟังลูกคุยทุกวัน จะเกิดเด็กดีมีความสุข


ช่วยพัฒนาภาษา กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์





เป็น ที่ทราบกันดีว่า ช่วงปฐมวัยของเด็กนั้นเป็นช่วงที่สำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเด็กเล็กที่กำลังเตรียมความพร้อม หรือในเด็กที่โตขึ้นมาอีกนิด และเดินเข้าโรงเรียนไปแล้ว เพราะในโลกแห่งการศึกษานั้น ยังมีอีกหลายสิ่งมากมายที่ถือได้ว่าเป็น "โลกใบใหม่" สำหรับเด็ก คุณพ่อคุณแม่จึงต้องเอาใจใส่และสนใจพฤติกรรมต่างๆ ที่เด็กแสดงออกมา



โดย เฉพาะต้องรับฟังสิ่งที่เด็กๆ อยากจะพูด อยากจะเล่าให้ฟัง เพราะการที่เด็กๆ มีเรื่องมาเล่าให้พ่อแม่ฟังนั้น หมายถึงว่าเขามีพัฒนาการในด้านความคิด ความรู้สึกและจินตนาการ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่จำเป็นในชีวิตของเด็กๆ ทุกคน



ดร. ฉัฐวีณ์ สิทธิศิรอรรถ อาจารย์ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) พูดถึงประเด็นที่เด็กๆ ไปพบสิ่งใหม่ๆ ที่โรงเรียนว่าจะทำให้เมื่อเด็กกลับมาถึงบ้าน พวกเขาอยากจะพูดอยากจะคุยให้ให้พ่อ แม่หรือปู่ ย่า ตายายได้ฟัง



" ผู้ใหญ่ควรให้เวลากับเด็ก และรับฟังเขาอย่างตั้งใจ เพราะในจุดนี้จะทำให้เขาเกิดการพัฒนาทางภาษา เด็กจะถ่ายทอดประสบการณ์และจินตนาการของเขาออกมาทางคำพูด ยิ่งพ่อแม่สนใจและตั้งใจฟังสิ่งที่เด็กๆ เล่า รวมถึงมีการถามคำถาม จะยิ่งกระตุ้นความคิดของเด็ก และทำให้เขามีพัฒนาการที่ดีในการด้านความคิด และการหาคำตอบ เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยพ่อแม่ก็ได้เรียนรู้ว่าเด็กกำลังคิดอะไรอยู่ มีความรู้สึกอย่างไรกับโรงเรียน รู้สึกอย่างไรกับครู และเพื่อนๆ



ทั้งนี้ ถ้าเด็กๆ คิดอะไรอยู่เช่นกำลังคิดจะแกล้งเพื่อนหรือถูกเพื่อนแกล้ง พ่อแม่จะมีโอกาสตักเตือนและสอนลูกได้จากเรื่องเล่าประจำวันที่เกิดขึ้นเมื่อ ไปโรงเรียน ซึ่งแต่ละวันเด็กๆ จะเล่าเรื่องตัวเองโดยใช้เวลาอย่างมากที่สุด 5 - 20 นาที ดังนั้นพ่อแม่ควรจะจัดสรรเวลาส่วนนี้ให้ลูก เนื่องจากเป็นเวลาที่มีคุณค่ากับเด็กๆ และพ่อแม่"



ดร. พัฒนา ชัชพงศ์ อาจารย์ภาควิชาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า การที่พ่อแม่รับฟังเรื่องเล่าจากลูกๆ จะทำให้เด็กรู้สึกดี สบายใจและมีความสุข และการฟังเพียงอย่างเดียวก็ไม่เกิดประโยชน์ พ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องแลกเปลี่ยนและพูดคุยกับเด็กๆ ด้วย



อย่าง เช่นเมื่อเด็กๆ เล่าว่าไปโรงเรียนได้เล่นสนุก มีของเล่นเยอะแยะ และได้ฟังนิทานจากคุณครู พ่อแม่ต้องถามต่อว่าแล้วหนูเล่นกับใคร มีเพื่อนชื่ออะไรบ้าง คุณครูที่เล่านิทานชื่ออะไร ไหนลองเล่าให้แม่ หรือให้พ่อฟังซิว่า นิทานเรื่องที่หนูฟังมาจากคุณครูมันสนุกอย่างไร เด็กๆ ก็จะเล่าและพูดคุยต่อ



การ พูดคุยจึงมีการต่อเนื่อง เด็กๆ จะเกิดพัฒนาทางภาษา เกิดความคิดและจินตนาการ การฟังเด็กๆ เล่าเรื่องราวของตัวเองที่โรงเรียนจึงเป็นการพัฒนาเด็กอย่างง่ายๆ ที่พ่อแม่สามารถช่วยลูกได้ และจะก่อให้เกิดคุณค่าต่อเด็กคนนั้นมากมาย



“การ ฟังเรื่องราวของเด็กๆ จะทำให้พ่อแม่เห็นการพัฒนาการและการปรับตัวเพื่อเข้าสังคมของเด็กๆ ได้อย่างชัดเจน เพราะเขาจะเล่าว่าวันนี้เขารู้จักเพื่อนคนนั้นคนนี้ รู้จักและได้ช่วยคุณครูทำงาน สิ่งสำคัญพ่อแม่ต้องพูดทัศนะเชิงบวกเกี่ยวกับโรงเรียนให้เด็กๆ ฟัง ไม่ใช่สร้างทัศนะเชิงลบให้เด็กรู้สึกหวาดกลัวโรงเรียนและมีทัศนะที่ไม่ดีต่อ โรงเรียน ดังนั้นการพูดคุยกับเด็กๆ เกี่ยวกับเรื่องราวในโรงเรียนจึงควรเป็นเรื่องที่ดีๆ



ไม่ ควรขู่เด็กเกี่ยวกับโรงเรียน เช่น ถ้าเด็กๆ ดื้อจะส่งไปให้ครูที่โรงเรียน ซึ่งเด็กๆ จะรู้สึกว่าโรงเรียนคือสถานที่ที่น่ากลัว เขาจะรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นนักโทษและมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อโรงเรียน แม้ว่าโรงเรียนแห่งนั้นจะมีการเรียนการสอนที่ดีและมีกิจกรรมที่แสนสนุก อย่างไรก็ตาม เพราะเด็กๆ ถูกประทับความรู้สึกที่ไม่ดีเกี่ยวกับโรงเรียน กว่าที่เขาจะปรับตัวเองได้เพื่อเรียกความรู้สึกดีๆ และความมั่นใจที่มีต่อโรงเรียนกลับมานั้นจึงต้องใช้เวลาเป็นการบำบัด จะเห็นว่าคำพูดหรือถ้อยคำที่พ่อแม่ส่งผ่านไปถึงลูกนั้นเป็นเรื่องละเอียด อ่อนและต้องให้ความสำคัญอย่างมาก"



เป็น เวลาที่ไม่มากเลย เพียงแค่ 5 - 20 นาที แต่ประโยชน์ที่ได้นอกจากความอบอุ่นในครอบครัวแล้ว ยังทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาที่รวดเร็วอีกด้วย คุณพ่อคุณแม่ท่านใดทราบเทคนิคดีๆ เหล่านี้แล้วก็อย่ารอช้า หาเวลาคุยกับลูกด้วยทัศนคติเชิงบวกกันดีกว่าค่ะ











noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #3 เมื่อ: 25 ม.ค. 10, 18:41 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

เกมฝึกนิสัยและสมองลูกรัก

เสริมพัฒนาการ สานสัมพันธ์ครอบครัว



เกม เป็นสิ่งที่เด็กๆ ชอบ เพราะให้ทั้งความสนุกสนาน และช่วยผ่อนคลายความเครียดด้วยในเวลาเดียวกัน ยิ่งถ้าเป็นเกมที่เด็กๆ ได้เล่นกันในครอบครัวระหว่างพี่ๆ น้องๆ แล้ว เด็กๆ มักจะชอบมากเป็นพิเศษ



การ ฝึกสมองและเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีให้แก่เด็กโดยผ่านทางเกมเป็นกิจกรรม ที่ผู้ปกครองสามารถเล่นกับเด็กได้ทุกวัน นอกจากนี้การเล่นเกมยังมีประโยชน์ในการให้เด็กๆ ได้ฝึกสมอง ได้ออกกำลังกาย ได้แสดงอารมณ์ ซึ่งจะยกตัวอย่างดังนี้



เกมดาวน้อยน่ารัก



เกม นี้เป็นเกมหนึ่งที่เด็กๆ ทุกคนชอบ เพราะสามารถเล่นได้ง่ายๆ โดยเมื่อคุณพ่อคุณแม่เห็นลูกของเรามีพฤติกรรมที่ดีขึ้นจากเดิม ก็ให้คุณพ่อคุณแม่เขียนรูปดาวลงบนตารางในทันที เช่น พูดเพราะขึ้น ทานอาหารเรียบร้อยขึ้น การช่วยเก็บกวาดทำความสะอาดบ้าน เด็กก็จะได้รับดาว และหากดาวมีครบตามจำนวนอายุของเด็ก คุณพ่อคุณแม่ก็จะให้รางวัลแก่เด็ก เช่น พาไปเที่ยว ให้ขนมหรือของเล่นที่เด็กๆ ชอบ



เกมเจ้าชายและเจ้าหญิงใบ้



เกม นี้จะช่วยฝึกเด็กๆให้เรียนรู้ถึงสมาธิ ความเงียบ และการใช้เสียงในเวลาที่เหมาะสม ระยะเวลาเริ่มแรกในการเล่นเกมนี้ไม่ควรใช้เวลานานจนเกินไป โดยเริ่มแรกควรตั้งเวลาไว้ประมาณ 20 นาที ให้เด็กๆ ทำกิจกรรมที่ชอบ อาจเป็นการเล่นกันระหว่างพี่ๆ น้องๆ โดยมีกติกาว่าห้ามส่งเสียงหรือพูดกันในระยะเวลาที่กำหนด ในช่วงเริ่มต้นของการเล่นเกมนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องเข้ามาสังเกตเด็กๆ ทุก 2 นาที หรือ 5 นาที และให้รางวัลเล็กๆ น้อยๆ



หาก เด็กทำกิจกรรมถูกต้องตามกติกาด้วยการไม่ส่งเสียงพูดกันในระยะเวลาที่กำหนด หลังจากนั้นให้ใช้เวลายาวนานมากขึ้น อาจเพิ่มเวลาเป็นครึ่งชั่วโมง หรือ 2 - 3 ชั่วโมง แล้วแต่ความเหมาะสม การให้รางวัลทุกครั้งที่เห็นความตั้งใจหรือความพยายามของเด็ก จะเป็นการให้กำลังใจและเสริมแรงให้เด็กได้รับการพัฒนาให้เป็นคนมีสมาธิในการ ทำงานเพิ่มขึ้น



เกมขั้วบวก ขั้วลบ



เกมส์นี้เหมาะสำหรับเด็ก Hyperactive เด็กสมาธิสั้น และเด็กออทิสติก วิธีเล่นเกมมีดังนี้ จัดตารางขึ้น 2 ตาราง โดยทำตารางเป็น 2 สี เช่น สีขียว คือ ตารางทำความดี (ขั้วบวก) และสีแดงเป็นตารางซุกซน (ขั้วลบ) ทุกครั้งที่คุณพ่อคุณแม่เห็นเด็กทำความดี เช่น เก็บของเข้าที่ ล้างมือก่อนทานขนม ให้คุณแม่ใส่เครื่องหมายบวกบนกระดานในทันที



และ เมื่อเห็นเด็กทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ทิ้งของเรี่ยราดบนพื้น ให้ใส่เครื่องหมายลบลงในตาราง ในเกมนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตบ่อยๆ หรือทุกชั่วโมงในช่วงแรกๆ และให้รางวัลเมื่อเด็กมีพฤติกรรมขั้วบวกมากกว่าขั้วลบ



เกมนับไป กินไป



เกม นี้จะช่วยฝึกสมองของเด็กๆในเรื่องของคณิตศาสตร์ โดยเกมนี้สามารถเล่นได้ง่ายๆ ในโต๊ะอาหาร โดยที่คุณพ่อคุณแม่เตรียมอุปกรณ์ คือ ขนมขบเคี้ยวหรือขนมปังชิ้นเล็กๆ ที่มีขนาดพอคำ โดยคุณพ่อคุณแม่ทำให้เด็กดูเป็นตัวอย่างก่อนในการค่อยๆ นับชิ้นขนมปังทีละชิ้นใส่ลงไปในจานข้างหน้าเด็ก หลังจากนั้นให้เด็กนับขนมแต่ละชิ้นก่อนที่เด็กจะหยิบกิน เชื่อว่าเกมนี้จะให้ทั้งความสนุกสนานและความอร่อย อีกทั้งช่วยฝึกในเรื่องจำนวนนับให้แก่เด็กๆ อีกด้วย



การ เล่นเกมถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่นักจิตวิทยาใช้สำหรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก ที่มีปัญหาได้ ทั้งยังช่วยฝึกสมอง ประลองปัญญา และสามารถเสริมสร้างพฤติกรรมที่ดีให้แก่เด็กได้อีกวิธีหนึ่ง แต่ข้อควรจำสำหรับคุณพ่อคุณแม่ในการเล่นเกมกับลูกๆ นั้น สิ่งสำคัญที่สุดก็คือกฎกติกาในการเล่นเกมนั้นควรมีการยืดหยุ่นได้ตามอายุและ พัฒนาการของเด็ก

















noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #4 เมื่อ: 25 ม.ค. 10, 18:43 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ช่วยลูกทำ “การบ้าน” อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ?





เทศกาลเปิดเทอมเริ่มต้นขึ้นแล้ว ถึงวันนี้เชื่อว่าเด็กๆ และพ่อแม่ผู้ปกครองหลายบ้านคงได้เจอกับ "การบ้าน" ล็อตใหม่ของลูกๆ ที่มาพร้อมกับความท้าทายน่าลองทำไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ดี แม้โจทย์จะง่ายแสนง่าย แต่คุณพ่อคุณแม่หลายท่านก็ยังมีปัญหาในการ "สอนลูกทำการบ้าน" กันอยู่ ทีมงานจึงมองหาเคล็ดลับในการทำให้ ชั่วโมงทำการบ้านกลายเป็นช่วงเวลาท้าทาย และไม่ทำให้เด็กต้องเสียน้ำตามาฝากกันค่ะ



บทบาทที่พ่อแม่ควรเล่น



บทบาทของพ่อแม่กับการเรียนของลูกมีเพียงบทบาทเดียวก็คือ “ผู้สนับสนุน” ยก ตัวอย่างการสนับสนุนเด็กๆ เวลาทำการบ้าน เช่น ช่วยลูกอ่านโจทย์ อยู่ข้างๆ เป็นกำลังใจ ตลอดจนตรวจสอบว่าลูกทำการบ้านครบตามที่คุณครูมอบหมายหรือไม่



อย่างไรก็ดี มีคุณพ่อคุณแม่จำนวนไม่น้อยที่เข้ามาช่วยลูกๆ ทำการบ้านเพราะเกรงว่าลูกจะตอบคำถาม "ผิด" ไป ซึ่งอาจทำให้เด็กเครียดกับการค้นหาคำตอบที่ถูกต้องเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่คลาย ความกังวลใจก็เป็นได้ ดังนั้น แม้ลูกจะตอบผิดพลาดไปบ้าง ก็ควรเปิดโอกาสให้เขาได้ตอบผิด เพื่อที่จะได้เรียนรู้ถึงสิ่งที่ตนเองขาดตกบกพร่อง และควรหาเวลาหาวิธีฝึกทักษะให้ลูกเพิ่มเติมในจุดที่เขายังบกพร่องอยู่เพิ่ม เติม



หลายโรงเรียนในปัจจุบันเริ่มให้เด็กคิดโครงงาน ค้นคว้าหาข้อมูล ทำรายงานส่งคุณครู การทำงานเป็นโปรเจ็คเหล่านี้จะช่วยให้เด็กฝึก "วินัย" ในตัวเองได้ ซึ่งรูปแบบการฝึกวินัยนั้นอาจเริ่มจากการหาปฏิทิน Project Planner หรือ คุณพ่อคุณแม่จะหากระดาษมาลงทุนวาด ตีตารางให้ลูกเองก็ได้ ซึ่งสำหรับเด็กแล้วไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นใหญ่มากนัก ลูกจะได้ใช้วางแผนว่า ในแต่ละวันควรทำสิ่งใดบ้างเพื่อให้การบ้านโดยรวมสำเร็จตามเป้าหมาย และสามารถส่งได้ตามกำหนด



ทักษะ ในการวางแผนและการจัดการนี้ หากฝึกบ่อยๆ จะช่วยให้เด็กคุ้นเคยกับการจัดการสิ่งต่างๆ อย่างเป็นระบบ และจะยิ่งมีความจำเป็นมากในอนาคต



การบ้าน...สร้างอนาคต



การ สร้างความไว้วางใจในชั่วโมงทำการบ้านของลูกๆ ว่าพ่อแม่พร้อมจะอยู่เคียงข้าง และให้ความช่วยเหลือในปัญหาที่ลูกติดขัดเสมอเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เด็กๆ ต้องการ อย่างไรก็ดี ควรทำให้เด็กๆ ตระหนักด้วยว่า ความอุตสาหะ และการตัดสินใจที่เกิดขึ้นโดยตัวเด็กเองนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า ซึ่งการฝึกทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่ใช่เพียงแค่ว่าต้องการให้เด็กๆ ได้เกรดดี แต่ยังหมายถึงการมี "ก้าวที่มั่นคง" ของชีวิตเพิ่มขึ้นทีละก้าวๆ ด้วย



คอมพิวเตอร์..อุปกรณ์สำคัญที่ไม่ควรตั้งในห้องลูก



ถ้า หากครอบครัวต้องเสียเงินซื้อคอมพิวเตอร์ให้ลูก โดยมาจากคำอ้างที่ว่าต้องการคอมพิวเตอร์สำหรับทำการบ้านส่งคุณครูที่ โรงเรียนแล้วล่ะก็ พยายามหลีกเลี่ยงการตั้งคอมพิวเตอร์ไว้ในห้องส่วนตัวของเด็กๆ โดยเด็ดขาด แต่ให้วางไว้ "กลางบ้าน" ในที่ที่ทุกคนสามารถเห็นได้ และไม่ควรมีโปรแกรมเกม และโปรแกรมแชตติดตั้งเอาไว้ให้เด็กได้ใช้



นอกจากนั้น ควรศึกษาเกี่ยวกับฟีเจอร์ Parental Control ซึ่งในระบบปฏิบัติการหลายยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นวินโดวส์ หรือ Mac OS X จะ มีฟีเจอร์ดังกล่าวเตรียมเอาไว้ให้ เพื่อที่ผู้ปกครองจะได้เข้าไปกำหนดการใช้งานของโปรแกรม การสกรีนคอนเทนท์จากอินเทอร์เน็ตที่ลูกจะเปิดดูได้ รวมถึงสามารถติดตามการใช้งานโปรแกรมต่างๆ ของลูกได้ผ่านทางฟีเจอร์ดังกล่าว



"ของ" ไม่จำเป็นระหว่างทำการบ้าน



การ ตั้งกฎระหว่างการทำการบ้านเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเด็กอาจคุ้นเคยกับการมีของเล่นรอบตัว หรือสิ่งดึงดูดใจต่างๆ จนทำให้เสียสมาธิในการทำการบ้านไปในที่สุด ยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ไม่ควรปรากฏกายเมื่อลูกต้องทำการบ้าน เช่น



- โทรทัศน์



- โทรศัพท์



- เครื่องเล่นวิดีโอเกม



- ของเล่นอื่นๆ ที่ลูกชื่นชอบ



แต่ เพื่อไม่ให้โลกของเด็กต้องแห้งเหี่ยวลงไปในระหว่างการทำการบ้าน อาจมองหากบเหลาดินสอสวยๆ ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัดน่ารักๆ มาให้ลูกใช้ทดแทนได้ค่ะ











noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #5 เมื่อ: 25 ม.ค. 10, 18:44 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ช่วยลูกทำ “การบ้าน” อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ?

แนะพ่อแม่เสริมชม. เรียนรู้ สร้างอนาคตที่ดีแก่เด็ก





เทศกาลเปิดเทอมเริ่มต้นขึ้นแล้ว ถึงวันนี้เชื่อว่าเด็กๆ และพ่อแม่ผู้ปกครองหลายบ้านคงได้เจอกับ "การบ้าน" ล็อตใหม่ของลูกๆ ที่มาพร้อมกับความท้าทายน่าลองทำไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ดี แม้โจทย์จะง่ายแสนง่าย แต่คุณพ่อคุณแม่หลายท่านก็ยังมีปัญหาในการ "สอนลูกทำการบ้าน" กันอยู่ ทีมงานจึงมองหาเคล็ดลับในการทำให้ ชั่วโมงทำการบ้านกลายเป็นช่วงเวลาท้าทาย และไม่ทำให้เด็กต้องเสียน้ำตามาฝากกันค่ะ



บทบาทที่พ่อแม่ควรเล่น



บทบาทของพ่อแม่กับการเรียนของลูกมีเพียงบทบาทเดียวก็คือ “ผู้สนับสนุน” ยก ตัวอย่างการสนับสนุนเด็กๆ เวลาทำการบ้าน เช่น ช่วยลูกอ่านโจทย์ อยู่ข้างๆ เป็นกำลังใจ ตลอดจนตรวจสอบว่าลูกทำการบ้านครบตามที่คุณครูมอบหมายหรือไม่



อย่างไรก็ดี มีคุณพ่อคุณแม่จำนวนไม่น้อยที่เข้ามาช่วยลูกๆ ทำการบ้านเพราะเกรงว่าลูกจะตอบคำถาม "ผิด" ไป ซึ่งอาจทำให้เด็กเครียดกับการค้นหาคำตอบที่ถูกต้องเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่คลาย ความกังวลใจก็เป็นได้ ดังนั้น แม้ลูกจะตอบผิดพลาดไปบ้าง ก็ควรเปิดโอกาสให้เขาได้ตอบผิด เพื่อที่จะได้เรียนรู้ถึงสิ่งที่ตนเองขาดตกบกพร่อง และควรหาเวลาหาวิธีฝึกทักษะให้ลูกเพิ่มเติมในจุดที่เขายังบกพร่องอยู่เพิ่ม เติม



หลายโรงเรียนในปัจจุบันเริ่มให้เด็กคิดโครงงาน ค้นคว้าหาข้อมูล ทำรายงานส่งคุณครู การทำงานเป็นโปรเจ็คเหล่านี้จะช่วยให้เด็กฝึก "วินัย" ในตัวเองได้ ซึ่งรูปแบบการฝึกวินัยนั้นอาจเริ่มจากการหาปฏิทิน Project Planner หรือ คุณพ่อคุณแม่จะหากระดาษมาลงทุนวาด ตีตารางให้ลูกเองก็ได้ ซึ่งสำหรับเด็กแล้วไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นใหญ่มากนัก ลูกจะได้ใช้วางแผนว่า ในแต่ละวันควรทำสิ่งใดบ้างเพื่อให้การบ้านโดยรวมสำเร็จตามเป้าหมาย และสามารถส่งได้ตามกำหนด



ทักษะ ในการวางแผนและการจัดการนี้ หากฝึกบ่อยๆ จะช่วยให้เด็กคุ้นเคยกับการจัดการสิ่งต่างๆ อย่างเป็นระบบ และจะยิ่งมีความจำเป็นมากในอนาคต



การบ้าน...สร้างอนาคต



การ สร้างความไว้วางใจในชั่วโมงทำการบ้านของลูกๆ ว่าพ่อแม่พร้อมจะอยู่เคียงข้าง และให้ความช่วยเหลือในปัญหาที่ลูกติดขัดเสมอเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เด็กๆ ต้องการ อย่างไรก็ดี ควรทำให้เด็กๆ ตระหนักด้วยว่า ความอุตสาหะ และการตัดสินใจที่เกิดขึ้นโดยตัวเด็กเองนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า ซึ่งการฝึกทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่ใช่เพียงแค่ว่าต้องการให้เด็กๆ ได้เกรดดี แต่ยังหมายถึงการมี "ก้าวที่มั่นคง" ของชีวิตเพิ่มขึ้นทีละก้าวๆ ด้วย



คอมพิวเตอร์..อุปกรณ์สำคัญที่ไม่ควรตั้งในห้องลูก



ถ้า หากครอบครัวต้องเสียเงินซื้อคอมพิวเตอร์ให้ลูก โดยมาจากคำอ้างที่ว่าต้องการคอมพิวเตอร์สำหรับทำการบ้านส่งคุณครูที่ โรงเรียนแล้วล่ะก็ พยายามหลีกเลี่ยงการตั้งคอมพิวเตอร์ไว้ในห้องส่วนตัวของเด็กๆ โดยเด็ดขาด แต่ให้วางไว้ "กลางบ้าน" ในที่ที่ทุกคนสามารถเห็นได้ และไม่ควรมีโปรแกรมเกม และโปรแกรมแชตติดตั้งเอาไว้ให้เด็กได้ใช้



นอกจากนั้น ควรศึกษาเกี่ยวกับฟีเจอร์ Parental Control ซึ่งในระบบปฏิบัติการหลายยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นวินโดวส์ หรือ Mac OS X จะ มีฟีเจอร์ดังกล่าวเตรียมเอาไว้ให้ เพื่อที่ผู้ปกครองจะได้เข้าไปกำหนดการใช้งานของโปรแกรม การสกรีนคอนเทนท์จากอินเทอร์เน็ตที่ลูกจะเปิดดูได้ รวมถึงสามารถติดตามการใช้งานโปรแกรมต่างๆ ของลูกได้ผ่านทางฟีเจอร์ดังกล่าว



"ของ" ไม่จำเป็นระหว่างทำการบ้าน



การ ตั้งกฎระหว่างการทำการบ้านเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเด็กอาจคุ้นเคยกับการมีของเล่นรอบตัว หรือสิ่งดึงดูดใจต่างๆ จนทำให้เสียสมาธิในการทำการบ้านไปในที่สุด ยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ไม่ควรปรากฏกายเมื่อลูกต้องทำการบ้าน เช่น



- โทรทัศน์



- โทรศัพท์



- เครื่องเล่นวิดีโอเกม



- ของเล่นอื่นๆ ที่ลูกชื่นชอบ



แต่ เพื่อไม่ให้โลกของเด็กต้องแห้งเหี่ยวลงไปในระหว่างการทำการบ้าน อาจมองหากบเหลาดินสอสวยๆ ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัดน่ารักๆ มาให้ลูกใช้ทดแทนได้ค่ะ













noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #6 เมื่อ: 25 ม.ค. 10, 18:46 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ใครมีเด็กดื้ออยู่ที่บ้าน…มาทางนี้!!


แนะวิธีสอนลูกด้วยรักและเข้าใจกัน





แม้ว่าที่ผ่านมา เด็กๆ ชอบจะทำอะไรก็ตามด้วยความไร้เดียงสา ในขณะที่ผู้ใหญ่ก็มักพูดกันว่า ‘เด็กไม่รู้...ไม่ผิด’ แต่ ในความไม่รู้นั้น มันเกิดคำถามตามมาว่าพ่อแม่ควรสอนให้เขารู้หรือไม่ ว่าการร้องไห้งอแงจะเอาของเล่นโดยไม่ฟังเหตุผลของพ่อแม่ การเอาแต่ใจตนเองอยากไปไหนมาไหน แล้วแสดงออกเพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้ใหญ่ หรือการที่พ่อแม่สอนให้ช่วยเหลืองานบ้าน แต่เขากลับไม่อยากทำเพียงเพราะห่วงเล่นอย่างเดียวนั้น มันเป็นสิ่งที่ทำให้เขาไม่น่ารัก



และ แน่นอนว่า หลายครอบครัวที่ประสบกับปัญหาเหล่านี้ บางคนหาทางออกโดยการตามใจลูกเสียทุกอย่างเพียงเพราะไม่อยากได้ยินเสียง ร้องไห้งอแง หรือเบื่อที่จะฟัง รำคาญที่จะพูด ขณะที่บางคนอาจหาทางออกด้วยการลงไม้ลงมือ ทำโทษลูกตลอดเวลา จนเป็นเหตุให้เขากลายเป็นเด็กมีปัญหามากที่สุด



ทั้งนี้ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้แนะวิธีที่พ่อแม่ควรปฏิบัติกับลูกอย่างถูกวิธีดังนี้



1. “เรียกลูก” เรียกให้เด็กสนใจฟังคุณ และหันมามองคุณก่อนจะบอกให้เด็กทำอะไร เช่น “ต้อม...มองหน้าแม่ ซิ... แม่จะบอกอะไรหน่อยครับ”



2. “ชมลูก” ชมเด็กทันทีที่เด็กหันมาให้ความสนใจที่คุณ เช่น “ดีมากครับ...ที่หันมามองแม่”



3. “พูดดี” ให้ใช้คำพูดที่ง่าย สั้น และชัดเจนทีละคำสั่ง เช่น “เอาล่ะ...ช่วยเอาผ้านี่ไปใส่ตะกร้าให้แม่ทีครับ”



ส่วนสิ่งที่พ่อแม่ควรระลึกไว้เสมอเพื่อทำความเข้าใจธรรมชาติของลูกนั้นมีดังนี้



1. “อย่าสั่ง - คาดหวัง” สิ่งที่คุณต้องการให้เด็กทำต้องเป็นสิ่งที่เด็กทำได้ อย่าสั่งหรือคาดหวังให้เด็กทำในสิ่งที่เกินความสามารถของเด็ก



2. “อย่าพูดซ้ำ” ควร บอกให้เด็กทำงานทีละชิ้นเพียงครั้งเดียว ให้เวลา 5 วินาที สำหรับเด็กในการทำตามที่คุณบอก อย่าพูดซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นครั้งที่ 2 หรือ 3



3. “อย่ายัดเยียด” หลีกเลี่ยงการบอกให้เด็กทำงานชิ้นที่ 2 ในขณะที่เขากำลังทำงานชิ้นแรกอยู่



4. “อย่าโลเล” ถ้าคุณยังไม่พร้อมที่จะเด็ดขาดเอาจริงกับเด็กเวลาเด็กต่อต้านคุณ คุณก็ยังไม่พร้อมที่จะบอกให้เด็กทำอะไร



และเมื่อเด็กเชื่อฟัง ทำตามที่พ่อแม่บอกแล้ว สิ่งที่พ่อแม่ควรปฏิบัติมีดังนี้



1. “ชมทันที” ควรให้คำชมทันทีที่เด็กเริ่มทำตามที่คุณบอก เช่น “ดีมากครับ...ที่น้องโจลุกมาเก็บของเล่นทันทีที่แม่เรียก...แม่พอใจมากเลย”



2. “ชมอีกครั้ง” และให้คำชมอีกครั้งเมื่อเด็กทำงานที่คุณสั่งสำเร็จ เช่น “เยี่ยมจริงๆ...แม่เห็นเลยว่าหนูตั้งใจล้างจานพวกนี้จนสะอาด...เก่งมากคะ”



3. “ภาษากาย” อย่าลืมภาษากาย!!...แสดงความชื่นชมโดยการหอม กอด ลูบหัว ฯลฯ



แต่ทว่า หากลูกดื้อเกินกว่าที่คาดไว้ เมื่อเขายังไม่ทำตามสั่งภายใน 5 วินาที...พ่อแม่ควรทำดังนี้



1. “นับ 1...” พ่อแม่ควรเริ่มนับ “1...2...3” (ต้องมีการคุยกับเด็กเอาไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่า หากนับถึง 3 แล้วเด็กยังไม่ทำตามที่คุณบอกจะเกิดอะไรตามมา)



2. “ถึง 3...งานเข้า!!” หาก นับถึง 3 แล้วเด็กยังไม่ทำตามที่คุณบอก ต้องเอาจริง เด็ดขาดในการลงโทษตามกฎที่ตกลงกันไว้ เช่น ริบของเล่น หักค่าขนม ปิดทีวี ปิดเกม ตัดสิทธิในสิ่งที่เด็กชอบ ฯลฯ อย่าดีแต่บ่น...ขู่ หรือใจอ่อน



3. “เงียบสงบ สยบความเคลื่อนไหว” เพิกเฉยหากเด็กทำท่าทางไม่เหมาะสม เพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือแสดงความหงุดหงิดม่พอใจ เช่น บ่น งอน ปึงปัง โวยวาย ฯลฯ



ทั้งหมด นี้เป็นกลเม็ดที่พ่อแม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งเด็กที่ดื้ออาจเชื่อฟังมากขึ้นอีก เมื่อพ่อแม่พูดกับเขาด้วยน้ำเสียงที่ราบเรียบ นุ่มนวล ไม่ใช้อารมณ์ ให้โอกาสเขาได้เลือกสิ่งที่พ่อแม่ต้องการให้ทำ (แต่สิ่งที่พ่อแม่กำหนดต้องเป็นสิ่งที่ยอมรับได้) เช่น



หากคุณต้องการให้เด็กอาบน้ำและแปรงฟัน คุณอาจจะพูดกับเด็กว่า “โอ๋...ได้เวลาอาบน้ำ แปรงฟันแล้วครับ...แม่ให้เลือกเอาว่าโอ๋จะอาบน้ำก่อน หรือแปรงฟันก่อนดีครับ” หากเด็กไม่ยอมเลือกอะไรเลย เตือนเด็กอีกครั้งว่าบทลงโทษของเราสำหรับเด็กที่ไม่เชื่อฟังคืออะไร โดยใช้คำพูดทำนองนี้ “แม่ก็จำเป็นต้องทำตามกฎที่เราคุยกันไว้.............”













noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #7 เมื่อ: 25 ม.ค. 10, 18:47 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

นิสัยไม่ดี’ ที่พ่อแม่ไม่ควรทำ



แนะผู้ปกครอบควรเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูก





หน้าที่หลักของคนเป็นพ่อแม่คืออะไร?



ใน ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเห็นว่า หน้าที่หลักของพ่อแม่ก็คือการเลี้ยงดูลูกด้วยความรักและความเข้าใจ ดูแลเอาใจใส่ให้เขาเจริญเติบโตอย่างสมวัยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญาและจิตวิญญาณ นอกจากนี้การที่พ่อแม่ประพฤติตนเป็นแบบแผนที่ดีในการดำเนินชีวิตให้แก่ลูกก็ ถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่ละเลยไม่ได้เช่นเดียวกัน แต่คงมีพ่อแม่หลายคนที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในบางครั้งอาจประพฤติปฏิบัติตนในสิ่งที่ไม่ถูกต้องกับลูกบ้างเหมือนกัน ซึ่งพอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้



1. การนอกใจกันของสามีภรรยา เป็นหนึ่งในปัญหายอดฮิตของครอบครัวที่มีมาทุกยุคทุกสมัย ซึ่งพฤติกรรมการไม่ซื่อสัตย์ต่อกันระหว่างสามีภรรยา เช่น สามีมีเมียน้อย ภรรยามีชู้ การแอบมีกิ๊ก เป็นปัญหาที่นำครอบครัวไปสู่ความล่มสลายและสร้างความขมขื่นเป็นรอยแผลใน จิตใจของลูกอย่างยิ่ง และสิ่งนี้อาจส่งผลให้แก่ลูกเมื่อเขาเติบโตขึ้น เขาอาจจะมีแนวโน้มเป็นคนที่มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อชีวิตครอบครัว และหลายคนอาจมีพฤติกรรมเป็นคนสำส่อน เจ้าชู้และไม่ซื่อสัตย์ต่อคู่ครองเหมือนกับพ่อแม่ได้



2. การใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว ทั้งความรุนแรงที่พ่อแม่กระทำต่อกัน เช่น พ่อแม่ทะเลาะตบตีลงไม้ลงมือกัน ด่าว่ากันด้วยถ้อยคำหยาบคาย หรือการที่พ่อแม่ใช้ความรุนแรงกับลูก ล้วนส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อจิตใจของลูกโดยตรง ความรุนแรงในครอบครัวเป็นพฤติกรรมที่ถ่ายทอดได้ โดยส่วนใหญ่พบว่าเด็กที่มีพฤติกรรมเป็นนักเลง ก้าวร้าว ชอบความรุนแรง มักเป็นเด็กที่มาจากครอบครัวที่พ่อแม่นิยมใช้ความรุนแรงแทบทั้งสิ้น



3. การเป็นทาสของสิ่งเสพติดและการพนัน เด็กที่มีพ่อแม่เป็นทาสของสิ่งเสพติดและการพนันเป็นเด็กที่น่าสงสารมาก เพราะพ่อแม่ที่ตกเป็นทาสของสิ่งเหล่านี้มักจะเป็นคนที่ขาดความรับผิดชอบและ ขาดความยับยั้งชั่งใจ มีหลายครอบครัวที่ต้องหมดเนื้อหมดตัวและหมดอนาคตเพราะติดยาและผีพนันเข้าสิง ทำให้ลูกได้รับความยากลำบากไปด้วย หรือในบางกรณีพ่อแม่ได้ทำร้ายร่างกายหรือจิตใจของลูกโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ เนื่องจากควบคุมตัวเองไม่ได้ ไม่มีสติสัมปชัญญะเพราะอยู่ในอาการมึนเมา นอกจากนี้การติดสิ่งเสพติดทั้งหลายยังเป็นการทำลายสุขภาพทั้งตัวของตัวพ่อ แม่เองและของลูกด้วย



นอกจาก กรณีที่กล่าวมาแล้ว ยังมีนิสัยไม่ดีอื่นๆ อีกที่พ่อแม่ไม่ควรทำเพราะเป็นสิ่งที่ลูกอาจเอาเยี่ยงอย่างได้ เช่น พูดโกหก ไม่รู้จักกาลเทศะ อกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เจ้าอารมณ์ เกียจคร้าน สุรุ่ยสุร่าย



นิสัยดีๆ ที่พ่อแม่ควรทำ



1. มอบความรักแก่กัน ความรัก ความเอาใจใส่และความใกล้ชิดของคนในครอบครัว ไม่ว่าพ่อให้แม่ แม่ให้พ่อ พ่อแม่ให้ลูก จะทำให้ครอบครัวมีความสุขทั้งใจและกาย และมีภูมิคุ้มกันที่จะไม่เป็นครอบครัวที่แตกแยก



2. ดูแลกันให้มีสุขภาพที่ดี พ่อแม่ควรดูแลกันและดูแลลูกให้ได้รับอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ช่วยดูแลความสะอาดของเสื้อผ้าเนื้อตัวร่างกาย จัดให้ครอบครัวได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี รวมทั้งส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของทั้งพ่อแม่และลูกจะได้ แข็งแรงและมีอารมณ์ที่แจ่มใส



3. ทำความดีไม่ขาด พ่อแม่ต้องอบรมสั่งสอน ประพฤติดีและทำความดีให้ลูกเห็นเป็นตัวอย่าง เช่น พูดจาดี คิดดี กิริยาดี การกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ การแสดงความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน และรักผู้อื่นเหมือนที่เรารักตนเอง



4. สนับสนุนส่งเสริมในทุกทาง พ่อแม่เป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของลูก ทั้งด้านการศึกษาและการเรียนรู้ต่างๆ ให้ลูกได้มีอิสระในความคิด เปิดโอกาสให้เขาได้แสดงความคิดเห็นในมุมมองของเขา และให้เขาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวด้วยตนเอง อย่าปิดกั้นแต่ต้องคอยดูแล ให้กำลังใจและไม่ซ้ำเติมเมื่อลูกทำสิ่งผิดพลาด



นอกจาก นี้พ่อแม่ควรสนับสนุนให้ลูกได้ศึกษาในสิ่งที่เขาชอบและถนัด พ่อแม่บางคนคาดหวังว่าลูกจะต้องเก่งและประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่พ่อแม่ ตั้งไว้โดยไม่คำนึงถึงความพอใจและความรู้สึกของลูก ผู้เขียนรู้จักเด็กๆ หลายคนที่ไม่อยากเรียนบัลเล่ต์ ไม่อยากเรียนเปียโน ไม่อยากเรียนกวดวิชา แต่จำใจต้องเรียนเพราะถูกพ่อแม่บังคับ ผลเสียที่อาจเกิดกับลูกคือลูกจะเป็นคนที่มีสุขภาพจิตไม่ดี เก็บกด เครียดง่าย มีความวิตกกังวลสูงและยืดหยุ่นกับชีวิตไม่เป็น



ผู้ เขียนเคยเปรียบว่าลูกเป็นเหมือนผ้าขาวที่สะอาดและบริสุทธิ์ และลูกเป็นเหมือนสำเนาของพ่อแม่ เมื่อพ่อแม่ประพฤติดีลูกก็จะซึมซับในสิ่งที่ดี และประพฤติปฏิบัติดีเช่นพ่อแม่ แต่หากพ่อแม่เป็นแบบแผนที่ไม่ดีให้แก่ลูกแล้ว เขาก็ไม่ต่างอะไรกับผ้าขาวที่ต้องแปดเปื้อนและยากที่จะซักล้างออกได้ หากคุณพร้อมที่จะอยู่ในฐานะพ่อแม่แล้ว ทำหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่นี้ของคุณให้ดีที่สุดเพื่อลูกที่น่ารักของคุณเอง











noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #8 เมื่อ: 25 ม.ค. 10, 18:49 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

“สายวัดใกล้กันอีกนิด” พบพ่ออยู่ใกล้ชิดลูกน้อย



แนะสร้างกิจกรรมในครอบครัว



ชูนวัตกรรมใหม่ “สายวัดใกล้กันอีกนิด” ประเมิน ความสัมพันธ์คนในครอบครัว เผยผลสำรวจ ลูกเลือกเดินเข้าหาแม่มากกว่าพ่อ ขณะที่พ่อ ลูก มีความห่างกันมากสุด ด้านการใช้เวลาว่างร่วมกันก็ยังเป็นแม่ที่ให้เวลากับลูกมากกว่าพ่อ สะท้อนความรู้สึกพ่อไกลกับลูกมากขึ้น แนะเสริมสร้างกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวช่วยได้



สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) สถาบันราชานุกูล มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว และ สสส. จัดการเปิดตัวโครงการ “ใกล้กันอีกนิดนะพ่อ” โดย พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กล่าวว่า ระยะห่างระหว่างคนในครอบครัวถือว่าบอกความสัมพันธ์ในตัวบุคคลได้ ไม่ว่าจะเป็นความใกล้ชิดกันระหว่างพ่อ แม่ ลูก จึงมีการคิดค้นเครื่องมือที่จะช่วยวัดระยะห่างของคนในครอบครัวขึ้นโดยใช้ ชื่อว่า “สายวัดใกล้กันอีกนิด” ซึ่ง เครื่องมือนี้พัฒนาโดยเป็นการกำหนดให้สายวัดมีความยาว 5 เมตร และให้บุคคลที่ต้องการวัดอยู่คนละฝั่งของเครื่องมือ จากนั้นให้เดินเข้าหากัน ซึ่งระหว่างเดินให้มองหน้า นึกถึงแต่สิ่งดีๆ ที่มีให้กัน จากนั้นเลือกหยุดเดินในจุดที่คิดว่าสบายใจที่จะหยุด และคิดว่าเป็นจุดที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งระยะทางที่เกิดขึ้นสามารถบอกนัยสำคัญระหว่างคนทั้ง 2 คนได้



พญ. พรรณพิมล กล่าวต่อว่า ทั้งนี้จากการสำรวจโดยการสัมภาษณ์ ใช้แบบสอบถาม และใช้อุปกรณ์สายวัดใกล้กันอีกนิด จากตัวอย่าง 207 ครอบครัว ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยวัดจากระยะทางที่เดินเข้าหากันของคน 2 คน พบว่า พ่อเดินเข้าหาแม่ มีระยะทางมากที่สุด 258 เซนติเมตร ส่วนลูกเลือกที่จะเดินเข้าหาแม่มากกว่าพ่อ ที่ 249, 247เซนติเมตรตามลำดับ ขณะที่แม่เดินเข้าหาลูกมากกว่าพ่อที่ 244, 238 เซนติเมตรตามลำดับ สำหรับการวัดค่าเฉลี่ยความห่างของระยะความสัมพันธ์ พบว่า พ่อกับลูกมีระยะห่างกันมากที่สุด 48 เซนติเมตร แม่กับลูก 36 เซนติเมตร ด้านการใช้เวลาว่างร่วมกันของคนในครอบครัว(ทุกวัน) พบว่า แม่มีเวลาว่างให้ลูกมากที่สุดถึงร้อยละ 80 ส่วนพ่อมีเวลาว่างให้ลูกเพียงแค่ร้อยละ 56.5 เท่านั้น



“จาก ผลสำรวจเรื่องความสัมพันธ์และความห่างกันของคนในครอบครัวทำให้ทราบถึงนัย หนึ่งคือ พ่อจะมีความรู้สึกห่างไกล และมีเวลาให้กับลูกน้อยกว่าแม่ สะท้อนว่าแม่มีหน้าที่ในการดูแลลูกเป็นส่วนใหญ่ แม่ดูแลลูกได้ดีกว่าพ่อ แต่การเติบโตของลูกนั้นต้องมีความสัมพันธ์จากทั้งพ่อและแม่จึงจะถือว่า สมบูรณ์ ทั้งนี้ตั้งแต่แรกเกิดพ่อจะช่วยในการกระตุ้นการรับรู้แก่ลูกได้ โดยส่วนใหญ่พ่อจะเลือกเล่น ทำกิจกรรมที่ดูหนักแน่น เข้มแข็งกว่าแม่



เนื่องจาก แม่จะคอยประคบประหงมลูกมากกว่าพ่อ แต่ความสัมพันธ์ของพ่อเช่นนี้จะมีส่วนช่วยในการเปิดเครือข่ายสมองของลูกให้ มีการพัฒนายิ่งขึ้น เมื่อลูกเข้าสู่วัยเด็กพ่อก็จะสอนลูกในเรื่องของการแก้ปัญหา มีกิจกรรมที่ท้าทายมาเล่นกับลูก ช่วยกันแก้ปัญหา ถือเป็นการสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์ ส่งให้พ่อจะเป็นฮีโร่ เป็นต้นแบบของลูกเสมอ และในวัยรุ่น หากพ่อแม่ผันตัวเองมาเป็นทั้งเพื่อน และที่ปรึกษา ก็จะทำให้ลูกมีความมั่นใจเพิ่มขึ้นอีกด้วย” พญ.พรรณพิมล กล่าว



พญ. พรรณพิมล กล่าวอีกว่า ดังนั้นสิ่งที่จะเพิ่มความใกล้ชิดกันของครอบครัวมีอยู่ 2 อย่างคือ 1.การใช้ชีวิตประจำวัน โดยพ่อแม่ ต้องร่วมคิด ร่วมทำ ตั้งแต่เช้าจนถึงเข้านอน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของลูก 2.การทำกิจกรรมที่พ่อแม่ต้องร่วมกิจกรรมกับลูกให้มากขึ้น ซึ่งพ่อเองจะมีกระบวนการทำกิจกรรมที่ท้าทายมากกว่าแม่ ตรงนี้จะเป็นการช่วยสร้างความกระตือรือร้นให้แก่ลูกได้เช่นกัน และความสัมพันธ์ทั้งพ่อ แม่ ลูก ก็จะพัฒนาไปในทางที่ดีมากขึ้นด้วย










noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #9 เมื่อ: 25 ม.ค. 10, 18:52 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 


คู่มือ พ่อแม่มือโปรดูโทรทัศน์กับลูก



ด้วยเทคโนโลยีของสื่อที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้สื่อกลายเป็นสถาบันที่ทรงอิทธิพลที่สุดในการเรียนรู้ของเด็ก และเยาวชนในปัจจุบัน ทางแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชนได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดกับเยาวชน จึงได้จัดทำคู่มือ พ่อแม่มือโปรดูโทรทัศน์กับลูก เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับพ่อแม่ และผู้ปกครองในการหาแนวทางเพื่อการจัดการที่เหมาะสมระหว่างเด็กๆ ของคุณ กับโทรทัศน์



คู่มือ พ่อแม่มือโปรดูโทรทัศน์กับลูก ได้แนะนำพ่อแม่ หรือผู้ปกครองในการจัดสรรเวลาสำหรับดูโทรทัศน์ หรือเลือกสรรรายการโทรทัศน์ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก รวมถึงการแนะนำช่วยเด็กในการแยกแยะคิดวิเคราะห์ และไตร่ตรองในการรับชมรายการต่างๆ และยังสามารถชี้แนะพฤติกรรมในการดูโทรทัศน์ที่ปลอดภัยให้กับเด็กๆ ได้ในขณะดูโทรทัศน์ร่วมกัน



นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ยังแนะนำผู้ปกครองมากมายอาทิ เช่น เด็กๆ กับโทรทัศน์ ลูกๆ จะมีพฤติกรรมที่ดีในการดูโทรทัศน์ได้อย่างไร ลูกกับภัยเรื่องเพศ ความรุนแรงและโฆษณาในโทรทัศน์ รายการโทรทัศน์ที่เหมาะสมกับลูก วิธีตรวจสอบสื่อ และวัยรุ่นกับโทรทัศน์ สิ่ง ที่พ่อแม่ทุกท่านควรรู้ก่อนให้ลูกดูทีวี รวมถึงสัญลักษณ์การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ และเรื่องอื่นๆ ที่พ่อแม่ควรรู้อีกมากมาย



อยากรู้ไหมว่าลูกๆ คิดอย่างไรกับโทรทัศน์



หนังสือเล่มได้กล่าวไว้ว่า ทัศนคติในการดูโทรทัศน์ของเด็กๆ ต่างจากผู้ใหญ่ คุณอาจจะพบว่า เด็กนั่งดูโทรทัศน์อย่างเพลิดเพลิน ชอบอกชอบใจหรือหวาดกลัวตกใจกับภาพสยองขวัญ แต่แท้จริงแล้วเด็กมีเข้าใจในระดับต้นๆ เท่านั้น ก็เด็กเล็กๆ ตัวแค่นี้เราจะคาดหวังให้เขาเข้าใจโลกรอบตัวได้มากเพียงไหนกัน



ถึงเวลาแล้วหรือยัง? ที่คุณจะหันมา คิดใหม่ ทำใหม่ สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ลูกในการดูโทรทัศน์อย่างแท้จริง












noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #10 เมื่อ: 25 ม.ค. 10, 18:55 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 



กล่อมลูกนอน ช่วยกระตุ้นพัฒนาการ

ทำให้สมองเด็ก ผ่อนคลาย สร้างความผูกพันให้เด็ก





พ่อ แม่หลายคนอาจคิดว่า การกล่อมลูกก่อนนอนไม่มีความสำคัญ ทั้งที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาการของลูกน้อยได้เป็นอย่างดี


การร้องเพลงเห่กล่อมลูกนั้นไม่ได้หมายความว่าร้องเป็นเพลง แต่การเห่หมายถึงการส่งเสียงคล้ายๆ เสียงฮัม หรือเสียงอื้อๆ เอ้ๆ แต่ถ้าร้องเพลงกล่อมต้องมีเนื้อเพลงด้วย เช่น เพลง เจ้าขุนทอง เจ้านกกาเหว่าเอย วัดเอ๋ยวัดโบสถ์ นี่คือเป็นเพลงทั้งเห่กล่อม แล้วต้องไกวเปลไปด้วย



" ถ้าเด็กได้ฟังเพลงกล่อมจะทำให้เขารู้สึกสงบ เพราะคลื่นเสียงของพ่อแม่ที่ส่งเสียงเห่นั้นเป็นเสียงกังวาน มีคลื่นเสียงในระดับต่ำทำให้สมองของเด็กได้ฟังแล้วรู้สึกผ่อนคลาย คุณค่าที่เด็กได้รับจากเพลงเห่กล่อมจึงมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มารองรับและ อธิบายมากมาย ที่สำคัญการเห่กล่อมคือการสร้างความผูกพัน การส่งเสียงให้ลูกได้ยิน และการที่ลูกตั้งใจฟังเสียงของพ่อแม่ เป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ทำให้ลูกด้วยความรัก จะแสดงออกด้วยความตั้งใจ ความอ่อนโยน เพลงกล่อมเด็กจึงเป็นเครื่องมือที่ใช้ขัดเกลา กล่อมเกลาลูกของเรา และยังปลูกฝังสิ่งดีๆ ในตัวลูกได้ด้วย"





noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #11 เมื่อ: 25 ม.ค. 10, 19:21 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ข้อมูลจาก www.sathira-dhammsathan.org
ลูกชอบเถียงแม่แก้อย่างไร

เวลาที่เราถกเถียงกันคุณแม่ขุ่นมัวหรือเปล่าคะ ถ้าคุณแม่ไม่ขุ่นมัวการถกเถียงนั้นก็เป็นโอกาสให้เด็ก ๆ กับเราได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกัน แต่ถ้าเผื่อว่าคุณแม่ขุ่นมัวคราวนี้มันเป็นการขัดแย้งแล้ว ลูกจะเอาอย่าง แม่จะเอาอย่าง เวลาที่เราขุ่นมัวเพราะกิเลสเข้าครอบงำ การขัดแย้งจะไม่มีใครได้เรียนรู้เลย ขอให้เรารักษาใจในฐานะที่เป็นแม่ ที่จะสอนให้ลูกรู้โดยการปฏิบัติของเราว่าการแสดงความคิดเห็นด้วยการพูดนั้น ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะทำได้ แต่ขอให้เคารพกันด้วยการทำหน้าที่ที่จะรักษาใจของเราในขณะแสดงความคิดเห็น นั้นอย่าให้มีกิเลสเข้าครอบงำ การฝึกให้มีโอกาสพูดคุยกันนั้นเด็ก ๆ จะกล้าหาญมากขึ้นและถ้าเผื่อจะให้จิตสำนึกที่เขาจะรู้ว่าเขาควรจะพูดอะไรใน เวลาไหนและการใช้โอกาสแห่งการพูดนั้นจะทำให้คนไม่ทุกข์ยากได้อย่างไร คราวนี้ลูกของเราจะเก่งขึ้นจากโอกาสที่คุณแม่ให้ ขอให้คุณแม่รักษาใจของคุณแม่อย่าให้มีกิเลสเข้าครอบงำในขณะที่เรากำลังแสดง ความคิดเห็นกับลูกเอาไว้ นั่นเป็นโอกาสที่ดีที่ลูกจะได้เรียนรู้ว่าความสงบเย็นของจิตนั้นการถกเถียง จะเป็นประโยชน์ไม่ใช่การขัดแย้งเพราะมีกิเลสเข้าครอบงำ ขอให้มีความสุขกับการที่ได้แสดงความคิดเห็น


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #12 เมื่อ: 25 ม.ค. 10, 19:53 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก ข้อมูลจากtooktoon.multiply.com

ความ รู้ทางกุมารเวชศาสตร์ได้เจริญขึ้นมาก และคงจะมากขึ้นตามลำดับในวันข้างหน้า สุขภาพ กายของเด็กไทยก็ได้รับการดูแลดีขึ้นตามไปด้วย จากความสามารถของกุมารแพทย์ แต่ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ สำคัญพอๆกับสุขภาพกาย คือ สุขภาพจิตของเด็ก เพราะผู้ที่สุขภาพดีควรจะดีทั้งกายและใจ กายและใจ ไม่สามารถแยกจากกันได้ดังที่เป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่าภาวะจิตใจที่ไม่ เป็นสุขย่อมส่งผลกระทบถึงสุขภาพกาย ดังเห็นได้ชัดเจนในกลุ่มโรค Psychophysiologic disorders ซึ่งปัจจุบันทางสหรัฐอเมริกาได้ เรียกโรคกลุ่มนี้ว่า Psychological factor affecting physical conditions ซึ่งยิ่งเป็นการ ชี้ให้เห็นชัดถึงอาการทางกายที่เกิดจากภาวะจิตใจเป็นเหตุ

เนื่องจากเด็กต้องอาศัยการเลี้ยงดูของผู้ใหญ่เป็นเวลานานหลายปี จึงจะสามารถช่วยตนเอง

และ พึ่งตนเองได้ ฉะนั้นการเลี้ยงดูและการอบรมเด็กจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการจะทำให้เด็ก มีสุขภาพ กายและใจดีเต็มที่ตามศักยภาพสูงสุด(maximum potential) ของ เด็กแต่ละคน การที่จะเป็นเช่นนี้ได้ พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กต้องสามารถเลี้ยงดูและอบรมเด็กได้อย่างเหมาะสมโดย อาศัยประสบการณ์ของตนเอง และการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากการอ่านหนังสือหรือจากผู้รู้ กุมารแพทย์เป็นผู้หนึ่งสามารถ ที่จะมีบทบาทได้อย่างมากในการส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยการให้คำแนะนำและปรึกษา เพราะกุมารแพทย์ มักจะเป็นผู้ที่พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กให้ความเชื่อถือและมาพบอยู่แล้วเสมอๆ ด้วยปัญหาทางกาย เช่น เป็นหวัด ตัวร้อน หรือมาสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้เด็ก

จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก

(Psychological aspect of child rearing)

สิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์นั้น แบ่งได้เป็น ๒ พวกใหญ่ๆคือ

สิ่งจำเป็นสำหรับร่างกาย(physical needs) เช่น อาการ อากาศสำหรับหายใจ อุณหภูมิที่เหมาะสม เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย เป็นต้น นอกจากนี้แล้วมนุษย์ยังมีสิ่งจำเป็น สำหรับจิตใจ (psychological needs)ที่จะทำให้มนุษย นั้นอยู่อย่างปกติสุข สามารถเป็นคนที่มีคุณภาพ คือ สามารถประกอบการงานให้เป็นประโยชน์กับตนเอง ครอบครัว และสังคม ถ้าเด็กได้รับแต่สิ่งจำเป็น สำหรับร่างกายอย่างครบบริบูรณ์ แต่ขาดสิ่งจำเป็นสำหรับจิตใจ เราก็อาจได้เด็กที่รูปร่างแข็งแรง สูงใหญ่ตามเกณฑ์มาตรฐานทุกประการ แต่อาจมีท่าทางไม่เป็นสุข หงอยเหงา ไม่ร่าเริงแจ่มใส เชื่องซึม หรือมีพฤติกรรมก้าวร้าว ชอบทำลาย หรือไม่สามารถรับผิดชอบได้ตามวัย เช่น ไม่สามารถ เรียนหนังสือได้ ฉะนั้นควบคู่กับแนะนำว่าเด็กอายุเท่าใด ต้องให้นมแบบไหน อาหารเสริมอะไร ฉีดวัคซีนอะไร ก็ควรจะให้ความรู้พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูเด็กอายุเท่าใดมีลักษณะนิสัยตาม ธรรมชาติอย่างไร และเด็กต้องการตอบสนองต่อความต้องการทางจิตใจอย่างไรถึงจะเหมาะสมเพื่อทำ สุขภาพจิตดีควบคู่ กับการมีสุขภาพกายดี

ความต้องการด้านจิตใจของเด็ก

ความต้องการด้านจิตใจของเด็กนั้นมีความแตกต่างกันไปบ้างตามวัยของเด็ก แต่พอจะสรุป

ได้กว้างๆ ว่า สิ่งต่อไปนี้มีความจำเป็น และเป็นที่ต้องการสำหรับเด็กทุกคน คือ

1) ความรักความอบอุ่น เด็กรู้สึกอยากให้พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูรักตน รู้สึกว่าตนเองเป็นที่

ต้องการ มีค่าสำหรับพ่อแม่ รู้สึกว่าตนเองเป็นที่ยอมรับ เด็กไม่ควรรู้สึกว่าพ่อแม่รังเกียจตน ไม่ชอบ ลำเอียง ปฏิเสธหรือไม่เป็นที่ต้องการ เป็นส่วนเกิน จำใจต้องเลี้ยงดูตน และไม่ควรรู้สึกมีปมด้อยหรือ น้อยเนื้อต่ำใจต่างๆ นาๆ เจตคติหรือท่าทีของผู้ใหญ่ที่กล่าวมาข้างต้นนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อจิตใจ ของเด็ก เกี่ยวกับเจตคติของพ่อแม่ต่อลูก สิ่งที่สำคัญที่จะต้องกล่าวถึง คือ เด็กต้องการความรักอย่าง เหมาะสม ไม่ใช่รักมากอย่างไม่มีขอบเขต เช่น ตอมใจทุกอย่างโดยไม่มีเหตุผลจนทำให้กลายเป็นคน ตามใจตัวเองตลอดเวลาไม่สามารถอดทนต่อภาวะที่คนปกติธรรมดาควรจะอดทนได้ จนกลายเป็นข้อ บกพร่องทางบุคลิกภาพไป

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #13 เมื่อ: 25 ม.ค. 10, 19:55 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

2) การกระตุ้นอย่างเหมาะสม การกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมนั้นขึ้นกับวัยของเด็ก เช่น

วัย ทารกแรกเกิดก็ต้องการ การอุ้ม การสัมผัส การยิ้ม การพูดคุยด้วยเพื่อให้ได้ยินเสียง พอโตขึ้นก็ ต้องการเพิ่มขึ้น เช่น การเล่น การพูดคุย ของเล่นที่เหมาะสมกับวัยก็จะช่วยกระตุ้นได้ดี สำหรับเด็กใน ขวบปีแรก เพื่อกระตุ้นการได้ยิน การใช้สายตา ควรใช้ของเล่นที่เคลื่อนไหวที่มีสีสด และมีเสียงพอโต ขึ้นอีกเด็กจะต้องการการกระตุ้นเพื่อลดการเคลื่อนไหว ควรใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น การใช้นิ้วมือ การใช้มือเท้า และอื่นๆ การกระตุ้นต่างๆ นี้ผลทางจิตใจที่ได้คือเด็กรู้สึกได้รับความรัก ความสนใจ และ ที่สำคัญ คือ ได้กระตุ้นความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น ความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม ความรู้สึกสนุก อยากทดลอง อยากลองทำ ทำให้รู้สึกมีความมั่นใจ กล้าแสดงออกตามไปด้วย

3. ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย (Security and protection)ความ รู้สึกมั่งคงปลอดภัย ของเด็กได้มาจากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง โดยเฉพาะพ่อแม่ ถ้าพ่อแม่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ครอบครัวสงบสุข เด็กจะไม่รู้สึกกลัวว่าจะถูกทอดทิ้ง บ่อยครั้งที่พบว่าเด็กมีอาการทางกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง

โดย ไม่มีโรคทางกายเป็นเหตุแต่กลับสัมพันธ์กับเวลาเด็กเกิดรู้สึกเครียด รู้สึกกลัวที่เห็นพ่อแม่ทะเลาะกัน ทำร้ายร่างกายกัน หรือกำลังจะหย่าร้างกัน นอกจากนั้นเด็กก็ยังต้องการความรู้สึกว่าผู้ใหญ่สามารถปกป้องตนได้ ไม่ปล่อยให้เกิด อันตรายกับตน เด็กควรได้รับการปกป้องจากอันตรายทางกาย เช่น อุบัติเหตุต่างๆ และควรได้รับการ ปกป้องไม่ให้รับความกระทบกระเทือนใจอย่างรุนแรง (psychic trauma), เช่น ภาพอุบัติเหตุที่น่า สยดสยองมาก ภาพภัยพิบัติตามธรรมชาติที่ร้ายแรงน่าสพึงกลัว ภาพเกี่ยวกับทางเพศที่ไม่เหมาะสมกับวัย ของเด็ก และควรเตรียมตัวเตรียมใจให้เด็กสำหรับเหตุการณ์สำคัญๆเช่นการมีน้องใหม่ การผ่าตัดเป็นต้น

4) คำแนะนำและการสนับสนุน (Guidance and support) เด็ก ต้องการคำแนะนำ หรือคำชี้แนะจากผู้ใหญ่ว่าอะไรเป็นอะไร เช่น บทบาทที่เหมาะสมตามเพศของเด็กหญิงหรือเด็กชาย การปฏิบัติตัวในสังคม ค่านิยม ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ และควรให้การสนับสนุนช่วยเหลือใน เรื่องต่างๆ ที่เห็นเหมาะสม เช่น กิจกรรมที่เด็กต้องการจะทำ อาจช่วยด้านการเงินหรือช่วยหาอุปกรณ์ ช่วยให้ความคิด

5) ความสม่ำเสมอ และการมีขอบเขต (Consistency and limits) ทั้ง 2 อย่าง มี มีความสำคัญที่จะทำให้เด็กเรียนรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด อะไรทำได้หรือไม่ได้ ไม่สับสนทั้งความคิดและการปฏิบัติ กฎเกณฑ์ที่ใช้ควรจะมีเหตุผลและมีการปฏิบัติเสมอต้นเสมอปลาย เช่น ไม่ให้ใส่รองเท้าเข้าในบ้าน เพราะทำให้บ้านสกปรก ก็ควรเป็นเช่นนี้ตลอดไป ไม่ใช่เวลามีเด็กรับใช้ใส่ได้ เวลาแม่ต้องทำ ความสะอาดเองใส่ไม่ได้หรือวันหนึ่งไม่ยอมให้ทำสิ่งหนึ่งแต่พออีกวันทำสิ่ง เดียวกันก็ยอมให้ทำได้ สิ่งเหล่านี้ อาจเป็นการเตะบอลล์เล่นในบ้าน การฉีกกระดาษจากหนังสือ การขีดเขียนที่ฝาผนังบ้าน ผู้ใหญ่บางคนไม่ แน่ใจว่าอะไรควรจะห้ามเด็ก อะไรไม่ควรห้าม กลัวจะตามใจมากไป หรือเข้มงวดเกินไปก็ให้ถือหลัก ง่ายๆ ว่ามี 3 อย่างที่เด็กทำไม่ได้แน่นอน คือ

1. การทำร้ายตัวเอง (รวมทั้งการเล่นที่เป็นอันตราย เช่น ของมีคม)

2. การทำร้ายผู้อื่น

3. การทำลายสิ่งของ

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #14 เมื่อ: 25 ม.ค. 10, 19:57 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

6) ให้โอกาสใช้พลังงานในทางสร้างสรรค์ วัยเด็กเป็นวัยที่มีกำลังงานในตัวมาก เด็ก ต้องได้รับโอกาสให้ใช้พลังงานไปในทางสร้างสรรค์ เช่น การเล่น การออกกำลังกายในเกมกีฬาต่าง ๆ

การ มีกิจกรรมอื่นๆ ที่เหมาะสม ถ้าผู้ใหญ่ไม่เห็นความสำคัญข้อนี้อาจต้องการให้เด็กอยู่อย่างสงบเรียบร้อย เสมอ อาจทำให้กลายเป็นเด็กเก็บกด ไม่กล้าแสดงออก เชื่องซึมหรือเฉี่อยชา ไม่ร่าเริงแจ่มใส ไม่มี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

การอบรมเด็ก

(Discipline technique of children)

ผู้ ที่เคยเลี้ยงดูเด็ก คงทราบดีทุกคนว่า ไม่ว่าเด็กคนหนึ่งจะเป็นเด็กดีเพียงใดก็ตาม ในบางครั้งบางคราวก็ยังอาจมีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมเกิดขึ้นได้ ซึ่งผู้ใหญ่จำเป็นต้องมีวิธีการที่จะแก้ไข

พฤติกรรม ที่ไม่เหมาะสม และให้เด็กเรียนรู้พฤติกรรมที่เหมาะสมและสามารถควบคุมตัวเอง ให้มีความประพฤติที่สังคมยอมรับได้โดยไม่ต้องอาศัยผู้ใหญ่คอยควบคุมในเวลา ต่อมา พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือพฤติกรรมที่เราไม่ต้องการในเด็กมักได้แก่

- การไม่เชื่อฟังเมื่อห้ามปราม เช่น การปีนป่ายไปบนที่สูง

- การไม่ยอมทำอะไรบางอย่างที่ผู้ใหญ่ต้องการให้ทำ เช่น ทำการบ้าน เก็บของเล่นเข้าที่

ทำงานที่ได้รับมอบหมาย

- พฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง เช่น ตีน้อง ใช้ถ้อยคำหยาบคาย การทำลายสิ่งของเมื่อโกรธ

หรือถูกขัดใจ

พ่อแม่จำนวนมากไม่ทราบว่าจะจัดการอย่างไรกับพฤติกรรมเหล่านี้ของลูกถึงจะให้ผลดีกับเด็ก

ปัจจุบัน ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์มีมากขึ้น แต่พ่อแม่ทั่วไปมักจะยังไม่ได้รับประโยชน์จากความรู้ นี้มีแต่นักวิชาการและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตเด็กจำนวนหนึ่ง เท่านั้น ความรู้ความเข้าใจให้การ อบรมเลี้ยงดูเด็กที่ถูกต้องสมควรได้รับการเผยแพร่ออกไปให้มากที่สุดเท่าที่ จะมากได้ วิธีการตอบสนองต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กทำได้ดังนี้

1. การใช้เหตุผล (Reasoning)

การ ให้เหตุผลอย่างตรงไปตรงมาซึ่งเด็กสามารถเข้าใจ มักจะสามารถแก้ไขพฤติกรรมได้ในเด็กยิ่งเล็กการให้เหตุผลต้องแบบง่าย สั้น ไม่พูดยืดยาว เช่น มีดเล่นไม่ได้เพราะจะบาดมือหนู หนูไม่ปีนขึ้นที่สูงเดี๋ยวจะตกลงมาเจ็บ

2. การใช้ท่าทีที่หนักแน่นและจริงจัง (Firmness)

เวลา ที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กทำอะไรแล้วเด็กอิดเอื้อน ไม่ยอมทำ วิธีหนึ่งที่ได้ผลคือต้องพูดให้หนักแน่นและจริงจังว่าให้ทำเดี๋ยวนี้ อาจต้องใช้ท่าทีประกอบด้วย เช่น ลุกขึ้นจูงมือเด็กให้ไปทำสิ่ง ที่ต้องทำ เช่น เด็กอิดเอื่อนไม่ยอมทำการบ้านแม้จะพูดเตือนแล้วหลายครั้ง แม่ต้องแสดงให้เห็นว่าแม่ หมายถึงว่าลูกต้องทำการบ้านแล้วโดยบอกด้วยเสียงที่หนักแน่นว่าเอาสมุด การบ้านออกมาแล้วนั่งลงทำเดี๋ยวนี้เลย ถ้าเด็กไม่ยอมลุกก็ต้องจูงมือไปเอาสมุด ดินสอมานั่งลงให้ทำและเฝ้าให้ทำถ้าจำเป็น

3. การใช้สิ่งทดแทน (Alternative response)

เวลา ห้ามไม่ให้เด็กทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ควรสอนเด็กไปด้วยว่าสิ่งไหนที่ทำแทนได้ เช่น เด็กเล่นของแหลมอยู่จะเอาจากมือเด็กก็ให้เอาของอื่นที่น่าสนใจกว่ามาให้เด็ก แทน ไม่ควรหยิบของแหลม

จาก มือเด็กเฉยๆ ซึ่งเด็กจะร้องอาละวาดต่อ หรือเห็นเด็กขีดเขียนฝาผนังบ้านอยู่ห้ามไม่ให้ทำเพราะสกปรกบ้าน ก็ควรหากระดาษมาให้เด็กได้เขียนแทน เป็นต้น

4. ให้สามารถแสดงความคิดเห็นและความรู้สึก (Freedom to discuss ideas and

feelings)

ควร ให้เด็กรู้สึกว่าเมื่อมีความคิดเห็นอย่างไรก็สามารถพูดออกมาได้อย่างอิสระ หรือมีความรู้สึกอย่างไรก็สามารถพูดคุยชี้แจงได้ เช่น เด็กอาจต้องการตัดสินใจเองในการเลือกของใช้ส่วนตัว

ไม่ใช่แม่เลือกให้ แล้วเด็กต้องใช้ทั้งที่ไม่ชอบไม่ถูกใจ

5. การให้รางวัล (Positive reinforcement)

เมื่อ เด็กมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว เพื่อให้พฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นอีกไม่หายไป ผู้ใหญ่ควรให้รางวัลสำหรับพฤติกรรมนั้น อาจเป็นการกล่าวชมด้วยวาจา แสดงกิริยาชื่นชมพอใจใน พฤติกรรมนั้น เช่น โอบกอด ลูบหัว ปัญหาคือผู้ใหญ่มักจะละเลยไม่กล่าวคำชมเชยเด็ก เพราะเห็นเป็น พฤติกรรมธรรมดาๆ เช่นเด็กยอมแปรงฟันเอง แต่งตัวเอง แต่จะดุว่าหรือติเตียนเด็กเมื่อเด็กไม่ยอมช่วยตัวเอง การให้รางวัลเด็กอาจให้ได้อีกแบบคือ ให้เมื่อเด็กหยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (Omission training)เช่น กล่าวชมเชย หรือให้รางวัลแบบอื่นเมื่อลูกสองคนเล่นกันด้วยดีไม่ทะเลาะ ไม่ตีกันในช่วงตลอดสองวันที่ผ่านมา

6. การเลิกให้ความสนใจ (Ignoring)

เป็น ธรรมชาติของเด็กทุกคนที่ต้องการได้รับความสนใจจากผู้อื่น ฉะนั้น เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เราอาจใช้วิธีเลิกให้ความสนใจขณะที่เด็กกำลังกระทำพฤติกรรมนั้น และให้

ความ สนใจหรือให้รางวัลกับเด็กที่มีพฤติกรรมที่เราต้องการแทน ตัวอย่าง เช่น ลูกคนหนึ่งกินอาหารดี อีกคนไม่ค่อยยอมกินเล่นไปเรื่อยๆ แม่ก็อาจชมคนที่กินอาหารดีแต่เฉยๆ ไม่แสดงความสนใจกับลูกคนที่ไม่ยอมกินแต่เขี่ยอาหารเล่นอยู่ โดยไม่จำเป็นต้องดุว่า

7. การเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ใหญ่ให้กับเด็ก (Positive model)

ผู้ใหญ่โดยเฉพาะพ่อแม่ควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก พฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์

นั้น มาเรียนรู้ภายหลัง ไม่ใช่ถ่ายทอดตามพันธุกรรมอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ เด็กจะเอาอย่างผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิด โดยดูจากการกระทำของผู้ใหญ่มากกว่าการสั่งสอนด้วยวาจา เช่นพูดสอนว่าการพูดปดเป็นสิ่งไม่ดี ห้ามทำ แต่พอมีคนที่พ่อแม่ไม่ต้องการพบมาพบ ก็ใช้ลูกออกไปบอกว่า พ่อแม่ไม่อยู่บ้าน การกระทำแบบนี้ ก็เท่ากับสอนลูกว่าที่จริงพูดปดได้

8. การลงโทษ (Punishment)

โดย ทั่วไปจะพยายามไม่ใช้การลงโทษ นอกจากวิธีอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้วไม่ได้ผล สิ่งสำคัญที่สุดคือเวลาใช้การทำโทษนี้ผู้ใช้ต้องไม่ใช้ด้วยอารมณ์โกรธ เกลียด ไม่ชอบเด็ก เพราะจะทำให้

เด็ก ยิ่งต่อต้าน เวลาใช้ควรแสดงให้เด็กเห็นว่าเราต้องการเพียงหยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เท่านั้นและพร้อมที่จะหยุดการลงโทษเมื่อเด็กคิดว่าสามารถควบคุมตัวเองให้ไม่ ประพฤติ ไม่เหมาะสมอีก การลงโทษมีตั้งแต่เบาๆ จนไปถึงระดับที่รุนแรงขึ้น

8.1 การดุว่า การดุว่าด้วยวาจาในเด็กบางคนก็ได้ผลดี สามารถหยุดการกระทำ อันไม่สมควรของเด็ก ควรใช้เมื่อการบอกห้าม และการใช้เหตุผลไม่ได้ผลแล้ว

8.2 แยกเด็กออกไปอยู่ตามลำพัง เช่น เด็กนักเรียนคนหนึ่งคุยมากขณะเรียน รบกวนคนอื่นบ่อยๆ ก็อาจแยกเด็กไปนั่งคนเดียว หันหน้าเข้ามุมห้อง ทำให้เด็กไม่สนุก เบื่อที่เด็กทั่วไปจะไม่ชอบอย่างมาก

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #15 เมื่อ: 25 ม.ค. 10, 19:58 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

8.3 การปรับ ให้เด็กรับผิดชอบกับของเสียหายที่เด็กทำไป เช่น เด็กคนหนึ่งโกรธ แม่ที่ขัดใจ แล้ววิ่งไปถอนต้นไม้ของแม่ที่เพิ่งปลูก จึงให้แม่หักเงินค่าขนมเด็กทีละเล็กละน้อยชดใช้ค่าต้นไม้

ที่ซื้อมา

8.4 การตี การตีอาจทำให้เด็กหยุดประพฤติที่ไม่พึงประสงค์ได้บางครั้ง แต่การใช้

กำลังกับเด็กมีข้อเสียด้วย คือ ถ้าใช้บ่อยๆ จะทำลายความสัมพันธ์ ระหว่าง เด็กและผู้ใหญ่ และเด็กจะใช้วิธีรุนแรงและใช้กำลังบ้าง เพราะเอาอย่างผู้ใหญ่และรู้สึกคับข้องใจที่ผู้ใหญ่ใช้วิธีรุนแรงกับตน เช่น อาจไปชกต่อยเพื่อนที่โรงเรียนบ่อยๆ จนเป็นปัญหาเกิดขึ้น

สรุป

จิตวิทยา การเลี้ยงดูและอบรมเด็กนั้นไม่ใช่ของยากจนเกินไป ขอเพียงแต่พ่อแม่ และผู้เกี่ยวข้องกับเด็กมองเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องรู้และนำไป ใช้ให้เป็นประโยชน์เท่านั้น ก็จะ

สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาทางกายและใจของเด็กได้มาก จึงหวังว่าการพยายามเผยแพร่ความรู้อันนี้จะเป็นประโยชน์ต่อๆ ไป

ที่มา นงพงา ลิ้มสุวรรณ พ.บ. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ร.พ.รามาธิบดี

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #16 เมื่อ: 25 ม.ค. 10, 22:23 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

q*054q*054ขอบคุณในข้อมูลดีๆค่ะ ติดหมุดให้นะคะ q*054q*054q*021

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #17 เมื่อ: 26 ม.ค. 10, 16:04 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

สุดยอดข้อมูลดีๆค่ะ q*062

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #18 เมื่อ: 28 ม.ค. 10, 15:47 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

วิธีรับมือเด็กดื้อ(Discipline technique of children)ของพี่คะ


ทำอย่างไรเมื่อหนูดื้อ




- การไม่เชื่อฟังเมื่อห้ามปราม เช่น การปีนป่ายไปบนที่สูง
ปีน ไปเลยลูกจะได้เรียนรู้การใช้กล้ามเนื้อให้เป็นประโยชณ์ เเต่อย่าลืมว่าขึ้นที่สูงถ้าตกลงมามันก็เจ็บ เเต่ก็เป็นการเรียนรู้ คราวหลังจะได้ระวังมากขึ้น
- การไม่ยอมทำอะไรบางอย่างที่ผู้ใหญ่ต้องการให้ทำ เช่น ทำการบ้าน เก็บของเล่นเข้าที่
ถ้า หนูไม่ทำการบ้านหนูจะไม่ได้ฝึกฝนความรู้ที่หนูเรียนมาเเล้วถ้าเรียนไม่ทัน หนูจะสับสน เรียนหัวข้อต่อไปไม่รู้เรื่องเเละสุดท้ายสอบตกซำ้ชั้นหนูจะเสียเวลาหนึ่งปี หรือ365วันเพราะหนูไม่ยอมเสียเวลาเเค่วันละ20นาทีเพื่อทำการบ้าน เก็บ ของเล่นเข้าที่::ไม่อนุญาติให้นำของเล่นออกจากห้องเล่น บางบ้านมีเนิ้อที่คับเเคบของเล่นจะอยู่ในห้องนอน ถ้าเธออย่ากอยู่กับความสกปรกก็ตามใจ ห้องเธอไม่ใช่ห้องฉัน สุดท้ายทนไม่ใหวก็เก็บเอง(ในเด็กโต)เเต่พี่เเพ้ฝุ่นก็บอกลูกว่าถ้าไม่อยาก ให้เเม่ตายเร็วเพราะจะไม่มีคนหาเงินให้ไช้จงรักษาความสะอาด เเต่ในเด็กเล็กเราคงต้องช้วยในบางครั้งเเต่ให้เขามีส่วนร่วมในการเก็บพอ5ขวบ ให้เขารับผิดชอบห้องเขาเองเราเเค่ดูว่าสะอาดใหมดูดีใหมเเค่นั้น
- พฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง เช่น ตีน้อง ใช้ถ้อยคำหยาบคาย การหรือถูกทำลายสิ่งของเมื่อโกรธขัดใจ
อัน นี้เราฝึกให้เด็กเป็นคนอารมย์เย็นได้เช่นร้อยลูกปัด วาดรูป ว้ายนำ้ เเละอื่นๆเเละถ้าตีน้องก็จะบอกว่า ฉันไม่เคยตีเธอเพราะกลัวเธอเจ็บเธอ คิดดูตอนเธอโดนมดกันยังร้องให้เพราะเจ็บ เธอตีน้อง น้องก็เจ็บ เเละจะคิดว่าเธอไม่รักเขา เขาจะกลัวเธอ เเละไม่เล่นกับเธออีก ไปกอดขอโทษน้องเเละบอกว่าจะไม่ทำเเบบนี้อีก ทุกวันนี้โกรธน้องจะหนีเข้าห้องอารมย์เย็นค่อยคุยกันต่อ ความก้าวร้าวหยาบคายจะไม่เกิดเเละคนเลี้งดูเด็กสมควรเป็นตัวอย่างที่ดี กับเด็กด้วยคะ,

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #19 เมื่อ: 28 ม.ค. 10, 15:49 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

การใช้คำพูด มีดเล่นไม่ได้เพราะจะบาดมือหนู พี่ พาลูกเล่นมีดโดยการใช้เเละฝึกให้ลูกใช้มีดตอน3ขวบใช้ให้หั่นผลไม้เเละขนม หั่นผักช้วยเเม่ทำกับข้าว(มีดอย่าคมมาก) เเละเป็นการผูกสัมพันธ์เเม่ลูกให้เพิ่มขึ้นเเละทำให้ลูกอยากกินข้าวขึ้นด้วย เขาจะภูมิใจในส่วนร่วมมาก เเละถ้าบาดมือลูกจะระวังขึ้น ใช้คติไม่รองไม่รู้ไม่ทำไม่เห็นผล q*021

การใช้ท่าทีที่หนักแน่นและจริงจัง (Firmness)

เวลา ที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กทำอะไรแล้วเด็กอิดเอื้อน วิธีหนึ่งที่ได้ผลคือต้องพูดให้หนักแน่นและจริงจังว่าให้ทำเดี๋ยวนี้ อาจต้องใช้ท่าทีประกอบด้วย เช่น ลุกขึ้นจูงมือเด็กให้ไปทำสิ่งที่ต้องทำ"โอ้ว" อันนี่ เด็กจะรู้สึกเหมือนกับว่าโดนคุกคราม ข่มขู่ เเละจะกลัว ถ้าลูกรู้สึกกลัว พ่อ เเม่ เเล้วใครละคะจะเป็นที่ๆเขาจะได้รับความอบอุ่นเเละไว้ใจ ถ้าเป็นเเบบนี้ ลูกเป็นเด็กมีปัญหาเเน่ นี่คือจุดเริ่มต้นของการที่เด็กจะเรียนนิสัย ก้าวร้าว หยาบคาย การพูดเพราะๆออดออ้นให้ลูกช่วยดีกว่า เช่น ขนมที่เธอตักให้ฉัน อร่อยกว่ามาก เหมือนปัญญาออ่นนะเเต่ลูกพี่จะรีบตักให้ q*020 หรือ ช่วยชั้น ตากผ้า ฉันจะได้มีเวลาเล่นกับเธอเร็วขึ้น

การใช้สิ่งทดแทน (Alternative response)

เวลา ห้ามไม่ให้เด็กทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ควรสอนเด็กไปด้วยว่าสิ่งไหนที่ทำแทนได้ เช่น เห็นเด็กขีดเขียนฝาผนังบ้านอยู่ห้ามไม่ให้ทำ เพราะสกปรกและหากระดาษมาให้เด็กได้เขียนแทน เป็นต้น. ใช่คะ เเต่พี่ จะเป็นเเบบเอาเลยลูก "ลุย"เเม่ร่วมด้วย พ่อห้ามบ่น ก็เเค่ฝาพนังบ้าน พอเขาเลิกบ้าขีดเขียน ก็ไปซื้อสีมาทา ลูกร่วมด้วย(ช่วยให้เเละมากขึ้น) q*013ลูกพี่จะหัวเราะทุกครั้งที่เขาคิดถึงหรือพูดเรื่องนี่

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #20 เมื่อ: 28 ม.ค. 10, 15:50 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

การอบรมเลี้ยงดูเด็กเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะยากเกินกว่าจะสอน ถ้าสอนด้วยเหตุผล อะไรคืิอเหตุผล ?

หลาย ครั้งที่พี่วนเวียนมาใคร่ครวญเรื่องครอบครัวทั้งของพี่เเละครอบครัวอื่นๆ พี่มักจะเจอกับคำถามเรื่องลูก โดยเฉพาะเรื่องของการสร้างวินัย หลายครอบครัว ลูกอยากได้อะไรพ่อแม่ก็ต้องซื้อให้ ถ้าไม่ซื้อลูกก็ไม่ยอมบางคนขู่อีกไม่ให้ไม่เรียน ฟังดูคุ้น ๆ ไหมคะ(พี่จะบอกลูกว่าเธอไม่เรียนฉันไม่ว่าเเต่เธอคือสุนัขข้างถนนในอนาคต) เวลานี้ แบบนี้ เป็นกันหลายบ้าน ทีเดียว แล้วเรื่องก็ค่อย ๆ รุนแรงยิ่งขึ้น เมื่อลูกโตขึ้น ในที่สุด ก็เกม แชตในคอมพิวเตอร์ กลับบ้านค่ำ ไปจนถึงดึก ดื่มเหล้ากับเพื่อน ต่อมาก็อาจจะเป็นยาเสพติด มีเเฟนก่อนวัย การเเก้ปํญหาต้องเเก้ด้วยการสร้างวินัยให้ลูกตั้งเเต่เล็ก อย่า ได้โปรดอย่า คิดว่า ลูกยังเล็ก ยังไม่ประสา พี่ขอยำ้นะคะเขาเรียนเเละรู้ได้ ชีวิต ของเด็กต้องมีกติกา มีกรอบ มีขอบเขต เเละ การมีขอบเขตมีกติกาก็ไม่ใช่การลงโทษไม่ใช่การเฆี่ยนตีนะคะ ให้เด็กมีเสรีภาพ คำว่าเสรีภาพไม่ใช่การตามใจนะ เเต่ก่อนอื่นเรื่องการแก้ปัญหาเรื่องวินัยนี้ต้องเเก้ที่ผู้ใหญ่ก่อน ที่สำคัญก็คือผู้ใหญ่ต้องมี ความคงเส้นคงวา ความสม่ำเสมอ การตั้งกฏกติกามันเป็นส่วนหนึ่ง ในการที่พ่อแม่(เเต่ต้องอยู่ในเหตุผล)โลกของเด็กต้องมี กรอบ ขอบเขต กติกา เสรีภาพ วินัย มันเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเเละเป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้ให้ลูกเราเติบโตเเละ เรียนรู้อย่างเป็นดี ขอเพื่อมเติมเรื่องความสม่ำเสมออีกสักหน่อย ความสม่ำเสมอหรือคงเส้นคงวานี้ พ่อกับแม่ต้องตกลงกันกำหนดขอบเขต กรอบ กติกา เสรีภาพ วินัย ทั้งหมดที่ว่านี้ ว่าจะให้เป็นอย่างไร แค่ไหน อะไรได้ อะไรไม่ได้ ถ้าพ่อแม่ยังตกลงกันไม่ได้ ลูก ก็จะไม่ได้รับโอกาสอันดีงาม " อ้อ "บางครอบครัวก็มีปัญหาปู่ย่า ตายาย หรือญาติ ๆที่ชอบยุ่งในการเลี้ยงดู(อะนะ คนแก่ก็อาจจะอยากตามใจเด็ก ๆ มากหน่อย เเม่ พี่ ก็เป็น )เด็ก ๆ นี่พวกเขาฉลาดมาก ๆ พวกเขาจะรู้นะว่าอยู่กับใครจะได้ไม่ได้อะไร อันนี่ต้องพูดคุยว่าเราได้ตั้งกฏอะไรเอาไว้ และตกลงร่วมกัน เท่าที่จะตกลงกันได้ เพื่อความงอกงามที่แท้จริงในตัวเด็ก ๆไม่ต้องกลัวว่าผู้ใหญ่จะไม่เข้าใจบางคนกลัวพรอ เเม่ จะ น้อยใจ เลยไม่พูด ให้ โอ๋ จนลูกหยิ่งใส่พ่อ เเม่ เเละเมื่อเอาไม่อยู่ เมื่อลูกเสียคนก็โทษ ไปทั่ว เกิดความเเตกเเยกในครอบครัว เเละล้มเหลว แปลกนะเราพากันหาสมบัติอันเป็นของนอกตัวทั้งหลายมากมาย แต่สมบัติภายในตัวก็ คือความรู้ความเข้าใจ โดยเฉพาะในเรื่องที่สำคัญที่สุด(ในการเลี้ยงดูลูก) เรากับไม่พูด ไม่หามาใส่ตัว ประหลาดไหม?

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #21 เมื่อ: 28 ม.ค. 10, 15:52 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

เลี้ยงลูกด้วยจิตวิทยา หลากหลายปัญหา พ่อแม่ประสบในการเลี้ยงดูลูกไม่ได้ดั่งใจหวัง จุดเริ่มต้นมาจากใหน ถ้าไม่อยู่ที่ครอบครัวเป็นสถาบันแรก บางครอบครัวเร่งรัดเคี่ยวเข็ญลูกมากเกินไป จนเด็กก็เกิดปัญหาเช่นกัน บางครอบครัวส่งลูกเรียนพิเศษเกือบทุกวิชาเพื่อให้ลูกเก่งลูกฉลาด แต่วิธีการดังกล่าวมันไม่ใช่หลักการเลี้ยงลูกที่ถูกต้อง เพราะการที่พ่อแม่จะเลี้ยงลูกแบบตามใจฉันเป็นวิธีที่ผิด เพราะคงต้องให้ลูกมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ด้วย เปิดโอกาสให้เขาได้ร่วมรับรู้แสดงความคิดเห็นบ้าง เเละเราจะรู้อะไรดีๆโดยไม่ต้องถาม ยิ่งเรารับฝังสิ่งที่ลูกเล่าเขาจะให้ความไว้วางใจเเละความลับต่างๆที่มีก็ ไม่เคยเป็นความลับอีกต่อไป (ให้เวลาส่วนนี่กับลูก อาจเป็นตอนทานข้าว ดูหนัง เเต่พี่ใช้ตอนลูกเข้านอน ไปนอนคุยให้เขาเล่าชีวิตประจำวัน มีปัญหาอะไรกับใครบาง ครั้งกับครูก็จะไปพูดคุยทำความเข้าใจ กับเพื่อนหรือเเม้เเต่ร่างกายของเขาเอง ผู้หญิง เนอะ เริ่องเยอะ เพราะฉะนั้นคนที่มีลูกจะต้องรู้ว่าลูกไม่ได้ต้องการเเค่อาหารวันละ3เมื้อ เท่านั้น
เราต้องให้- ความรักความอบอุ่น- ความเข้าใจ- ความมั่นคงทางใจเพราะไม่มีวิธีใดที่จะเลี้ยงลูกให้ฉลาด เก่ง สุข และดี ได้ทั้งหมด แต่มีวิธีหนึ่งที่ทำให้ลูกทุกคนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข มีสุขภาพกายที่ดีและเป็นที่ยอมรับของสังคม วิธีนั้นคือ การเลี้ยงลูกให้มีสุขภาพจิตที่ดี


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #22 เมื่อ: 28 ม.ค. 10, 15:53 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

การ ทำโทษเด็ก เป็นเรื่องสำคัญมากอย่าทำโทษเด็กโดยปราศจากหลักการเป็นอันขาดคืออย่าใช้อา รมย์เป็นใหญ่ในการทำโทษเด็กเด็ดขาด หลักการ ทำโทษเด็ก เเละ ข้อควรจำ

1) อย่าลงโทษเด็ก ในเมื่อความผิดนั้นไม่ได้ปรากฎต่อหน้าหรือไม่มีพยานหลักฐานว่า เป็นความผิดของเขา(อย่างมีคนมาฟ้องพอฝังปุ๋ปตีลูกเลยโดยไม่ถามความเป็นมา จริงใหม)
2) อย่าทำโทษเด็กเพื่อประชดประชันอีกคนหนึ่ง เช่น โกรธพ่อ แต่ไปทุบลูกเสียบอบซ้ำไป อย่างนี้ไม่เป็นธรรมแก่เด็ก(อันนี่ห้ามเด็ดขาด)
3) อย่าผลัดเพี้ยนการทำโทษ ในเมื่อความผิดนั้นได้ปรากฏต่อหน้าหรือมีพยานหลักฐานแล้ว เช่น ผลัดว่า “รอให้พ่อมาก่อนเถอะจะให้พ่อเฆี่ยน”(ไม่ตีดีทีสุด พี่หักค่าขนม ลูกพี่กลัวมาก จะยกเมิือใหว้"พรีสสสสสส" ม่าม่า" พรีสสสสสสสส" q*013q*013q*013สะใจ
4) อย่าเอาสิ่งไม่เกี่ยวมาโทษเด็กมาเป็นการลงโทษเด็ก เช่น สัญญาว่าคืนนี้จะพาไปดูละคร พอเด็กกระทำผิดก็เลยงดการไปดูละครเสีย การงดไปดูละครเป็นการลงโทษเด็กแต่ไม่สมควรทำเช่นนั้น
5) อย่าออเซาะเด็กภายหลังที่ได้ทำโทษเด็กแล้ว จะทำให้เด็กคิดเห็นไปว่า การทำโทษเป็นการบรรเทาโทสะของพ่อหรือเเม่เท่นั้น หรือทำให้เด็กคิดเเละมองเห็นว่า พ่อ เเม่เป็นคนอ่อนแอ(ด้านอารมย์) เด็กจะไม่เกรง พ่อ เเม่ในกาลต่อไป
6) อย่าลงโทษเด็กที่ได้รับโทษตามความผิดของเขาเสร็จสิ้นแล้ว เช่น เด็กซนไปล้มลง ท่านก็โกรธไปตีซ้ำพร้อมกับพูดคำหยาบสำทับเขา นี้ย่อมเป็นการไม่เหมาะสม การหกล้มสอนเขาให้รู้ว่าเจ็บปวดขนาดไหนอยู่แล้ว อย่าเพิ่มความปวดร้าวทางใจให้เขาอีกเลย หากเด็กยังไม่เดียงสาท่านก็ควรให้ความระวังแก่เขา
7) อย่าทำโทษเด็กด้วยลิ้นของคน การด่าว่าบ่นจู้จี้เด็ก เป็นสิ่งไม่มีประโยชน์เป็นการถ่ายทอดนิสัยเสียให้เด็กเปล่าๆ คนปากจัดจึงควรระวังสักหน่อย

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #23 เมื่อ: 28 ม.ค. 10, 15:55 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

8) สิ่งใดที่ท่านบอกเขาว่าผิด ก็ให้ถือว่าเป็นความผิดตลอดไป เช่น เด็กของท่านตบหน้าท่าน ท่านก็ตีเขาในฐานะที่ความประพฤติไม่ดี แต่ต่อมาเขาตบหน้าท่านอีก บังเอิญอารมณ์ของท่านดี ท่านหัวเราะเห็นเป็นของขันไปการกระทำของท่าน ทำให้เด็กงง ไม่สามารถเข้าใจได้ว่า เมื่อไรการกระทำเช่นนั้นถูกผิดอย่างไร(การที่เด็กเเสดงอาการนี้ออกมาถ้าใน เด็กเล็ก เข่น 8เดือนขึ้น ก็เเค่ มันเสียงดังดี 1ขวบถึง4ขวบ ลองของคะ ดูซืิพ่อ เเม่จะมีปฏิกริยาอย่างไร อันนี้ต้องพูดคุยกับลูก )
9) อย่าทำโทษให้ผิดกันระหว่างผู้มีสิทธิทำโทษเด็ก พ่อทำโทษเด็กอย่างใดในความผิดอย่างหนึ่ง แม่ก็ควรทำโทษแบบเดียวกัน(ตกลงกันไว้)
10) อย่าทำโทษเด็กโดยความลำเอียง เช่น พี่น้องทะเลาะกัน พี่ถูกทำโทษหนัก น้องก็ถูกทำโทษสถานเบาเพราะเห็นว่าเล็กกว่า ทำให้พี่เกิดน้อยใจ และริษยาน้องเกิดความเครียดแค้น อาจทำร้ายน้องได้ในภายหลังและจะขาดความเคารพแก่ท่านด้วย
11) อย่าทำโทษเด็ก โดยอาการเปาะแปะและพร่ำเพรื่อ ทำให้เป็นกิจลักษณะ
12) อย่าทำโทษเด็กโดยอาการไม่สมควร เช่น โกรธไม่พูดด้วยสามวัน
13) อย่าโต้แย้งกันในเรื่องการลงโทษเด็กต่อหน้าเด็ก ถ้าผู้ใหญ่จะโต้เถียงกันต้องกระทำอย่าให้เด็กเห็น
14) อย่าแสดงอาการเหลาะแหละ ไม่กล้าเอาจริงเอาจัง ด้วยการแสดงเอะอะให้คนอื่นทำโทษเด็กให้ การทำโทษจะไม่ศักดิ์สิทธิ์ และไม่ทำให้เด็กเชื่อถือยำเกรง
ขอยำ้อีกครั้ง ลูกไม่ว่าจะเล็กเเค่ใไน เขาสามารตเรียนรู้ได้ถึงกฏ กติกา กรอบ ขอบเขต เสรีภาพ วินัย ได้
(ตัดทอนจาก รักลูกให้ถูกทาง (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ))

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #24 เมื่อ: 28 ม.ค. 10, 16:02 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ใครตีลูกบ้าง...อ่านทางนี้

ผู้เชี่ยวชาญชี้ตีลูกบ่อย ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว และในที่สุดพ่อแม่ก็จะได้ไม่คุ้มเสีย

แม้ว่า คนโบราณมักกล่าวไว้ว่า ‘รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี’ แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีนักวิจัยออกมาเปิดเผยว่า หลังจากที่ศึกษาพฤติกรรมเด็กที่ถูกพ่อแม่ตีบ่อยๆนั้น พบว่า พวกเขามีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมแข็งกร้าวซึ่งจะส่งผลร้ายระยะยาวแน่นอน

“ลิ ซ่า เบอร์ลิน” นักวิจัยจากศูนย์จัด ตั้งนโยบายเพื่อเด็กและครอบครัว ในมหาวิทยาลัยดุ๊ก ประเทศสหรัฐอเมริกาอธิบายว่า การที่พ่อแม่ตีลูกไม่ว่าจะตีเบาหรือแรง และบ่อยครั้งแค่ไหน จากการสำรวจและวิจัยข้อมูลต่างๆพบว่า มันก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ขณะที่การว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้มีส่วนทำให้เด็กเป็นคนก้าวร้าวเหมือนการถูก ตีแต่อย่างใด

ทั้งนี้ เธอและทีมงานได้สำรวจเด็กๆกว่า 2,500 คน จากครอบครัวที่มีรายได้น้อย โดยทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เคยถูกพ่อแม่ตีมาแล้วทั้งนั้น ซึ่งผลออกมาว่า เด็กๆมีปัญหาเรื่องสุขภาพจิตและพฤติกรรมพอสมควร อนึ่งนักจิตวิทยาหลายฝ่ายได้เห็นพ้องต้องกันว่า การทำโทษลูกนั้น ควรดูเวลาและสถานที่ด้วย

ทั้ง เด็กเล็กและเด็กโตที่ได้พูดคุยด้วย ฉันคิดว่าปัญหาสำคัญคือความรู้สึกนึกคิดของพวกเขานะ เพราะเด็กๆเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรถูก อะไรผิด พวกเขาไม่รู้และไม่เข้าใจเรื่องการถูกทำโทษ ว่าทำไมพ่อแม่ต้องลงมือกับหวกเขาด้วย โดยเฉพาะการตี ซึ่งในขณะที่พ่อแม่อาจจะทำไปเพราะรัก แต่เชื่อเถอะว่าลูกๆของพวกคุณไม่เข้าใจพวกคุณหรอก เพราะเขายังเด็กเกินไปที่จะรับฟังเหตุผล” เบอร์ลินกล่าว

อย่าง ไรก็ดี เบอร์ลิน และทีมงานพบว่า เด็กๆที่ถูกตีตั้งแต่ขวบปีแรก จะเริ่มมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อพวกเขาอายุครบ 2 ขวบ และอาจจะมีผลกระทบกับกระบวนการทางความคิดในช่วง 3 ขวบขึ้นไป

ส่วน เหตุผลที่การศึกษาครั้งนี้ได้เน้นไปที่กลุ่มเด็กที่อยู่ในครอบ ครัวที่มีรายได้น้อย เพราะจากการสำรวจครั้งที่ผ่านๆมาพบว่า การลงโทษ ไม่ว่าจะเป็นการตี หรือวิธีอื่นๆสำหรับเด็กกลุ่มนี้ ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นเรื่องปกติสำหรับพวกเขาไปเสียแล้ว โดยเบอร์ลินได้อธิบายในเรื่องนี้ว่า

สาเหตุ ที่เด็กกลุ่มนี้จะคุ้นชินกับการโดนลงโทษมากกว่าเด็กกลุ่มอื่นๆเป็นเพราะ พ่อแม่ของพวกเขามีความเครียดเรื่องค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน รวมไปถึงภาระ หน้าที่ และความรับผิดชอบที่ต้องแบกรับซึ่งไม่สอดคล้องกับรายได้ของครอบครัว"

" ทั้งนี้การที่เด็กส่วนใหญ่โดนตีและถูกกระทำในลักษณะที่คล้ายๆกัน ซึ่งเราอาจนิยามได้ว่า มันคือ ‘วัฒนธรรมพาไป’ ของ บุคคลที่มีพฤติกรรมเหมือนๆกัน เช่น บางครอบครัว คุณย่า คุณยาย จะเป็นคนตีเด็ก เพราะสมัยก่อนถูกเลี้ยงมาแบบนั้น และพวกเขาเองก็เลี้ยงลูกไม่ต่างกัน หรืออีกประเภทหนึ่งมาจาก การยุยงของเพื่อนบ้าน รวมไปถึงการเลียนแบบพฤติกรรมจากครอบครัวอื่น เช่นเพื่อนบ้านบอกหรือพูดโน้มน้าวว่า เด็กทำแบบนั้นทำไมถึงไม่ ตี จริงๆแล้วควรจะตีนะ เพราะจะได้จำ อีกอย่างที่เราตีเพราะเรารัก ถ้าไม่รักก็ไม่ตี อยากให้ลูกหลานได้ดี ต้องตีให้เป็นเรื่องธรรมดา แบบนี้เป็นต้น

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #25 เมื่อ: 28 ม.ค. 10, 16:04 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาครั้งที่ผ่านมา พบว่า พ่อแม่ที่ตีลูกส่วนใหญ่มักเป็นพ่อแม่ที่มีอายุน้อย การศึกษาไม่สูงมากนัก มีแรงกดดันและภาวะความเครียดเป็นทุนเดิม และที่สำคัญนั้นส่วนใหญ่มักเป็น พ่อเลี้ยงเดี่ยว หรือแม่เลี้ยงเดี่ยว

เด็กๆ ที่ถูกพ่อแม่ตีบ่อยๆนั้น จากการสำรวจทำให้เรารู้ว่า ส่วนหนึ่งมาจาก พ่อแม่ของพวกเขา ที่สมัยเด็กๆนั้น พ่อแม่เหล่านี้ก็ถูกตีมาเช่นกัน หนำซ้ำอาจถูกตีบ่อยตั้งแต่เด็กๆจึงรู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไรถ้า จะทำกับลูกของตัวเองบ้าง เบอร์ลินเสริม

ทั้งนี้ หากแบ่งตามเขตพื้นที่แล้วพบว่า ครอบครัวทางตอนใต้ของอเมริกาหรือเป็นกลุ่มคริสเตียนหัวโบราณ กลุ่มคนเหล่านี้มักมีความเชื่อผลของการทำโทษเด็กนั้นมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย และเชื่อว่าเพราะเด็กทำผิด ผู้ใหญ่จึงต้องลงมือถึงจะรู้ความ

สรุปแล้วควรตีลูกหรือไม่

อาจ เป็นเรื่องธรรมดาของเด็กๆทีต้องซุกซนจนได้เรื่อง ซึ่งด้วยวัยที่กำลังอยากรู้อยากเห็นนี่เองที่ทำให้พ่อแม่หลายคนไม่สามารถควบ คุมอารมณ์ได้จึงลงมือตีลูกตั้งแต่ยังเล็ก

เบอร์ลินเผยว่า เด็กในช่วงขวบปีแรกเป็นวัยที่เริ่มซุกซนและจะเริ่มโดนตีบ้างแล้ว ซึ่งในเรื่องนี้ ‘โรเบิร์ต ลาร์เซเลีย’ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ของวิทยาศาสตร์การพัฒนามนุษย์และครอบครัว จาก มหาวิทยาลัยรัฐโอคลาโฮมา ประเทศอเมริกาได้เสริมข้อมูลเรื่องนี้ว่า

แม้ว่าจะไม่มีข้อบัญญัติ ไว้ว่าห้ามตีลูกช่วงขวบปีแรกและไม่มีใครบอกว่า 2 ขวบขึ้นไปสามารถตีได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำหรับเด็กวัยหนึ่งขวบนั้นพ่อแม่ควรจะพยามยามพูดกับลูกก่อน แม้ว่าเขาจะไม่เข้าใจเราทันทีก็ตาม ซึ่งการพูดคุยและอธิบายให้ลูกฟังย่อมเป็นทางออกที่ดีกว่าการลงมือเป็นแน่

และ หากถามว่า จริงๆแล้วพ่อแม่ควรตีลูกหรือไม่นั้น ลาร์เซเลีย ผู้ที่รวบรวมผลงานวิจัยเรื่องนี้กว่า 26 ชิ้น กล่าวว่า ยังไม่มีข้อพิสูจน์ใดที่สามารถฟันธงได้ว่า จริงๆแล้วพ่อแม่ควรตีลูกหรือไม่ แต่สิ่งที่ได้จากการศึกษามาเป็นเวลานานนั้นคือ การตีมันก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านพฤติกรรมและจิตใจจริงๆ

เด็กๆที่ มีอายุระหว่าง 2- 6 ขวบ นั้นเป็นช่วงเรียนรู้ระเบียบวินัย ต่างๆดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดที่พ่อแม่สามารถทำได้คือ การแนะนำ อธิบายให้ลูกเรียนรู้และเข้าใจสิ่งนั้นๆเท่าที่จะทำได้ ซึ่งทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการลงมือจะดีมาก โดยที่ผ่านมา ขณะที่พ่อแม่กลุ่มหนึ่งลงมือตีลูก แต่ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ยืนยันว่า พ่อแม่ไม่ควรตีลูกเลยไม่ว่าพวกเขาจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม โดยแม่บางคนยอมรับว่า เธอได้รับคำแนะนำจากคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยายมาบ้างว่าควรสอนลูกและอธิบาย ดีกว่าตีโดยไร้เหตุผล”

‘ซูซาน นิวแมน’ นักจิตวิทยาและนัก เขียน เจ้าของหนังสือ “ลิต เติ้ล ติงส์ ลอง รีเมมเบอร์ – มาทำให้ลูกของคุณรู้สึกว่ามันคือวันที่พิเศษในทุกๆวัน (Little Things Long Remembered: Making Your Children Feel Special Every Day) กล่าวว่า พ่อแม่ควรสอนลูกและชี้แนะแนวทางว่าสิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี อะไรควร อะไรไม่ควร โดยใช้ช่วงเวลาว่างๆ ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาทานขนม หรือก่อนเข้านอนก็ได้

การ ที่เด็กมีความทรงจำที่ไม่ดีในวัยเยาว์ นิวแมนเผยว่า พ่อแม่ความสร้างความรู้สึกและความทรงจำที่มีความรักและความอบอุ่นให้กับลูก ดีกว่าใช้ความรุนแรงและบอกว่ารัก

ดัง นั้นพ่อแม่ทุกคนควรปลูกฝังให้ลูกมีความประพฤติดี ซึ่งอาจจะบอกกับลูกว่า หนูรู้ไหมว่า การเป็นเด็กดีนั้นควรทำอย่างไร แล้วถ้าหนูเป็นเด็กดี ไม่ดื้อ ไม่ซน หนูน่ารักแค่ไหนกัน

ทางด้านนักจิตวิทยา ‘ลอร่า มาร์คแฮม’ ผู้ให้คำแนะนำในเว็บไซต์ AhaParenting.com. เผยว่า แม่ส่วนใหญ่ตีลูกเพราะลูกซน โดยเฉพาะวัย 1 ขวบ ซึ่งมันมีผลต่อความรู้สึกเด็กแน่นอน

ถ้า แม่เห็นว่า ความซุกซนคือสาเหตุที่ทำให้ต้องตีลูก ลูกทำให้แม่โมโหจึงต้องใช้คำรุนแรงกับเด็กที่ไร้เดียงสา ลูกของคุณจะมีพฤติกรรมที่แย่ลงทันที อีกทั้งยังทำให้เด็กเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะมีอารมณ์ฉุนเฉียวง่ายขึ้นอีก ด้วย

อย่างไรก็ดี ในอนาคต เบอร์ลินคาดว่าจะลงพื้นที่จัดตั้งโครงการการทำงานร่วมกับครอบครัวที่มีราย ได้น้อย และมีความเสี่ยงในการใช้กำลังกับลูกสูง โดยเธอจะพยายามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและยังจะส่งเสริมพฤติกรรมการเลี้ยงดู ลูกอย่างถูกวิธีอีกด้วย เพราะเธอเชื่อว่า พ่อแม่ทุกคนสามารถฝึกแนวทางการเลี้ยงลูกโดยปราศจากการใช้กำลังและอารมณ์ได้ ไม่ว่าพวกเขาจะรวยหรือจนก็ตาม

ข้อมูล : ผู้จัดการ


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #26 เมื่อ: 28 ม.ค. 10, 16:06 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

คุณควรตีลูกหรือไม่?

โดย : ลอร่า ศศิธร วัฒนกุล

เรื่องนี้ต้องขยายค่ะ การสอนลูกนั้นเป็นเรื่องใหญ่ของคนเป็นพ่อเป็นแม่ซะนี่กระไร

คน ไทยเราคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับคำว่า “สอนสั่ง” เช่น เดี๋ยวเขาจะหาได้ว่าพ่อแม่ไม่สั่งสอน เอ...คำว่าสั่งสอน กับ สอนสั่ง ต่างกันไหมหนอ....

ลอร่าคิดว่าต่างค่ะ บ่อยครั้งที่เรา“สั่ง”ลูก แต่ลืม “สอน” แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับความคิดจิตใจของลูกเอ่ย? ยิ่งถ้าพ่อแม่ทั้งสั่งทั้งตะโกนบอก หรือทั้งดุ ทั้งตี หรือกระทั่งด่าทอ จะเกิดผลกระทบอะไรกับใจน้อยๆ ของเด็กบ้างหรือไม่ คำตอบที่ได้รับจากการรับฟังงานเสวนา “positive discipline : Raising children without violence” จัดโดยองค์การช่วยเหลือเด็ก Save the Children (Sweden) น่าสนใจมากค่ะ

แนวความคิดเรื่อง Positive Discipline หรือ การสร้างวินัยเชิงบวก ได้รับการประมวลค้นคิดมาจากท่านรองศาสตราจารย์ ดร.โจน อี เดอร์แรนท์ นักจิตวิทยาคลินิกเด็กและนักวิชาการสังคมศาสตร์ครอบครัว ประเทศแคนาดา ซึ่งท่านได้กล่าวไว้ในหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

"การสอนลูกนั้น ควรเริ่มต้นจาก ข้อหนึ่งคือพ่อแม่ต้องคิดให้ได้ว่าเป้าหมายการสอนของพ่อแม่คือการสอนเพื่อ ให้ลูกได้เกิดการเรียนรู้ ข้อสองคือการวางแผนเพื่อใช้วิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ และข้อสามคือการหาทางแก้ปัญหาที่ใช้ได้ผลจริง

การสร้างวินัยเชิงบวก เป็นเรื่องของการแก้ปัญหาระยะยาวเพื่อพัฒนาการสร้างวินัยในตนเองของเด็ก เป็นการสื่อสารอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความคาดหวัง กฎระเบียบและการกำหนดขอบเขตของพ่อแม่ เป็นการสอนทักษะที่เด็กจะใช้ได้ไปจนตลอดชีวิต เป็นการเสริมสร้างความสามารถความมั่นใจให้กับเด็กในการจัดการกับสถานการณ์ ที่ท้าทาย เป็นการสอนให้ลูกรู้จักความมีมารยาท การไม่ต้องใช้ความรุนแรงและการเข้าถึงจิตใจผู้อื่น มีความเคารพในศักดิ์ศรีของตนเองและผู้อื่น”



ฟังดูดีจัง แล้วจะต้องทำไงบ้างเพื่อให้ “คิดได้” แบบนี้บ้าง ดร.โจน ได้อธิบายว่าแนวคิดเรื่อง การสร้างวินัยเชิงบวก มีรากฐานมาจากการคิด 4 ขั้นตอน

เมื่อพ่อแม่ค่อยๆ ฝึกฝนไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องแล้วในที่สุดวิธีคิดของท่านก็จะค่อยๆ เปลี่ยนไปทีละน้อย และในที่สุดความชำนาญของท่านก็จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับด้วย

ข้อแรกคือ การคิดถึงเป้าหมายระยะยาวของเราสำหรับเด็กๆ

ข้อ ที่สอง คำนึงว่าเด็กๆ ต้องการที่จะรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติด้วยอย่างให้เกียรติ ให้ความเข้าใจ รู้สึกปลอดภัย และได้รับความรักจากผู้ใหญ่

รวมทั้งถามตัวเองว่าเด็ก ต้องรู้อะไรบ้างเพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์ที่ เกิดขึ้น และร่วมกันแก้ปัญหา เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อจะให้สถานการณ์นี้ช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายระยะยาว ที่วางไว้

ข้อที่สามทบทวนว่าเด็กในวัยนี้คิดและรู้สึกอย่างไร อยู่ในช่วงพัฒนาการแบบไหน ลองมองดูสถานการณ์จากมุมมองของเด็กๆ และคิดแบบเขาดู ลองถามตัวเองว่า ถ้าให้เด็กๆ อธิบายสถานการณ์ตอนนี้เขาจะพูดอย่างไร

ข้อที่สี่ จัดการแก้ไขกับสถานการณ์ด้วยวิธีการที่ทำให้เด็กๆ เห็นว่าเราให้เกียรติเขา ให้ข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นและจะนำไปสู่เป้าหมายระยะยาวของเราได้

โปรด ฟังอีกครั้งหนึ่ง ถ้าท่านอยู่ในสถานการณ์ที่ท้าทายเวลาที่เลี้ยงดูลูกๆ อยู่ ลองคำนึงถึงขั้นตอน 4 ขั้นนี้ก่อนที่จะตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนที่จะ ดุ ด่า ว่ากล่าว หรือ ตี เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่ช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายระยะยาวของเราได้

เด็ก จะรู้สึกกลัว ไม่เข้าใจว่าเขาโดนตีหรือโดนดุเพราะอะไรและทำให้เขาสับสนว่าพ่อแม่คนที่รัก เขามากที่สุดสามารถใช้ความรุนแรงกับเขาได้

ดังนั้น จงใช้สถานการณ์ที่ท้าทายนั้นในการสอนลูกเพื่อไปถึงจุดที่ลูกจะเติบโตขึ้น เป็นคนในแบบที่เราตั้งเป้าหมายไว้ให้จงได้ เป็นไงคะ ฟังแล้วก็คงคิดเหมือนกันใช่ไหมคะ ว่าสิ่งแรกที่พ่อแม่ต้องทำก็คือการทำตัวของเราให้เป็นแบบอย่างที่ดีซะก่อน นั่นเอง

ข้อมูลจากหนังสือกรุงเทพธุรกิจ

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #27 เมื่อ: 6 ก.พ. 10, 21:54 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ขอบคุณมากค่ะ แล้วจอยจี้จะนำไปใช้นะคะ q*056q*056

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
พระคุณแม่
เรทกระทู้
« ตอบ #28 เมื่อ: 16 ส.ค. 10, 20:14 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
แม่ แม่ แม่
ผมรักแม่ครับ

แม่รักผม ผมรักแม่ครับ
แม่คอยดูแลเอาใจใส่ผม

รักแม่ที่สุดในโลก


นศท.เทพารักษ์ ทิพกันยา
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติฯ ร้อยเอ็ด
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #29 เมื่อ: 17 ส.ค. 10, 11:05 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ครอบครัวเดียวกัน ต้องเข้าใจและรับฟังซึ่งกันและกัน เนาะ เราจะได้อยุ่กันอย่างมีความสุข

วันที่ 26-29 สิงหาคมนี้ จะมีงาน สินค้าแม่และเด็กที่ศูนย์สิริกิติ์ ดิชั้นกับครอบครัวก็ว่าจะไป พาลูกๆไปเที่ยวซักหน่อย ถือเป็นการพักผ่อนกับครอบครัว แล้วยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ ในครอบครัวอีกด้วย อิอิจะได้ รักกันๆๆ แถมได้ของดี ของถูกติดไม้ติดมือกลับมาใช้ด้วย คิคิคิ

ใครสนใจนิ ก็เข้าไปดูรายละเอียดไนเวปไซต์ Thailandbaby and kidsbestbuy ได้นะคระ ช๊อปปิ้ง ลัลล้า

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #30 เมื่อ: 11 ก.พ. 12, 23:47 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #31 เมื่อ: 12 ม.ค. 13, 21:16 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

มีประโยชน์ครับ ผมหะปะทะทุกวันเลยอารมณ์

เตือนสติความโกรธทำให้คุณเสียใจ

ขอบคุณครับ

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #32 เมื่อ: 3 พ.ค. 13, 00:00 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ขอบคุณข้อมูล ดี และ เป็นประโยชน์มาก ๆ เลย

ความรักภายในครอบครัวเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนจริงๆค่ะ

หาดเกิดปัญหาต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ มีสติ ใช้ความเข้าใจ และ หาหนทางที่ถูกต้องรับมือกับทุกปัญหาที่เกิดขึ้นให้ได้นะคะ

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #33 เมื่อ: 12 ก.พ. 14, 17:01 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
q*032q*032q*072q*072
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #34 เมื่อ: 16 ก.พ. 14, 18:49 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
q*062q*062q*062q*062q*062q*062q*062
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม