Sanook.commenu

ข่าว ตรวจหวย ทำนายฝัน ราคาทอง วิเคราะห์บอล ฟังเพลงออนไลน์ ดูทีวีออนไลน์ หนังใหม่ ดูละครย้อนหลัง เกมส์

 
webboardmy findrulecontact
หน้า: 1 ตอบส่งกระทู้นี้พิมพ์
ผู้เขียน กระทู้: ขอเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ  (อ่าน 1197 ครั้ง)
Guest
อธิษฐาน์ สอนมะณี
« เมื่อ: 28 พ.ย. 10, 12:39 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
 

เรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและ
พัฒนาการของมนุษย์ และสาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านทรายมูล อำเภอน้ำพอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4
ผู้ศึกษานางอธิษฐาน์ สอนมะณี
ที่ปรึกษา1.นายบัณดิษฐ์ กองจันทา
2. นายจำเนียร ชัยจันทรา
3. นายจงศักดิ์ ขามธาตุ

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ และสาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนบ้านทรายมูล อำเภอน้ำพอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4 จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่
ชุดการสอน และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 ข้อ ซึ่งผ่านการตรวจสอบและการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ (Multiple choice) 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.24-0.71 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.20 – 0.66 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = 0.65
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standasd Deviation or S.D.) ค่าร้อยละ (Percentage) และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ และสาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 86.33/84.43
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ และสาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการเรียนรู้ของนักเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags :
Guest
pundit kongchanta
« ตอบ #1 เมื่อ: 28 พ.ย. 10, 12:49 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
 

อยากได้ไฟรืที่สมบูรณ์ครบทุกบททุกเนื้อหาจังเลยครับ

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags :
Guest
การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
« ตอบ #2 เมื่อ: 25 ก.ย. 11, 14:35 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
 

ชื่อเรื่อง การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียน
โรงเรียนบ้านใหม่พัฒนวิทย์ โดยใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามวิถีอิสลาม ลักษณะผลงาน วิจัยและพัฒนา(Research and Development)
ผู้วิจัย อับดุลการี สะรี
ปีพุทธศักราช 2553

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมที่เป็นปัญหาและความต้องการใน การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน เพื่อพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามวิถีอิสลามที่ใช้ในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน และเพื่อศึกษาผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนด้วยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามวิถีอิสลามที่พัฒนาขึ้น ของโรงเรียนบ้านใหม่พัฒนวิทย์ จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่าง คือครู จำนวน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน 119 คน นักเรียนกลุ่มเสี่ยงและมีปัญหา 53 คน รวม 185 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน (Stratified Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่พัฒนวิทย์ จังหวัดปัตตานี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมของนักเรียนที่เป็นปัญหาที่จะต้องพัฒนาให้เป็นไปตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียน ทั้งโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับความสำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ ด้านผู้เรียนเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ และ ด้านผู้เรียนเป็นผู้มีวินัย ตามลำดับ สำหรับความต้องการในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ทั้งโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากเช่นกัน เรียงลำดับความสำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ ด้านผู้เรียนเป็นผู้มีวินัย และด้านผู้เรียนเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้
2. ผลการกำหนดกิจกรรม หรือโครงการที่ใช้พัฒนาพฤติกรรมนักเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของโรงเรียนบ้านใหม่พัฒนวิทย์ มี 3 ด้าน คือ ด้านผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ 13 กิจกรรม ด้านผู้เรียนเป็นผู้มีวินัย 8 กิจกรรม และด้านผู้เรียนเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ 10 กิจกรรม รวม 31 กิจกรรม


3. พฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียน บ้านใหม่พัฒนวิทย์ ก่อนการพัฒนา โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 2.64 และพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนหลังการพัฒนา มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ทั้งโดยรวมและรายด้าน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.06 และเมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียน ก่อนและหลังการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า หลังการพัฒนานักเรียนโดยใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามวิถีอสิลาม นักเรียนมีพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ สูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
และพบว่า หลังการพัฒนานักเรียนด้วยระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามวิถีอิสลามที่พัฒนาขึ้น นักเรียนกลุ่มเสี่ยงและมีปัญหา มีจำนวนลดลง โดยมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ด้านผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ ลดลงมากที่สุด (ลดลงร้อยละ 42.27) รองลงมา คือ ด้านผู้เรียนเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ (ลดลงร้อยละ 17.53) และด้านผู้เรียนเป็นผู้มีวินัย (ลดลงร้อยละ 16.49 ) ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังพัฒนา พบว่า หลังการพัฒนา นักเรียนกลุ่มเสี่ยงและมีปัญหาที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ มีจำนวนลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags :
Guest
นางไสว งามเจริญ
« ตอบ #3 เมื่อ: 27 ก.ย. 11, 19:29 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
 

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่องการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดกลางวรวิหาร) เทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
ผู้วิจัยนางไสว งามเจริญ
ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
หน่วยงานที่สังกัดโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดกลางวรวิหาร)
สังกัดเทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1)เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดกลางวรวิหาร) เทศบาลนครสมุทรปราการจังหวัดสมุทรปราการ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ให้มีประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดกลางวรวิหาร)เทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เมื่อได้ศึกษาจากแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดกลางวรวิหาร) เทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนเทศบาล5 (วัดกลางวรวิหาร)สังกัดเทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน30 คน นักเรียนชาย 14 คน นักเรียนหญิง 16 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย แบบวิธีการจับฉลาก ใช้เวลาในการทดลอง 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกเสริมทักษะสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 10 ชุดและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 20 ข้อ สถิติวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานS.D.และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-testใช้รูปแบบการวิจัยแบบ One Group Pretest Posttest Design


ผลการวิจัยพบว่า :
1. การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดกลางวรวิหาร) เทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ มีประสิทธิภาพ 83.10/81.83 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดกลางวรวิหาร) เทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดกลางวรวิหาร) เทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 2.86

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags :
add
« ตอบ #4 เมื่อ: 12 ส.ค. 12, 21:05 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
 

ชื่อเรื่อง รายงานการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางยิหวา ผุดผา
หน่วยงาน โรงเรียนขุขันธ์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2554
บทคัดย่อ

ภาษาอังกฤษเป็นศาสตร์ที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบัน เพราะภาษาอังกฤษใช้ในการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ แสวงหาความรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในระดับนานาชาติ การเขียนเป็นวิธีการสื่อสารที่มีผู้นิยมใช้มาก จากการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการเขียน รายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนขุขันธ์อยู่ในระดับไม่น่าพอใจ ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ จึงมีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Writing Skill Practice ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Writing Skill Practice ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Writing skill Practice ที่พัฒนาขึ้น และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Writing Skill Practice ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนขุขันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ เขต 28 จำนวน 50 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ แบบฝึกทักษะภาษาอังกฤษ เรื่อง Writing Skill Practice ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 ชุด แผนการ
จัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Writing Skill Practice ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 16 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง Writing Skill Practice ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.75 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Writing Skill Practice ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.62 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent sample t-test)
ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้
1. แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Writing Skill Practice ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.50 / 77.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ตั้งไว้ที่ 75/75
2. ดัชนีประสิทธิผลของการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Writing Skill Practice ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.7149 แสดงว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 71.49
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เรื่องWriting skill practice สูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ
เรื่อง Writing Skill Practice ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก
โดยสรุป ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สามารถนำแบบฝึกทักษะการเขียนที่ผู้ศึกษาค้นคว้าพัฒนาขึ้น ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้สาระ
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และควรมีการพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในเนื้อหาอื่นๆ และ ระดับชั้นต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags :
Guest
ครูอรพินท์ พรหมมาลี
« ตอบ #5 เมื่อ: 20 ต.ค. 12, 05:11 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
 

เรื่องรายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์บูรณาการ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเขามะเกลือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ปีการศึกษา 2554
ชื่อผู้ศึกษา นางอรพินท์ พรหมมาลี
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
หน่วยงานโรงเรียนบ้านเขามะเกลือ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3
ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์บูรณาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 75 / 75 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์บูรณาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์บูรณาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในศึกษา
เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนบ้านเขามะเกลือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling or Judgment Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์บูรณาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์บูรณาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผลจากการศึกษาปรากฏว่า



1. ผลการศึกษาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์
บูรณาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเขามะเกลือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ปีการศึกษา 2554 มีค่าเท่ากับ 77.59/78.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ คือ 70 / 70
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์บูรณาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและ
การเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเขามะเกลือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ปีการศึกษา 2554 นั้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้สูงขึ้น
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนกีฬาวอลเลย์บอลโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์บูรณาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและ
การเคลื่อนที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเขามะเกลือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ปีการศึกษา 2554 พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมาก (`X = 4.56)

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags :
Guest
นายณัทชรพงษ์ พะโยธร
« ตอบ #6 เมื่อ: 5 พ.ย. 12, 15:23 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
 

ชื่อผลงานวิชาการรายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม
ผู้รายงานนายณัทชรพงษ์ พะโยธร
หน่วยงานกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านมะกอก
ปี พ.ศ.2554

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านมะกอก อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2554 จำนวน 13 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม จำนวน 6 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 จำนวนเต็ม เล่มที่ 2
การบวกจำนวนเต็ม เล่มที่ 3 การลบจำนวนเต็ม เล่มที่ 4 การคูณจำนวนเต็ม เล่มที่ 5 การหารจำนวนเต็ม เล่มที่ 6 สมบัติของจำนวนเต็ม และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนในแบบฝึกทักษะ เล่มที่ 1 – 6 เล่มละ 20 ข้อ รวมทั้งสิ้น 120 ข้อ มีค่าความ ยากง่าย 0.38 – 0.76 และค่าอำนาจจำแนก 0.21 – 0.54 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.79 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการทดสอบค่าที (t – test)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ในภาพรวม มีประสิทธิภาพ 77.59/77.44 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้คือ 75/75 เมื่อจำแนกเป็นรายเล่ม ปรากฏผลดังนี้คือ เล่มที่ 1 จำนวนเต็ม ค่าประสิทธิภาพ 77.51/79.23 เล่มที่ 2 การบวกจำนวนเต็ม ค่าประสิทธิภาพ 78.85/76.15 เล่มที่ 3 การลบจำนวนเต็ม ค่าประสิทธิภาพ 76.24/75.38 เล่มที่ 4 การคูณจำนวนเต็ม ค่าประสิทธิภาพ 77.45/75.38 เล่มที่ 5 การหารจำนวนเต็ม ค่าประสิทธิภาพ 77.64/75.77 และเล่มที่ 6 สมบัติของจำนวนเต็ม ค่าประสิทธิภาพ 78.42/78.46
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ทั้งในภาพรวมและรายเล่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณา รายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 4 ข้อ และอยู่ในระดับมาก จำนวน 16 ข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ขนาดรูปเล่มกะทัดรัด รองลงมาคือ ความชัดเจนของการใช้สีของตัวอักษร ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ความชัดเจนในการนำเสนอเนื้อหา รองลงมาคือ ความเหมาะสมของจำนวนกรอบเนื้อหา

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags :
Guest
บัญฑิตา อิ่มชาลี
« ตอบ #7 เมื่อ: 22 ธ.ค. 12, 11:59 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
 
ชื่อเรื่องรายงานผลการสร้างแบบฝึกและแผนการจัดการเรียนรู้ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านปลื้มพัฒนา ปีการศึกษา 2554
ชื่อผู้วิจัยนางบัณฑิตา อิ่มชาลี
ปี2554
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้กำหนดวัตถุประสงค์ดังนี้ 1)เพื่อสร้างแบบฝึกและแผนการจัดการเรียนรู้ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านปลื้มพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 ปีการศึกษา 2554 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลัง การเรียนด้วยแบบฝึกและแผนการจัดการเรียนรู้ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ที่ได้เรียนด้วยแบบฝึกและแผนการจัดการเรียนรู้ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนบ้านปลื้มพัฒนา จำนวน 23 คน ซึ่งได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1. แบบฝึกการการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2554 2. แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 3. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 4. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 5. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้แบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t – test
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการประเมินแบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าผลการ
2. ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการแบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.53
3. ผลคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้แบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ทั้ง 15 เล่ม พบว่า นักเรียนทำคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทุกเล่ม
4. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าค่าเฉลี่ยการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ แสดงว่าแบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้นส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
5. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้แบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.48
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags :
Guest
ชินานารถ ดวงละว้า
« ตอบ #8 เมื่อ: 29 มี.ค. 13, 21:40 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
 

โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
ผู้รายงาน นางชินานารถ ดวงละว้า
ปีที่รายงาน 2555

บทคัดย่อ

การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เป็นกระบวนการพัฒนา
ที่เสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานให้กับครู เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถพัฒนานักเรียน
ได้เต็มตามศักยภาพ เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน ทำให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนเข้ากับชีวิตจริง
ได้ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การประยุกต์ความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาเป็นการจัดกิจกรรม
ให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ สามารถคิดเป็น ทำเป็น และเกิดองค์ความรู้อย่างถาวร การดำเนินการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน เพื่อศึกษาผลการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อให้ครูโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรีมีความรู้
ความเข้าใจ มีทักษะ และมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ 3 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วยการวางแผน การปฏิบัติตามแผน การสังเกต และการสะท้อนผล กลุ่มตัวอย่างคือครูและนักเรียนที่จัดการเรียนการสอนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2555 และกลุ่มผู้ร่วมดำเนินการ ประกอบด้วยผู้รายงาน ผู้บริหารโรงเรียน วิทยากร คณะกรรมการนิเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ การตรวจสอบคุณภาพข้อมูลใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบหลายมิติ (Triangulation Technique)และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าในรูปแบบพรรณนา (Descriptive Analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และร้อยละความก้าวหน้าของคะแนนเฉลี่ยของครู ก่อนการอบรม – หลังการอบรม
ผลการศึกษาพบว่า หลังจากได้ดำเนินการพัฒนาด้วยกลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการในวงรอบ
ที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการบรรยายให้ความรู้จากวิทยากร การฝึกปฏิบัติการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และการทดลองจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการในสถานการณ์จำลอง และการนิเทศการสอน ปรากฏว่าครูบางคนยังกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ไม่สัมพันธ์สอดคล้องกับเนื้อหาเท่าที่ควร การนำเข้าสู่บทเรียนยังไม่เร้าความสนใจ และครูยังไม่สามารถกำหนดกิจกรรมให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการได้ จะต้องได้รับการพัฒนาในวงรอบที่ 2 ด้วยกลยุทธ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้และการนิเทศการสอน จากการดำเนินการในวงรอบที่ 2 พบว่า ครูบางคนยังขาดทักษะการใช้คำถามกระตุ้น
การคิดของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการบรรยายมากกว่าการกระตุ้นให้นักเรียน
เกิดกระบวนการคิด ผู้รายงาน วิทยากร และคณะกรรมการนิเทศการสอนจึงมีมติให้พัฒนาในวงรอบที่ 3 ด้วยกลยุทธ์ การนิเทศการสอน จากการพัฒนาทั้ง 3 วงรอบ พบว่า ครูทุกคนมีความรู้ความเข้าใจ
มีทักษะ สามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งผลให้โรงเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags :
Guest
ยุภาพร แหเลิศตระกูล
« ตอบ #9 เมื่อ: 9 พ.ค. 13, 20:20 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
 

รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา งานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
รหัสวิชา 2100-1003 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545
(ปรับปรุงพุทธศักราช 2546) ที่ได้รับการสอนด้วยชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน
ผู้รายงานยุภาพร แหเลิศตระกูล ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ วิทยาลัยเทคนิค
ปราจีนบุรี สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน วิชา งานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น รหัสวิชา 2100 -1003 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุงพุทธศักราช 2546) ชั้นปวช. ปีที่ 1ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา งานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น รหัสวิชา 2100 -1003 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุงพุทธศักราช 2546) ของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนก่อนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน วิชางานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น รหัสวิชา 2100 -1003 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุงพุทธศักราช 2546) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปวช.ปีที่ 1 กลุ่ม 1,2 แผนกช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 40 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน วิชางานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น รหัสวิชา 2100 -1003 2) แบบทดสอบประจำชุดการสอน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชางานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น รหัสวิชา 2100 -1003 4) แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อการสอนและด้านเนื้อหา ที่มีต่อชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนวิชางานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น รหัสวิชา 2100 -1003 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน วิชางานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น รหัสวิชา 2100 -1003 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน วิชา งานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น รหัสวิชา 2100 -1003 ที่มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 88.00/86.21 และเมื่อจำแนกตามชุดการสอนพบว่า
ชุดการสอนที่ 1 มีประสิทธิภาพ 87.17/85.50
ชุดการสอนที่ 2 มีประสิทธิภาพ 88.00/86.00
ชุดการสอนที่ 3 มีประสิทธิภาพ 87.25/85.75
ชุดการสอนที่ 4 มีประสิทธิภาพ 88.08/86.25
ชุดการสอนที่ 5 มีประสิทธิภาพ 88.17/86.75
ชุดการสอนที่ 6 มีประสิทธิภาพ 88.25/87.00
ชุดการสอนที่ 7 มีประสิทธิภาพ 89.00/87.25
ชุดการสอนที่ 8 มีประสิทธิภาพ 88.42/86.75
ชุดการสอนที่ 9 มีประสิทธิภาพ 88.17/85.50
ชุดการสอนที่ 10 มีประสิทธิภาพ 87.25/86.00
ชุดการสอนที่ 11 มีประสิทธิภาพ 88.00/85.00
ชุดการสอนที่ 12 มีประสิทธิภาพ 88.25/86.75
ชุดการสอนที่ 13 มีประสิทธิภาพ 87.25/85.50
ชุดการสอนที่ 14 มีประสิทธิภาพ 86.17/86.75
ชุดการสอนที่ 15 มีประสิทธิภาพ 88.08/87.25
ชุดการสอนที่ 16 มีประสิทธิภาพ 88.25/87.00
ชุดการสอนที่ 17 มีประสิทธิภาพ 87.92/86.50
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังใช้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน วิชา งานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น รหัสวิชา 2100 -1003 ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยหลังการใช้มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 53.23 และก่อนการใช้มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 27.45
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนแบบศูนย์ การเรียน วิชา งานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น รหัสวิชา 2100 -1003 พบว่ามีความพึงพอใจโดยรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก ( = 4.89) สามารถนำมาใช้ในการเรียน แล้วส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags :
add
« ตอบ #10 เมื่อ: 16 พ.ค. 13, 10:18 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
 

ชื่อเรื่อง การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง Tense กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นายสุทธิพงษ์ สาชะรุง

บทคัดย่อ

การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง Tense กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาด้านทักษะพื้นฐานด้านไวยกรณ์ภาษาอังกฤษเบื้องต้นสำหรับผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง Tense กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75
2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง Tense กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง Tense กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง Tense กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2555
โรงเรียนโนนจานวิทยา ตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 1 ห้อง จำนวนนักเรียน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง Tense กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 3 เรื่อง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง Tense กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยได้ค้นคว้าและสร้างขึ้น โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 1 ฉบับ เพื่อใช้ทดสอบก่อนเรียนและทดสอบหลังเรียน 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง Tense กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน แบบแผนการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบ Pre-test - Post-test Control Group Design สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ 1) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต 2) ค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับเนื้อหา (Index of Item Object Congruence: IOC) 3) ค่าความยากง่าย (P) ของแบบทอสอบ 4) ค่าอำนาจจำแนก (r) ของแบบทอสอบ 5) ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามวิธีของคูเดอร์- ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson) KR - 20 6) การหาประสิทธิภาพของบทเรียนแบบสำเร็จรูปด้วยสูตร E1/E2 7) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8) สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน t – test dependent
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง Tense กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้นมีค่าเท่ากับ
75.08 / 77.78 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลจากการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง Tense กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (E.I.) มีค่าเท่ากับ 0.5484หรือคิดเป็นร้อยละ 54.84
3. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง Tense กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโนนจานวิทยา มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง Tense กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
โดยสรุป การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง Tense กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาด้านทักษะพื้นฐานด้านไวยกรณ์ภาษาอังกฤษเบื้องต้นสำหรับผู้เรียนที่มีคุณภาพสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้เพิ่มขึ้น และผู้เรียนมีความพึงพอใจกิจกรรมการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง






noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags :
Guest
ณัชสิมา
« ตอบ #11 เมื่อ: 27 ก.พ. 21, 21:47 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
 

ชื่อเรื่องการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภค
ที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้ศึกษานางสาวณัชสิมากาญจน์ ศรีสร้อย
โรงเรียนโรงเรียนเทศบาลตะพานหินวิทยาคาร อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
ปีที่พิมพ์2563

บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบัน ความต้องการในการจัดการเรียนรู้ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ สำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลองใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังจากทดลองใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาลตะพานหินวิทยาคาร สังกัดเทศบาลเมืองตะพานหิน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 38 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม ด้วยวิธีการจับสลากเลขประจำห้องเรียน จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งนักเรียนแต่ละห้องเรียนมีผลการเรียนไม่แตกต่างกัน จากการจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถเก่ง ปานกลาง และอ่อน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน สาระเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะความรู้ 5 ขั้น (REAAC) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน สาระเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะความรู้ 5 ขั้น (REAAC) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t-test

ผลการวิจัยพบว่า
1.ข้อมูลพื้นฐานสภาพปัจจุบัน ความต้องการในการจัดการเรียนรู้ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ สำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียน มัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นโยบาย จุดหมายการจัดการศึกษาจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลตะพานหินวิทยาคาร สภาพที่คาดหวังในการจัดการเรียนรู้ มุ่งสู่การส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีทักษะการคิด ทักษะการใช้เทคโนโลยี ทักษะการใช้ชีวิต เน้นการส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสม และมีสื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมที่มีประสิทธิภาพ
2.การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.44/85.99
3. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังการทดลองใช้ รูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์จากการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ความสามารถใน การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. การวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะความรู้ ร่วมกับบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags :
หน้า: 1 ตอบส่งกระทู้นี้พิมพ์
ตอบ
ชื่อ:
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้ตัวมีขีดกลาง|ตัวเรืองแสงตัวมีเงาตัวอักษรวิ่ง|จัดย่อหน้าอิสระจัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา|เส้นขวาง|
Sanook! TV : ใส่ code ของคลิปวิดีโอ ระหว่าง [sanookclip=480,392].....[/sanookclip]Sanook! Radio : ใส่ code ของเพลงหรือสถานีเพลง ระหว่าง [sanookradio=320,60].....[/sanookradio]ใส่แฟลชflickr : ใส่ URL ของรูปจาก flickr ระหว่าง [flickr].....[/flickr]photobucket : ใส่ HTML Tag ของ photobucket ระหว่าง [photobucket=448,361].....[/photobucket]slide : ใส่ code ของ slide ระหว่าง [slide=426,320].....[/slide]Windows Media Player: ใส่ URL ของ wma,wmv,mp3,.. ระหว่าง [wm=320,304].....[/wm]YouTube: ใส่ URL ของ youtube ระหว่าง [youtube=425,350].....[/youtube]sanookvideoใส่รูปใส่ไฮเปอร์ลิ้งค์ใส่อีเมล์ใส่ลิ้งค์ FTP|ใส่ตารางใส่แถวของตารางใส่คอลัมน์ตาราง|ตัวยกตัวห้อยตัวพิมพ์ดีด|ใส่โค้ดใส่การอ้างถึงคำพูด|ใส่ลีสต์
คำแนะนำ: สามารถใส่เพลง/หนัง (wma, wmv, mp3, ...) โดยใช้ ได้นะคะ
q*061 q*062 q*064 q*069 q*070 q*071 q*072 q*073 q*074 q*075 q*076 q*077 q*078 q*026 q*027 q*029 q*030 q*031 q*032 q*033 q*034 q*035 q*038 q*039 [เพิ่มเติม]
แนบไฟล์:
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต: 20000000 KB, ต่อความคิดเห็น: 4
จำลองการตรวจสอบ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
มีตัวหนังสืออยู่ทั้งหมด 4ตัวอักษรในรูปภาพนี้


พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
กระทู้ปกติ
กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
กระทู้ติดหมุด
โพลล์
:  
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม