หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: โรคจมูกอับเสบจากภูมิแพ้และโรคหืด  (อ่าน 383 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 22 ธ.ค. 10, 10:44 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 


ปัจจุบันมีความก้าวหน้าในด้านความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับพยาธิกำเนิดของโรคภูมิแพ้...

ปัจจุบัน มีความก้าวหน้าในด้านความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับพยาธิกำเนิดของโรค ภูมิแพ้โดยเฉพาะโรคจมูกอับเสบจากภูมิแพ้และโรคหืด เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีแนวโน้มเชื่อว่าทั้งสองโรคนี้เป็นโรคเดียวกัน (one airway, one disease หรือ one linked/ united airway disease) และ ควรให้การรักษาไปพร้อมกันจึงจะได้ผลดี ดังนั้น นอกจากจะมียาใหม่เพิ่มขึ้น แนวความคิดในการใช้ยาบางชนิดเพื่อรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย

โดยทั่วไปหลักในการรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ยังคงเหมือนเดิม คือ พยายามกำจัดหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ (avoidance and environmental control), การรักษาด้วยยา (pharmacotherapy), และการรักษาด้วยวัคซีน (allergen immunotherapy) แต่จะมีความก้าวหน้าในแต่ละด้านเท่าที่ทราบและมีใช้ในประเทศไทย ดังนี้

ในด้านการกำจัดหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ และ environmental control ซึ่ง ถือเป็นหลักสำคัญในการรักษา โรคภูมิแพ้ทุกชนิด และจำเป็นต้องเน้นเป็นอย่างแรก แต่ความก้าวหน้าในด้านนี้ยังมีไม่มาก เช่นมีการผลิตผ้าชนิดพิเศษใช้หุ้มหมอนและที่นอนเพื่อป้องกันฝุ่นและไรฝุ่น ที่มีความนุ่มนวลคล้ายผ้าธรรมดามากขึ้น มีการผลิตเครื่องฟอกอากาศที่สามารถกรองสารก่อภูมิแพ้ในอากาศได้ดีขึ้น และมีความพยายามที่จะค้นหาสารเคมีที่สามารถทำลายไรฝุ่นได้ เป็นต้น

ในด้านของการรักษาด้วยยา ก็ได้มีการศึกษาค้นคว้าจนได้ยาต้านฮิสตะมีนรุ่นที่ 3 ซึ่งมีความปลอดภัยมากขึ้น เพราะเป็น active metabolites ที่ออกฤทธิ์ได้โดยไม่ต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงที่ตับ

จึงไม่ต้องกังวลว่าจะมี interaction กับยาอื่น หรือจะมีผลต่อการทำงานของหัวใจ ยาในกลุ่มนี้ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย ได้แก่ Cetirizine, Fexofenadine และ Desloratadine ซึ่งต่างก็ออกฤทธิ์นาน 24 ชั่วโมง จึงกินเพียงวันละครั้งเดียวก็พอ

นอกจากนั้น ยังมีการศึกษาที่พบว่า ยาต้านฮิสตะมีน โดยเฉพาะรุ่นใหม่ มีฤทธิ์ antiallergic ด้วย โดยเฉพาะฤทธิ์ลด expression ของ ICAM-1 ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการเกิด inflammation จึงทำให้มี แนวคิดใหม่ที่ว่า ควรจะใช้ยาต้านฮิสตะมีน ในลักษณะของ long-term use มากกว่าที่จะใช้ในลักษณะ "on demand" หรือ prn ดังเช่นที่ใช้อยู่ โดยเฉพาะรายที่เป็นชนิด persistent หรือ เป็นตลอดทั้งปี

อย่างไรก็ดี เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ยาต้านฮิสตะมีน มักจะไม่ค่อยได้ผลในการระงับอาการคัดแน่นจมูก ยกเว้นยา Desloratadine ซึ่ง กำลังอยู่ในระหว่างศึกษาเพื่อยืนยันผลดีในข้อนี้ ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยมีอาการคัดแน่นจมูก เป็นอาการสำคัญ หากใช้ยาต้านฮิสตะมีนแล้วไม่ได้ผล ก็อาจให้ยาอื่นร่วมด้วย เช่นยาหดหลอดเลือดชนิดกิน (oral decongestant), ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก หรือยาต้าน leukotrienes เป็นต้น

สำหรับยาต้านฮิสตะมีนชนิดพ่นจมูก ที่มีใช้อยู่ขณะนี้มี 2 ชนิดได้แก่ Levocabastine และ Azelastine ข้อดีของการใช้ยาต้านฮิสตะมีนพ่นจมูก คือ ได้ความเข้มข้นของยาเฉพาะที่สูง และลด systemic side effects ลง ได้ เมื่อเปรียบเทียบกับยาสเตียรอยด์พ่นจมูก พบว่ายาต้านฮิสตะมีน ชนิดพ่นจมูกออกฤทธิ์ได้เร็วกว่า แต่ได้ผลในการลดอาการน้อยกว่า ถ้าใช้ระยะยาว

สำหรับยาสเตียรอยด์พ่นจมูกซึ่งมีใช้มานาน 28 ปี แล้ว ก็ได้มีการพัฒนาจนได้ชนิดใหม่ ที่บางคนเรียกว่า ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก รุ่นที่ 2 ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบแรงกว่าเดิม ออกฤทธิ์ได้เร็วขึ้น และนานขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งมีผลข้างเคียงต่างๆน้อยลง ยากลุ่มนี้ได้แก่ Fluticasone propionate, Triamcinolone acetonide และ Mometasone furoate. ซึ่งใช้พ่นวันละครั้งเดียว ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก มีฤทธิ์ครอบคลุมการเกิด allergic inflammation ได้ทุกขั้นตอน และระงับได้ทั้ง early และ late phase reaction จึงจัดว่าเป็นยาที่ใช้รักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ได้ผลดีที่สุด โดยมีรายงานจากต่างประเทศหลายรายงานที่แนะนำให้ใช้ยานี้เป็น 1st line therapy ในผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง ทั้งชนิดที่เป็นตลอดทั้งปี และชนิดที่เป็นเฉพาะฤดู

ยาที่มีฤทธิ์ต้าน leukotrienes ซึ่ง มีการศึกษาที่แสดงว่าได้ผลดีในการรักษาโรคหืด ก็เริ่มมีผู้ศึกษาผลของมันในการรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ด้วย แต่ผลที่ได้ยังไม่ชัดเจน คงต้องรอการศึกษาเพิ่มเติม ขณะนี้ยังไม่นิยมใช้เพียงลำพังแต่อาจใช้ร่วมกับยาต้านฮิสตะมีนได้

ใน ด้านการรักษาด้วยวัคซีน ได้มีความพยายามที่จะผลิตวัคซีนที่ใช้ฉีด ที่มีความจำเพาะและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีความเสี่ยงต่อการเกิด anaphylaxis น้อยลง แต่ยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย และบางชนิดยังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย

ขณะเดียวกันก็มีการศึกษาผลของวัคซีนที่ไม่ต้องฉีด ได้แก่ วัคซีนชนิดหยดใต้ลิ้น (sublingual immunotharapy) และชนิดพ่นในจมูก (intranasal immunotherapy) สำหรับสารก่อภูมิแพ้บางชนิด และเริ่มเป็นที่ยอมรับกันมากขึ้นว่าใช้ได้ผลดีเช่นเดียวกับชนิดฉีด แต่การศึกษาทดลองในเรื่องของ gene therapy ยังอยู่ในสัตว์ทดลองเท่านั้น

เนื่องจาก ผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ มีจำนวนมาก และมีความหลากหลายในการดูแลรักษา จึงได้มีคณะผู้เชี่ยวชาญร่วมกันสร้าง clinical practice guidelines ขึ้นมาหลายคณะ ทั้งในยุโรป และ อเมริกา รวมทั้งในประเทศไทย ซึ่งก็มีแนวทางในการตรวจรักษาคล้ายกัน คือยึดหลักการ stepwise approach ที่ขึ้นกับวิธีการตรวจรักษาที่มีในที่นั้นๆ ด้วย ล่าสุดคือแนวทางที่จัดทำโดยคณะผู้เชี่ยวชาญที่แต่งตั้งโดยองค์การอนามัยโลก

กล่าว โดยสรุป คือ มีความก้าวหน้าในการรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เกิดขึ้นในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะ ด้านการรักษาด้วยยา และ การรักษาด้วยวัคซีน ในอนาคตคงจะมีความก้าวหน้าถึงขั้นที่จะรักษาโรคภูมิแพ้ให้หายขาดได้

ด้วยความปราถนาดีจาก โรงพยาบาลสมิติเวช : http://www.samitivejhospitals.com/allhealth_article_detail.aspx?id=212&lid=th
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 22 ธ.ค. 10, 10:56 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ตอนอายุ 15 เคยเป็นหวัดตลอดทั้งปี ไม่มีวันไหนเลยที่น้ำมูกไม่ไหล q*001

ขอบคุณสำหรับข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์ q*021

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม