หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ถึงเวลาสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นแล้วหรือยัง???  (อ่าน 409 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 15 ส.ค. 11, 18:52 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 
ตั้งแต่ปี 2523 มาแล้วนะครับ พณ ท่าน โดนค้านแล้วค้านอีก...
ปัจจุบันนี้ก็ยังโดนค้าน...พณ.ท่านอดีตนายกฯ ก็ยังบอกว่าไม่ควรสร้าง
เพราะจะกระทบกับต้นทุนสูง...หรือมีผลกระทบกับชาวบ้าน แต่กระนั้นก็จำ
ต้องปล่อยให้น้ำท่วมซ้ำซาก....ประชาชนลำบากกันต่อไปร่วม 30 ปี แถม
ยังแนะนะให้รัฐบาลชุดนี้ สร้างแก้มลิงดีกว่า...ผมเลยรู้สึกว่าท่านแนะนำดีนะ
ว่าแต่ว่า สมัยท่าน ท่านทำอะไรอยู่...2 ปีกว่า ทำไมไม่เห็นสร้างแก้มลิงอย่าง
ที่ว่ามากักเก็บน้ำ หรือรองรับน้ำที่จะไหลบ่าเข้าสู่เมืองกัน....

พอรัฐบาลชุดนี้ จะปัดฝุ่นเอาโครงการนี้ขึ้นมาทำ มาพิจารณา ท่านก็เริ่มทำ
หน้าที่ฝ่ายค้านต้านเต็มรูปแบบอีกแล้ว....ก็เพราะการค้าน และก็ค้านแบบ
ไม่สร้างสรรค์ ห่วงแต่เรื่องว่ามันจะแพงเกินไป...ถามว่าถ้าทำกันได้ตั้งแต่ปี
2523 หรือ 2528 ป่่านนี้ ก็คงจะมีเขื่อนแก่งเสือเต้นเกิดขึ้นมากันแล้ว ต้นทุน
ในสมัยนั้น ก็คงจะไม่กี่หมื่นล้านบาท....ว่าไปว่ามาเราอาจจะเสียโอกาสทอง
ไปตั้งแต่สมัยก่อน...ยิ่งหากไม่เริ่มทำตอนนี้ มีหวังราคามันคงวิ่งไปยิ่งกว่า
สนามบินสุวรรณภูมิ...หรือคลองขอดกระอีกกระมัง....ปัจจุบัน ผมว่าเราต้อง
หางบประมาณมาสร้างร่วมแสนล้านแหง ๆ...แต่ถ้าไม่ทำหรือไม่คิดจะริเริ่ม..
เดินหน้า มีหวังมหันตภัยจากอุทกภัย...ก็คงจะทำลายชีวิตและทรัพย์สินของ
ชาวบ้านซ้ำแล้วซ้ำอีก อีกกี่สิบชาติ...พวกนักการเมืองเหล่านี้ถึงจะฉลาด
กระทำกันสักที...นี่แหล่ะเมืองไทย บางครั้งค้านกันจนบ้านเมืองเสียหาย
เสียโอกาสไปแบบฟรี ๆ...นึกถึงคลองขอดกระแล้วรู้สึกช้ำใจทุกครั้งไป...
สมัยโน้นหากขุดหรือคิดสร้าง งบประมาณก็อยู่ประมาณสองพันกว่าล้านบาท
แต่ปัจจุบันหากคิดจะกระทำ ก็คงเป็นแสนล้านเหมือนกัน...สองพันล้านบาท
สมัยนั้น หากเปิดเป็นธุรกิจเดินเรือ...ป่านนี้เราก็เป็นเสือนอนกินแทนสิงค์โปร์
ไปแล้วพี่น้องเอ๋ย....
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Guest
แฟนประจำ เสื้อไม่กั๊ก
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 15 ส.ค. 11, 19:33 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ส่วนตัวแล้วเห็นด้วยที่จะให้มีการสร้างนะครับ
แต่ทั้งนี้ ก้็ต้องแล้วแต่คนในพื้นที่จริงๆ
ย้ำว่า คนในพื้นที่นะครับ อย่าเอา NGO มาเป็นประเด็น
พวกนี้ส่วนใหญ่คือคนต่างถิ่นที่ไม่เคยรับรู้ถึงความเดือดร้อน
น้ำท่วมก็ไม่เคยย่างกรายไปดูดำดึูดี เก่งแต่ในเมือง
เขื่อนไม่เอา ถ่านหินไม่เอา นิวเคลียร์ก็ไม่
แต่พวกนี้แหละที่ใช้น้ำใช้ไฟมากกว่าชาวบ้านทั่วไป

ฉนั้นการที่จะเดินหน้าสร้างหรือไม่สร้าง
ก็ขอให้มันเกิดจากประชามติของคนในลุ่มน้ำทั้งหมดจริงๆ
ไม้สักทองตรงนั้น มันไม่มีค่าไปกว่าชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวบ้านตรงนั้น
หากต้องให้เลือก ส่วนตัวผมก็เลือกชาวบ้านก่อน

แต่ไม่ต้องเอาวังน้ำเขียวมาเทียบเคียงนะครับ
ที่นั่น คนไม่มีที่ก็รุกที่ เขาให้เป็น สปก ก็ขาย
เดี่๋ยวเงินหมดก็รุกที่ใหม่ ไม่เคยพอ

ส่วนตัวสนับสนุนครับ แต่ให้ได้แค่กำลังใจ
ให้เป็นการตัดสินใจของคนทั้งลุ่มน้ำที่นั่นครับ

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
นะฮะ
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 15 ส.ค. 11, 20:39 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
คุณพันตา..

หากคิดจะก่อสร้างกันจริง ๆ ในวันนี้..ต้นทุนมันก็ไม่น่าจะสูงมากหรอก ถึงราคาวัสดุและค่าแรงงานจะสูงขึ้นมากก็ตาม

ก็ได้มีการประเมินราคากันในเบื้องต้นไว้แล้ว..

ด้วยวันนีโรงงานปูนซีเมนต์ลำปาง..ก็อยู่ห่างจากจุดก่อสร้างเขื่อนฯมีระยะทางไม่เกิน 150 กม.

ส่วนขี้เถ้าลอยต์ ที่เกิดจากการเผาลิกไนต์ ก็มีแหล่งผลิตที่ลำปางเช่นกัน ( กรณีเขื่อนขุนด่านปราการชล ที่นครนายกฯ ก็ใช้เทคนิกปูนซีเมนต์ผสมขี้เถ่าลอยต์)

ดังนั้น มูลค่าการก่อสร้างคงจะไม่สูงมากจนกินไปนัก..!!!!!!!

( ปล.แต่เหตุผลเดิม ๆ ที่ฝ่าย NGO ได้ทำการคัดค้านไม่ให้ก่อสร้างเขื่อนนั้น คือ เป็นการทำลายป่าไม้สักทองแหล่งใหญ่และทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของนกยูงไทย แต่ที่รู้ ๆ หากก่อสร้างเขื่อนตรงจุดเดิมที่มีการสำรวจเอาไว้แล้วนั้น การกักเก็บน้ำต้องกินพื้นที่ของ ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ท้งตำบลแล้ว น้ำยังไปท่วมถึงในเขตพื้นที่ อ.เชียงม่วน จ.พะเยา เกือบทั้งหมด หากเป็นดังนี้ ค่าชดเชย ค่ารื้อถอน ค่าขนย้าย ทั้งหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ บานตะไท.....)
q*033q*032q*062q*039
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #3 เมื่อ: 15 ส.ค. 11, 22:11 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ถ้าไม่สร้างตอนนี้ ความเดือดร้อนสะสม จะขยายวงเงินค่าเสียหายสูงกว่าการยอมจ่ายเพื่อการสร้างเขื่อนบานตะไทกว่าครับ เพราะเราไปแก้ปัญหาตรงกลางทางหรือปลายทาง แต่ต้นทางคือการชะลอน้ำไม่ให้ไหลไปรวมกันในปริมาณมากเกินไปจนแหล่งน้ำลำคลองรับไม่ไหว ก็ต้องเอ่อล้นสู่พื้นที่การเกษตรและพื้นที่อาศัยของประชากร ดังนั้นเห็นควรต้องสร้างครับ

ส่วนพื้นที่คลองขอดประจวบคีรีขันธ์ ถามนางสาวเปรมิการครับ สวาปามเงินสิงคโปรไปเท่าไหร่ ถึงไม่ยอมขุดตั้งแต่สมัยนั้นครับ ไม่ต้องอ้างความมั่นคงครับ ประเทศแบ่งได้แต่เชื่อมด้วยสายใยเศรษฐกิจและสะพานข้ามคลอง ซึ่งเราจะสร้างสะพานยาวแค่ไหนก็ได้ เพราะมันคือแผ่นดินไทย ไม่งั้นฝั่งธน ก็ไม่บรรจบฝั่งพระนครได้หรอกครับถ้าปราศจากสะพานข้ามเจ้าพระยาทุกแห่ง....

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #4 เมื่อ: 15 ส.ค. 11, 22:24 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ขอขอบคุณทุกความเห็น...เพราะเขาเล่นการเมืองซะเคย??
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
นะฮะ
เรทกระทู้
« ตอบ #5 เมื่อ: 15 ส.ค. 11, 23:01 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

( ต่อ )
หลังจากนั้นไม่นาน ดร. คุณหญิง สุธาวัลย์ เสถียรไทย จากสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (GSE) หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง "การประเมินค่าทางเศรษฐศาสตร์ของป่าไม้ : กรณีศึกษามูลค่าที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ของป่าไม้สัก ในอุทยานแห่งชาติแม่ยมจากการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น" ได้ทำการประเมินมูลค่าการใช้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา ๕๐ ปีว่า หากมีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เราอาจสูญเสียประโยชน์ที่ได้จากป่าแก่งเสือเต้น เป็นมูลค่าสูงถึง ๔,๑๒๑ ล้านบาท ทั้งนี้ยังไม่นับรวมมูลค่าที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ ซึ่งหากคิดในมูลค่าปัจจุบันจะตกเป็นเงินถึง ๒,๑๗๘.๓ ล้านบาท
จากงานวิจัยชิ้นนี้ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการประเมินค่าสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรชีวภาพออกมาเป็นตัวเลข พบว่า ผืนป่าสักในอุทยานแห่งชาติแม่ยม ให้ผลตอบแทนสูงกว่ามูลค่าของการมีเขื่อนแก่งเสือเต้น ซึ่งทางองค์การอาหารและเกษตร (FAO) และธนาคารโลกประเมินไว้ที่ ๑,๘๐๐ ล้านบาท ประมาณ ๒-๔ เท่า อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวยังไม่ถูกนำมาใช้ประกอบ ในการพิจารณาความเหมาะสม ของโครงการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นแต่อย่างใด (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในนิตยสาร สารคดี ฉบับที่ ๒๐๖ เม.ย. ๒๕๔๕)
......................................
การเปิดฉากอีกครั้งของละครเรื่องเดิมดูไม่ต่างจากที่ผ่านมาเท่าไร ตัวละครแต่ละฝ่ายต่างก็ยึดกุมบทบาท และเป้าหมายเดิม ๆ ของตนไว้อย่างมั่นคง ที่เปลี่ยนไปบ้างคงเป็นข้อมูลและมุมมองใหม่ ๆ ที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลา
แต่ที่สำคัญ เรื่องราวของมันดูจะไม่ลงเอยไปง่าย ๆ แม้ว่าละครเรื่องนี้จะเดินเรื่องยืดเยื้อยาวนานมากว่า ๒๐ ปีแล้วก็ตาม
ทว่าผู้ชมอย่างเราก็คงมีหน้าที่ต้องตั้งตารอดูกันต่อไป เพราะละครเรื่องนี้ไม่ใช่ละครธรรมดา หากเป็นละครเรื่องยาว ที่มีป่าสักทองผืนสุดท้ายของประเทศ แหล่งต้นน้ำสำคัญ พันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด รวมถึงชีวิตผู้คนกว่า ๒,๐๐๐ ครอบครัว เป็นเดิมพัน.

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #6 เมื่อ: 16 ส.ค. 11, 00:01 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ขออภัยครับ เรื่องนี้ผมเกิดไม่ทัน อนุญาติให้คุยกันเฉพาะกลุ่มนะครับ 555+

cocococococo

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #7 เมื่อ: 16 ส.ค. 11, 00:27 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ส่วนตัวแล้วเห็นด้วยที่จะให้มีการสร้างนะครับ
แต่ทั้งนี้ ก้็ต้องแล้วแต่คนในพื้นที่จริงๆ
ย้ำว่า คนในพื้นที่นะครับ อย่าเอา NGO มาเป็นประเด็น
พวกนี้ส่วนใหญ่คือคนต่างถิ่นที่ไม่เคยรับรู้ถึงความเดือดร้อน
น้ำท่วมก็ไม่เคยย่างกรายไปดูดำดึูดี เก่งแต่ในเมือง
เขื่อนไม่เอา ถ่านหินไม่เอา นิวเคลียร์ก็ไม่
แต่พวกนี้แหละที่ใช้น้ำใช้ไฟมากกว่าชาวบ้านทั่วไป

ฉนั้นการที่จะเดินหน้าสร้างหรือไม่สร้าง
ก็ขอให้มันเกิดจากประชามติของคนในลุ่มน้ำทั้งหมดจริงๆ
ไม้สักทองตรงนั้น มันไม่มีค่าไปกว่าชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวบ้านตรงนั้น
หากต้องให้เลือก ส่วนตัวผมก็เลือกชาวบ้านก่อน

แต่ไม่ต้องเอาวังน้ำเขียวมาเทียบเคียงนะครับ
ที่นั่น คนไม่มีที่ก็รุกที่ เขาให้เป็น สปก ก็ขาย
เดี่๋ยวเงินหมดก็รุกที่ใหม่ ไม่เคยพอ

ส่วนตัวสนับสนุนครับ แต่ให้ได้แค่กำลังใจ
ให้เป็นการตัดสินใจของคนทั้งลุ่มน้ำที่นั่นครับ


เห็นด้วยที่สุด

ให้ประชาชนในพื้นที่ตัดสินดีที่สุด พวกngo (โง่) ไปไกลๆเลยไป

q*071q*071q*071
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
นะฮะ
เรทกระทู้
« ตอบ #8 เมื่อ: 16 ส.ค. 11, 01:14 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
๒๒ ปีแก่งเสือเต้นกับคำถามเดิม : จะเอาเขื่อนหรือเอาป่า ???

ละครเรื่องเดิมเปิดฉากอีกครั้ง...
ไม่มีตัวละครใดถอนตัวออกไป ฉากและโครงเรื่องก็ไม่ต่างจากเดิม
"ดงสักงาม" บริเวณที่ถือว่าเป็นหัวใจของผืนป่า ๒๘๔,๒๑๘ ไร่ของอุทยานแห่งชาติแม่ยม จังหวัดแพร่ ซึ่งนักพฤกษศาสตร์ถือว่า เป็นระบบนิเวศแบบป่าสักแห่งเดียวในประเทศไทย คือที่ตั้งของโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น- -เขื่อนกักเก็บน้ำขนาด ๑,๑๗๕ ล้านลูกบาศก์เมตร ที่จุดชนวนให้เกิดละครเรื่องยาวนี้ขึ้นมา
เริ่มต้นเมื่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี ให้ดำเนินการศึกษาโครงการผันน้ำกก-อิง-ยม-น่านในปี ๒๕๒๓ โดยมีเป้าหมายในการผันน้ำจากแม่น้ำโขง แม่น้ำอิง แม่น้ำน่านและแม่น้ำกก ลงสู่แม่น้ำยม โดยจะมีเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นเขื่อนศูนย์กลางคอยรับน้ำเกือบทั้งหมด เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า เก็บกักน้ำ นำไปใช้ประโยชน์ในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาในฤดูแล้ง และจะมีการผันน้ำจากแม่น้ำน่านบางส่วน ผ่านอุโมงค์ลงไปสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ที่กั้นแม่น้ำน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์
เขื่อนแก่งเสือเต้นจะทำให้ป่า ๔๐,๖๒๕ ไร่อันเป็นบริเวณ "ดงสักงาม" หัวใจของผืนป่าแม่ยม จมอยู่ใต้น้ำทันที
ต่อมาในปี ๒๕๒๘ กฟผ. ได้โอนโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น ให้กรมชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบ เนื่องจากเห็นว่าเป็นโครงการที่ให้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่
กระทั่งปี ๒๕๓๒ คณะรัฐมนตรีสัญจรที่เชียงใหม่ ได้อนุมัติให้ทำการศึกษาโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น ตามที่กรมชลประทานเสนอ โดยวัตถุประสงค์หลักในการสร้างเขื่อน ก็เพื่อพัฒนาระบบชลประทาน ให้แก่ประชาชนในจังหวัดแพร่และสุโขทัย ซึ่งจะมีพื้นที่ชลประทานถึง ๓๐๕,๐๐๐ ไร่ ทั้งนี้ทางกรมชลประทาน ได้ว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินการศึกษา และประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
ภายหลังเปลี่ยนจากเขื่อนผลิตไฟฟ้า มาเป็นเขื่อนเพื่อการชลประทานและป้องกันน้ำท่วม การผลักดันให้มีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ก็เกิดขึ้นเป็นระยะท่ามกลางกระแสคัดค้าน ทั้งยังเคยจะมีการนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม ครม. ในเดือนกันยายน ๒๕๓๘ เพื่อขออนุมัติ ทั้งที่รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ
กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ คณะรัฐมนตรีสัญจรที่เชียงใหม่ ในสมัยรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา ก็ได้นำเรื่องแก่งเสือเต้นเข้าสู่ที่ประชุมอีกครั้ง คราวนี้เกิดกระแสต่อต้านอย่างหนักทั้งจากเอ็นจีโอ นักวิชาการ และชาวบ้านในพื้นที่ที่ต้องถูกอพยพ กระแสคัดค้านเป็นผลให้รัฐบาลมีมติ ครม. ๒๒ เมษายน ๒๕๓๙ ให้ชะลอโครงการออกไปเพื่อศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ก่อนตัดสินใจว่าจะเดินหน้าหรือยกเลิก
นับจากนั้นเป็นต้นมา ทั้งฝ่ายผลักดันและคัดค้านต่างผลัดกันรุกผลัดกันรับเป็นระยะ โดยต่างฝ่ายต่างหยิบยกเอาข้อมูลและผลการวิจัยต่าง ๆ ขึ้นมาสนับสนุนแนวคิดของตน รัฐบาลเองก็มีมติ ครม. ให้เดินหน้า- ชะลอโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นเป็นระยะเช่นกัน ตามแต่สถานการณ์จะนำไป
ฝ่ายสนับสนุนการสร้างเขื่อนชูประเด็นปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง รวมถึงประโยชน์ทางด้านการชลประทาน ที่จะเกิดกับประชาชน ๑๒ จังหวัดท้ายเขื่อน นับแต่จังหวัดแพร่ ไปจนถึงสุโขทัย พิจิตร ฯลฯ
ขณะที่ฝ่ายคัดค้านก็นำผลการวิจัย ว่าด้วยผลกระทบจากการสร้างเขื่อนในแง่ต่าง ๆ มาตอบโต้ ทั้งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความไม่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ความเสี่ยงอันเนื่องมาจากที่ตั้งเขื่อน ตลอดจนเหตุผลทางด้านสังคม และสิทธิชุมชนของชาวบ้านที่จะได้รับผลกระทบ
ระหว่างความขัดแย้งดำเนินไป หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็ทยอยนำเสนอผลงานวิจัยของตนออกสู่สาธารณะ อาทิ
รายงานการสำรวจผลกระทบจากการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ที่ทางธนาคารโลกได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยมหิดล ทำการศึกษาอย่างละเอียด พบว่า พันธุ์ไม้ที่สำรวจพบในบริเวณที่จะถูกน้ำท่วมมีถึง ๔๓๐ ชนิด (ตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของพันธุ์ไม้ทั้งหมด เนื่องจากไม้ล้มลุกส่วนใหญ่ ออกดอกจนโรยหรือเหี่ยวเฉาไปแล้วก่อนที่จะมีการสำรวจ) มีสัตว์ป่าหายากชนิดต่าง ๆ หลงเหลืออยู่หลายชนิด ซึ่งการสร้างอ่างเก็บน้ำ จะปิดกั้นทางเดินของสัตว์ ที่จะไปหากินยังบริเวณที่ราบต่ำภายในอุทยานแห่งชาติแม่ยม นอกจากนี้นกในเขตอุทยานฯ ที่มีอยู่ถึง ๙๖ ชนิดจะได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะนกยูงทองที่พบได้เฉพาะที่นี่เพียงแห่งเดียว ทั้งยังมีพันธุ์ปลาอีกถึง ๖๘ ชนิดที่จะได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน
ทางด้านกรมป่าไม้ก็ระบุว่า หากมีการสร้างเขื่อน ต้นไม้ใหญ่ที่จะถูกทำลายมีกว่า ๒ ล้านต้น แต่ถ้ารวมต้นเล็ก ๆ ด้วยแล้วจะมีมากถึง ๖๐ ล้านต้น คิดเป็นปริมาณถึง ๔๐๓,๘๘๔.๖๗ ลูกบาศก์เมตร ทว่ารายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่ทางกรมชลประทานศึกษา กลับระบุว่ามีเพียง ๑๑๒,๒๗๒.๑๙ ลูกบาศก์เมตรเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม หลังเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และอำเภอน้ำก้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามมาด้วยปัญหาภัยแล้งจากปรากฏการณ์เอลนีโญ กระแสการผลักดันให้มีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ก็ระอุขึ้นมาอีกครั้งกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยครั้งนี้สื่อมวลชนรายงานว่า "อธิบดีดันทุรัง ชาตินี้ต้องสร้างแก่งเสือเต้น" (ข่าวสด, ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๕)
( มีต่อ )
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #9 เมื่อ: 16 ส.ค. 11, 08:00 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ขอบคุณคุณ นะฮะ ที่อุตส่าห์เป็นธุระเอาข่าวมาฝาก เพื่อน ๆ ร่วมบอร์ด??
เพื่อต่อยอดให้รู้กึ๋นของคนบางจำพวก...ที่ยึดโยงเรื่องหนึ่ง ถึงกับยอมลงทุน
ทำลายคนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งประสบเคราะห์กรรมมากว่า หลายเท่านัก พวกนี้มัก
จะมาพูด ๆ แล้วก็ไป ขอให้ได้ขัดไว้ก่อน...พอถามว่าจะแก้ไขอย่างไรเขาก็
บอกว่าไม่ใช่หน้าที่....ปล่อยให้คนที่เกี่ยวข้องเขาเป็นผู้ดำเนินการ แต่พอเขา
บอกว่าสรุปจะสร้าง....มันก็อ้างเรื่องเดิม ๆ วนเวียนกันอยู่อย่างนี้ ดึงเกมส์กัน
มาก็หลายสิบปี...ทั้ง ๆ ที่พระองค์ท่านก็ทรงเห็นด้วย แต่ก็ต้องการให้ช่วยดู
แลป่าไม้ไปพร้อม ๆ กัน สาระสำคัญ เขากลัวกันแค่ว่า จะมีมือที่มองไม่เห็น
มาเอาต้นไม้ไปเล่นแร่แปรธาตุกันจนหมดป่า....อันนี้มันก็ขึ้นอยู่กับมาตรการ
การควบคุมหรือการกำกับดูแล อย่างใกล้ชิด ดูเป็นจุด ๆ ไป และอะไรไม่ว่า
เราต้องมองกันว่า ได้คุ้มค่ากับเสียไปไหม?? ประโยชน์สูงสุดมันตกอยู่ที่ใคร
อันนี้ต่างหากที่ควรศึกษากัน ไม่ใช่สักแต่ปั่น ๆ ให้ประชาชนในพื้นที่มันสับสน
กลายเป็นผลประโยชน์ระหว่างชุมชน...จนเกิดโกลาหลยกพลซัดกันเอง...

ฝ่ายหนึ่งโดนธรรมชาติกระทำซ้ำซาก...ก็อยากจะเปลี่ยนแปลงและกักเก็บน้ำ
ไว้ใช้กันในยามแล้ง...แต่อีกฝ่ายหนึ่งโดนแต่งเรื่องให้มันน่ากลัว พร้อมทั้งไม่
ยอมเสียสละบางส่วนบ้าง..อ้างกันอย่างเดียวต้องเวณคืนใช้ทุนเยอะ...แล้ว
หากถามว่าถ้าทำไปในสมัยโ้น้น ต้นทุนมันจะสูงเท่ากับสมัยนี้ไหม?? มูลค่า
ความเสียหายที่ก่อให้เกิดกับชาวบ้านซ้ำซาก ผลผลิตขาดหาย น้ำท่วมจน
ทุกอย่างถูกทำลาย ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก ทุกปี อย่างนี้อะไรที่ัมันจะใช้ทุนมากไป
กว่ากัน...สาระสำคัญมันเกิดมาเพื่อค้านกันอย่างเดียว มองมุมเดียว..และ
บางครั้งคนที่เป็นตัวการค้าน บ้านก็ไม่ได้อยู่แถวนั้นซะด้วย...ฮ่วย?
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #10 เมื่อ: 16 ส.ค. 11, 08:09 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ขออภัยครับ เรื่องนี้ผมเกิดไม่ทัน อนุญาติให้คุยกันเฉพาะกลุ่มนะครับ 555+

cocococococo



แหม เกิดไม่ทัน แต่ท่านก็หาข้อมูลเก่งไม่ใช่เหรอ น่าจะเอามาแชร์กันนะครับ
จริงอยู่ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน...และก็ควรจะช่วยกันหาข้อมูลจริง ๆ และถูก
ต้องมาประกอบ....เพื่อบอกกับภาคประชาชนคนไทยกันทั้งประเทศไปพร้อม
กันด้วย เนื่องจากเม็ดเงินงบประมาณที่จะใช้ในการสร้างนี้ มันก็เป็นภาษีของพี่
น้องประชาชนคนไทยทุกคนเช่นกัน....สาระสำคัญเราต้องดูกันว่าอะไรที่สำคัญ
ยิ่งกว่า ระหว่างผลประโยชน์ส่วนรวม หรือผลประโยชน์บางกลุ่ม คุ้มค่าหรือไม่
แต่ไม่ใช่ปล่อยผ่าน ให้พี่น้องที่เดือดร้อนทุกทรมานกันซ้ำซาก ลำบากกัน
ทุกปี...แบบนี้มันก็ไม่แฟร์ หากแก้ไขหรือช่วยกันได้ ก็ควรจะรีบดำเนินการ
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #11 เมื่อ: 16 ส.ค. 11, 10:59 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ต้องชั่งน้ำหนักให้ดี อะไรได้อะไรเสียมากกว่ากันซฺนะครับ...(คงไม่มีด้ายกับด้ายล่ะมั้ง) q*039

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #12 เมื่อ: 16 ส.ค. 11, 15:21 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ถ้าจำไม่ผิด เคยมีพระราชดำริในคราวออกพระที่นั่งสวนจิตรในวันเฉลิมพระชนม์ฯเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยนะทั่นพี่......ทั่นพี่พอจะจำหรือคุ้น ๆ ได้ไหมครับ

"สร้างวันนี้ ทำวันนี้ ยอมขาดทุนวันนี้ แต่กำไรในวันหน้า......."
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
นะฮะ
เรทกระทู้
« ตอบ #13 เมื่อ: 16 ส.ค. 11, 22:34 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
นี่คือ ข้อมูลที่หลากหลายของการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นที่น่าสนใจมาก ๆ อีกอันหนึ่ง

โดย คุณเสลียมป่า ( สะเดาป่า) ในเว็ปพันทิป


http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X10898569/X10898569.html q*032q*00q*071q*062
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
นะฮะ
เรทกระทู้
« ตอบ #14 เมื่อ: 16 ส.ค. 11, 23:01 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
อดีตนายกฯบรรหาร ให้ความคิดเห็นที่เกี่ยวกับแก่งเสือเต้น...

'บรรหาร'หนุนสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
'บรรหาร' หนุนสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ป้องกันน้ำท่วมซ้ำซาก ประชดสร้างยากนักเปลี่ยนชื่อเป็นแก่งเสือไม่เต้น

16 ส.ค.54 นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯลงพื้นที่แก้ไขปัญหาน้ำท่วมว่า เป็นเรื่องดี ใช้ได้ ภาพออกมาดูดี และการให้สัมภาษณ์ก็รอบคอบ ส่วนการปรับเงินค่าชดเชยผู้ประสบภัยน้ำท่วมเป็น 600 บาทขึ้นไปก็ถือเป็นเรื่องที่ดี ถ้ามีงบประมาณเพียงพอ หรือจะให้น้ำท่วมไปอีก 10 ปี


เมื่อถามว่ามองว่าการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นมีความจำเป็นหรือไม่ นายบรรหาร กล่าวว่า อยากจะพูดแต่กลัวถูกเล่นงานว่าความจริงแม่น้ำปิง วัง น่าน มีเขื่อนไว้รองรับน้ำหมดแล้ว เหลือแต่แม่น้ำยมยังไม่มีเขื่อนไว้รองรับ เพราะฉะนั้นก็ทำให้น้ำท่วมซ้ำซาก เพราะแม่น้ำยมมีระยะทางกว่า 700 กิโลเมตร หากมีเขื่อนแก่งเสือเต้นก็จะสามารถเก็บกักน้ำได้ 1,200 ล้านลูกบาศก์เมตร
โดยใช้งบประมาณไม่เกิน 1 หมื่นล้านบาท และหากสร้างได้ก็จะไม่ทำให้น้ำไหลบากเข้าท่วมในหลายจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นสุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ ความจริงตนได้เสนอเข้าครม.ตั้งแต่ปี 2498 เพราะเป็นเรื่องที่จำเป็น ถ้าชื่อเขื่อนแก่งเสือเต้นยากก็ควรเปลี่ยนชื่อใหม่ว่าแก่งเสือไม่เต้น หากไม่สร้างจะปล่อยให้น้ำท่วมทุกปี เสียงบประมาณหลายพันล้านบาททำให้ชาวบ้านเดือดร้อนอย่างนี้ไปอีก 10 -20 ปี
ผู้สื่อข่าวถามว่าถึงเวลาที่จะต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นแล้วหรือไม่ นายบรรหาร กล่าวว่า ตนไม่มีสิทธิ์ฟันธงว่าจะสร้างหรือไม่สร้าง และไม่ทราบว่าแนวทางการทำงานของรัฐบาลชุดนี้จะสร้างหรือไม่ แต่จำเป็นที่จะสร้าง ถ้าไม่สร้างก็จะเดือดร้อนอย่างนี้ทุกปี ส่วนที่มีการเรียกร้องให้ไปสร้างที่อื่นแทนนั้น ก็ต้องศึกษาและประชาพิจารณ์กันใหม่อีก 3-4 ปี แต่แก่งเสือเต้นสามารถสร้างได้ทันที เพราะมีการศึกษาทุกอย่างไว้เรียบร้อยหมดแล้ว ต่อข้อถามที่ว่าส.ว.สนับสนุนให้มีการสร้างเขื่อน นายบรรหาร กล่าวว่า ตนก็หนุนแต่ไม่กล้าพูด..
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #15 เมื่อ: 17 ส.ค. 11, 08:24 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

เชื่อว่าทุกภาคส่วนคงจะพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบว่าเขื่อนแก่งเสือเต้นสมควรจะสร้างหรือไม่ เพราะสุดท้ายแล้วคนที่จะได้รับประโยชน์หรือได้รับผลกระทบก็คือคนไทยด้วยกัน

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
คนเมืองแพร่
เรทกระทู้
« ตอบ #16 เมื่อ: 18 ส.ค. 11, 22:21 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ผลประโยชน์มันยังมีอีกเยอะต้นสักยังมีอีกมาก หากวันใหนต้นสักหมด คงไม่มีใครคัดค้าน คนที่จะเดือดร้อนเรื่องการหาที่อยู่ใหม่มีจำนวนน้อยกว่าคนที่เดือดร้อนเพราะน้ำท่วมซ้ำซาก ใหนบอกว่าประเทศประชาธิปปัตตัยไง ยอมแพ้เสียงส่วยน้อยซะแล้ว

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #17 เมื่อ: 19 ส.ค. 11, 07:44 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ผลประโยชน์มันยังมีอีกเยอะต้นสักยังมีอีกมาก หากวันใหนต้นสักหมด คงไม่มีใครคัดค้าน คนที่จะเดือดร้อนเรื่องการหาที่อยู่ใหม่มีจำนวนน้อยกว่าคนที่เดือดร้อนเพราะน้ำท่วมซ้ำซาก ใหนบอกว่าประเทศประชาธิปปัตตัยไง ยอมแพ้เสียงส่วยน้อยซะแล้ว

คห.ของคนเมืองแพร่
------------------------------------------

อ๋อ คงยังอีกหลายรอบครับ ครั้งนี้ หากเราจริงใจ และจริงจัง ที่จะสร้าง
เพียง ก็ต้องเอาข้อมูลรอบด้านที่ได้ศึกษากันมาแล้ว มาปัดฝุ่นและพูด
ความจริงกันให้หมด...ถึงเวลาตัดบท และประโยชน์ตกอยู่กับคนส่วนใหญ่
ก็ต้องเดินหน้าโครงการไป...ให้ได้ครับ อยู่ที่ว่าจะมี เอ็น จี โอ จะขอเอี่ยว
โผล่มาแจมอีกหรือเปล่าเท่านั้นเอง...คนพวกนี้เวลาที่ชาวบ้านเขาเดือดร้อน
มันร่อนอยู่แถวไหน?? ผมก็แปลกใจจริง..ๆ...

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม