ชื่อประเทศ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)

อาณาเขต 331,689 ตารางกิโลเมตร
ประชากร 83.1 ล้านคน (2548)
ลักษณะภูมิประเทศ มีลักษณะเป็นรูปตัว S ตามแนวฝั่งตะวันตกของทะเลจีนใต้จากเส้นละติจูด 23 ํ 22' เหนือ ถึง 8 ํ 30' เหนือ และลองติจูด109 ํ 29' ตะวันออก ถึง 102 ํ 10' ตะวันออก ความยาวจากเหนือจรดใต้ 1,650 กิโลเมตร ขนานไปตามแนวยาวของคาบสมุทรอินโดจีนนอกจากนี้ยังมีไหล่เขาและหมู่เกาะต่างๆ อีกนับพันเกาะเรียงรายตั้งแต่อ่าวตังเกี๋ยไปจนถึงอ่าวไทย เนื่องจากแผ่นดินของเวียดนามมีความยาวมาก ทำให้

ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ แตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยอาจแบ่งได้เป็น 4 ส่วนคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง เขตที่ราบสูง และภาคใต้ ภาคเหนือ จากพื้นที่เหนือสุดถึงจังหวัดกวางบินห์ (Quang Binh) ภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงมากมาย โดยเฉพาะเทือกเขาฟานซีปาน (Fansipan) ซึ่งสูงถึง 3,143 เมตร สูงที่สุดใน อินโดจีน มี
แม่น้ำสำคัญคือ
แม่น้ำกุง (Cung) ซึ่งไหลไปบรรจบกับแม่น้ำแดงเป็นดินดอนสามเหลี่ยมที่อุดมสมบูรณ์ (Red River Delta) เหมาะแก่ การเพาะปลูก เนื่องจากเวียดนามมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่หลากหลาย จึงทำให้เวียดนามมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย มีแม่น้ำไหลผ่านหุบเขาและที่ราบมากกว่า 2,800 สาย โดยเป็นแม่น้ำที่มีความยาวมากกว่า 10 กิโลเมตรกว่า2,300 สาย มีพื้นที่ป่าเขตร้อนมากถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ รวมถึงป่าชายเลนที่มีพื้นที่ประมาณ 200,000 เฮกตาร์ (1.25 ล้านไร่ ) มีรุกขชาติมากกว่า 7,000 ชนิด แบ่งเป็น 239 สายพันธุ์ เป็นแหล่งกำเนิดน้ำมันยางไม้และพืชสมุนไพรมากมาย ที่ราบสูงเหมาะแก่การปลูกพืชเขตหนาว เช่น กาแฟ ใบชา ปอ นอกจากนี้ เวียดนามยังมีสินแร่ที่ค้นพบแล้วมากกว่า 2,000 ชนิด โดยหลายชนิดมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและมีปริมาณมากพอสำหรับการขุดเจาะในเชิงพาณิชย์ เช่น เหล็ก พบมากในจังหวัดท้ายเหวียน (Thai Nguyen) และในบริเวณลุ่มแม่น้ำแดง ถ่านหินโดยเฉพาะถ่านหินแอนทราไซต์ที่มีคุณภาพดี ให้ความร้อนสูง ใช้ในอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก พบมากในจังหวัด กว๋างนินห์ (Quang Ninh)
เครดิต www.thaigogenius.com