|
นั่งสมาธิสวดมนต์ช่วยให้จิตใจดีขึ้นหรือไม่???
การอ่านบรรยายข้างต้นเชื่อว่าสามารถทำให้ท่านเข้าใจได้แต่จะให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง ท่านต้องปฏิบัติเอง
ธรรมะคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีเครื่องมือชนิดใดสามารถมาวัดประสิทธิภาพ วัดความจริงได้ เป็นเรื่องเหนือวิทยาศาสตร์ ต้องวัดผลด้วยการปฏิบัติเอง
“ สิบปากว่า สิบตาเห็น ไม่เท่าเราลงมือทำเอง” เอวัง ... ด้วยประการฉะนี้
ได้มากมายทีเดียวกันเช่น (1) ทำให้ใจสบาย ไม่เครียด มีความสุข ผ่องใส (2) หายหวาดกลัว หายกระวนกระวายโดยไม่จำเป็น (3) นอนหลับง่าย ไม่ฝันร้าย สั่งตัวเองได้(เช่น สั่งให้หลับหรือตื่นตามเวลาที่กำหนดไว้ได้) (4) กระฉับกระเฉง ว่องไว รู้จักเลือกและตัดสินใจเหมาะแก่สถานการณ์ (5) มีความแน่วแน่ในจุดหมาย มีความใฝ่สัมฤทธิ์สูง (6) มีสติสัมปชัญญะดี รู้เท่าปรากฏการณ์ และยับยั้งใจได้ดีเยี่ยม (7) มีประสิทธิภาพในการทำงาน ทำกิจกรรมสำเร็จด้วยดี (8) ส่งเสริมสมรรถภาพมันสมอง เรียนหนังสือเก่ง ความจำดีเยี่ยม (9) เกื้อกูลต่อสุขภาพร่างกาย เช่นชะลอความแก่ หรืออ่อนกว่าวัย (10)รักษาโรคบางอย่าง เช่น โรคเครียด โรคท้องผูก โรคความดันโลหิต โรคหืด หรือโรคกายจิตอย่างอื่น โรคกายจิต(อ่านว่าโรค กา-ยะ-จิต ) หมายถึง ไม่เป็นโรค แต่ใจคิดว่าเป็น คิดบ่อยๆเข้าก็เลยเป็นจริงๆ อาการอย่างนี้ฝึกสมาธิสักพักเดียวก็หาย
ลองฝึกสมาธิดูสิครับ วันละเล็กละน้อย ทำบ่อยๆเป็นกิจวัตร ไม่ช้าไม่นานเราจะรู้ตัวว่าเรากลายเป็นคนละคนกับคนเก่า-ปานนั้นเชียว
|
|
|
|
|
|
|
|
|
พุทธสาวกทั้งหลายเอย !!!!!
เพื่อนๆพุทธสาวกทั้งหลายเอย มีคนเอาของดีมาเอื้ออำนวยแล้ว เหล่าท่านจงตักตวงกันเอาเองเถิด.. ผมจะบอกเกล็ดเล็กน้อยในนี้..นี๊ดดนึงคือ.. พระเทวทัตนี่แหละ เป็นคนแรก ทำทำให้เกิดความแตกแยกในหมู่สงฆ์ อนันตริยะกรรม..กรรมอันหนักมาก
|
|
|
|
|
|
|
ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา
พระอานนท์
ประวัติ
พระอานนท์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาพระนามว่า กีสาโคตมี ท่านจึงเป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า ท่านออกบวชพร้อมกับ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายภคุ เจ้าชายกิมพิละ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายเทวทัต กับนายภูษามาลา ชื่อว่า อุบาลี
หลังจากบวชแล้ว ท่านได้ฟังโอวาทของพระปุณณมันตานีบุตร ได้บรรลุโสดาปัตติผล และได้มารับหน้าที่ พุทธอุปัฏฐาก ปรนนิบัติพระพุทธเจ้า จนกระทั่งหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน จึงได้บรรลุพระอรหันตผล และท่านบรรลุพระอรหันตผลโดยไม่อยู่ในอริยบถ 4 คือ ยืน เดิน นั่ง นอน นั่นคือ ท่านบรรลุพระอรหันตผลภายหลังจากที่ได้ปฏิบัติธรรมทั้งคืนขณะที่จะเอนกายลงนอนบนเตียง พอยกเท้าพ้นจากพื้นแต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน จิตของท่านก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย คลายความยึดมั่นลงได้ ในขณะที่พระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้แล้ว ไม่มีพุทธอุปัฏฐาก พระสงฆ์สาวกต่างก็ผลัดกันทำหน้าที่อยู่รับใช้พระพุทธเจ้า ต่อมาพระสงฆ์สาวกเห็นสมควรว่าจักต้องมีภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมาทำหน้าที่นี้ และพระสงฆ์ทั้งหลายก็ขอร้องให้ท่านรับหน้าที่ พระอานนท์จึงขอพร (เงื่อนไข) 8 ประการต่อพระพุทธเจ้าก่อนรับหน้าที่พุทธอุปัฏฐาก ดังนี้
1. พระพุทธองค์ต้องไม่ประทานจีวรอย่างดีแก่ท่าน 2. ต้องไม่ประทานบิณฑบาตอย่างดีแก่ท่าน 3. ต้องไม่ให้ท่านอยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกับพระพุทธองค์ 4. ต้องไม่นำท่านไปในที่นิมนต์ด้วย 5. ต้องเสด็จไปในที่นิมนต์ที่ท่านรับไว้ 6. ต้องให้คนที่มาแต่ไกลเพื่อเฝ้าได้เฝ้าทันที 7. ต้องให้ทูลถามข้อสงสัยได้ทุกเมื่อ 8. ถ้าไม่มีโอกาสไปฟังธรรมที่ทรงแสดง ขอให้ทรงแสดงซ้ำให้ท่านฟังด้วย
--------------------------------------------------------------------------------
|
|
|
|
|
|
|
มีข้อมูลดีๆมาฝากท่านผู้อ่านอีกครับ หากใครนั่งปฏิบัตินั่สมาธิเชิญอ่านได้เลยครับ
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ในใจของพระองค์ ด้วยการกำหนดสติเฝ้าดูกายเฝ้าดูใจอยู่ตลอดเวลา โดยอาศัยป่าเป็นส่วนประกอบในการทำความเพียรเพราะป่านั้นเงียบสงบ ในความเงียบสงัด ก็จะมีความชุ่มเย็นอยู่ในนั้นเสมอ ป่า คือ ป่า ป่าตรัสรู้ไม่ได้ ชาวป่าชาวเขาที่เกิดในป่า อยู่ในป่า จนกระทั่งตายในป่าก็ไม่เห็นมีใครที่จะตรัสรู้ได้ ใจเท่านั้น ที่จะเป็นผู้ตรัสรู้ ธรรมะของพระพุทธศาสนาจึงเป็นเรื่องของใจเท่านั้น นักปฏิบัติส่วนมากยังไม่เข้าใจว่า ความสงบที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ไหน บางครั้งมีโอกาสอยู่กับสถานที่เงียบแล้ว ยังบอกว่าไม่สงบ โดยโทษสิ่งภายนอกว่า เพราะสภาพแวดล้อมต่างๆ อันเป็นเสียงบ้าง บุคคลบ้าง สิ่งนั้นสิ่งนี้บ้าง คือ ต้นเหตุของความไม่สงบ จิตเกิดจากการผลักต้านปรากฏการณ์ โดยไม่รู้เท่าทันจิตปรุงแต่งของตนจึงพยายามที่จะหนีไปให้ไกลจากสิ่งเหล่านั้น อยากไปอยู่ในป่าในเขาที่ไกลๆ ในถ้ำที่เงียบสงบ ซึ่งปราศจากผู้คนและเสียงต่างๆ ที่จะมารบกวน ได้พยายามแสวงหาความสงบจากสิ่งภายนอก โดยเข้าใจเอาเองว่า ความสงบและไม่สงบนั้น เกิดจากสิ่งภายนอกเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่สามารถที่จะพบความสงบที่แท้จริงได้สักที แม้จะพยายามหามานานแสนนาน ก็ยังหาไม่เจอ นั่นเพราะยังไม่เข้าใจ และยังหาไม่ถูกจุดต่างหาก ขออธิบายว่า หากป่านอกถ้ำนอกจะสงบเงียบสักแค่ไหน แต่ป่าใน ถ้ำใน คือ จิตใจของท่าน ยังไม่ยอมเงียบสงบ ป่านอกถ้ำนอกก็จะหาเงียบสงบสำหรับท่านไม่ เพราะความสงบหรือไม่สงบที่แท้จริงนั้น เกิดจากข้างใน คือ จิตใจของท่านต่างหากที่เป็นเหตุ หากจิตภายในไม่สงบทุกที่ก็ไม่สงบ หากที่นี่คือใจไม่สงบ จะอยู่ที่ไหนมันก็ไม่สงบจริงไหม เสียงต่างๆ และสิ่งต่างๆ ที่ทางภายนอกนั้น มันเป็นธรรมชาติของมันเช่นนั้นเอง ซึ่งท่านห้ามมันมิให้เกิดได้หรือไม่ และท่านห้ามหูตัวเองมิให้ได้รับเสียง ห้ามตาตัวตัวเองมิให้ได้เห็นรูปได้หรือไม่ เมื่อห้ามไม่ได้ทำไมท่านไม่ห้ามใจตัวเองล่ะ ด้วยการรับรู้แล้วปล่อยมันผ่านไปเสีย อย่าดูดรั้งหรือผลักต้าน ดังนั้น ท่านจะต้องทำใจ ด้วยการ “รู้” แล้วปล่อยไปเท่านั้น ดังเช่น ธรรมชาติของน้ำ คือน้ำที่ไม่ไหล ขังไว้ย่อมเน่าฉันใด จิตรู้เรื่องอะไรแล้วไม่ยอมปล่อย ย่อมทุกข์ฉันนั้น และธรรมแท้นั้นเป็นกลางๆ ใครปล่อยวางได้ก็สบาย เมื่อรู้ความจริงแล้วว่า เหตุเกิดแห่งความสงบ และไม่สงบนั้นอยู่ที่ใจก็จงแสวงหาป่าใจถ้ำใจให้พบเถิด ด้วยการมีสติจับรู้อยู่แต่ปัจจุบัน ภายในกายภายในใจตนเท่านั้น ไม่ต้องคิดอยากทำสมาธิให้เจริญสติรู้อยู่กับปัจจุบันให้ได้ตลอดสายเท่านั้น ผลนั้นจะเกิดเป็นสมาธิขึ้นมาเองในที่สุด เพราะสมาธิคือผลจากการเจริญสติต่างหาก ยกตัวอย่าง แม้แต่การนั่งสมาธิ กำหนดดูลมหายใจ ก็ต้องใช้สติ เฝ้าดูเฝ้ารู้ลมที่เป็นปัจจุบันนั้นตลอดเวลา หากขาดสติตามดูตามรู้แล้ว สมาธิก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้อีกเช่นกัน เพราะเหตุไม่มี ผลจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เหตุมี ผลจึงมี
|
|
|
|
|
|
|
สติ คือ แม่ทัพใหญ่ในกองทัพธรรม สติเป็นมรรค สมาธิเป็นผล จงแสวงหาสติเถิดเพื่อให้เกิดสมาธิ อันเป็นจิตหนึ่งจริงๆ คือความสงบที่แท้จริง เมื่อท่านพบสมาธิตัวแท้ๆ หมายถึงพบป่าใจถ้ำใจได้แล้ว แม้จะอยู่ที่ไหนๆ ก็สงบหมด แม้จะอยู่กบที่ไม่สงบทางภายนอก แต่ใจภายในมันก็ไม่วุ่น แม้จะอยู่กับทุกข์ทางภายนอก แต่ใจภายในมันก็ไม่ทุกข์ แม้จะอยู่กับความรีบร้อนทางภายนอก แต่ใจภายในมันก็ไม่ร้อน ปกติเย็นสบายตลอดเวลา ข้างนอกก็ทำไปตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น หากตรงนี้ไม่มีอะไร หากตรงนี้ไม่มีทุกข์ มันก็จบเท่านั้นเอง มันจึงเหลือแต่การกระทำที่บริสุทธิ์ อันเปี่ยมไปด้วยความเมตตาจริงใจบริสุทธิ์ใจเท่านั้น จงเข้าใจความเป็นจริงโดยถ่องแท้เถิด ด้วยการพิจารณาตามสภาพความเป็นจริง คือ “โอปนยิโก” จะเห็นว่าธรรมชาตินั้นสอนว่า... จงพยายามทำใจให้เงียบสงบเหมือนป่า คือ ทำใจให้เป็นป่าใจหรือการทำใจให้เป็นสมาธิ คือ จิตสงบนั่นเอง และจะต้องทำใจให้สงบได้ในทุกๆ ที่ด้วย โดยไม่จำกัดสถานที่ทางภายนอก เมื่อใจเกิดเป็นสมาธิได้แล้วความเย็นสบายทั้งกายใจย่อมจะปรากฏขึ้นเอง ภายในนั้นตลอดเวลา เพราะมันเป็นผลของความเงียบ จากนั้นให้พิจารณาดูสภาพความแตกต่างระหว่างความเงียบสงบและความไม่เงียบสงบของจิตใจ ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร เกิดจากอะไร เมื่อพบแล้ว เมื่อพบแล้วปัญญาตัวแท้ๆ คือมรรคหรือทางพ้นทุกข์ ก็จะปรากฏขึ้นให้รู้เองนั่นยังมิใช่ผลที่สมบูรณ์ มันเป็นผลของสมาธิขณะหนึ่งเท่านั้น อันเรียกว่า “อริยมรรค” คือพบทางแล้ว สัมผัสบ้างแล้วเท่านั้น ต้องไปทำผลอีก เพราะสมาธิก็ยังไม่ใช่ที่สุดแห่งธรรม ดังเช่น นักมวยที่ฝึกซ้อมกระสอบทรายจนชำนาญ มันเป็นการชกฝ่ายเดียวโดยไม่มีการต่อสู้ของฝ่ายตรงกันข้าม ยังไม่เจอของจริงผลนั้นจึงดูเป็นผู้ชนะอยู่ตลอดเวลา เหมือนกับการนั่งหลับตาทำสมาธิ พอจิตสงบก็ลืมทุกข์ไปชั่วขณะหนึ่ง มันเป็นการลืมทุกข์หรือศิลาทับหญ้า ยังไม่ใช่การดับทุกข์ที่แท้จริง เพราะพอออกจากสมาธิ เจอผัสสะก็เกิดทุกข์ได้อีก ของจริงต้องดับกันตรงผัสสะข้างนอก ทันทีที่กระทบก็จบลงแค่นั้น ทุกข์จะไม่สามารถเข้าถึงใจได้เลยจึงจะใช่ ดังนั้นผลแท้ๆจะพิสูจน์ต่อเมื่อเจอผัสสะขณะลืมตา คือการอยู่ในชีวิตจริงๆ หรือการขึ้นชกบนเวทีชีวิตอีกทีจะต้องพบคู่ต่อสู้ทั้งนอกใน ในลีลาต่างๆที่โต้ตอบมาให้ได้ทันจริงๆ การชกในที่นี้มิใช่หมายถึง การต่อสู้ชกต่อยทางกายภายนอกกับใคร แต่หมายถึงสติปัญญาที่ต่อสู้ห้ำหั่นกับกิเลส คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์ที่เกิดขึ้นภายในจิตของตนเท่านั้น และสมาธิตัวแท้ๆ คือ สมาธิธรรมชาติ หรือความปกติของจิตจิตหนึ่งหรือจิตเงียบนั้นจะต้องมีอยู่ภายในจิตตลอดเวลา มีอยู่ในทุกอิริยาบถ ทั้งหลับตาลืมตาก็มีอยู่ โดยมิใช่ต้องมานั่งหลับตาทำสมาธิขณะที่เจอผัสสะอีก แต่มันกลับเป็นสมาธิตัวตื่นจริงๆ ของธรรมชาติจากภายในที่มาทำเรา มารักษาเรา เมื่อก่อนเราทำสมาธิ แต่เดี๋ยวนี้สมาธิกลับมาทำเรา คือ สมาธินั้นกลับมารักษาเราอยู่ตลอดเวลา พอทำถึงจุดนี้แล้วเราจำเป็นที่จะต้องอาศัยสติปัญญานอก คือ พระไตรลักษณ์ เขามาช่วยในการค้นคิดพิจารณาด้วย เพื่อให้เกิดปัญญาในการปล่อยวางอีกที คือ ปัญญาในปัญญา จนกระทั่งมันเกิดเป็นปัญญาภายในตัวแท้ๆ ที่ปล่อยวางได้เองโดยอัตโนมัติ ทันทีที่รู้ ที่เจอผัสสะ ก็จบลงตรงนั้นโดยไม่ต้องมานั่งทำปัญญา คือ การค้นคิดพิจารณาอีกต่อไป จึงจะใช่ของจริง ทุกข์แท้ๆ จะดับได้สิ้น เพราะปัญญาเห็นแจ้งตัวเดียวเท่านั้น พอรู้ก็... อ๋อ!!! พออ๋อ!!! ก็หมดทันที ดังเช่นเมื่อแสงสว่างเกิดขึ้น ความมืดก็จะหมดไปในทันที ทุกข์ก็เช่นกันจะหมดได้สิ้นเพราะปัญญาเห็นแจ้งตัวเดียวเท่านั้น เพราะ “แสงสว่างอื่นใดเสมอปัญญานั้นไม่มี” การปฏิบัติธรรม เมื่อจิตเป็นสมาธิได้อย่างมั่นคง เห็นชัดเจนจนมั่นใจในตนจริงๆ แล้ว ควรจะทดสอบตัวเองด้วยการอยู่กับทุกปรากฏการณ์ให้ได้ คืออยู่กับทุกสถานที่ ทุกบุคคล ทุกผัสสะ ทั้งที่ดีและไม่ดี ชอบและไม่ชอบ หยาบและละเอียด บ้านหรือป่า มันจะไม่มีทั้งบ้านทั้งป่า เพราะมันรู้ว่าทุกที่สักแต่ว่าเป็นที่อยู่อาศัยเท่านั้นเองไม่มีอะไรเลยจริงๆ ชีวิตอยู่ได้เป็นได้ทุกอย่าง ทางกายภายนอก เป็นได้ทั้งป่าทั้งบ้านอย่างไรก็ดี ตามเหตุตามปัจจัย ไม่ดูดรั้งหรือผลักต้าน ส่วนทางใจภายในจะไม่มีเป็นอะไรเลย อยู่กับทุกข์ได้โดยใจไม่ทุกข์ ทางกายเป็นธรรมดาเน้นที่ใจเท่านั้นเป็นสำคัญ ข้างนอกเป็นเพียงลีลาธรรมเท่านั้น ไม่มีอะไรอยู่กับกิเลสได้โดยใจไม่มีกิเลส เพราะกิเลส คือ เหตุแห่งทุกข์นั้น จะไม่สามารถย้อยกลับมาสู่ใจได้อีกเลย หากเหตุนั้นเคยดับไปแล้ว ด้วยปัญญาเห็นแจ้งในจิตตนจริงๆ ซึ่งตนเท่านั้นที่จะรู้ได้ด้วยตนเองเฉพาะตน อันเรียกว่า ปัจจัตตัง ผู้อื่นไม่มีใครจะรู้ได้ดีเท่าตนรู้ตนเห็นตน เพราะธรรมแท้ๆ เป็นเรื่องของตนในที่สุด จิตจะมีแต่รู้ที่ปกติ รู้ที่ไม่มี
--------------------------------------------------------------------------------
|
|
|
|
|
|
|
คุณเฮโล ลงยาวมากเลยครับ ผมสายตาไม่ค่อยจะไหว คงต้องมีระยะการอ่านเป็นระยะๆไปครับ.. ผมขอเสริมถึงคำพูดว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต.. คำว่าเห็นตถาคตนั้น ก็คือ การปฏิบัติตามคำสอนขององค์ตถาคต แล้วก็จะสว่างไสวดังเห็นองค์ตถาคตยืนอยู่เบื้องหน้านั่นเอง..หมายถึงมีความเข้าใจปรุโปร่ง การคุยครั้งนี้ คุยถึงแก่นคำสอนขององค์ตถาคต มันก็ขึ้นอยู่กับศรัทธาในองค์ตถาคตขนาดไหน.. มันอยู่ที่ความมีเจตนา คือความตั้งใจครับ.. มีเจตนาในการรักษาศีล มีศีลอยู่ในใจ (ไม่ต้องไปขอรับศีลจากพระทุกวันนะครับ555) กระทู้ที่ จขกท.ได้ตั้งมา และได้นำธรรมมาแสดงนี้..ได้เผยแผ่ให้เราๆท่านๆได้ศึกษา ได้ฝึก ได้ปฏิบัติ องค์ตถาคต ก็จะได้เห็นกัน..
ตอบต้องขออภัยคุณเฮโลที่บางครั้งลงบทความสั้นบ้างยาวบ้างแวแต่บทความอาจสั้นบ้างยาวบ้างท่านผู้อ่านก็คงอยากจะอ่านยาวๆเพื่อจะได้ความรู้ไปศึกษากันครับ และมีผู้อ่านเข้ามาอ่านหลายพันคนน่าจะเกือบถึงหมื่นคนในเร็วๆนี้ เราทั้งสองก็คุยเรื่องธรรมะยาวบ้างสั้นบ้างเพื่อจุดประกายให้กับท่านผู้อ่านให้มีแสงสว่างเกิดขึ้นในจิตใจครับ มีใครที่มีความคิดดีๆหรือข้อมูลสร้างสรรค์ก็เชิญเข้ามาร่วมได้ครับยินดีต้อนรับทุกท่านครับ ที่เราทั้งหมดมาร่วมสร้างกุศลผลบุญร่วมกันครับ...
--------------------------------------------------------------------------------
|
|
|
|
|
|
|
"มาคุยเรื่องธรรมะร่วมกัน"
เด็กหญิงน่ารักอายุ ๒ ขวบคนหนึ่ง อบรมเมตตาให้เพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน และควรจะเป็นการอบรมจิตใจผู้ใหญ่ที่ได้รู้ได้ยินด้วย
คือวันหนึ่งเมื่อเพื่อนตัวน้อยๆ เท่ากัน จะบี้มดที่กำลังเดินอยู่กับพื้น เด็กหญิงห้ามทันที มีเหตุผลจากใจจริง ที่จับใจผู้ใหญ่ทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง
“อย่าทำ ! เดี๋ยวแม่มดกลับมาไม่เห็นลูกมด”
แม้ใครทั้งหลายที่กำลังคิดจะทำลายชีวิตสัตว์น้อยสัตว์ใหญ่ หรือกระทั่งชีวิตมนุษย์ ก็น่าจะนำเสียงห้ามของเด็กหญิงน้อยๆ ดังกล่าวมาเตือนตนเองบ้าง
“อย่าทำ ! เดี๋ยวแม่ปลาหาลูกปลาไม่พบ” หรือ
“อย่าทำ ! เดี๋ยวลูกยุงร้องไห้ คิดถึงแม่ยุง” หรือ
“อย่าทำ ! เดี๋ยวลูกนกไม่มีแม่นก” หรือ
“อย่าทำ ! เดี๋ยวไม่มีใครเลี้ยงลูกเขา”
เตือนตัวเองให้จริงใจ ให้รู้สึกจริงจังดังที่คิด หรือที่เปล่งวาจา ก็ย่อมเป็นการอบรมเมตตาอีกวิธีหนึ่งที่ง่ายและน่าทำเสมอ
เมตตานั้นไม่จำเป็นที่ผู้ใหญ่จะเป็นฝ่ายผู้สอนเด็กเสมอไป แม้เด็กก็สอนผู้ใหญ่ได้ ทั้งๆ ที่เด็กไม่ได้รู้ว่ากำลังเป็นผู้สอน และเด็กไม่รู้ว่าความคิดของตนเกิดแต่เมตตาที่บริสุทธิ์แท้จริง
สำหรับผู้ใหญ่ที่ใจพร้อมที่จะรับคำเตือนใจให้เมตตา ย่อมรับได้แม้เป็นคำเตือนของเด็ก ปฏิบัติให้เกิดผลทันที เช่นรายที่เคยเล่าว่า ครั้งหนึ่งชอบยิงนกตกปลามาก เดี๋ยวนี้เลิกแล้ว เลิกตั้งแต่วันหนึ่งถือปืนไปเที่ยวยิงนกกับลูกชายน้อยๆ พอยิงนกตกลงตัวหนึ่ง ก็สั่งให้ลูกชายไปเก็บ คิดว่าลูกชายคงจะตื่นเต็นดีใจตามประสาเด็ก ที่เห็นนกที่กำลังบินอยู่กลางอากาศร่วงลงดิน
แต่ลูกชายกับมีสีหน้าพิศวงสงสัย และถามเขาซื่อๆ ว่า
“นกตัวนี้มันทำอะไรพ่อหรือ ? พ่อจึงยิงมัน”
คำถามที่แสนซื่อของเด็กชายเล็กๆ ที่ถือร่างไร้ชีวิตของนกอยู่ในมือ ทำให้ตั้งแต่วันนั้นมาเขาไม่เคยยิงนกตกปลาอีกเลย นกปลาเหล่านั้นมันทำอะไรให้ นี่คือคำถามที่จะนำไปสู่ความมีเมตตาแน่นอน
การไม่เมตตาผู้อื่น เป็นการไม่เมตตาตนด้วย
ศีลเกิดแต่เมตตา เมตตาเกิดกับศีล ทั้งสองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ศีลของผู้ใดบกพร่อง เมตตาของผู้นั้นก็บกพร่องด้วย บกพร่องทั้งเมตตาตนเอง และบกพร่องทั้งเมตตาผู้อื่น อันเมตตาตนเองกับเมตตาผู้อื่น เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แยกจากกันไม่ได้
การไม่เมตตาผู้อื่น ก็เป็นการไม่เมตตาตนไปพร้อมกัน พึงคิดถึงสัจจะประการหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ คือ “ทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว ผู้ใดทำกรรมใดไว้ จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น”
เมื่อเบียดเบียนเขา เราเองนั่นก็จะต้องได้รับผลนั้น เมื่อไม่เมตตาเขา เราเองนั่นก็จะต้องได้รับผลนั้น
“เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก” มีพระพุทธศาสนสุภาษิตแสดงไว้เช่นนี้ เมื่อเมตตาเป็นเหตุให้มีศีล ศีลเกิดแต่เมตตา เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก ก็คือศีลเป็นเครื่องค้ำจุนโลกเช่นกัน
โลกมิได้หมายถึงเพียงดาวดวงหนึ่งดังเป็นที่เข้าใจกันอยู่ แต่โลกหมายถึงตนเอง หมายถึงเขาอื่นทั้งหลายทั้งปวง ผู้มีเมตตา หรือผู้มีศีลจึงเป็นผู้ค้ำจุนตนเอง และค้ำจุนผู้อื่นทั้งหลาย
: การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
--------------------------------------------------------------------------------
|
|
|
|
|
|
|
คติธรรมคำสอนของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
คัดจากหนังสือ ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ
* ผู้สนใจศึกษาปฏิบัติธรรม คือผู้สนใจหาความรู้ความฉลาดเพื่อคุณงามความดีทั้งหลาย ที่โลกเขาปรารถนากันเพราะคนเราจะอยู่และไปโดยไม่มีเครื่องป้องกันตัวย่อมไม่ปลอดภัย ต่ออันตรายทั้งภายนอกภายใน เครื่องป้องกันตัวคือหลักธรรมมีสติปัญญาเป็นอาวุธสำคัญ จะเป็นเครื่องมั่นคงไม่สะทกสะท้านมีสติปัญญาแฝงอยู่กับตัวทุกอิริยาบท จะคิด-พูด-ทำอะไรไม่มีการยกเว้น มีสติปัญญาสอดแทรกอยู่ด้วยทั้งภายในและภายนอก มีความเข้มแข็งอดทน มีความเพียรที่จะประกอบคุณงามความดี คนอ่อนแอโง่เง่าเต่าตุ่นวุ่นวายอยู่กับอารมณ์เครื่องผูกพันด้วยความนอนใจ และเกียจคร้านในกิจการที่จะยกตัวให้พ้นภัย
* การตำหนิติเตียนผู้อื่น ถึงเขาจะผิดจริงก็เป็นการก่อกวนจิตใจตนเองให้ขุ่นมัวไปด้วย ความเดือดร้อนวุ่นวายใจที่คิดตำหนิผู้อื่นจนอยู่ไม่เป็นสุขนั้น นักปราชญ์ถือเป็นความผิดและบาปกรรม ไม่มีดีเลย จะเป็นโทษให้ท่านได้สิ่งไม่พึงปรารถนามาทรมานอย่างไม่คาดฝัน การกล่าวโทษผู้อื่นโดยขาดการไตร่ตรอง เป็นการสั่งสมโทษและบาปใส่ตนให้ได้รับความทุกข์ จึงควรสลดสังเวชต่อความผิดของตน งดความเห็นที่เป็นบาปภัยแก่ตนเสีย ความทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ทำไมพอใจสร้างขึ้นเอง
* ผู้เห็นคุณค่าของตัว จึงเห็นคุณค่าของผู้อื่น ว่ามีความรู้สึกเช่นเดียวกัน ไม่เบียดเบียนทำลายกัน ผู้มีศีลสัตย์เมื่อทำลายขันธ์ไปในสุคติในโลกสวรรค์ ไม่ตกต่ำเพราะอำนาจศีลคุ้มครองรักษาและสนับสนุน จึงควรอย่างยิ่งที่จะพากันรักษาให้บริบูรณ์ ธรรมก็สั่งสอนแล้วควรจดจำให้ดี ปฏิบัติให้มั่นคง จะเป็นผู้ทรงคุณสมบัติทุกอย่างแน่นอน
* เมื่อเกิดมาอาภัพชาติ แล้วอย่าให้ใจอาภัพอีก ผู้เกิดมาชาตินี้อาภัพแล้ว อย่าให้ใจอาภัพ คิดแต่ผลิตโทษทำบาปอกุศลเผาผลาญตนให้ได้ทุกข์ เป็นบาปกรรมอีกเลย
* คนชั่ว ทำชั่วได้ง่าย และติดใจไม่ยอมลดละแก้ไขให้ดี คนดี ทำดีได้ง่าย และติดใจกลายเป็นคนรักธรรมตลอดไป
* เราต้องการของดี คนดี ก็จำต้องฝึก ฝึกจนดี จะพ้นการฝึกไปไม่ได้ งานอะไรก็ต้องฝึกทั้งนั้น ฝึกงาน ฝึกคน ฝึกสัตว์ ฝึกตน ฝึกใจ นอกจากตายแล้วจึงหมดการฝึก คำว่า ดี จะเป็นสมบัติของผู้ฝึกดีแล้วแน่นอน
* ศีล นั้นอยู่ที่ไหนมีตัวตนเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้รักษาแล้วก็รู้ว่า ผู้นั้นเป็นตัวศีล ศีลก็อยู่ที่ตนนี้ เจตนาเป็นตัวศีล เจตนาคือจิตใจ คนเราถ้าจิตใจไม่มีก็ไม่เรียกว่าคน มีแต่กายจะทำอะไรได้ ร่างกายกับจิตต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อจิตไม่เป็นศีล กายก็ประพฤติไปต่างๆ มีโทษต่างๆ ผู้มีศีลแล้วไม่มีโทษ จะเป็นปกติแนบเนียนไม่หวั่นไหว ไม่มีเรื่องหลงหา หลงขอ คนที่หา คนที่ขอต้องเป็นทุกข์ ขอเท่าไหร่ยิ่งไม่มี ยิ่งอดอยากยากเข็ญ กายกับจิตเราได้มาแล้ว มีอยู่แล้ว ได้มาจากบิดามารดาพร้อมบริบูรณ์ จะทำให้เป็นศีลก็รีบทำ ศีลมีอยู่ที่เราแล้ว รักษาได้ไม่มีกาล ได้ผลไม่มีกาล ผู้มีศีลย่อมเป็นผู้องอาจกล้าหาญ ผู้มีศีลย่อมมีความสุข ผู้จักมั่งคั่งบริบูรณ์ไม่อด ไม่ยาก ไม่จน ก็เพราะรักษาศีลให้สมบูรณ์ จิตดวงเดียวเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา ผู้มีศีลแท้เป็นผู้หมดเวรหมดภัย
* คุณธรรม ยังมีผู้เข้าถึงให้เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องเลื่องระบือ มีความฉลาด กว้างขวางในอุบายวิธี ไม่มีคับแค้นจนมุม
* การปฏิบัติธรรม เป็นการทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทรงตรัสสอนเรื่องกาย วาจา จิต มิได้สอนเรื่องอื่น ทรงสอนให้ปฎิบัติฝึกหัดจิตใจ ให้เอาจิตพิจารณากาย เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หัดสติให้มากในการค้นคว้า เรียกว่า ธัมมวิจยะ พิจารณาให้พอทีเดียว เมื่อพิจารณาพอจนเป็นสติสัมโพชฌงค์ จิตจึงจะเป็นสมาธิรวมลงเอง การประกอบความพากเพียรทำจิตให้ยิ่ง เป็นการปฏิบัติ
|
|
|
|
|
|
|
ความไม่ยั่งยืน เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่และแน่นอน ความยิ่งใหญ่ คือความไม่ยั่งยืน ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ คือชีวิตที่อยู่ด้วยทาน ศีล เมตตา และกตัญญู ชีวิตที่มีความดี อาจมิใช่ความยิ่งใหญ่ แต่ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ ต้องอาศัยคุณธรรมความดีเท่านั้น
* วาสนา นั้นเป็นไปตามอัธยาศัย คนที่มีวาสนาในทางที่ดีมาแล้ว แต่คบคนพาล วาสนาก็อาจเป็นคนพาลได้ บางคนวาสนายังอ่อน เมื่อคบบัณฑิต วาสนาก็เลื่อนขึ้นเป็นบัณฑิต ฉะนั้น บุคคลควรพยายามคบแต่บัณฑิต เพื่อเลื่อนภูมิวาสนาของตนให้สูงขึ้น
ผู้มีปัญญา ไม่ควรให้สิ่งที่ล่วงแล้วตามมา ไม่ควรหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ผู้มีปัญญา ได้เห็นในธรรมซึ่งเป็นปัจจุบัน ควรเจริญความเห็นนั้นไว้เนืองๆ ควรรีบทำเสีย ผู้มีปัญญา ซึ่งมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีความเพียรแยกกิเลสให้หมดไป จะไม่เกียจคร้าน ขยันหมั่นเพียรทั้งกลางวันและกลางคืน
* จิต เป็นสมบัติสำคัญมากในตัวเราที่ควรได้รับการเหลียวแล ด้วยวิธีเก็บรักษาให้ดี ควรสนใจรับผิดชอบต่อจิต อันเป็นสมบัติที่มีค่ายิ่งของตน วิธีที่ควรกับจิตโดยเฉพาะก็คือภาวนา ฝึกหัดภาวนาในโอกาสอันควร ตรวจดูจิตว่า มีอะไรบกพร่องและเสียไป จะได้ซ่อมสุขภาพจิต นั่งพินิจพิจารณาดูสังขารภายใน คือ ความคิดปรุงแต่งของจิตว่า คิดอะไรบ้าง มีสาระประโยชน์ไหม คิดแส่หาเรื่อง หาโทษ ขนทุกข์มาเผาตนอยู่นั้น พอรู้ผิด-ถูกของตัวบ้างไหม พิจารณาสังขารภายนอกว่า มีความเจริญขึ้นหรือเจริญลง สังขารมีอะไรใหม่หรือมีความเก่าแก่ชราหลุดไป พยายามเตรียมตัวเตรียมใจเสียแต่เวลาที่พอจะทำได้ ตายแล้วจะเสียการให้ท่องในใจอยู่เสมอว่า เรามีความแก่-เจ็บ-ตาย อยู่ประจำตัวทั่วหน้ากัน
* ทาน-ศีล- ภาวนา ธรรมทั้ง 3 นี้ เป็นรากแก้วของความเป็นมนุษย์ และเป็นรากเหง้าของพระศาสนา ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์ ต้องเป็นผู้เคยสั่งสมธรรมเหล่านี้มาอยู่ในนิสัย ของผู้จะมาสวมร่างเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยมนุษย์อย่างแท้จริง
-------------------------------------------------------------------
คนหิว อยู่เป็นปกติสุขไม่ได้ จึงวิ่งหาโน่นหานี่ เจออะไรก็คว้าติดมือมาโดยไม่สำนึกว่าผิดหรือถูก ครั้นแล้วสิ่งที่คว้ามาก็เผาตัวเองให้ร้อนยิ่งกว่าไฟ
คนที่หลงจึงต้องแสวงหา ถ้าไม่หลงก็ไม่ต้องหา จะหาไปให้ลำบากทำไม อะไรๆ ก็มีอยู่กับตัวเองอย่างสมบูรณ์อยู่แล้ว จะตื่นเงา ตะครุบเงาไปทำไม เพราะรู้แล้วว่า เงาไม่ใช่ตัวจริง
|
|
|
|
|
|
|
ตัวจริง คือ สัจจะทั้งสี่ที่มีอยู่ในกายในใจอย่างสมบูรณ์แล้ว
------------------------------------------------------------------- อานิสงส์ของศีล 5 เมื่อรักษาได้ 1. ทำให้อายุยืน ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน 2. ทรัพย์สมบัติที่อยู่ในความปกครอง มีความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายมาราวี เบียดเบียนทำลาย 3. ระหว่าง ลูก หลาน สามี ภริยา อยู่ด้วยกันเป็นผาสุก ไม่มีผู้คอยล่วงล้ำ กล่ำกราย ต่างครองกันอยู่ด้วยความผาสุข 4. พูดอะไรมีผู้เคารพเชื่อถือ คำพูดมีเสน่ห์เป็นที่จับใจไพเราะ ด้วยสัตย์ ด้วยศีล 5. เป็นผู้มีสติปัญญาดีและเฉลียวฉลาด ไม่หลงหน้าหลงหลัง จับโน่นชนนี่ เหมือนคนบ้าคนบอหาสติไม่ได้ ผู้มีศีล เป็นผู้ปลูกและส่งเสริมสุขบนหัวใจคนและสัตว์ทั่วโลก ให้มีแต่ความอบอุ่นใจ ไม่เป็นที่ระแวงสงสัย ผู้ไม่มีศีลเป็นผู้ทำลายหัวใจคนและสัตว์ ให้ได้รับความทุกข์เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า
-------------------------------------------------------------------
เราเกิดมาเป็นมนุษย์ มีความสูงศักดิ์มาก
อย่านำเรื่องของสัตว์มาประพฤติ มนุษย์เราจะต่ำลงกว่าสัตว์ และจะเลวกว่าสัตว์อีกมากมาย อย่าพากันทำ
ให้พากันละบาป บำเพ็ญบุญ ทำแต่คุณความดี
อย่าให้เสียชีวิตเปล่าที่มีวาสนาเกิดมาเป็นมนุษย์
------------------------------------------------------------------- กรรม จำแนกสัตว์ให้ทราม และประณีตต่างกัน
ผู้สงสัยกรรม หรือไม่เชื่อกรรมว่ามีผล คือ ลืมตนจนกลายเป็นผู้มืดบอดอย่างช่วยไม่ได้
แม้เขาจะเกิดและได้รับการเลี้ยงดู จากพ่อ-แม่มาเป็นอย่างดีเหมือนโลกทั้งหลายก็ตาม เขาก็มองไม่เห็นคุณของพ่อ-แม่ ว่าได้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูตนมาอย่างไรบ้าง
แต่เขาจะมองเห็นเฉพาะร่างกายเขา ที่เป็นคนหนึ่งกำลังรกโลกอยู่โดยเจ้าตัวไม่รู้เท่านั้น
-------------------------------------------------------------------
คนฉลาดปกครองตนให้มีความสุขและปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องเที่ยวแสวงหาทรัพย์มากมาย หรือเที่ยวกอบโกยเงินเป็นล้านๆ มาเป็นเครื่องบำรุง จึงมีความสุข
ผู้มีสมบัติพอประมาณในทางที่ชอบ มีความสุขมากกว่าผู้ได้มาในทางมิชอบเสียอีก เพราะนั่นไม่ใช่สมบัติของตนอย่างแท้จริง ทั้งๆ ที่อยู่ในกรรมสิทธิ์
แต่กฏความจริง คือกรรมสาปแช่งไม่เห็นด้วย และให้ผลเป็นทุกข์ไม่สิ้นสุด นักปราชญ์ ท่านจึงกลัวกันหนักหนา
แต่คนโง่อย่างพวกเรา ผู้ชอบสุกเอาเผากิน และชอบเห็นแก่ตัว ไม่มีวันอิ่มพอ ไม่ประสบผล คือ ความสุขดังใจหมาย
-------------------------------------------------------------------
อะไรๆ ที่เป็นสมบัติของโลก มิใช่สมบัติอันแท้จริงของเรา ตัวจริงไม่มีใครเหลียวแล
สมบัติในโลกเราแสวงหามา หามาทุจริตก็เป็นไฟเผา เผาตัวทำให้ฉิบหายได้จริงๆ
------------------------------------------------------------------- หาคนดีมีศีลธรรมในใจ หายากยิ่งกว่าเพรชนิลจินดา
ได้คนเป็นคนดีเพียงคนเดียว ย่อมมีคุณค่ามากกว่าเงินเป็นล้านๆ
เพราะเงินเป็นล้านๆ ไม่สามารถทำความร่มเย็นให้แก่โลกได้อย่างถึงใจ เหมือนได้คนดีทำประโยชน์
------------------------------------------------------------------- ธรรม เป็นเครื่องปกครองสมบัติและปกครองใจ ถ้าขาดธรรมเพียงอย่างเดียว ความอยากของใจจะพยายามหาทรัพย์ ได้กองเท่าภูเขาก็ยังหาความสุขไม่เจอ
ไม่มีธรรมในใจเพียงอย่างเดียว จะอยู่ในโลกใด กองสมบัติใด ก็เป็นเพียงโลก เศษเดนและกองสมบัติเดนเท่านั้น ไม่มีประโยชน์อะไรแก่จิตใจแม้แต่นิด
ความทุกข์ทรมาน ความอดทน ทนทาน ต่อสิ่งกระทบกระทั่งต่างๆ ไม่มีอะไรจะแข็งแกร่งเท่าใจ ถ้าได้รับความช่วยเหลือที่ถูกทาง
ใจจะกลายเป็นของประเสริฐ ให้เจ้าของได้ชมอย่างภูมิใจต่อเรื่องทั้งหลายทันที
-------------------------------------------------------------------
|
|
|
|
|
|
|
คำสอนของสมเด็จองค์ปฐม (ในหนังสือ พรสวรรค์หน้า 466 ๙ ธค. ๒๕๒๔ เพื่อย้ำว่า คนตายแล้ว ไม่สูญ แม้กระทั่งองค์สมเด็จปฐมก็ยังอยู่)
"จงตั้งใจไว้ให้แน่ว่า เราไม่ต้องการ ชาติ ภพ หรือภูมิใดๆในสัมปนายภพ ให้ตั้งใจในพระนิพพานเป็นที่สุด แล้วจงปฏิบัติจิต ให้ดีที่สุด โดยรักษาอารมณ์จิตให้ผ่องใสเป็นประจำ ให้สำนึกอยู่เสมอว่า ตนคือ ทุกข์ ทุกข์ที่ต้อง เกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ไม่รู้ที่สิ้นสุด เกิดจาก ทุกข์ของคนไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักประมาณ ไม่รู้จักตนเอง ทุกข์คนหลงทรัพย์ หลงรูป หลงปัญญา หลงวิเศษ เหล่านี้เป็นตัวให้คนมีทุกข์อยู่ทุกขณะจิต โดยยังยึด ยังถือว่า สิ่งเหล่านี้คือฉัน คือเรา มันพันกันเองจนตัวเราหลง หมดความพอ ความเป็นทุกข์ของคน ทุกคนทราบแน่ แต่ทุกข์ของความเป็นอนิจจัง ทุกคนแกล้งไม่ทราบในใจ คือ ความสูญ ความสลาย ความเสื่อม ความพลัดพราก การจากไป เหล่านี้คือความจริง ที่ต้องเป็น ต้องเกิด ทุกคนรู้ที่หู แต่ไม่รู้ที่ใจ จงพยายามให้รู้ที่หู เข้าไปถึงใจ การฟังธรรมต้องใช้ใจฟัง คล้อยตาม อย่าสักแต่ว่าฟัง ธรรมที่ผ่านหู ผ่านใจ ไปรวบรวมซิว่ากี่ปีแล้ว ทำได้แค่ไหน ก้าวช้าหรือเร็ว จงตรวจดูตัวเอง อย่าได้ตรวจผู้อื่น ทุกคนควรวิตกว่า ความดีที่มีอยู่ มีถึงไหนแล้ว แต่ปรากฏว่า ทุกคนวิตกในเรื่องของคนอื่น วิตกในเรื่องของอริยสัจ คือกลัวความเป็นจริงจะปรากฏกับตนเอง นี่เป็นสิ่งที่ไม่ควรวิตกอย่างยิ่ง ทุกข์สุดท้ายคือ กลัวโรค กลัวภัย รู้อยู่แล้วว่าคนเรา เป็นรังของเชื้อโรค รู้อยู่แล้วว่า คนเรา จะต้องเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นของปกติ แล้วยังกลัวให้เป็นทุกข์อีก นี่แหละหนอ คนสองจิต จับอะไรไม่มั่น จำเอาไว้ทุกคน เคยพบองค์พระพุทธเจ้ามาแล้ว โดยเฉลี่ยคนละ ๑๐ องค์ แต่เหตุไฉนจึงจะขอพบท่านใหม่ หรือไง? สอนมาถึงแค่นี้ ขอให้พิจารณาดู ตัวของตัวให้มากๆ ใครไม่กล้าดูตัวเอง ก็ให้รู้ไว้ว่า ยังมีทิฐิมานะอยู่พรั่งพร้อม ตัวนี้แหละที่ทำให้หลายคนไปไม่รอด ขอเพียงเงียบหนึ่ง อย่าได้ต่อเวรต่อกรรมอีกต่อไป สิ่งที่ควรละเอียดอย่าชุ่ย สิ่งที่ควรชุ่ยอย่าละเอียด ส่วนโลกีย์ มักจะกลับกับธรรม สุดท้ายของการสอน ขอให้เธอทั้งปวงจงตั้งใจจริง อย่าได้รวนเร ให้ความ อยาก หมดเป็นชาติสุดท้าย ถ้าคนใดคิดผัดผ่อนก็ไม่ว่ากัน เพราะถือว่าแต่ละคน เป็นผู้เลือกทางเดินของตัวเอง แต่ละคนมีสิทธิ์ที่จะอยู่ จะไป ตามวาสนา ตามกุศล ตามบุญของจิตของแต่ละคน"
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ทั้งโลกนี้เป็นทุกข์เพราะใจทำงาน คือคิดไม่หยุด ตกลงคนทั้งโลกนี้ ก็เป็นทุกข์เพราะใจเท่านั้น จะเป็นสุขก็เพราะใจเท่านั้น จิตนี้นำมาซึ่งอารมณ์เป็นที่พอใจก็เป็นสุขขึ้น เมื่อจิตนำมาซึ่งอารมณ์เป็นที่ไม่พอใจก็เป็นทุกข์ขึ้นเท่านั้น สาธุชนผู้ปฏิบัติทางใจ มีสติเป็นหลักฐานพอเป็นที่อาศัยจิต ให้จิตเฉยอยู่ มิให้จิตนำมาซึ่งอารมณ์เป็นที่พอใจ และอารมณ์ที่ไม่เป็นที่พอใจ ได้ดักจิตเฉยอยู่ที่อารมณ์อันเดียว ทั้งกลางวันกลางคืน จนจิตไม่นำมาซึ่งอารมณ์ทั้งสอง ทั้งส่วนเป็นที่พอใจและไม่พอใจไม่แล้ว ทุกข์จะมาทางไหน เมื่อจิตเฉยอยู่ที่อันเดียวนั้น ได้ศัพท์ว่า วิหะระติ แปลว่า ย่อมอยู่สบาย สบาย ศัพท์นี้ ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ เฉย ๆ นั้นเอง
ประวัติพระบุญนาคเที่ยวกรรมฐาน ๖
|
|
|
|
|
|
|
สงสัยต้องเปิดห้องธรรมะให้คุณ destinygoal
(ล้อเล่นครับ)
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ธรรมะมาฝาก..ยอมอด...เพื่อให้ชีวิตสัตว์
ธรรมะมาฝาก..ยอมอด...เพื่อให้ชีวิตสัตว์
หลวงพ่อชา สุภัทโท
เช้าวันหนึ่งก่อนจะออกบิณฑบาต หลวงพ่อจึงเดินไปดูปลาเพื่อช่วยชีวิตมันทุกเช้า
แต่วันนั้นไม่ทราบใครเอาเบ็ดมาตกไว้ตามริมแอ่งน้ำ
เห็นเบ็ดทุกคันมีปลาติดอยู่ หลวงพ่อจึงรำพึงว่า
เพราะมันกินเหยื่อเข้า... ไป เหยื่อนั้นมีเบ็ดด้วยปลาจึงติดเบ็ด
มองดูปลาติดเบ็ดสงสารก็สงสาร แต่ช่วยมันไม่ได้ เพราะเบ็ดมีเจ้าของ
ท่านจึงมองเห็นด้วยความสลดใจ เพราะความหิวแท้ๆเจ้าจึงหลงกินเหยื่อที่เขาล่อไว้
ดิ้นเท่าไรๆก็ไม่หลุด เป็นกรรมของเจ้าเองเพราะความไม่พิจารณาเป็นเหตุให้เตือนตนว่า...
" ฉันอาหารไม่พิจารณาจะเป็นเหมือนปลากินเหยื่อย่อมติดเบ็ด..."
|
|
|
|
|
|
|
ได้เวลาจึงกลับออกไปเที่ยวภิกขาจาร ครั้นกลับจากบิณฑบาตเห็นอาหารพิเศษ
มองดูเห็นต้มปลาดุกตัวโตๆทั้งนั้น หลวงพ่อนึกรู้ทันทีว่า
ต้องเป็นปลาติดเบ็ดที่เราเห็นนั้นแน่ๆ บางทีอาจจะเป็นพวกที่เราเคยช่วยชีวิตเอามันลงน้ำก็ได้
ความจริงก็อยู่ใกล้ๆแอ่งน้ำนี้เท่านั้น...และโดยปกติแล้วอาหารจะฉันก็ไม่ ค่อยจะมีอยู่แล้ว
แต่หลวงพ่อเกิดความรังเกียจขึ้นมา ถึงเขาจะเอามาประเคนก็รับวางไว้ตรงหน้าไม่ ยอมฉัน
ถึงแม้จะอดอาหารมานานก็ตาม เพราะท่านคิดว่าถ้าเราฉันของเขาในวันนี้
วันต่อๆไปปลาในแอ่งน้ำนั้นก็จะถูกฆ่าหมด เพราะเขาจะทำเป็นอาหารนำมาถวายเรา
ปลาตัวใดที่อุตส่าห์ตะเกียกตะกายขึ้นมา พบแอ่งน้ำแล้วก็ยังจะต้องพากันมาตาย
กลายเป็นอาหารของเราไปหมด ดังนั้นหลวงพ่อจึงไม่ยอมฉัน
|
|
|
|
|
|
|
จึงส่งให้พระทองดีซึ่งนั่งอยู่ข้างๆ พระทองดีเห็นหลวงพ่อไม่ฉัน
ก็ไม่ยอมฉันเหมือนกันมีอะไรที่ไปบิณฑบาตได้มาก็แบ่งกันฉันตามมีตามได้
ส่วนโยมที่เขาต้มปลามาถวาย นั่งสังเกตอยู่ตั้งนานเมื่อเห็นพระไม่ฉันจึงเรียน ถามว่า
ท่านอาจารย์ไม่ฉันต้มปลาหรือครับ ...หลวงพ่อจึงตอบว่าสงสารมัน เท่านี้เอง
ทำเอาโยมผู้นำมาถวายถึงกับนิ่งอึ้ง...แล้วจึงพูดว่า
ถ้าเป็นผมหิวอย่างนี้คงอดไม่ได้แน่ๆ ตั้งแต่นั้นมาปลาในแอ่งน้ำนั้นจึงไม่ถูกรบกวนพวกโยมก็พากัน เข้าใจว่าปลาของวัด...
เครดิต โพสจัง
|
|
|
|
|
|
|
“กัลยาณมิตร” เกิดขึ้นฝ่ายเดียวไม่ได้ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
“กัลยาณมิตร” เกิดขึ้นฝ่ายเดียวไม่ได้ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
คงเคยได้พบ ได้เห็น หรือได้ยินได้ฟัง กันมาแล้วบ่อย ๆ ที่เมื่อใครคนใดคนหนึ่งคิดพูดทำที่ผิดพลาด ที่ไม่สมควรแก่ภาวะฐานะ ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติยศ เป็นต้นว่าเป็นผู้ไม่มี “กัลยาณมิตร” จึงไม่มีผู้ยับยั้งผู้ให้พ้นความผิดความเสียหายที่จะเกิด เพราะคิดพูดทำที่ผิด ที่ไม่สมควร ที่ไม่น่าทำให้เกิดขึ้น ที่จะต้องไม่เกิดขึ้น แม้มี “กัลยาณมิตร” บอกกล่าวให้รู้ความควรไม่ควร
ที่จริง “กัลยาณมิตร” จะเกิดขึ้นฝ่ายเดียวไม่ได้ “กัลยาณมิตร” ต้องเกิดขึ้นด้วยความพร้อมเพียงยอมรับทั้งสองฝ่าย “กัลยาณมิตร” จะเกิดขึ้นฝ่ายเดียวไม่ได้
แม้คนดีมีปัญญาสักคนหนึ่งจะมีความหวังดี ปรารถนาจะช่วยคนดีคนใดคนหนึ่งให้พ้นจากภัยพิบัตินานาประการ ก็ย่อมไม่อาจทำได้ แม้อีกฝ่ายหนึ่งไม่มีความเข้าใจคำว่า “กัลยาณมิตร”
: แสงส่องใจ อาสาฬหบูชา ๒๕๔๙ : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
|
|
|
|
|
|
|
ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจในบทธรรมะ ที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ครับ ขอให้ท่านผู้อ่านศึกษากันและหากท่านใด้อยากจะเสนอบทความหรือความคิดเห็นก็เชิญได้ครับ กระทู้นี้เป็นของท่านผู้อ่านทุกๆคนครับ
|
|
|
|
|
|
|
บัวสี่เหล่า
พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว ๔ เหล่า ได้แก่
๑. พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที (อุคฆฏิตัญญู)
๒. พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ ซึ่งจะบานในวันถัดไป (วิปัจจิตัญญู)
๓. พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธาปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อย ๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง (เนยยะ)
๔. พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน (ปทปรมะ).
เขียนโดย นาคินทร์ พ.ภักดี
|
|
|
|
|
|
|
เนื่องจากคนเรานั้นขาดที่พึ่งยึดเหนี่ยวจิตใจการดำรงชีวิตจึงเดินผิดเดินถูก หากท่านมีธรรมะอยู่ในใจท่านก็จะมีสิ่งยึดเหนี่ยวให้ท่านนั้นเดินบนเส้นทางที่ถูก สว่าง สง่างามเป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไปและคนรอบข้างก็จะเข้ามาใกล้ชิดด้วยความเมตตากรุณาต่อกันและเป็นกัลยาณมิตรที่ดีสืบต่อไปตลอดชีวิตครับเพราะมนุษย์นั้นต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเพื่อมาสร้างบุญบารมีและกุศลผลบุญร่วมกันสืบไปครับ..ผู้ที่เข้ามาอ่านก็จะมีความสุขความเจริญรุ่งเรืองการงานก้าวหน้าตลอดไปครับ...
|
|
|
|
|
|
|
อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ตนแล เป็นที่พึงแห่งตน
กัลยาณมิตรที่ดีที่สุด ก็คือตัวเรานี้แหละครับ ไม่ต้องไปหาที่ไหนไกล
..................................................... ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีดับเป็นธรรมดา
|
|
|
|
|
|
|
ข้อคิด คำคม เพื่อพัฒนาตนเอง
• ไม่ว่าความมานะ อดทน จะขมขื่นเพียงใด ผลที่ได้รับก็จะหวานชื่นเพียงนั้น
|
|
|
|
|
|
|
ความหมายของกัลยาณมิตร
คำว่า “กัลยาณมิตร” แปลความหมายคำ “กัลยาณ” ว่า หมายถึง งาม, ดี และ “มิตร” หมายถึง เพื่อนรักใคร่ที่สนิทสนมคุ้นเคย ดังนั้น กัลยาณมิตร จึงมีความหมายว่า เพื่อนที่ดี, เพื่อนที่งาม หรือเพื่อนที่รักใคร่คุ้นเคยที่ดี, เพื่อนรักใคร่คุ้นเคยที่งาม
กัลยาณมิตร มิได้หมายถึงเพื่อนที่ดีตามความหมายทั่วไปเท่านั้น แต่เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม มีความตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรม ทำหน้าที่ของชาวพุทธที่ดี เพื่อยังประโยชน์ให้ถึงพร้อมทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ผู้สั่งสอนแนะนำ ชักนำไปในหนทางที่ถูกต้องดีงาม เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นก่อนเป็นบุรพนิมิตฉันใด การมีกัลยาณมิตรเป็นบุรพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของหนทางพระนิพพานแก่ผู้ประพฤติธรรมฉันนั้น เมื่อเราเป็นกัลยาณมิตรภายในให้กับตนเองแล้ว ก็ต้องทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้กับผู้อื่น โดยมีความสำนึกในหน้าที่อันสูงส่งนี้ว่า เป็นหน้าที่ที่มีเกียรติ มีค่าอย่างยิ่ง เป็นหน้าที่ของบัณฑิตและนักปราชญ์ทุกยุคทุกสมัย ต่างสรรเสริญและทำกันมาก่อนแล้วทั้งนั้น การทำหน้าที่กัลยาณมิตรภายนอก ทำได้โดย ให้ความยิ้มแย้มแจ่มใส ให้ความสดชื่นเบิกบานใจกับทุกๆ คน ให้ความเป็นมิตร ให้ความเป็นกันเอง ให้ความปรารถนาดีอย่างจริงใจกับทุกคน เป็นญาติยิ่งด้วยญาติ เป็นมิตรยิ่งด้วยมิตร ให้คำแนะนำที่ดี ชี้หนทางที่ถูกให้เดิน ดำเนินชีวิตที่ถูกต้องและเป็นไปเพื่อการสร้างบารมีอย่างแท้จริง ให้อริยทรัพย์ แนะนำให้ทำบุญให้ถูกวิธีและถูกเนื้อนาบุญ เพื่อเปลี่ยนสามัญทรัพย์ให้เป็นอริยทรัพย์ติดตัวข้ามภพข้ามชาติ
ให้หนทางแห่งความสงบร่มเย็น ให้ความสุขที่แท้จริงแก่บุคคลทั้งหลาย โดยการปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงธรรมกาย แนะนำบุคคลทั้งหลายออกจากกามโดยธรรม ให้ชีวิตการเป็นกัลยาณมิตร เวลาเป็นสิ่งมีค่ามากที่สุด เวลาที่ผ่านไปแต่ละวินาทีนั้นกลืนกินชีวิตของเราให้หมดไปด้วย แต่เพื่อประโยชน์แก่มวลมนุษย์ เราได้สละเวลาหรือชีวิต เพื่อทำหน้าที่กัลยาณมิตร ให้ทุกชีวิตได้เตรียมเสบียง ในการเดินทางในวัฎฎสงสาร ไปสู่จุดหมาย คือ นิพพาน
|
|
|
|
|
|
|
เนื่องจากคนเรานั้นขาดที่พึ่งยึดเหนี่ยวจิตใจการดำรงชีวิตจึงเดินผิดเดินถูก หากท่านมีธรรมะอยู่ในใจท่านก็จะมีสิ่งยึดเหนี่ยวให้ท่านนั้นเดินบนเส้นทางที่ถูก สว่าง สง่างามเป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไปและคนรอบข้างก็จะเข้ามาใกล้ชิดด้วยความเมตตากรุณาต่อกันและเป็นกัลยาณมิตรที่ดีสืบต่อไปตลอดชีวิตครับเพราะมนุษย์นั้นต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเพื่อมาสร้างบุญบารมีและกุศลผลบุญร่วมกันสืบไปครับ..ผู้ที่เข้ามาอ่านก็จะมีความสุขความเจริญรุ่งเรืองการงานก้าวหน้าตลอดไปครับ...
|
|
|
|
|
|
|
ขอเชิญคุณzapatacut เข้ามาร่วมสนทนาธรรมบ่อยๆและร่วมในกระทู้อื่นด้วยครับ..
เนื่องจากคนเรานั้นขาดที่พึ่งยึดเหนี่ยวจิตใจการดำรงชีวิตจึงเดินผิดเดินถูก หากท่านมีธรรมะอยู่ในใจท่านก็จะมีสิ่งยึดเหนี่ยวให้ท่านนั้นเดินบนเส้นทางที่ถูก สว่าง สง่างามเป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไปและคนรอบข้างก็จะเข้ามาใกล้ชิดด้วยความเมตตากรุณาต่อกันและเป็นกัลยาณมิตรที่ดีสืบต่อไปตลอดชีวิตครับเพราะมนุษย์นั้นต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเพื่อมาสร้างบุญบารมีและกุศลผลบุญร่วมกันสืบไปครับ..ผู้ที่เข้ามาอ่านก็จะมีความสุขความเจริญรุ่งเรืองการงานก้าวหน้าตลอดไปครับ...
|
|
|
|
|
|
|
ขอเชิญคุณzapatacut เข้ามาร่วมสนทนาธรรมบ่อยๆและร่วมในกระทู้อื่นด้วยครับ..
เนื่องจากคนเรานั้นขาดที่พึ่งยึดเหนี่ยวจิตใจการดำรงชีวิตจึงเดินผิดเดินถูก หากท่านมีธรรมะอยู่ในใจท่านก็จะมีสิ่งยึดเหนี่ยวให้ท่านนั้นเดินบนเส้นทางที่ถูก สว่าง สง่างามเป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไปและคนรอบข้างก็จะเข้ามาใกล้ชิดด้วยความเมตตากรุณาต่อกันและเป็นกัลยาณมิตรที่ดีสืบต่อไปตลอดชีวิตครับเพราะมนุษย์นั้นต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเพื่อมาสร้างบุญบารมีและกุศลผลบุญร่วมกันสืบไปครับ..ผู้ที่เข้ามาอ่านก็จะมีความสุขความเจริญรุ่งเรืองการงานก้าวหน้าตลอดไปครับ...
|
|
|
|
|
|
|
ตอบคห.ที่ 6 สงสัยต้องเปิดห้องธรรมะให้คุณ destinygoal
ขอบคุณที่เข้ามาร่วมสนทนาธรรมครับ สงสัยคงต้องเปิดห้องธรรมะให้ผมแล้วครับ ขอบคุณที่ชี้ทางแสงสว่างให้ครับก็คงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยและคงจะัได้บุญบารมีและกุศลร่วมกันครับ
|
|
|
|
|
|
|
นิกายในพระพุทธศาสนา
ในปัจจุบันที่เลย กึ่งพุทธกาลมาแล้วนี้นั้น ชนชาวพุทธโดยกฏหมายบางท่าน อาจจะสับสนหรือแยกแยะไม่ออกกันแล้วว่า ไหนคือแนวทางแห่งพุทธ แนวทางแห่งพราหมณ์ ซ้ำเลยหนักไปถึงไม่ทราบว่า พุทธที่เป็นพุทธแบบแท้จริง แบบดั่งเดิมสมัยพุทธองค์นั้นเป็นอย่างไร แล้วนิกายต่างๆ สมัยนี้แตกต่างกันเช่นไร ทำเอาผสมปนเปกันไปหมด วัดเดียวมีครบทุกแบบ เพียงเพราะต้องการดึงชาวบ้านทางโลกให้เข้ามาอุดหนุน
แต่เดิมสมัยพุทธกาล พระสงฆ์ล้วนปฏิบัติตามพระวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด หากมีกรณีพิพาทอันใด ก็จะทูลขอคำวินิจฉัยจากพระพุทธองค์ แต่กาลต่อมาหลังปรินิพพาน รูปแบบวิถีปฏิบัติพระธรรมวินัยเดิม ย่อมแปรไปตามแต่ละพระอาจารย์ว่าจะมีความเคร่งครัดเพียงใด ก็สั่งสอนเรื่อยมาตามความเชื่อถือ การตีความพุทธพจน์ที่มีมานั้น หรือความรู้ธรรมที่แตกต่างกัน ที่เรียกว่า “ทิฏฐิสามัญตา” ภายหลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานล่วงได้ 3 เดือน มีการจัดสังคายนาขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีพระมหากัสสปะเป็นองค์ประธาน พร้อมพระอรหันต์อื่นอีก 500 รูป ได้ตกลงเป็นฉันทามติ ให้พระสงฆ์รักษาพระธรรมวินัย ปฏิบัติตามสิกขาบททุกข้อไว้ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง โดยไม่มีการเพิ่มถอนใดๆ นอกเหนือจากที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ทั้งสิ้น การสังคายนาครั้งที่ 2 ราวพุทธศตวรรษ 100 เริ่มมีคณะสงฆ์บางกลุ่มที่ไม่ยอมรับมติของพระมหาเถระครั้งปฐมสังคายนาก็ดี หรือมีความเห็นทางธรรมแตกต่างจากคณะสงฆ์ดั้งเดิมก็ดี จึงเริ่มแตกออกมาเป็นนิกายต่างๆ เรื่อยมานับแต่นั้น ตามคติแห่งยุคสมัย
นิกายใหญ่ มี 3 นิกาย ได้แก่ 1. นิกายเถรวาท หรือ สาวกยาน หรือ หินยาน 2. นิกายอาจาริยวาท หรือ มหายาน 3. นิกายวัชรยาน
|
|
|
|
|
|
|
"นิมิตที่ได้พบเห็นของทื่านสมาชิกมาเล่าสู่กันฟัง"
ท่านใดมีนิมิตที่พบเห็นมาเชิญมาเล่าสู่กันฟังครับ เพื่อจะได้มาปฏิบัติธรรมร่วมกันเพื่อมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและมาทำความดีร่วมกันครับ บางท่านชอบทำหนังสือสวดมนต์ไปวางไว้ตามวัดต่างๆเป็นธรรมทานให้ผู้มาไหว้พระที่วัดนำหนังสือกลับไปสวดมนต์ที่บ้านก็จะได้บุญกุศลสูงสุดครับ นี่คือธรรมทานขั้นสูงสุดตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ครับ...
|
|
|
|
|
|
|
1. นิกายเถรวาท หลังการเกิดแตกสาขานิกายไปจากสายดั้งเดิมครั้งพุทธกาล พระสงฆ์ที่ยึดถือแนวทางเดิมนี้โดยบริบูรณ์ จึงถูกเรียกว่าปฏิบัติตามแนวของเถรวาท หรือนิกายใน “วงศ์แห่งพระเถระ” นิกายเถรวาท ได้รับการยอมรับจากพุทธศาสนิกชนทุกนิกายว่าเป็นนิกายที่รักษาพระธรรมวินัย ไว้อย่างเคร่งครัด สมบูรณ์ที่สุด จัดเป็นพระพุทธศาสนาแนวหลักแท้จริงดั้งเดิมตามพุทธกาล (
) ที่นิกายอื่นแยกออกไป สาระสำคัญของนิกายเถรวาท นอกเหนือจากการปฏิบัติตามธรรมวินัยเดิมแล้ว ยังยึดถือตามคัมภีร์พระไตรปิฏกบาลี มุ่งสู่พระนิพพานการเป็นพระอรหันต์ เพื่อหลุดพ้นจากสังสารวัฏ (วัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิด) ประเทศที่นับถือได้แก่ ประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ ไทย ศรีลังกา พม่า ลาว กัมพูชา สำหรับประเทศไทยนั้น ยังแบ่งได้อีก 2 นิกายย่อย คือ - มหานิกาย คือคณะสงฆ์องค์คณะใหญ่ของเถรวาทดั้งเดิม - ธรรมยุติกนิกาย คือคณะสงฆ์ไทยสายธรรมยุติ ถือกำเนิดขึ้นปี พ.ศ.2365 ล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้ตั้งขึ้น โดยพัฒนาแนวทางวิธีการปฏิบัติธรรมตามแบบคณะสงฆ์สายธรรมกัลยาณีของประเทศพม่า
2. นิกายมหายาน มหายาน มีความหมายว่า ยานพาหนะขนาดใหญ่ที่นำพาสรรพสัตว์ข้ามพ้นห้วงน้ำแห่งการเวียนว่ายตายเกิด.
|
|
|
|
|
|
|
2. นิกายมหายาน มหายาน มีความหมายว่า ยานพาหนะขนาดใหญ่ที่นำพาสรรพสัตว์ข้ามพ้นห้วงน้ำแห่งการเวียนว่ายตายเกิด. นิกายมหายาน มีสาระสำคัญต่างจากสายดั้งเดิมที่ ยึดถือทำตามแนวทางพระโพธิสัตว์ ที่ปรารถนามุ่งสู่การเป็นพระพุทธเจ้า ที่เชื่อว่าสามารถช่วยเหลือสัตว์โลกได้มากกว่านิกายเถรวาทหรือหินยาน ซึ่งมีความหมายว่า ยานพาหนะขนาดเล็ก ที่มุ่งให้บรรุลธรรมเพื่อการเป็นพระอรหันต์ มหายาน จึงเชื่อว่ามีพระพุทธเจ้ามากมายหลายพระองค์ ทั้งที่มีปรากฏนามในพระคัมภีร์เถรวาท และที่สร้างขึ้นตามคติของตนในภายหลัง นอกจากนี้ยังมีพระโพธิสัตว์ พระอัครสาวกอีกมากมายเช่นกัน พระสงฆ์ในสายมหายาน เป็นรูปแบบคณะสงฆ์ ที่ได้ปรับตามกาลเวลาและลักษณะของแต่ละประเทศ เพื่อให้เข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น นอกเหนือจากประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยแล้ว หากเห็นว่าพระวินัยข้อใดไม่เหมาะแล้วกับกาลก็เพิกถอนได้ เราจึงเห็น พระมีวิทยายุทธ พระมีบทบาททางการเมือง ฯลฯ ในประเทศมหายาน ประเทศที่นับถือได้แก่ จีน เวียดนาม ฮ่องกง เกาหลี ญี่ปุ่น สำหรับในประเทศไทย เมื่อมีชาวจีน และญวนเข้ามาติดต่อสัมพันธ์กันมากเรื่อยมาแต่ครั้งอดีต จึงมีนิกายมหายานในประเทศไทย แยกได้อีก 2 นิกายย่อย คือ - จีนนิกาย คือคณะสงฆ์มหานิกายแบบจีน - อานัมนิกาย คือคณะสงฆ์มหานิกายแบบเวียดนาม
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ใช่ว่าพระสงฆ์เถรวาทจะไม่ช่วยเหลือประชาชนดีเท่ากับพระสงฆ์มหายาน เพียงแต่ พระสงฆ์มหายาน ปรับรูปแบบขึ้นมาให้เข้าใกล้ญาติโยมมากขึ้น พระวินัยบางข้อที่ไม่เหมาะกับการที่ท่านจะประพฤติ ในการดำรงอยู่ในบางประเทศ ท่านก็เพิกสอนเสีย ดังนั้นพระสงฆ์เถรวาทจึงมีข้อดีมากในส่วนที่ท่านรักษาพระธรรมวินัยตามครั้ง พุทธกาลไว้อย่างบริบูรณ์ที่สุด รักษาคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ให้ผิดเพี้ยน ขาดตกไปตามกาลเวลา ให้เป็นแบบบรรทัดฐานการศึกษาแก่นแท้พุทธศาสนาเดิมได้ มาถึงในปัจจุบัน
ในส่วนนิกายวัชรยาน อันเป็นสายทางธิเบตนั้น มีลักษณะที่โซนบ้านเราไม่ค่อยจะคุ้นเคยในรูปแบบมากนัก ทั้งมีแนวคิดที่ต่างไปหลายเรื่อง
|
|
|
|
|
|
|
มุมมองพุทธแบบมหายาน พุทธแบบมหายานนอกจากจะแพร่หลายในเอเซียตะวันออกแล้ว ยังเติบโตอย่างรวดเร็วในโลกตะวันตก ที่เรามักรู้สึกว่าฝรั่งสนใจศาสนาพุทธกันมาก ใช่ แต่เป็นศาสนาพุทธแบบมหายาน
กล่าวโดยรวบรัดมหายานต่างจากเถรวาทตรงที่มีอุดมคติคือการเป็นพระโพธิสัตว์ และมีคัมภีร์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากที่ทั้งเถรวาทและมหายานยอมรับตรงกันคือพระไตรปิฎก ยิ่งกว่านั้นมหายานบางสายจะยอมรับคัมภีร์รุ่นใหม่มากกว่าพระไตรปิฎก เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า มหายานได้ละทิ้งการปฏิบัติธรรมไป แล้วหันมาใช้การไคร่ครวญทางปรัชญา หรือการสวนมนต์ขอพรจากพระโพธิสัตว์แทน กระทั่งเกิดมหายานสายปฏิบัติคือเซน น่าจะเป็นอารมณ์แบบเดียวกับที่เถรวาทได้ทิ้งการปฏิบัติธรรมไป แล้วเกิดสายปฏิบัติฟื้นคืนกลับขึ้นมาในศตวรรษ์นี้ของไทย
ท่านพุทธทาสได้ช่วยให้พวกเราสามารถเชื่อมโยงภูมิปัญญาของเซนเข้ามาในวิถีปฏิบัติ จนเรารู้สึกกลมกลืนไม่ว่าจะฟังคำสอนของท่านติช นัท ฮันห์ (เซน) หรือองค์ดาไลลามะ (วัชรญาณ) ตั้งแต่เด็กจนโต ผมเคยนึกว่ามหายานก็คือมหายาน เหมือนเถรวาทจะสายไหนก็มีอุดมคติเดียวกันคือการชนะทุกข์ แต่เมื่อสังเกตดูจริงๆ ก็ไม่ใช่อย่างนั้น
ตัวอย่างใกล้ตัวที่สุด เนื่องจากผมเป็นลูกครึ่งจีน จึงมีพิธีกรรมไหว้ต่างๆ ตามเทศกาล ทางฝั่งครอบครัวภรรยาผมเป็นจีนแท้ๆ ยิ่งมีพิธีกรรมมากขึ้นไปอีกเรียกว่าเป็นทุกอย่างในชีวิต แล้วก็มีศาลเจ้าซึ่งก็ไม่เหมือนวัดไทย ซึ่งก็เห็นเขาสวดมนต์กัน คำถามคือเขาสวดอะไร เมื่อค้นดูจึงพบว่าคนจีนจะนับถือมหายานนิยายสุขาวดี ซึ่งมีวิธีลัดตรงสู่การเป็นพระโพธิสัตว์ โดยการสวนมนต์ (พูดถึงชื่อ) พระอมิตาภพุทธะ และพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (เจ้าแม่กวนอิม) เมื่อมีทุกข์เดือดร้อน
ดังนั้นมหายานแบบสุขาวดีจะเหมือนพุทธกระแสหลักของไทยมากกว่า ซึ่งมีอุดมคติที่ต่างจากเถรวาทที่จะต้องชนะทุกข์ด้วยตนเอง เห็นแบบนี้แล้วผมจึงคิดว่ามหายานสายอื่นก็น่าจะมีความแตกต่างในอุดมคติกับเถรวาทบ้างเหมือนกัน ยกเว้นเซนซึ่งเป็นมหายานหัวก้าวหน้าที่ฟื้นฟูการปฏิบัติธรรมขึ้นมา ดังที่เราจะรู้สึกได้ว่าเราสามารถทำตามคำสอนของท่านติช นัท ฮันห์ เช่นการกินส้มเพื่อกินส้ม ได้โดยไม่ขัดเขิน ในทางกลับกัน เมื่อฟังองค์ดาไลลามะพูดในเรื่องที่เหนือไปกว่าจริยธรรมแล้ว เราอาจพบว่านำมาใส่ในวิธีคิดแบบเถรวาทไม่ได้ ต้องมองในมุมมองแบบมหายานเท่านั้น ที่ผมเพิ่งดูจากสารคดี The Buddha ของ PBS มีเคสแบบนี้บ้างเหมือนกัน
|
|
|
|
|
|
|
นิกายหินยาน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นิกายเถรวาท และทักษิณนิกาย เหตุที่เรียกว่า นิกายเถรวาท เพราะพระในนิกายนี้ถือปฏิบัติตามหลักคำสอนที่สืบต่อกันมาโดยพระเถระตั้งแต่ ครั้งที่ทำปฐมสังคายนา (สังคายนาครั้งที่ ๑) ซึ่งถือว่าเป็นพระเถระที่ได้มีชีวิตอยู่ทันเห็นพระพุทธเจ้าและได้รักษาคำ สอนพระพุทธเจ้าไว้ตามรูปแบบที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ต่อมานิกายนี้ได้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทักษิณนิกาย แปลว่า นิกายฝ่ายใต้ หมายความว่า เป็นนิกายของพระภาคใต้ นิกายหินยานได้แตกสาขาออกมาอีกในเวลาต่อมารวมกันเป็น ๑๘ นิกาย และในปีพุทธศักราช ๒๑๘ ปี หลังจากทำตติยสังคายนาแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้จัดส่งพระธรรมทูตออกไปประกาศพระศาสนา ๙ สายด้วยกัน เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาได้เจริญแพร่หลายไปในประเทศต่างๆ ที่เห็นเด่นชัด คือ ในประเทศลังการวมทั้งประเทศไทยและประเทศในแถบอินโดจีนคือ ลาว เขมร พม่าก็รวมอยู่ด้วย พระพุทธศาสนาที่เจริญแพร่หลายอยู่ในประเทศดังกล่าวมานี้ล้วนเป็นพระพุทธศาสนาประเภทเถรวาททั้งสิ้น
|
|
|
|
|
|
|
ท่านสมาชิกมาเล่าประสบการ์ที่ได้พบเห็นในชีวิตมาเล่าสู่กันฟังและหากสมาชิกจะร่วมเสริมข้อความให้สมบูรณืขึ้นก็ขอเชิญครับ
สวัสดีครับ..ผมจะชวนคุยเรื่องวิปัสนากรรมฐานครับ.. ตามที่ผมเคยบอกคุณว่า..คุณได้ชอบธรรมของผมแล้ว.. คือว่า ผมก็ไม่ใช่คนเก่งในเรื่องธรรมแต่อย่างใด..และเมื่อผมเข้ามาคลุกคลีอยู่ในนี้ ผมก็ทราบได้ว่า ผู้คนที่เข้ามาพูดคุย แสดงความคิด ความเห็น ส่วนมาก ห่างไกลจากธรรมมากกว่า ที่ผมคิด ผมเลยคิดวิธีการ เอาธรรมที่ผมรู้เข้ามา และก็ได้ผล มีคนเดินธรรมไปกันมาก แต่ผมไม่ทราบจำนวนครับ..รู้ว่าหลายคน.. แต่ความตั้งใจของผม มีแค่ต้องการให้คนเกรงกลัวต่อบาป มีความเข้าใจในศีล ผมก็นับว่าเป็นกุศลแก่พวกเขาแล้ว.
|
|
|
|
|
|
|
ที่นี้ ผมถือว่าคุณเป็นเพื่อนธรรม และเป็นกัลยาณมิตร..จึงไม่มีความคิดเห็นอะไรเป็นพิเศษแห่งธรรม..
ผมเริ่มเลยนะครับ.. ปี35 ผมโชคดี ได้โอกาสไปปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวัน วัดหลวงพ่อจรัญ.. วันสุดท้ายของการปฏิบัติธรรม..ผมอธิฐานต่อพระประธาน ว่า..ผมมาตั้งหลายวัน และวันนี้เป็นวันสุดท้ายแล้ว ผมยังไม่ได้อะไรเลย วันนี้ หากผมมีบุญกุศลอยู่บ้าง ก็ขอให้ผมได้พบ ได้รู้แจ้งแห่งธรรมด้วยเถิด.. ในการเล่าเรื่องที่ผมประสบมา ขอให้พิจารณาด้วยปัญญา อย่าเอนเอียงเข้าข้างกัน..ให้รู้ว่าผมพบเห็นอย่างนั้น แค่รู้ อย่านำไปจับจิต..
|
|
|
|
|
|
|
มันจะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติในการต่อไป..
ผมนั่งสมาธิ แบบอานาปานะสติ คือการดูลมหายใจ ผมไม่สามารถภาวนาในคำยุบหนอ พองหนอได้เลย ผมติดภาวนาพุท โธ ครับ เพราะพื้นฐานของผมมาแบบนั้น..คือผมได้รับการฝึกมาแบบนั้นตั้งแต่ยังเด็กๆครับ..ก้อเลย ใช้คำภาวนา พุท และโธครับ..
ในขณะที่เริ่มนั่ง ผมได้พิจารณาถึงลมหายใจที่ได้ปฏิบัติมาในวันก่อนๆ หายใจที่หน้าท้อง หายใจที่หน้าอก หายใจที่ริ้นปี่..ผมเหนื่อยครับ..เหนื่อยมากๆเลย..ทีนี้ ผมก็มาดูลมหายใจที่เราไม่ต้องตามดู ไม่ต้องให้มันหายใจตามใจของเรา แต่ให้หายใจตาม
|
|
|
|
|
|
|
ความเคยชิน เราหายใจปกติอย่างไร ผมก็ลองปล่อยให้หายใจเอง เพียงแต่รู้
เท่านั้น ลมหายใจเข้า ผ่านรูจมูก ก็จะรู้สึกเย็นๆ และเมื่อหายใจออก ก็จะรู้สึกอุ่นๆ..รู้อย่างนี้ เลยลืมว่า คำภาวนา หายไปตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้..แต่ผมก็ไม่ไปสนใจว่า ทำไม คำภาวนาจึงหายไป..
ผมทำความรู้สึกถึงลมหายใจ ว่ามีลักษณะเข้า หรือหายใจออก.. ต่อมา..ผมจะมีอาการคล้ายๆเหมือนว่าง่วงนอน ผมก็รู้ว่าเรารู้สึกไปเอง..หายใจไปเรื่อยๆตามธรรมชาติของเรา(เวลาปกติ เราก็ไม่รู้ตัวว่าเราหายใจ จนกว่าเราจะเอาจิตเข้าไปทำความรู้สึก) ต่อมา..เอ๊ะ เรา
|
|
|
|
|
|
|
ไม่ได้หายใจ..นี่..ให้ระวังนะครับ หากคนไม่เป็นมวย หรือสมาธิอ่อนๆก็จะเกิด
อาการกลัวครับ..แล้วก็จะหยุดการปฏิบัติทันทีครับ..เสียโอกาสครับ.. เมื่อผมรู้สึกว่า ผมไ่ได้หายใจ..ผมมีสติครับ และผมก็รู้ด้วยว่า ความรู้สึกนี้ มันเกิดขึ้นเอง ที่จริงแล้ว เราหายใจอยู่ ยังไม่ได้ตาย..ซึ่งในตอนนี้..ผมก็ต้อง
ภาวนาเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง แต่ชั่วขณะเท่านั้น จิตก็รวมตัวใหม่ อาการของจิตรวมตัว ตัวจะเบาเหมือนไร้น้ำหนัก ร่างกายปรอดโปร่งสบาย.. ในขณะนั้น(ในความรู้สึกของผม)ความสว่างไม่เหมือนกับความสว่างธรรมดาที่เรามีอยู่
|
|
|
|
|
|
|
แต่เป็นความสว่างที่ เย็น และอบอุ่น แสงสว่างนวลตาครับ..
ผม..พบว่า มีความสงบ และความสุข ความสุขที่พบ ไม่เหมือนความสุขที่เราเคยสัมผัสมา เช่นกินเหล้า คุยกับเพื่อน ก็มีความสุข ความสุขที่ได้อยู่กันพร้อมหน้ากันในครอบครัว หรือหลังจากการเล่นกีฬา.. ความสุขที่พบ ยิ่งใหญ่กหว่าครับ..มันไม่สามารถจำนัลจาเรียบเรียงออกมาได้ครับ..
ความสุขที่สัมผัส..ผมก็ทราบใว้ และแค่รู้ และผมก็รู้ว่า ผมนั่งปฏิบัติธรรมอยู่ครับ เมื่อรู้..ผมวางเฉย..แล้วก็ก้มดูร่างกายของตนเอง..(ผมหลับตา แต่ดูกายตนเองครับ มันเป็นไปตามบุญ
|
|
|
|
|
|
|
แต่เป็นความสว่างที่ เย็น และอบอุ่น แสงสว่างนวลตาครับ..
ผม..พบว่า มีความสงบ และความสุข ความสุขที่พบ ไม่เหมือนความสุขที่เราเคยสัมผัสมา เช่นกินเหล้า คุยกับเพื่อน ก็มีความสุข ความสุขที่ได้อยู่กันพร้อมหน้ากันในครอบครัว หรือหลังจากการเล่นกีฬา.. ความสุขที่พบ ยิ่งใหญ่กหว่าครับ..มันไม่สามารถจำนัลจาเรียบเรียงออกมาได้ครับ..
ความสุขที่สัมผัส..ผมก็ทราบใว้ และแค่รู้ และผมก็รู้ว่า ผมนั่งปฏิบัติธรรมอยู่ครับ เมื่อรู้..ผมวางเฉย..แล้วก็ก้มดูร่างกายของตนเอง..(ผมหลับตา แต่ดูกายตนเองครับ มันเป็นไปตามบุญ
|
|
|
|
|
|
|
เก่าของผมกระมัง) ผมก้มมองที่หน้าตักของตนเอง ผมกลับเห็นร่างของผม
แต่งเครื่องทรง มีร่างสุกปรั่งเป็นทองคำครับ..และแล้ว ร่างที่เป็นทองคำก็ละลายลงเหมือนดินก้อนถูกน้ำซะทะลายครับ ค่อยๆละลายลงพื้น กลายเป็นสีดำ..กลายเป็นดินไปครับ.. มาถึงตอนนจี้ เสียงพระพี่เลี้ยง ก็บอกเบาๆว่า หมดเวลา..
หมดเวลานั่งสมาธิปฏิบัติธรรมครับ ผมเสียดายก็เสียดาย ครั้นจะปล่อยวาง ใครจะเลิกก็เลิกไป ผมจะนั่งอยู่อย่างนี้ แต่ก็ต้องละความคิดนั้นออกไปเสีย.. เรื่องนี้ มันตรึงใจของผมมากครับ ผมคิดอยู่เป็นสิบปี ว่า เหตุไฉน
|
|
|
|
|
|
|