ประเด็นร้อนฉ่าในแวดวงโทรคมนาคมวินาทีนี้ คงหนีไม่พ้นกรณีเรื่องสัมปทานมือถือบนคลื่นความถี่ 1800 MHz ระหว่าง บริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT กับ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดีจิตอล โฟน จำกัด (ดีพีซี) ที่กำลังนับถอยหลัง ถึงวันสิ้นสุดสัญญาสัมปทานใน วันที่ 15 กันยายน 2556 นี้ ซึ่งตามข้อกำหนดภายใต้สัญญาสัมปทานนั้น เมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง บริษัทเอกชนจะต้องส่งมอบ และ โอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องมือ และ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการให้บริการโทรคมนาคมมือถือ ให้กับ บมจ. กสทโทรคมนาคม
ในขณะที่ บมจ. กสทโทรคมนาคม เอง แม้จะได้รับมอบเสาสัญญา เครื่องมือและอุปกรณ์โทรคมนาคมตามสัญญาสัมปทานกลับมา แต่เมื่อไม่สามารถเจรจาเพื่อขอถือครองคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่จะนำมาให้บริการกับ คณะกรรมการกำกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม หรือ กสทช. ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมให้เป็นที่ยุติลงได้ เพราะ กสทช. ต้องการนำคลื่นความถี่ที่สิ้นสุดสัญญาสัมปทานดังกล่าว กลับไปดำเนินการจัดสรรและเปิดประมูลใหม่
ทำให้ลูกค้าผู้ใช้บริการมือถือระบบ 1800 MHz ที่มีอยู่กว่า 17 ล้านเลขหมายในวันนี้ ต่างก็ต้องลุ้นระทึกกับอนาคตว่า จะเกิดกรณี "ซิมดับ" หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กสทช. ได้ดำเนินมาตรการเยียวยาด้วยผู้ใช้บริการทั้ง 17 ล้านเลขหมายอย่างไร รวมถึงกรณีคลื่น 1800 MHz หลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน จะมีอนาคตอย่างไร ติดตามได้จากบทสัมภาษณ์ท่าน **ฐากร ตันฑสิทธิ์** เลขาธิการสำนักงาน กสทช. ที่ให้คำตอบชัดเจนในรายการขยายข่าวทาง "สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ทีเอ็นเอ็น" ซึ่งมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ! ติดตามได้ ณ บัดนี้
กรณีคลื่น 1800 MHz จะหมดอายุสัมปทาน 15 ก.ย.นี้ แต่ทำไม กสทช. ไม่ประมูลคลื่นก่อน
เหตุผลหลัก 2-3 ข้อ คือ หลังจากกสทช.ได้มีการโปรดเกล้าแต่งตั้ง 7 ต.ค. 2554 ซึ่งได้แตงตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่าง กระทรวงไอซีทีกับกสทช. หารือหาทางออกคลื่นความถี่ที่จะหมดอายุในปี 56 ว่าคลื่นจะคืนไปที่ใคร ในปี 55 มีการตั้งคณะอนุทำงาน โดยมีปลัดกระทรวงไอซีทีเป็นประธาน แต่การเจรจายังไม่สามารถหาข้อยุติได้ ขณะที่กสทช.ได้ข้อยุติแล้ว ว่า คลื่นจะต้องคืนกลับมาที่กสทช. เพื่อให้เปิดประมูลใหม่ แต่ไอซีทีมองว่า คลื่นจะต้องกลับไปที่ผู้ให้สัมปทานคือ บมจ.กสท โทรคมนาคม ซึ่งก็มีบทพิสูจน์ โดยไอซีทีนำเรื่องเสนอครม. เพื่อใช้อำนาจมาตรา 74 คือ กสทช.จะต้องปฏิบัติตามที่ครม.แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งในวันนั้นตนได้มีโอกาสไปชี้แจงต่อคณะกรรมการกลั่นกรองที่มีคุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลังเป็นประธานว่า คลื่น 1800 ยังไงจะไม่ สามารถขยายเวลาสัมปทานได้ ถ้าสิ้นสุดจะต้องกลับมาที่กสทช.เพื่อประมูลใหม่ ซึ่งก็ไม่เป็นไรและในวันที่ 29 ส.ค.2556 ที่ผ่านมาน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว. ไอซีที ได้มาพบบอร์ดกทค. บอร์ดโทรคมนาคม พร้อมประธานกสทช.พูดหาทางออกในเรื่องนี้ โดยในเบื้องต้นรมว.ไอซีทีเห็นด้วยในหลักการ ที่กสทช.ออกมาตรการเยียวยาหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่น1800)
แนวทางแก้ปัญหาหลังคลื่น 1800 สิ้นสุดสัญญาสัมปทานเป็นอย่างไร
กสทช.มีแนวทางในเรื่องนี้ชัดเจนคือ 1.คลื่นที่หมดอายุสัมปทาน จะต้องกลับมาที่กสทช. แต่คลื่นที่ยังไม่ครบสัญญาสัมปทาน เช่น ดีแทค ยังเหลือเวลา 5 ปี จะปรับปรุงสัญญาณขยายต่อไปได้หรือไม่ เป็นมติครม.ที่ไอซีทีขอมติเพื่อจะมาหาทางออกอย่างไร ตอนนี้มันซ้อนกันอยู่ คือ 1800 ที่เป็นทรูมูฟ จะสิ้นสุด 15 ก.ย.นี้ เราจะคืนมาที่กสทช. เป็นสมบัติชาติ เรายืนยันว่าจะต้องประมูลใหม่ แต่ของดีแทคที่จะหมดอายุใน 5 ปีข้างหน้า ทางไอซีทีจะมาคุยกับเราว่าจะขอปรับปรุง เพื่อนำปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้หรือไม่มีคำ
อ่านต่อได้ที่ : http://www.pimthaionline.net/html/modules.php?name=hotnews&file=article&asid=1366