หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: มีหลักฐานว่า พุทธศาสนาเกิดในไทยหรือประเทศใกล้เคียงมากกว่าในอินเดียตอน3  (อ่าน 803 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 17:02 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

มีหลักฐานว่า พุทธศาสนา น่าจะเกิดในไทยหรือประเทศใกล้เคียงมากกว่าในอินเดียตอน3

wathongchai


วันนี้ผมได้เอกสารชุดนึงมา ซึ่งมีข้อมูลที่อ่านแล้วดูน่าสอดคล้องกับความเป็นจริงได้มากกว่า ว่าเมืองไทยหรือประเทศเพื่อนบ้าน น่าจะเป็นแหล่งกำเนิดพุทธศาสนามากกว่าในอินเดีย

โดยความเห็นส่วนตัวของผมแล้ว ก็เคยสงสัยเหมือนกัน ว่า ถ้าเกิดในอินเดียจริง ทำไมคนอินเดียไม่ได้นับถือพุทธเป็นหลัก กลับเป็นคนไทย ลาว พม่า จีน หรือประเทศใกล้ไทย
แล้วภาษาหรือวัฒนธรรมต่างๆ ของเราก็สอดคล้องกับพุทธประวัติมากกว่า ประการสุดท้ายคือ ผมไม่เห็นลักษณะของคนอินเดียที่จะตรงกันกับในพุทธประวัติได้เลย ไม่ว่าจะความนอบน้อม บุคคลิกลักษณะ ผิวพรรณ (ส่วนใหญ่มีแต่ดำ ซึ่งในพุทธประวัติ กล่าวถึงคนผิวสีทองหรือขาวมากกว่า) นิสัย (ไม่ซื่อสัตย์ หลอกลวง เอาเปรียบ ตระหนี่) ภาษา ความเชื่อ ศาสนา อาหารการกิน

ใครอยากได้ไฟล์ก็ทิ้งที่อยู่ไว้นะครับ จะส่งเมล์ให้ หรือถ้าใช้โปรแกรมจำพวก bit torrent ก็บอกได้เลยครับ ผมจะบอกแหล่ง download ให้ครับ
ไฟล์แค่ประมาณ 2 mb เท่านั้น

ผมก็ทราบดีว่า อาจจะไม่ได้สำคัญต่อการไปสู่นิพพาน เพียงแต่ว่า อาจจะช่วยคลายความสงสัย และทำให้รู้ตาม "ความจริง" มากกว่า ความเชื่อ



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

add
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 17:43 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

Martmanee



เคยอ่านเจอมาว่า หลักฐานต่างๆ ในอินเดีย ถูกจัดทำขึ้นใหม่โดยกลุ่ม(ประเทศและศาสนา) ที่ต้องการบิดเบือนหลักฐานทางพุทธศาสนาในบ้านเรา เนื่องจากแต่ครั้งโบราณกาลมาเมื่อมีการเผยแพร่ศาสนา(อื่น)เข้ามาในแถบนี้ ปรากฏว่าพุทธศาสนิกชนในแถบบ้านเราโดยเฉพาะในประเทศไทยยึดมั่นในพระพุทธศาสนามาก ยากต่อการชักชวนให้เข้ารีต และยากต่อการเข้าครอบงำและปกครอง ซึ่งต้องใช้แผนทำลายที่ศาสนาก่อนที่จะเข้ายึดครอง จึงเป็นที่มาของการสร้างหลักฐานใหม่ๆ ที่อินเดียขึ้น

จริงๆ แล้วสถานที่ต่างๆ ที่มีระบุไว้ในพระไตรปิฎกนั้น ตรงตามลักษณะภูมิประเทศและตรงตามชื่อเรียกในท้องถิ่นของไทยมากมาย ลองหาอ่านดูได้จาก http://www.life-alonguniversity.com/buddhabirthplace/

เรื่องนี้ ชาวอินเดียบางคนที่เขาศึกษาเรื่องวัฒนธรรมของเขาจริงๆ เหมือนจะรู้อยู่แก่ใจดี หลายปีก่อน ดิฉันถูกเพื่อนชาวอินเดียถามถึงเรื่อง buddha birthplace ที่เมืองไทย ว่ารู้เรื่องนี้ไหม ถ้ามีหนังสือหรือบทความใดที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ช่วยส่งไปให้เขาหน่อย ตอนนั้นเรายังเบาปัญญาในเรื่องนี้มาก จึงไม่ค่อยรู้เรื่อง จนหลายปีต่อมาได้มาอ่านเจอจากในลิ้งค์ที่ให้มาด้านบน จึงพอกระจ่างใจในเรื่องที่เพื่อนถาม

อีกเรื่องที่ทำให้ดิฉันค่อนข้างเชื่อว่าพุทธศาสนาเกิดในเมืองไทยก็คือ คำพูดของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่มีการถ่ายทอดกันต่อๆ มาก ว่า

"มีคนสงสัยว่า หลวงปู่มั่นเคยไปอินเดียเพื่อสักการะสังเวชนียสถานทั้งสิ่ หรือไม่ ก็มีการยืนยันว่า ท่านไม่ไปเพราะไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้า ประสูติใน อินเดีย แต่ท่านเคยไปพม่า ตามที่อาจารย์มุตโตทัยบันทึกไว้ (หน้า ๖๔) ท่าน บอกว่า ที่พม่าไม่ค่อยมีผู้ปฏิบัติที่จะได้ถึงอริยมรรค "...คงมี็แต่ตาผ้าขาว ที่ท่านอยู่จำ พรรษาด้วยเท่านั้นไ้ด้มรรคที่ ๓ ซึ่งไม่เหมือนเมืองไทย (ผู้ได้อริย มรรค)มีมาไม่ขาดขาย เกิดจากการปฏิบัติบ้าง จุติจากสวรรค์มาบ้าง เพราะไทย คือ ศูนย์กลางพระพุทธศาสนา ต่างประเทศที่ ไม่อยู่ในแวดวง พระพุทธศาสนา (ก็)ยิ่ง ห่างไกลออกไปเพราะอยู่นอกวงจรนอกแวดวง (คงเหมือนกับต้นไม้ เมืองหนาว นำไปปลูกในเมืองร้อน ไม่ได้-บก.)

...หลวงปู่พูดทีเล่นทีจริงว่า พวกที่ไปสอนพระพุทธศาสนาให้ฝรั่งนั้น สอนให้เขาเป็นอะไร จะสอนจนได้ สำเร็จมรรคผลนั้นเป็นไปไม่ได้ดอก เพราะเป็นพาหิราประเทศ (พาหิรา หมายถึงภายนอกหรือนอกวง-บก.) คนไทยเราก็พอสอนได้ โอกาสได้ มรรคผลมี เพราะอยู่ใน วงศ์พระพุทธ ศาสนา มีบารมีอันเคยอบรม สั่งสมมาแล้ว ท่านหลวงปู่ว่า..." หลวงพ่อมุตโตทัยกล่าว.

เรื่องนี้อาจไม่สำคัญเท่าการน้อมนำใจปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง แต่อย่างน้อยการรู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหามเช่นนี้ อาจเป็นกำลังใจให้ผู้กำลังตั้งใจปฏิบัติ มีกำลังใจที่ดี มีความมานะมากขึ้นว่า เราคนไทยอยู่ในวงศ์พระพุทธศาสนา ถ้าพากเพียรปฏิบัติ นิพพานคงอยู่ไม่ไกลค่ะ



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 17:49 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

พุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ

ปัญหาเรื่องสถานที่ตั้งเมืองสุวรรณภูมิว่าอยู่ที่ไหน ? ยังเป็นเรื่องที่อยู่ในความสงสัย และคิดค้นกันมาตลอดเวลา นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี หลายชาติพยายามค้นคว้ากันมานาน จนบางท่านสรุปเรื่องนี้ว่า สุวรรณภูมิได้แก่เนื้อที่บริเวณ 6 ประเทศ คือ พม่า มลายู ไทย ลาว เขมร และเวียดนามใต้ มีหลักฐานที่พอเชื่อถือได้ว่า พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศไทยก่อน พ.ศ. 500 คือเข้าสู่ดินแดนที่เรียกว่า สุวรรณภูมิ อันได้แก่ พื้นที่แหลมอินโดจีนในปัจจุบันนี้เอง เนื้อที่ประเทศไทยเวลานี้เป็นศูนย์กลางของดินแดนสุวรรณภูมิ ดังได้พบวัตถุสถานที่เกี่ยวเนื่องในพุทธศาสนาที่เก่ากว่าพระพุทธรูปมากมาย เช่น พระธรรมจักรกับกวางมอบ แท่นพระสถูป จารึกพระธรรมเป็นภาษามคธ แท่นพุทธอาสน์ และร่องรอยพระพุทธบาท นอกจากนี้ยังพบร่องรอยคูเมืองและซากปรักหักพังของโบราณสถานภายในเมืองนครไชยศรี ที่แสดงว่านครไชยศรีเป็นเมืองที่ใหญ่มีสถาปัตยกรรมต่างๆ มากกว่าทุกแห่งในประเทศไทย ยกเว้นเมืองที่สร้างขึ้นในยุคหลัง เช่น สุโขทัยและอยุธยา และที่จังหวัดเพชรบุรี ในถ่ำเขาหลวงยังมีรอยพระพุทธบาทรุ่นเก่าอันนับเป็นอุทเทสิกเจดีย์อยู่รอยหนึ่งและแท่นศิลาอาสน์ ซึ่งในการสร้างสิ่งนี้มีมาก่อนสมัยที่มีพระพุทธรูป และหลักฐานที่แน่นหนาและมั่นคงที่สุดก็คือที่นครปฐม มีพระปฐมเจดีย์ เชื่อกันว่าสร้างเป็นอนุสรณ์เมื่อคราวที่พระโสณะกับพระอุตตระมาประกาศพุทธศาสนาที่นี่ ทั้งนี้โดยการเปรียบเทียบด้านพุทธศิลป์ เพราะสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชนั้นการสร้างศิลปในพุทธศาสนายังไม่มีพระพุทธรูป มีเพียงสัญลักษณ์แทนเท่านั้น เช่นที่ตรัสรู้มีเพียงต้นโพธิ์และพระแท่นภายใต้ต้นโพธิ์ เป็นสัญลักษณ์ว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จประทับนั่งบนแท่นนี้ในวันตรัสรู้ นอกจากนี่ในตำนานทางพุทธศาสนาก็ว่า พระเจ้าอโศกมหาราชทรงให้สร้างสถูปจำนวนมากถึง 84,000 องค์ทั่วชมพูทวีป และสถูปใหญ่ที่เห็นเป็นหลักฐานมาจนปัจจุบันก็คือพระสถูปสาญจิ ที่แคว้นโพปานในอินเดีย ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับที่สุวรรณภูมิก็ได้แก่องค์พระปฐมเจดีย์นี้เอง ส่วนพระพุทธรูปนั้นเป็นเรื่องมีภายหลัง ซึ่งโบราณสถานเหล่านี้ไม่มีในที่อื่นนอกจากนครปฐมและเขตใกล้เคียงเท่านั้น และชื่อเมืองต่างๆ ในแถบนี้ก็เป็นหลักฐานพอเชื่อถือได้ เช่น สุพรรณบุรี อู่ทอง กาญจนบุรี เพชรบุรี ธนบุรี เป็นต้น

อาจมีข้อสงสัยว่า นครปฐมเวลานี้อยู่ไกลทะเล พระเถระทั้งสองทำไมจึงจะมุ่งมาที่ตรงนี้ นักปราชญ์บางท่านให้ข้อคิดไว้ว่า นครปฐมเป็นเมืองทางศาสนามิใช่เมืองหลวง อาจจะเป็นเมืองท่า และเมื่อ 2000 ปีมาแล้วนั้น นครปฐมอาจอยู่ริมทะเล พื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นที่ลุ่มชายฝังทะเล อาจเป็นเมืองท่าที่พ่อค้าวานิชแวะเป็นประจำ นายตรี อมาตยกุล เคยเขียนเรื่อง “นครปฐมมิใช่เมืองดอน” ลงในวารสารศิลปกร ปีที่ 2 เล่ม 6 ประจำเดือนเมษายน และปีที่ 3 เล่ม 1 ประจำเดือนมิถุนายน 2492 มาแล้ว แสดงว่านครปฐมเป็นเมืองชายทะเล ก็แน่นอนว่าเป็นเมืองที่พ่อค้าชาวอินเดียไปมาหาสู่เป็นประจำ หรืออาจจะมาตั้งรกรากอยู่มากแล้ว ไม่เช่นนั้นพระเจ้าอโศกคงไม่ส่งพระเถระทั้งสองมา ความจริงสมณทูตที่พระเจ้าอโศกทรงส่งออกประกาศศาสนาครั้งนั้นไปเป็นคณะอย่างต่ำ 5 รูป แต่ตำนานกล่าวเฉพาะพระเถระที่เป็นประธานเท่านั้น

คณะของพระโสณะและพระอุตตระที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งออกเผยศาสนาในนานาาประเทศ ได้เดินทางมาเผยพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ คือ ตอนกลางของประเทศไทย ซึ่งเป็นดินแดนที่ชาวละว้าหรือมอญเป็นใหญ่อยู่ พุทธศาสนายุคแรกที่เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิเป็นพุทธศาสนาเถรวาทอย่างที่พระเจ้าอโศกมหาราชและชาวอินเดียนับถืออยู่ อีกทั้งนครปฐมก็มีกลักฐานที่น่าเชื่อถือ โดยมีหลักฐานที่สำคัญทางโบราณคดีคือ

1. องค์พระปฐมเจดีย์ องค์ดั่งเดิมเป็นรูปทรงระฆัง เหมือนสถูปสาญจิในอินเดีย ต่อมาขอมรุ่งเรืองและครองดินแดนแถบนี้ จึงได้ทำพระปรางค์ครอบเพิ่มขึ้นอีก องค์ปัจจุบันเป็นเจดีย์แบบลังกา ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ทำครอบพระปรางค์ลงไปอีกที

2. รูปธรรมจักรทำด้วยศิลา มีรูปกวางหมอบ และจารึกภาษาบาลีหรือภาษามคธว่า “เย ธมฺมา” เป็นต้น อันเป็นหลักสำคัญของพุทธศาสนา ไม่นิยมสร้างพระพุทธรูป นิยมสร้างแต่เพียงเจดีย์และสัญลักษณ์อย่างอื่น และมีการจารึกหลักธรรมที่สำคัญไว้ที่สิ่งก่อสร้างนั้น

3. พระประโทนเจดีย์ อยู่ทางทิศตะวันออกของพระปฐมเจดีย์ เวลานี้อยู่ที่วัดพระประโทน จ.นครปฐม
4. วัดพระเมรุ อยู่ทางทิศใต้ของพระปฐมเจดีย์ เป็นซากวัดร้าง

ดังนั้นวัตถุสถานที่ปรากฎในประเทศไทยนี้เอง เป็นหลักฐานที่แสดงว่า พุทธศาสนา ได้มีในดินแดนสุวรรณภูมิมานานแล้วนั้นเอง




noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #3 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 17:52 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ข้าพเจ้าจะยอมเชื่อว่า พุทธศาสนา เกิดที่อินเดีย-เนปาล ถ้า...มีใครอธิบายได้ว่าทำไม ระยะทางระหว่างเมืองสำคัญต่างๆ ในประเทศอินเดีย-เนปาล จึงไม่ตรงกับในสมัยพุทธกาล ซึ่งมีระบุในคัมภีร์อรรถกถาดังที่ข้าพเจ้าจะขอคัดลอกมาให้พิจารณาดังข้างท้ายนี้
ในขณะนี้ที่....บัดนี้ข้าพเจ้าได้กำหนดที่ตั้งของเมืองสำคัญต่างๆ ที่กระจายอยู่ในพื้นที่ประเทศไทย ลาว กัมพูชา และพม่า แล้วระยะทางกลับตรงกับอรรถกถาอย่างไม่มีผิดเพี้ยน เช่น
ราชคฤห์(ขอนแก่น-ไทย) ไป กบิลพัสดุ์(มัณฑะเลย์-พม่า) 60 โยชน์(960 กม.)
ราชคฤห์(ขอนแก่น-ไทย) ไป สาวัตถี(เปกู-พม่า) 45 โยชน์(720 กม.)
ราชคฤห์(ขอนแก่น) ไปกุสินารา(ต.พระแท่น กาญจนบุรี) 25 โยชน์ (400 กม.)
สาวัตถี(เปกู-พม่า) ไปประตูเมืองสังกัสสะ(วัดสังกัสฯ จ.อุทัย) 30 โยชน์ (480 กม.)
ฯลฯ
ซึ่งข้าพเจ้าจะได้เขียนแผนที่ที่สมบูรณ์นำเสนออีกครั้งหนึ่ง เพื่อเปรียบเทียบกับแผนที่ประเทศอินเดีย-เนปาล
ระหว่างนี้ให้ท่านได้พิจารณาอรรถกถาไปพลางก่อน

ว่าด้วยระยะทาง ในอรรถกถา

ได้เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์หลีกจาริก ไปอย่างไม่รีบเร่ง ด้วยทรงทำในพระหฤทัยว่า เราเมื่อเดินทางวันละโยชน์ ๒ เดือนจักถึงกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งมีระยะทาง ๖๐ โยชน์จากกรุงราชคฤห์.

บทว่า อทธานมคคปฏิปนโน โหติ ความว่า ทรงดำเนินสู่ทางไกล อธิบายว่า ทางยาว. จริงอยู่ แม้กึ่งโยชน์ก็ชื่อว่า ทางไกล โดยพระบาลีในวิภังค์แห่งสมัยเดินทางไกลมีอาทิว่า พึงบริโภคด้วยคิดว่า เราจักเดินทางกึ่งโยชน์. ก็จากกรุงราชคฤห์ถึงเมืองนาลันทา ประมาณโยชน์หนึ่ง.

พระเจ้าอชาตศัตรู ได้ทรงสร้างพระสถูปบรรจุพระสรีระ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าและงานมหกรรมในกรุงราชคฤห์. ถามว่า ได้ทรงทำอย่างไร ?
ตอบว่า ได้ทรงทำการมหกรรมตั้งแต่กรุงกุสินาราจนถึงกรุงราชคฤห์เป็นระยะทาง ๒๕ โยชน์.

บทว่า เยน สาวตฺถี เตน จาริกํ ปกฺกามิ ความว่า ท่านพระปุณณมันตานีบุตร ประสงค์จะเฝ้าพระศาสดา จึงหลีกไปโดยทิศทางที่กรุงสาวัตถี ตั้งอยู่. ก็เมื่อหลีกไป ท่านก็ให้กราบทูลแด่พระเจ้าสุทโธทนมหาราชให้ทรงรับเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย เป็นต้นไปแล้ว เมื่อหลีกไปก็นำเพียงบาตร จีวร หลีกไปลำพังผู้เดียว เหมือนช้างตกมันละโขลงหลีกไปเหมือนราชสีห์ ไม่มีกิจด้วยเพื่อน. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ท่านมากรุงราชคฤห์พร้อมด้วยอันเตวาสิกของตน ๕๐๐ รูป แต่บัดนี้ หลีกไปผู้เดียว. ตอบว่ากรุงราชคฤห์ไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์ ๖๐ โยชน์ ส่วนกรุงสาวัตถีไกล ๕๐ โยชน์
พระศาสดาเสด็จมาจากกรุงราชคฤห์ ๔๕ โยชน์ ประทับอยู่กรุงสาวัตถี

ท่านจึงเรียกว่า อิสิปตเน มิคทาเย. บทว่า อนฺตรา จ คยํ อนุตรา จ โพธึ ได้แก่ ในสถานระหว่าง ๓ คาวุต ในช่วงของตำบลคยา และโพธิพฤกษ์.
ตั้งแต่โพธิมัณฑสถานถึงตำบลคยา ๓ คาวุต กรุงพาราณสี ๑๘ โยชน์. อุปกาชีวก ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าระหว่างโพธิสถานและตำบลคยา.

กุลบุตรนั้นไปถึงกรุงราชคฤห์ จึงถามว่า พระศาสดาทรงประทับ ณ ที่ไหน. ท่านมาจากที่ไหนขอรับ. จากอุตตรประเทศนี้. พระนครชื่อว่า สาวัตถี มีอยู่ในทางที่ท่านมา ไกลจากพระนครราชคฤห์นี้ประมาณ ๔๕ โยชน์ พระศาสดาประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถีนั้น. กุลบุตรนั้นคิดว่า บัดนี้ไม่ใช่กาล เราไม่อาจกลับ วันนี้เราพักอยู่ในที่นี้ก่อน พรุ่งนี้จักไปสู่สำนักพระศาสดา. แต่นั้นจึงถามว่า เหล่าบรรพชิตที่มาถึงในยามวิกาลพัก ณ ที่ไหน. พัก ณ ศาลานายช่างหม้อนี้ ท่าน. ลำดับนั้น กุลบุตรนั้นขอพักกะนายช่างหม้อนั้นแล้ว เข้าไปนั่งเพื่อประโยชน์แก่การพักอาศัยในศาลาของนายช่างหม้อนั้น.



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #4 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 17:54 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ในเวลาใกล้รุ่งวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลก ทรงเห็นกุลบุตรชื่อว่า ปุกกุสาติ ทรงพระดำริว่า กุลบุตรนี้อ่านเพียงสาส์นที่พระสหายส่งไป ละราชสมบัติใหญ่ เกินร้อยโยชน์ บวชอุทิศเจาะจงเรา เดินทางสิ้น๑๙๒ โยชน์ ถึงกรุงราชคฤห์ ก็เมื่อเราไม่ไป จักไม่แทงตลอดสามัญญผล ๓ จะทำกาลกิริยาไร้ที่พึ่ง โดยการพักคืนเดียว แต่ครั้นเมื่อเราไปแล้ว จักแทงตลอดสามัญญผล ๓ ก็เราบำเพ็ญบารมีทั้งหลายสิ้นสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปเพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ชนเท่านั้น เราจักทำการสงเคราะห์แก่กุลบุตรปุกกุสาตินั้น ดังนี้ ทรงทำการปฏิบัติพระสรีระ แต่เช้าตรู่ มีพระภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ภายหลังภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาตเสด็จเข้าพระคันธกุฏิ ทรงระงับความลำบากในการเดินทางครู่หนึ่ง ทรงพระดำริว่า กุลบุตรได้ทำกิจที่ทำได้ยากเพราะความเคารพในเรา ละราชสมบัติเกินหนึ่งร้อยโยชน์ ไม่ถือเศษผ้า โดยที่สุดแม้คนผู้ให้น้ำบ้วนปาก ออกไปเพียงคนเดียว ดังนี้ ไม่ตรัสอะไรในพระเถระทั้งหลายมีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นต้น พระองค์เองทรงถือบาตรและจีวรของพระองค์ เสด็จออกไปเพียงพระองค์เดียว และเมื่อเสด็จไป ก็ไม่ได้ทรงเหาะไป ไม่ทรงย่นแผ่นดิน. ทรงพระดำริอีกว่า กุลบุตรละอายต่อเราไม่นั่งแม้ในยานหนึ่ง ในบรรดาช้าง ม้า รถ และวอทองเป็นต้น โดยที่สุด ไม่สวมรองเท้าชั้นเดียว ไม่กางร่มกระดาษออกไป แม้เราก็ควรไปด้วยเท้าเท่านั้น ดังนี้ จึงเสด็จไปด้วยพระบาท.
พระองค์ทรงปกปิดพระพุทธสิรินี้ คือ อนุพยัญชนะ ๘๐ รัศมี ๑ วา มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ เสด็จไปด้วยเพศของภิกษุรูปหนึ่ง ดุจพระจันทร์เพ็ญที่หมอกเมฆปกปิดไว้ฉะนั้น โดยปัจฉาภัตเดียวเท่านั้น ก็เสด็จไปได้ ๔๕ โยชน์ ในเวลาพระอาทิตย์ตก ก็เสด็จถึงศาลาของนายช่างหม้อนั้น ในขณะที่กุลบุตรเข้าไปแล้วนั้นแล.

ก็ในที่สุดแห่งการถวายทาน ทูลให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบถึงการอยู่จำพรรษาในกรุงสาวัตถีแล้ว ได้ถวายแสนหนึ่งทุก ๆ โยชน์ เมื่อให้สร้างวิหาร ๔๐ แห่ง ระหว่างกรุงราชคฤห์กับกรุงสาวัตถี ได้ไปยังกรุงสาวัตถีให้สร้างเชตวันมหาวิหารเสร็จแล้ว ได้มอบถวายภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข.

วันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเข้า มหากรุณาสมาบัติ ในมหาคันธกุฏีเชตวันวิหาร เมื่อทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นอุปนิสัยของอาฬวกกุมารบรรลุอนาคามิผล ของยักษ์บรรลุโสดาปัตติผล และสัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้ดวงตาเห็นธรรมในที่สุดแห่งเทศนา ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เมื่อราตรีสว่างแล้ว เสวยพระกระยาหารก่อน ครั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันอุโบสถแห่งกาฬปักข์เป็นไปอยู่เมื่อดวงอาทิตย์ตก พระองค์เดียวไม่มีเพื่อนสอง ทรงบาตรและจีวร เสด็จจากกรุงสาวัตถีไป ๓๐ โยชน์ด้วยพระบาททีเดียว เสด็จเข้าไปที่อยู่ของยักษ์นั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์.

ทรงดำริว่า วันพรุ่งนี้จะเป็นวันเพ็ญอาสาฬหะแล้ว เวลาเช้ามืดทรง รำพึงว่า เราควรแสดงธรรมแก่ใครก่อน (พอ) ทรงทราบว่า อาฬารดาบสและอุททกดาบสมรณภาพแล้ว จึงได้ตรวจดูท่านเบญจวัคคีย์เพื่อต้องการจะ (เสด็จไป) แสดงธรรมโปรด พึงเห็นว่าเหมือนเวลาที่ราชสีห์ตรวจดูทิศทั้ง ๔ ฉะนั้น.
เวลาที่พระตถาคตเจ้าทรงอุ้มบาตรและจีวรของพระองค์เสด็จออกไปจากต้นอชปาลนิโครธ ภายหลังเสวยพระกระยาหารแล้วด้วยทรงดำริว่า จักหมุนล้อธรรมโปรดเบญจวัคคีย์ ดังนี้ แล้วเสด็จพุทธดำเนินเป็นระยะทาง ๑๘ โยชน์ พึงเห็นว่าเหมือนเวลาที่ราชสีห์เดินทางไปล่าเหยื่อเป็นระยะทาง ๓ โยชน์ ฉะนั้น.

ต่อมา พระศาสดาของพวกเราทรงบังเกิดในโลกอาศัย กรุงราชคฤห์ประทับอยู่ ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกเศรษฐีนำสินค้า ที่ผลิตในกรุงสาวัตถีไปยังเรือนของราชคฤห์เศรษฐีสหายของตนทราบว่าพระศาสดาทรงอุบัติแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาซึ่งประทับอยู่ ณ สีตวัน ด้วยการเฝ้าครั้งแรกนั่นเอง ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้วทูลอาราธนาพระศาสดาให้เสด็จมายังกรุงสาวัตถี ให้สร้างวิหารด้วยการบริจาคทรัพย์แสนหนึ่ง ๆ ทุก ๆ โยชน์ตลอดทาง ๔๕ โยชน์



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #5 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 17:55 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

เหล่าอำมาตย์ปรึกษากันว่า ไม่อาจส่งสกุลใหญ่ ๆ ไป แต่เราจะส่งเฉพาะบุตรเศรษฐีคนหนึ่งไป จึงขอร้องธนัญชัยเศรษฐี บุตรเมณฑกเศรษฐี. พระราชาทรงสดับคำปรึกษาของอำมาตย์เหล่านั้น ก็ทรงส่งธนัญชัยเศรษฐีไป. ครั้งนั้น พระเจ้าโกศล พระราชทานตำแหน่งเศรษฐีให้เขาอยู่ในนครสาเกต ท้าย กรุงสาวัตถีไป ๗ โยชน์.

บทว่า สมฺพหุลาหิ สากิยานีหิ สทฺธึ ความว่า พระนางมหาปชาบดี ทรงถือเพศบรรพชาอุทิศพระทศพลภายในพระนิเวศน์นั่นเอง แล้วให้นางศากิยานีทั้ง ๕๐๐ นั้น ถือเพศบรรพชาเหมือนกันแล้วเสด็จหลีกไปพร้อมกับนางศากิยานีเป้นอันมากแม้ทั้งหมดนั้น.
บทว่า ปกฺกามิ ได้แก่ทรงพระดำเนินไป. ในเวลาที่นางมหาปชาบดีนั้นทรงดำเนินไป เจ้าหญิงทั้งหลาย ผู้สุขุมาลชาติจักไม่สามารถเดินไปด้วยพระบาทได้ เพราะเหตุนั้น เจ้าศากยะและเจ้าโกลิยะ
จึงได้จัดวอทองส่งไป. ก็นางศากิยานีเหล่านั้นคิดว่า เราเมื่อขึ้นยานไป เป็นอันชื่อว่าไม่กระทำความเคารพในพระศาสดา ดังนี้แล้วจึงได้ใช้พระบาทดำเนินไปตลอดทาง ๕๑ โยชน์. ฝ่ายเจ้าทั้งหลาย
ให้จัดอารักขาทั้งข้างหน้าข้างหลัง บรรทุกข้าวสาร เนยใส และน้ำมันเป็นต้นเต็มเกวียน แล้วส่งบุรุษทั้งหลายไปด้วยสั่งว่า พวกท่านจงตระเตรียมอาหารในที่ที่นางศากิยานีเหล่านั้นไป ๆ กัน.
บทว่า สูเนหิ ปาเทหิ ความว่า เพราะนางศากิยานีเหล่านั้นเป็นสุขุมาลชาติ ตุ่มพองเม็ดหนึ่งผุดขึ้นที่พระบาททั้งสอง เม็ดหนึ่งแตกไป พระบาททั้งสองพองขึ้นเป็นประหนึ่งเมล็ดผลตุ่มกา.
*ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์ ตามพระประสงค์ แล้วเสด็จจาริกไปทางพระนครเวสาลี เมื่อเสด็จจาริกไปโดยลำดับ เสด็จไปถึงพระนครเวสาลี ได้ยินว่า ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงปลงพระเกศาแล้ว ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จไปทางพระนครเวสาลี พร้อมกับเจ้าหญิงสากิยะหลายพระองค์ เสด็จเข้าไปยังกูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลีโดยลำดับ

โมคคัลลานะ ในวันที่ ๗ แต่วันนี้ (ไป) เราจักลงที่ประตูเมืองสังกัสสะ ในวันมหาปวารณา, ผู้ใคร่จะพบเราก็จงไปที่นั้นเถิด;ก็แลสังกัสสนครจากกรุงสาวัตถี มีประมาณ ๓๐ โยชน์

สุปฺปารกา ปกฺกามิ ความว่า ผู้มีหทัยอันปิติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ อันเกิดขึ้นเพราะได้ยินพระนามว่า พุทฺโธ และถูกความสังเวชตักเตือนอยู่ จึงได้จากท่าสุปปารกะหลีกไป มุ่งตรงกรุงสาวัตถี. บทว่าสพฺพตฺถ เอกรตฺติปริวาเสน ความว่า ได้ไปโดยอยู่พักแรมราตรีเดียวในหนทางทั้งปวง. จริงอยู่ เมืองสาวัตถีจากท่าสุปปารกะ มีระยะทาง ๑๒๐ โยชน์ แต่ท่านพาหิยะนี้ ได้ไปยังกรุงสาวัตถีนั้นโดยพักแรมราตรีเดียวตลอดระยะทางเท่านี้. ท่านถึงกรุงสาวัตถีในวันที่ออกจากท่าสุปปารกะนั่นเอง. ถามว่า ก็อย่างไร ท่านพาหิยะนี้จึงได้ไปอย่างนั้น ? ตอบว่า
เพราะอานุภาพของเทวดา. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เพราะพุทธานุภาพก็มี. เป็นอันท่านแสดงอธิบายไว้ดังนี้ว่า ก็เพราะท่านกล่าวว่า โดยพักแรมราตรีเดียวในที่ทุกสถาน และเพราะหนทางมีระยะ ๑๒๐ โยชน์ ในระหว่างทาง ท่านไม่ให้อรุณที่ ๒ ตั้งขึ้นในที่ที่ตนอยู่ตอนกลางคืนในคาม
นิคมและราชธานี จึงไปถึงกรุงสาวัตถีโดยพักแรมราตรีเดียวในที่ทุกแห่ง.
ข้อนี้ ไม่พึงเห็นอย่างนี้ว่า ท่านอยู่ในหนทางนั้นทั้งสิ้นเพียงราตรีเดียวเพราะประสงค์เอาความนี้ว่า โดยพักแรมแห่งละราตรี ในหนทางทั้งหมดมีระยะทาง ๑๒๐ โยชน์ ในวันสุดท้ายเวลาเย็น จึงถึงกรุงสาวัตถี.
ก็ในวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นในสมัยใกล้รุ่ง ทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติ ในพระคันธกุฎีที่พระเชตวันมหาวิหาร เมื่อทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุอีก ทรงเห็นอุปนิสัยของการบรรลุพระอนาคามิผล ของพระอาฬวกกุมาร การบรรลุโสดาของยักษ์ และในเวลาจบเทศนา สัตว์ ๘๔,๐๐๐
ได้ดวงตาเห็นธรรม เพราะฉะนั้น เมื่อราตรีสว่างแล้ว ทรงทำปุเรภัตกิจเสร็จแล้ว แต่ทรงทำปัจฉาภัตกิจยังไม่เสร็จเทียว เมื่อวันอุโบสถแห่งกาฬปักษ์เป็นไปอยู่ พระอาทิตย์ขึ้นแล้ว พระองค์เดียวไม่มีเพื่อน ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จไปสิ้นทาง ๓ โยชน์จากกรุงสาวัตถี โดยเสด็จไปด้วยพระบาทนั่นแลเสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของยักษ์นั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์. (ระยะแย้งกับอรรถกถาก่อน ระบุ ๓๐ โยชน์)

พระพุทธเจ้าทรงชำระศีลมีอาชีวะเป็นที่ ๘ อย่างนี้แล้ว ได้เสด็จถึงกรุงราชคฤห์ ประมาณ ๓๐ โยชน์จากฝั่งแม่น้ำอโนมา โดยเพียง ๗ วัน.

บทว่า มคธาน ท่านอธิบายว่าเป็นนครของชนบทแห่งแคว้นมคธ แม้บทว่า คิริพฺพชํ นี้ ก็เป็นชื่อของแคว้นมคธนั้น. ก็คิริพชนครนั้นตั้งอยู่ดุจคอกในท่ามกลางภูเขา ๕ ลูกที่มีชื่อว่า ปัณฑวะ ๑ คิชฌกูฏ ๑ เวภาระ ๑ อิสิคิลิ ๑ เวปุลละ ๑ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า คิริพชนคร.



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #6 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 17:58 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

อาจารย์บางคนกล่าวว่า วนสาวัตถี มีเรื่องเล่าว่า บริษัทของชฎิล ๑๖ คนเหล่านั้น ออกจากวนสาวัตถีถึงเมืองโกสัมพี จากเมืองโกสัมพีถึงเมืองสาเกตตามลำดับมีประมาณ ๖ โยชน์.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า พวกชฎิลของพราหมณ์พาวรีพามหาชนมามาก อินทรีย์ของชฎิลเหล่านั้นยังไม่ถึงความแก่กล้าก่อน ทั้งถิ่นนี้ก็ยังไม่เป็นที่สบาย ปาสาณกเจดีย์ในเขตมคธเป็นที่สบายของชฎิลเหล่านั้น ก็เมื่อเราแสดงธรรมในที่นั้น มหาชนก็จักบรรลุธรรมพวกชฎิลเข้าไปยังนครทั้งปวงแล้วพากันมา จักมาพร้อมด้วยชนมากขึ้นไปอีก จึงทรงแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จจากกรุงสาวัตถีบ่ายพระพักตร์ไปยังกรุงราชคฤห์. พวกชฎิลเหล่านั้นก็มากรุงสาวัตถี เข้าไปสู่วิหารตรวจตราดูว่า ใครเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าอยู่ไหน พากันเข้าไปถึงพระคันธกุฎีที่อาศัย เห็นรอยพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ปลงใจว่า เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าแน่แล้ว เพราะ...

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จเข้าสู่พระนครมีเสตัพยนครและกรุงกบิลพัสดุ์เป็นต้นตามลำดับ เพิ่มมหาชนขึ้นอีกเสด็จไปปาสาณกเจดีย์. แม้พวกชฎิลก็พากันออกจากกรุงสาวัตถีทันทีทันใด เข้าไปยังนครเหล่านั้นทั้งหมดแล้วได้ไปยังปาสาณกเจดีย์เหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวคำเป็นอาทิว่า เมืองโกสัมพี เมืองสาเกต เมืองเสตัพยะ เมืองกบิลพัสดุ์ ล้วนเป็นเมืองอุดม.

ในบทเหล่านั้นบทว่า มาคธํ ปุรํ เมืองมคธ อธิบายว่า เมืองราชคฤห์. บทว่า ปาสาณกํ เจติยํ คือ ปาสาณกเจดีย์ เมื่อก่อนได้มีเทวสถานอยู่ข้างบนแผ่นหินเป็นอันมาก. แต่เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติขึ้น มีวิหารเกิดขึ้น วิหารนั้นท่านเรียกว่า ปาสาณกเจดีย์ ตามคำเรียกเดิมนั่นเอง

อย่ากระนั้นเลย เราพึงแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้นก่อน ในวันอาสาฬหบุณมี เสด็จพุทธดำเนินจากมหาโพธิมุ่งกรุงพาราณสีระยะทาง ๑๘ โยชน์

พระกาฬุทายีเถระกราบทูลความประสงค์ของพระราชบิดาให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมด้วยพระขีณาสพสองหมื่นเสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ ถึงกรุงกบิลพัสดุประมาณ ๖๐ โยชน์ เวลาสองเดือน. มีพระพุทธประสงค์จะทรงทำการสงเคราะห์พระประยูรญาติจึงแวดล้อมด้วยพระขีณาสพหมดด้วยกันสองหมื่นรูป คือ ที่เป็นกุลบุตรชาวอังคะและมคธะหมื่นรูป ที่เป็นกุลบุตรชาวกรุงกบิลพัสดุ์หมื่นรูป นับจากกรุงราชคฤห์ ถึงกรุงกบิลพัศดุ์ ระยะทาง ๖๐ โยชน์ สองเดือนจึงถึง

เสด็จขึ้นทรงหลังพญาม้า ออกจากพระนครทรงแสดงเจติยสถานที่ให้ม้ากัณฐกะกลับ ทรงละราชสมบัติ ทรงผนวชใกล้ฝั่งแม่น้ำอโนมานที เสด็จจาริกไปตามลำดับเที่ยวแสวงหาอาหารในกรุงราชคฤห์ประทับนั่ง ณ ปัณฑวบรรพต ถูกพระเจ้าพิมพิสารตรัสถามถึงนามและโคตรตรัสขอให้ทรงรับราชสมบัติ แต่ทูลว่า อย่าเลยมหาบพิตร อาตมภาพไม่ต้องการราชสมบัติ อาตมภาพละราชสมบัติ มาประกอบความเพียร เพื่อต้องการเกื้อกูลแก่โลก ออกบวชด้วยหมายจักเป็นพระพุทธเจ้าตัดความหมุนเวียนในโลก ทรงรับปฏิญาณของพระเจ้าพิมพิสารที่ว่า ถ้าอย่างนั้น พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว โปรดเสด็จมาแคว้นหม่อมฉันก่อนดังนี้ แล้วเสด็จเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุททกดาบสรามบุตร เมื่อไม่พบสาระแห่งธรรมเทศนาของดาบสทั้ง ๒ นั้น จึงหลีกออกไปบำเพ็ญทุกกรกิริยาถึง ๖ ปีที่อุรุเวลา

เวลาที่พระตถาคตเจ้าทรงม้ากัณฐกะมีนายฉันนะเป็นพระสหายเสด็จออกทางพระทวาร (นคร) ที่เทวดาเปิดถวาย ผ่านเลย (ไม่สนพระทัย) ราชสมบัติทั้ง ๓ ทรงครองผ้ากาสาวะที่พรหมน้อมเกล้าถวายแล้ว (อธิษฐานพระทัย) ถือบวช ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานที เมื่อมีพระชนมายุได้ ๒๙ พระพรรษา (ต่อจากนั้น) ในวันที่ ๗ เสด็จไปยังเมืองราชคฤห์ เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์นั้นแล้ว (มาประทับ) เสวยพระกระยาหารที่เงื้อมเขาชื่อปัณฑวะ จนกระทั่งถึง (เวลา) ที่ทรงประทานปฏิญญาแด่พระราชา (พิมพิสาร) เพื่อว่าครั้นตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จะได้เสด็จมายังแคว้นมคธก่อนเพื่อน
บทว่า อนฺธกวินฺทา มีความว่า วัด ชื่ออันธกวินทะ ห่างจากกรุงราชคฤห์ประมาณคาวุต ๑ เท่านั้น พระเถระอาศัยวัดนั้นอยู่มาจากอันธกวินทวิหารนั้น สู่กรุงราชคฤห์ เพื่อทำอุโบสถ. อธิบายว่า จริงอยู่ มหาวิหาร ๑๘ ตำบล รอบกรุงราชคฤห์มีสีมา อันเดียวกันทั้งหมด สีมาแห่งมหาวิหารเหล่านั้น พระธรรมเสนาบดีผูก เพราะเหตุฉะนั้น พระมหากัสสปเถระจึงต้องมา เพื่อให้สามัคคีแก่สงฆ์ในเวฬุวัน.

ถามว่า ก็พระราชา ทรงตั้งเสนาบดีในตำแหน่งเสนาบดีเมื่อเสนาบดีนั้นให้พระราชาทรงยินดีด้วยหน้าที่ของตน มีความจงรักภักดีต่อพระราชาเป็นต้น ทรงเอาตำแหน่งนั้นไปพระราชทานแก่คนอื่น ชื่อว่า
ทรงกระทำไม่สมควรฉันใด พระศาสดาก็ฉันนั้น เสด็จไปสิ้นทาง ๓ คาวุต เพื่อไปต้อนรับพระมหากัสสปเถระ ประทับที่โคนต้นพหุปุตตะ ระหว่างกรุงราชคฤห์กับนาลันทา

จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี ลำพังพระองค์เอง ทรงถือบาตรและจีวร ไม่ตรัสเรียกใคร ๆ ในบรรดาพระมหาสาวก ๘๐ องค์ เสด็จไปต้อนรับสิ้นทาง ๓ คาวุต ประทับนั่งขัดสมาธิที่โคนต้นพหุปุตตกนิโครธ ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา.
ร่วมแสดงความเห็นของท่านได้ที่ วิชาการ.คอม ที่ลิงค์นี้
http://www.vcharkarn.com/snippets/board/show_message.php?dtn=dtn13&ID=


จากคุณ : เอกอิสโร วรุณศรี

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #7 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 17:58 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ความคิดเห็นที่ 1 : (ดาบฟ้าฟื้น)
อย่าไปจริงจังกับเรื่องตัวเลขในพระไตรปิฎกเลย...
อาจารย์เสถียร โพธินันทะก็บอกไว้แล้วมันเป็นการประมาณ เป็นสำนวน ซึ่งคนในสมัยพุทธกาลเขาเข้าใจกันดี เช่น ตัวเลข 500, 84,000, โกฏิ เป็นต้น

เช่นคำของไทยว่า "คนมากันมืดฟ้ามัวดิน" เป็นต้นฯ ความจริงคนก็ไม่ได้มากถึงกับทำให้ฟ้ามืดแต่ประการใด แต่มันเป็นสำนวนเท่านั้น เพื่อให้รู้ว่ามีคนมามาก ซึ่งพอพูดคำนี้ เราคนไทยก็เข้าใจกันดีครับ
เช่นเดียวกับคนในครั้งพุทธกาล เขาจะเข้าใจสำนวนในพระไตรปิฎกได้ดีเช่นกัน เพราะเขาพูดภาษามคธกันเป็นปกติ เขาจึงเข้าใจภาษามคธในพระไตรปิฎกได้ดี
แต่พอเราคนไทยมาแปลมคธเป็นไทย ก็จะแปลไปตามอักษร ซึ่งบางคำพอแปลออกมาแล้ว เราคนอ่านก็ฟังดูทะ***ๆ และรู้สึกแปลกๆ ชอบกล ซึ่งถ้าเราพิจารณาให้ดีเราจะเข้าใจ และเข้าใจดีว่าเกิดจากอะไร

ยกตัวอย่างเช่น ... สมมุติว่ามีคนไทยคนหนึ่งเขียนหนังสือไปว่า นายดาบฟ้าฟื้นเป็นคนหัวแหลม ... แล้วเกิดมีฝรั่งคนหนึ่งมาอ่านเจอเข้าถ้าเขาไม่เข้าใจภาษาไทยได้ดี เขาก็จะแปลไทยไปเป็นอังกฤษว่า นายดาบฟ้าฟื้นเป็นคนหัวแหลม ตามตัวอักษรไทย ... ก็จะกลายเป็นว่า ผมเป็นคนประหลาด เป็นคนพิการมีศีรษะแหลมไป ซึ่งถ้าฝรั่งคนอื่นได้อ่านก็คงจะงงๆ ว่าคนอะไรของมันหัวแหลม ฯลฯ ...เป็นต้น....

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #8 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 17:59 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ความคิดเห็นที่ 2 : (p.p.upasmo)
เอกอิสสโรอีกแล้ว......เหรอ
อืม......... พระอาจารย์ด.ร.มหาคมสรณ์ หัวหน้าฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ วัดไทยกุสินาราท่านบอกว่า
"เรื่องของระยะทางโยชน์หนึ่ง เท่ากับเท่าไหร่นั้น คงยากจะคาดเดา คนสมัยก่อนคาดเดาระยะทางไป จะเอามาตราระยะทางมาเทียบในสมัยนี้ไม่ได้ "
"กบิลพัสดุ์(มัณฑะเลย์-พม่า)" ไหนว่าพระธาตุศรีสองรัก เป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าไงครับ ในเว็บของด.ร.ชัยยงค์ ขำเปี่ยม เอ๊ย พรหมวงศ์น่ะ แล้วไหงเป็นพม่าไปได้ล่ะ

จากคุณ : p.p.upasmo



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #9 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 18:00 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ความคิดเห็นที่ 3 : (คนอ่านคนหนึ่ง)
อ่านแล้วก็ไม่ทราบว่า การเชื่อ หรือไม่เชื่อว่าพระพุทธศาสนาเกิดหรือไม่เกิดที่อินเดีย เนปาล นั้น จะมีประโยชน์อะไรนอกจากกลายเป็นคนยึดมั่นในตัวหนังสือ

ตราบใดที่เชื่อพระธรรมคำสั่งสอนและนำมาใช้ให้ได้ประโยชน์
ก็น่าจะโอเคแล้ว

ขนาดเรื่องเผ่าพันธุ์ชาติไทย เถียงกันแทบตายว่าบรรพบุรุษมาจากไหน เถียงไปก็ไม่มีประโยชน์ สู้เอาเวลามาทำประโยชน์ให้ประเทศไทยในปัจจุบันดีกว่า



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #10 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 18:03 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ความคิดเห็นที่ 8 : (ปฏิบัติธรรม)
สวัสดีครับคุณเอกอิสโร วรุณศรี ผมเห็นคุณศรัทธาในความคิดของคุณที่คุณได้ไตร่ตรองตามปัญญาของคุณมานานแล้วนะครับ ตั้งแต่หลายเดือนก่อนที่คุณก็บอกว่า คุณตื่นขึ้นมากลางดึกเพราะลูกสาวของคุณร้องไห้ คุณจึงตื่นมาอ่านหนังสือหรืออ่านจากอะไรผมก็จำไม่ได้ แล้วคุณก็เลยพิมพ์มาบอกเพื่อนกัลยามิตรในลานธรรมเกี่ยวกับความคิดที่คุณได้ไตร่ตรองมา ก็ปรากฏว่ามีคนว่าคุณบ้า แต่ความรู้สึกผมกลับดีใจเสียอีกที่มีคนใฝ่รู้ ไม่เชื่อก่อนจะพิสูจน์ ผมศรัทธาในความตั้งใจจริงของคุณนะครับ แต่ผมไม่ชอบเลยในการที่คุณเชื่อตัวเองมากเกินไป จนปฏิเสธหลักฐานต่างๆในประเทศเนปาลและอินเดีย
ผมอยากจะถามคุณไม่กี่ข้อนะครับ ว่าถ้าคุณเชื่อว่ารากฐานของพุทธศาสนาอยู่ในประเทศไทย แล้ว
1. สังเวชนียสถานต่างๆที่มีอยู่ในอินเดียและเนปาลคุณจะตอบว่าอย่างไร
2. ชื่อเมืองต่างๆในพระไตรปิฎกที่คุณพยายามจะสัมพันธ์กับชื่อเมืองในไทยและเมียนม่า คุณเอาอะไรมาอ้างอิงหรือเป็นบรรทัดฐาน
3. แล้วชื่อเมืองที่อยู่ในอินเดียปัจจุบันมาสัมพันธ์กับชื่อเมืองที่อยู่ในพระไตรปิฎกได้อย่างไร เขาคงไม่พยายามที่จะเปิดพระไตรปิฎกแล้วมาตั้งที่หลังหรอกนะครับ
ถ้าคุณว่างๆก็ลองมาตอบคำถามให้ผมฟังอีกนะครับ เผื่อว่าผมจะได้เชื่อตามคุณบ้างยังไงละครับ
ธรรมสวัสดีนะครับ



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #11 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 18:03 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ความคิดเห็นที่ 9 : (กอบ)
คงต้องขอหลักฐานก่อนครับ
ว่าในสมัยพุทธกาล ราชคฤกษ์ เป็นชื่อเดิมของขอนแก่น และกุสินารา ก็เป็นชื่อเดิมของกาญจนบุรีครับ
และสถานที่ถวายพระเพลิง พระพุทธเจ้า นั้นอยู่ที่ไหน ในเมืองกุสินารา (กาญจนบุรี ตามความเห็นแรก)
และทำไมจึงมีสถูป ที่ถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าอยู่ที่อินเดีย ครับ
สิ่งเหล่านี้ อย่างน้อยควรมีหลักฐานยืนยัน ครับ



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #12 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 18:04 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ความคิดเห็นที่ 10 : (เอกอิสโร วรุณศรี)
เรียนทุกท่านครับ..ผมรับที่จะนำเรื่องนี้ไปสู่การศึกษาทางวิชาการ ซึ่งอีก 2-3 วันนี้ ผมจะได้นำเสนอในการสัมมนาทางวิชาการที่ ทางกรมศิลปากรจัดขึ้น เพื่อนำเสนอข้อมูลใหม่ๆ ทางโบราณคดีในประเทศไทย ซึ่งผมเชื่อว่าถ้าเราเชื่อว่า คนที่บ้านเชียงก็ดี ที่ทุ่งกุลา หรือในอีกหลายๆ ที่ที่ทิ้งโครงกระดูกไว้ใต้แผ่นดิน เมื่อ 2,500 -3,000 ปี เป็นชนที่มีอารยธรรมไม่ใช่คนป่า คนเถื่อน เราอาจะเชื่อได้ว่าคนเหล่านั้น เคยมีชีวิตอยู่ในสมัยพุทธกาลก็เป็นได้ ซึ่งถ้านักวิชาการ "ยอมขยายกรอบเวลาความเก่าของยุคประวัติศาสตร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ" นี้ไปมากว่า พ.ศ. 1100 บางทีเราอาจเปลี่ยนมโนทัศน์เกี่ยวกับความเป็นมาและอารยธรรมของดินแดนแถบนี้...อย่างไรก็ดี ในฐานะที่เป็นผู้ที่พยายามปฏิบัติตามรอยของพระพุทธองค์ และได้ชื่อว่าประสบกับสามัญญผล แม้จะไม่ถึงขั้นบรรลุญาณ 8 ก็ตาม ก็ขอเรียนว่า งานศึกษานี้ เป็นแต่เพียงความต้องการที่จะเปิดเผยความจริงของพระพุทธศาสนา ที่เบี่ยงเบนไปภายหลังจาก การค้นพบ ซากโบราณสถานในอินเดียและการตีความตามบันทึกของพระสมณฑูตที่ไปสืบพระพุทธศาสนาเมื่อศักราชพ้นไปแล้ว เกือบศตวรรษ (พันปี) โดยนักโบราณคดีอังกฤษ เมื่อ 100 กว่าปีมานี้เอง...ในขณะที่เอกสารโบราณที่บันทึกสืบๆ กันมา ทั้งของพม่า ลาว กัมพูชาและไทย กลับมีความเชื่อว่า "ชมพูทวีป" คือ แผ่นดินที่กลายเป็น "สุวรรณภูมิ" ในกาลปัจจุบัน
..ทั้งหมดทั้งปวง ก็เพื่อที่จะให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้เกิด "ความเห็นถูก" และจะนำไปสู่ "การปฏิบัติต่อสถานที่สำคัญถูกและไม่ปรามาสโดยไม่รู้ตัว" เท่านั้นครับ

เอาเป็นว่าในระหว่างที่ไม่มีข้อสรุปนี้ ลองอ่านข้อมูลความเชื่อบางส่วนในประเทศพม่าดูตามที่ผมคัดลอกมานี้ครับ..

หลังจากโพสต์เรื่องนี้ เมื่อวานเย็นมีโอกาสแวะไปที่ร้านหนังสือ ตัดใจซื้อมาเล่มหนึ่งชื่อ
"หน้าต่างสู่โลกกว้าง...พม่า สหภาพเมียนมาร์"

ถ้าท่านใดมีอยู่ติดมือลองอ่านตามดูนะครับ..ถ้าไม่มี ต้องขออนุญาต สนพ. คัดลอกความบางตอนมาลงไว้ให้ท่านได้อ่านพอเป็นกระสาย ดังนี้

...ชาวพม่าเปรียบแผ่นดินของตนเป็นแดนพรหมโลก ชื่อ พม่า (Burma) หรือ เมียนมาร์ (Myanmar) ในปัจจุบันก็แผลงมาจากคำว่า "พรหม" (Brahma) ซึ่งหมายถึงเทพในพรหมโลกนั่นเอง (จากหน้า 37)

...ตามความในพงศาวดารฉบับหอแก้วลำดับวงศ์กษัตริย์พม่า (The Glass Palace Chornicle of the Kings of Burma) ซึ่งเขียนขึ้นในศตวรรษที่ 19 บอกเล่าตำนานความเป็นมาของประเทศระบุว่า พวกศากยะ (Sakya) ซึ่งอพยพมาจากอินเดียได้สถาปนาราชอาณาจักรแห่งแรกบนแผ่นดินพม่าขึ้นในสมัยก่อนคริสตกาล (จากหน้า 37)

...ตามตำนานกล่าวว่า ชาวมอญเป็นผู้วางศิลาฤกาเจดีย์ชเวดากองเมื่อ 2,500 ปีมาแล้ว ตลอดระยะเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมามีการบูรณะต่อเติมพระมหาเจดีย์ชเวดากองนี้หลายครั้งด้วยกัน แม้ว่าจะเป็นเรื่องในการพิสูจน์ข้อเท็จจริง แต่ก็เชื่อกันว่าชาวมอญเป็นผู้วางรากฐานขนบธรรมเนียมชาวพุทธไว้ในพม่า เพราะในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลนั้น ชาวมอญได้ติดต่อสัมพันธ์กับพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย(แท้ที่จริงพระเจ้าอโศกไทย โดยมีเมืองหลวงคือปาตลีบุตรอยู่ จ.พิษณุโลก-เอกอิสโร) โดยผ่านเมืองท่าตะโตง (Thaton : ไทยเรียกว่าเมืองสะเทิม) (จากหน้า 37)

...ครานั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเข้าฌาณสมาบัติ ณ ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา 49 วัน เมื่อครบกำหนด มีนายสาณิชพี่น้องชาวพม่าที่เดินทางมาค้าขายจากอุกกลชนบทชื่อ ตปุสสะ (Tapussa) และภัลลิกะ (Bhallika) เกิดความเลื่อมใสถวายข้าวสัตตูให้เสวย องค์พระมหากรุณาเจ้าจึงเสยพระเศียรได้พระเกศาแปดเส้นพระราชทานให้กับวาณิชทั้งสองไป...ไม่ว่าตำนานจะจริง-เท็จเช่นไรก็ตาม พระเจดีย์สีทองสุกปลั่งที่สูง 20 เมตรองค์นี้ก็ได้ถูกสร้างขึ้นบนยอดเนินเขาเชียงกุตตระ (ตำนานเรียกดอยสิงกุตตระ-เอกอิสโร) และยังคงตั้งอยู่ ณ ที่นี้สืบต่อมาจนทุกวันนี้ (ตำนานแห่งเจดีย์ชเวดากอง จากหน้า 127)

...มีเรื่องเล่าว่าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จมายังเนินเขามัณฑะเลย์อันศักดิ์สิทธิ์พร้อมกับพระอานนท์ และได้ตรัสเป้นพุทธพยากรณ์ว่าในวันครบรอบการปรินิพพานปีที่ 2400 ของพระองค์จะมีการสร้างนครหลวงเพื่อเป็นที่สอนพระพุทธศาสนาไว้ ณ เชิงเขานั้น (มัณฑะเลย์ จากหน้า 163)

...ฯลฯ...

และหนังสือเก่าอีกเล่มหนึ่ง ปัจจุบันมีพิมพ์ขึ้นใหม่ คือ "ราชาธิราช" ว่าด้วยตำนานมอญ ได้กล่าวถึงพงศาวดารเมืองเมาะตะมะของ "มะกะโท" ว่า
...พรเจ้าอโศกได้เสด็จมาที่เมาะตะมะกับพระควัมปติ ได้ตรัสถามว่า ที่นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้มีพุทธพยากรณ์ไว้อย่างไรหรือไม่?
พระควัมปติทูลว่า พระพุทธองค์เมื่อเสด็จมาโปรดยักษ์ 8 ตนที่นี่ ได้พยากรณ์ว่าในภายภาคหน้า จะมีพระมหากษัตริย์มาสร้างเมืองขึ้นที่นี่..
รายละเอียดลองหาอ่านนะครับ เพราะหนังสือไม่อยู่ใกล้มือ แต่ได้แสดงให้เห็นความเชื่อโยงของเหตุการณ์ สองยุคคือ ยุคพุทธกาล และสมัยพระเจ้าอโศกในอีก 200 กว่าปีต่อมา ซึ่งถ้าผมจะบอกว่านั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคราวที่ พระเจ้าอโศกจะเสด็จไปนมัสการสังเวชนียสถาน คือสถานที่ประสูติที่ลุมพินีวัน และเมาะตะมะก็เป็นจุดทางผ่าน เพราะ...
ปาตลีบุตรของพระเจ้าอโศกอยู่ที่ จ.พิษณุโลก ของประเทศไทย ดังนั้น การเดินทางไป ลุมพินีก็คือเส้นทางที่เริ่มต้นจาก
พิษณุโลก-สุโขทัย-ตาก-ด่านแม่สอด-ท่าตะโทง(สะเทิม)-Pegu(หงสาวดี)-ตองอู-meiktila-มัณฑะเลย์
ยังไม่ได้ให้ท่านเชื่อจนกว่า จะมีการศึกษาในขั้นลึกและละเอียดกว่านี้ครับ

เอาว่าเท่านี้ก่อนนะครับ..อดใจรอดูแผนที่ และการเปรียบเทียบที่ตั้ง แว่นแคว้นต่างๆ ระหว่าง ชมพูทวีปที่อินเดีย กับ ชมพูทวีปอันเป็นที่ตั้งของกรุงสัมมาทิฏฐิอันประกอบด้วยไทย-พม่า-ลาวและกัมพูชา (สังคีติยวงศ์ : พ.ศ. 2332)
จากคุณ : เอกอิสโร วรุณศรี



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #13 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 18:07 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ความคิดเห็นที่ 13 : (เอกอิสโร วรุณศรี)
ใจเย็นๆ ครับ แล้วค่อยๆ แกะภาพอดีตที่ผ่านมาเป็นร้อย เป็นพันปี โดยเฉพาะเมื่อความเก่าแกของประเทศถูกกรอบครอบเอาไว้ เริ่มตั้งแต่ เดิมลุ่มน้ำเจ้าพระยาไม่มีคนไทยอยู่ เพิ่งอพยพมาจากเทือกอัลไต ต่อมาก็มาเริ่มขยายย้อนไป 7-800 ปี คือสมัยสุโขทัย แล้วก็ขยายเพดานความเก่า จนเข้ายุคทวารวดี ราว พ.ศ. 1100 ซึ่งเป็นเพดานเก่าสุด จึงทำให้เราอาจเกิดความสับสน แม้ในหลักฐานที่ค้นพบหรือตั้งอยู่โด่เด่ เพราะเราไม่เชื่อในตำนานมูลศาสนา ที่ว่า "พระเจ้าอโศกราช" เป็นใหญ่ในชมพูทวีป และได้สร้างเจดีย์ 84,000 องค์ เราจึงไม่คิดว่า เจดีย์ต่างๆ ทั้งที่ได้รับการบูรณะหรือปล่อยให้ทิ้งร้างเป็นซากปรักหักพัง ที่กระจายอยู่ทั่วทั้งประเทศพม่า ไทย ลาว และกัมพูชา จะเป็น "เจดีย์ที่พระเจ้าอโศกสร้าง" เพราะเราเชื่อตาม "เสาศิลา" ที่อินเดีย โดยไม่ยอมเชื่อตำนานและพงศาวดารเก่าที่สืบๆ กันมาในประเทศไทย ลาว พม่าและกัมพูชา
แม้แต่ศักราชในเสาหิน ที่ระบุปีที่สร้าง เป็น พ.ศ.280 หลังจาก ที่พระเจ้าอโศกราชทิวงคตในปี พ.ศ. 255 ตามระบุในคัมภีร์มหาวงศ์ เราก็หาว่า คัมภีร์โบราณเลื่อนลอย เชื่อไม่ได้ แม้แต่ในสังคีติยวงศ์ ที่สมเด็จพระวนรัตน์ วัดเชตุพรฯ แต่งเป็นภาษามคธ ในต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2332 แปลเป็นไทยโดยกรมศิลปากร ระบุว่า "ชมพูทวีปเป็นที่ตั้งของกรุงสัมมาทิฎฐิอันประกอบไปด้วย ไทย ลาว พม่าและกัมพูชา" พวกเราก็ไม่เชื่อ

"ถึงเวลาหรือยังที่เราจะตั้งสติ และค่อยๆ ศึกษา ค้นหาสิ่งที่บันทึกอยู่ในพงศาวดาร ตำนานโบราณ เพราะนั่น คือประวัติศาสตร์ความเป็นมาและเป็นไปที่เกิดขึ้นในผืนแผ่นดินนี้ วันหนึ่งเราก็อาจจะรู้ว่า เรื่องราวที่มีปรากฏในพระไตรปิฎก ก็คือประวัติศาสตร์และความเป็นไปของชนชาติไทยก็เป็นได้"

นิดนึงครับ พอดีได้อ่าน หนังสือเก่าๆ อีกเล่มหนึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ เห็นมีความบางตอน อ่านแล้วสะกิดใจ จึงนำมาฝาก

ข้อคิดสะกิดใจ

…เมื่อผ่านไปแลเห็นกำแพงเมืองเก่าก็พอแต่ทราบว่ามีเมืองเก่าเท่านั้น ไม่ได้นึกอยากดูหรืออยากทราบอะไรอีกต่อไป บางคนถึงกับเปล่งอุทานวาจาว่าเมืองเก่านั้นจะไปดูอะไรป่านนี้ จนปรักหักพังเสียหมดแล้ว เพราะคนเรามีความคิดเช่นนี้ เรื่องราวของชาติเราจึงได้สูญเร็วนัก ชาวเราไม่รู้สึกละอายแก่ชาติอื่นๆ เขาบ้างเลย น่าจะประสงค์ที่จะอวดว่าเราเป็นชาติที่แก่ กลับอยากจะลืมความแก่ของชาติเสีย อยากแต่จะตั้งขึ้นใหม่ เริ่มด้วยสมัยเมื่อรู้สึกว่าเดินไปสู่ทางเจริญอย่างแบบยุโรปแล้วเท่านั้น ข้อที่ประสงค์เช่นนี้ก็เพราะประสงค์เช่นนี้ก็เพราะประสงค์จะให้ชาวยุโรปนิยมว่า ชาติไทยไม่เคยเป็นชาติ “ป่า” เลย พอเกิดขึ้นก็จำเริญเทียมหน้าเพื่อนทีเดียว ข้อนี้เป็นข้อที่เข้าใจผิดโดยแท้ ชาวยุโรปไม่นับถือทั้งของใหม่ทั้งชาติใหม่ นิยมในของโบราณและชาติที่โบราณมากกว่าทั้งนั้น ในหมู่เมืองใน ประเทศยุโรปเองแข่งกัน อยู่เสมอว่าชาติไหนจะค้นเรื่องราวของชาติได้นานขึ้นไปกว่ากัน เพราะฉะนั้นที่นิยมเห็นว่าการตัดอายุแห่งชาติของตนเป็นของควรกระทำนั้นเป็นความนิยมผิด เท่ากับการหมิ่นประมาทผู้ใหญ่ว่างุ่มง่ามใช้ไม่ได้ ซึ่งเป็นความคิดของคนไทยสมัยใหม่บางจำพวกนั้นแล…

(คัดจาก เที่ยวเมืองพระร่วง พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กันยายน ร.ศ.๑๒๗)
จากคุณ : เอกอิสโร วรุณศรี [ 23 ก.ค. 2546 / 13:25:15 น. ]
[ IP Address : 210.203.179.101 ]


ความคิดเห็นที่ 14 : (เอกอิสโร วรุณศรี)
เรียนคุณกอบ ที่ถามว่า ราชคฤห์ กับขอนแก่น สัมพันธ์กันอย่างไร ก็ขอตอบว่า
ใน จ.ขอนแก่น จะมีอำเภอหนึ่ง ซึ่ง เต็มไปด้วยป่าไผ่ สมัยที่ในหลวงรัชกาลที่ ๕ จะเสด็จ ไปอุดร ได้แวะพัก จึงมีพระบรมราชโองการโปรดให้ตั้งชื่อว่า "บ้านไผ่" ซึ่งชื่อนี้ เผอิญไปตรงกับ "ป่าไผ่ที่พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายเป็นอาวาสหรือวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา คือ เวฬุวนาราม" ดังนั้น "บ้านไผ่" ก็คือ ที่ตั้งของ "เวฬุวนาราม" ซึ่งปัจจุบันผ่านมา 2500 กว่าปี คงจะจมอยู่ใต้ดินสัก 5-10 เมตร สำหรับท่านที่คิดว่าเจริญวิปัสสนา จนได้ฌาณได้ญาณ จะไปตรวจสอบก็ขอเชิญ ปัจจุบัน บริเวณนั้นเป็นที่ตั้งของ "เมืองเก่าผือบัง" ครับ แต่ได้ล่มสลายไปตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 1650 คงเป็นเพราะไปสร้างที่ทับวัดโดยไม่รู้
การจะค้นหาหลักฐาน คงต้องรอจนกว่าสถาบัน หน่วยงานทางราชการ จะเริ่มเชื่อถือในงานศึกษาที่ผมทำอยู่ครับ
ส่วนที่ จ.กาญจนบุรี คือ ต.พระแท่นดงรัง จ.กาญจนบุรี ซึ่ง ปัจจุบันมี "พระแท่นปรินิพพาน" ซึ่งพระมหากษัตริย์แต่โบราณของไทยเสด็จไปนมัสการเป็นประจำ เป็นโบราณราชประเพณี ไม่ห่างจากพระแน ทางทิศตะวันตก ก็เป็นเขาถวายพระเพลิง ซึ่งปัจจุบัน เป็นมณฑป ครอบรอยพระพุทธบาทจำลอง ว่างๆ ลองแวะไปหาข้อมูลที่ละเอียดดูนะครับ
จากคุณ : เอกอิสโร วรุณศรี



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #14 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 18:08 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ความคิดเห็นที่ 16 : (เอกอิสโร วรุณศรี)
เรียน คุณปฏิบัติธรรม
ขอบคุณครับ ผมเองก็ไม่ได้เชื่อในความเห็นของตนเองเสียทีเดียว ได้รับฟังข้อเสนอแนะและออกสำรวจสภาพพื้นที่ และคลายความปักใจที่ว่า "พระพุทธองค์จะต้องประสูติที่เมืองไทย" ซึ่งแต่เดิมผมกำหนดไว้ที่ "จ.อุทัยธานี" ภายหลังเมื่อผมคลายความเชื่อเดิม ซึ่ง "มันไม่สอดคล้องกับอรรถกถาซึ่งมีการระบุระยะทางค่อนข้างชัด" และที่ผ่านมา ผมก็พยายามตีความว่า "โยชน์" ในพระไตรปิฎก คงจะไม่ตรงกับที่เราใช้กัน คือ " 1 โยชน์ = 16 กิโลเมตร" จึงทำให้ผมกำหนดจุดต่างผิดไป แต่เมื่อได้เปิดใจให้กว้างขึ้น จึงทำให้สามารถกำหนดจุดได้ตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นแผนที่ที่ปรับแก้เป็นครั้งที่ 4 เมื่อได้ข้อมูลใหม่ๆ และเมื่อสอบเช็คกับตำนานความเชื่อ ก็สอดคล้องโดยบังเอิญ โดยเฉพาะในพม่า แม้จะยังไม่มีโอกาสได้ไปในภพชาติปัจจุบัน
จึงขอตอบคำถามของท่าน ดังนี้

1. สังเวชนียสถานต่างๆที่มีอยู่ในอินเดียและเนปาลคุณจะตอบว่าอย่างไร
ตอบ... ต้องย้อนกลับไปแรกเริ่มเมื่อราว พ.ศ. 2389 ที่นักโบราณคดีชาวอังกฤษ ได้ขุดค้นทางโบราณคดี ในช่วงที่เข้ายึดครองอินเดีย โดยที่ไม่รู้ว่า เมืองไหนเป็นเมืองใดในสมัยพุทธกาล เพราะศาสนาพุทธในอินเดียได้ล่มสลายไป 800 กว่าปีมาแล้ว จนกระทั่ง นายอะไร..สักคนหนึ่ง ไปขุดพบเสาศิลา ที่อ้างว่าเป็นเสาศิลาพระเจ้าอโศก ซึ่งอ่านอยู่ 7 ปี จึงอ่านออกมาว่า ที่ตรงนี้ เป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้า นักโบราณคดีจึงเรียกที่นั่นว่า "ลุมมินเด" ออกเสียงใกล้กับลุมพินี จากนั้นเซอร์ คันนิ่งแฮม ก็ได้นำเอาบันทึกของพระจีนที่มาสืบพระศาสนา ที่เข้ามาระหว่าง พ.ศ. 900-1200 กว่าๆ แล้วพยายามแกะรอย จนได้ไปขุดพบพระพุทธรูปปางปรินิพพาน จึงประกาศว่าที่นั่นคือ "กุสินารา" แล้วตั้งชื่อตำบลนั้นว่า "กุเซีย"
จากนั้น ก็พยายามที่จะวางโครงแคว้นต่างๆ ลงบนพื้นที่ประเทศอินเดีย แล้วประกาศว่า "พุทธอุบัติภูมิอยู่ที่อินเดีย" เมื่อราว พ.ศ. 2400 กว่าๆ จากนั้น จึงมีพุทธศาสนิกชนจากทั่วโลก เดินทางไปแสวงบุญ และช่วยกันสร้างเสริมเติมแต่ง สังเวชนียสถาน รายละเอียดลองหาดูประวัติการสร้าง เช่น "เจดีย์พุทธคยา" เป็นต้น
การที่ นักโบราณคดี "เอาแต่แกะรอย" จากบันทึกหลวงจีน แล้วกำหนด ที่ตั้งของแคว้นต่างๆ จึงนับเป็นความผิดพลาด ที่กำลังจะ"ฟ้อง" ในวันนี้ว่า สถานที่เหล่านั้นไม่ใช่สถานที่จริง เพราะ "ระยะทาง" ระหว่างแว่นแคว้นต่างๆ เมื่อ สอบเช็คจากคัมภีร์อรรถกถา ซึ่งเป็นการอธิบายพระไตรปิฎกอีกชั้นหนึ่งแล้ว พบว่า ไม่ตรงอย่างชนิด "กลับตาลปัต" เช่น
ระยะจาก "ราชคฤห์ ไป กบิลพัสดุ์" ที่ อรรถกถาว่าไว้ 60 โยชน์ หรือ 960 กิโลเมตร แต่ที่อินเดียนั้น " Rajgir ไป Lumbini(อยูระหว่างกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ) เป็นระยะทางเพียง 700 กิโลเมตร หายไป 360 กิโลเมตร ในขณะที่เส้นทางจาก
"ขอนแก่น-ชัยภูมิ-หล่มสัก-พิษณุโลก-สุโขทัย-ตาก-แม่สอด-Thaton(สะเทิม)-Pegu(พะโค)-Toungo(ตองอู)-Meiktila(เม็กติลา)-Mandalay(มัณฑะเลย์) นั้นมีระยะรวมประมาณ 960 กิโลเมตร" หรือ
ระยะทางจาก "ราชคฤห์ไปกุสินารา" ตามคัมภีร์อรรถกถาว่าไว้ 25 โยชน์ หรือ 400 กิโลเมตร แต่ที่อินเดีย "Rajgir ไป Kushinagara เป็นระยะทางประมาณ 500 กิโลเมตร ในขณะที่เส้นทางจาก
"ขอนแก่น-นครราชสีมา-สระบุรี-ปทุมธานี-บางเลน-กำแพงแสน-ต.พระแท่น จ.กาญจนบุรี นั้นมีระยะทางรวม 400 กิโลเมตร"

ดังนั้น สังเวชนียสถานที่อินเดีย จึงเป็นการ "อุปโลกน์ขึ้น" ส่วนจะเป็นสมัยใด คงต้องศึกษา ซึ่งในขณะนี้ ผมสันณิษฐานว่า จะเป็นหลังจากที่ เกิด "นิกายมหายาน" ขึ้นแล้ว จึงพยายามที่จะสร้าง "พุทธมณฑล" ขึ้น ในภูมิภาคดังกล่าว นั้นเอง

2. ชื่อเมืองต่างๆในพระไตรปิฎกที่คุณพยายามจะสัมพันธ์กับชื่อเมืองในไทยและเมียนม่า คุณเอาอะไรมาอ้างอิงหรือเป็นบรรทัดฐาน
ตอบ...ชื่อในเมืองไทยหลายเมืองเรียกอย่งนั้น เช่น ตาก-ตักกศิลา หรือโกสัมพี ที่ จ.กำแพงเพชร หรือ ต.โกสินราย ที่ รอยต่อราชบุรี-กาญจนบุรี ส่วนที่เมียนมาร์ พบแต่เพียงตำนานที่กล่าวถึงสถานที่ เช่น "เจดีย์ชเวดากอง หรือ ฉ่วยดากน" เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุและเครื่องอัฐบริขารของพระพุทธเจ้า นั้น ก็เผอิญตรงกับระยะทาง 45 โยชน์จากราชคฤห์ถึง สาวัตถี ที่ตั้งของ "วัดเชตวันฯ" ในแคว้นโกศล ซึ่ง "โกศล" นี้ ผมเคยวิเคราะห์ ว่าในบ้านเรามี "ต้นโกสน" บางที่เรียกต้นใบเงินใบทอง ซึ่งก็มาบังเอิญคล้องกับ คำว่า "ฉ่วย" ของพม่า ที่แปลว่า "ทอง"

3. แล้วชื่อเมืองที่อยู่ในอินเดียปัจจุบันมาสัมพันธ์กับชื่อเมืองที่อยู่ในพระไตรปิฎกได้อย่างไร เขาคงไม่พยายามที่จะเปิดพระไตรปิฎกแล้วมาตั้งที่หลังหรอกนะครับ
ตอบ ได้อธิบายมาบ้างแล้วในข้อ 1 เรื่องการกำหนดชื่อเมือง การเรียกชื่อเมือง อาจมีการ copy กันระหว่าง ไทย-อินเดีย อยู่ที่ว่าใครคือต้นฉบับ อย่างเมือง "อโยธยา" เป็นต้น ดังนั้น ที่ท่านไม่เชื่อก็อาจจะเป็นจริงก็ได้ พอๆ กับชื่อสุวรรณภูมิ ที่มีอยู่ทั่วไป จนไม่รู้ว่า ที่ไหนเก่าที่สุดแน่

เอาเป็นว่า เท่านี้ก่อนนะครับ จะยาวเกินไป ท้ายที่สุดขอเรียนว่า อย่าเชื่อตามผม แต่ขอให้เชื่อโดยใช้ปัญญาของท่านพิจารราตัดสิน ตามหลักกาลามสูตร จึงจะได้ชื่อว่าเดินตามรอยพระพุทธองค์...ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ท่านผู้ปฏิบัติธรรม
ผู้ใดเห็นธรรม..ผู้นั้นได้ชื่อว่าเห็นเรา ตถาคต
จากคุณ : เอกอิสโร วรุณศรี



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #15 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 18:18 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ความคิดเห็นที่ 20 : (กอบ)
จะรอดูต่อไป ครับ
ยังไง มันก็ยังไม่น่าเชื่อถืออยู่ดีครับ
เพราะบ้านไผ่ ที่ว่าก็เป็นชื่อที่ตั้งมาทีหลังตั้ง 2000 กว่าปี
แล้วเหตุที่ตั้ง ผมคาดเดาเอาว่าคงมีต้นไผ่เยอะมาก
หากเป็นเช่นนั้น หากที่ไหนมีต้นไผ่เยอะ ก็คงจะเป็นราชคฤห์ ได้ทั้งนั้นครับ
อย่าลืมครับในไทย นั้น มีตำบลที่มีชื่อซ้ำ ๆ กันอยู่หลายที่เหมือนกัน ทำไมไม่คิดว่าอยู่ที่เดียวกันหล่ะครับ


ที่น่าคิดอีกอย่าง คือ หากขอนแก่น เดิมเรียก ราชคฤห์ จริง ปัจจุบันทำไมเรียกขอนแก่นครับ

คงต้องให้คุณเอกอิสโร วรุณศรี ช่วยหาหลักฐานเพิ่มให้หน่อยครับ

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #16 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 18:18 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ความคิดเห็นที่ 24 : (1325)
คุณเอกอิสโรจะอธิบาย พุทธศาสนาทางใต้อย่างไรค่ะ ถามอย่างนี้
ไม่ได้หมายถึงว่า จะให้ดึงเข้าไปเกี่ยวข้องให้เชิดชูอะไรทำนองนั้นนะคะ
แต่อยากให้ทฤษฏีของคุณอธิบายการมีอยู่ของพุทธศาสนาในแถบนั้นได้ด้วย
ฝากไว้พิจารณาในทฤษฏีใหม่ของคุณด้วยค่ะ หากมีความเชื่อเช่นที่ว่ามา
ในความเห็นส่วนตัวดิฉันมองว่ามหายานนั้นน่าจะเข้ามาในดินแดนนี้ก่อนหินยานเสียอีก ศาสนวัตถุเก่าแก่มักเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร คนเฒ่าคนแก่จะรู้จักทิเบต ดิฉันจึงเห็นไปอีกแบบหนึ่งว่ามหายานมีมาก่อน หินยานอาจมาจากเรื่องการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากการเมืองของกรุงศรีอยุธยาลงไป ถึงตรงนี้ก็ค่อนข้างเชื่อไปว่าเราติดต่อกับจีนก่อนอินเดีย ดังนั้นเถรวาทจึงเข้ามาทีหลังแต่ด้วยอำนาจรัฐและอาจสอดคล้องกับลักษณะสังคมของเราจึงดำรงอยู่ได้ดีกว่า หากมองว่าต้นกำเนิดของพุทธศาสนาอยู่ในเมืองไทย อาจต้องมองเลยไปถึงอินโดนีเซียที่นั่นมีวัดพุทธมีศาสนาสถาน เราจะอธิบายว่าอย่างไร ใครติดต่อค้าขายกับอินโดนีเซียมองไปแล้วก็ไม่แน่ใจนักว่า กลุ่มชนทางใต้นั้นส่งสำเภาค้าขายกับใครบ้างหากมองในแง่พราหมณ์นั้นแถวนครศรีธรรมราช ก็มีศาสนสถานของพราหมณ์และมีคนดั้งเดิมที่เป็นพราหมณ์ไม่กินเนื้อวัวก็มีอยู่ ก็ว่าไปตามประสาล่ะค่ะ
...ความคิดนึก ... ไม่มีข้อมูลอะไรสนับสนุน หวังว่านักประวัติศาสตร์ไทย
คงจะไม่ได้เห็นความคิดนี้ของดิฉัน นักสันนิษฐาน (ไม่แน่ใจว่าเขียนถูกอีกหรือเปล่านะคะ หากมีนักอักษรศาสตร์เข้ามาเห็นก็ช่วยแนะนะด้วยละกันค่ะ )
คิดเสร็จแล้ว ก็มีความรู้สึกว่าน่าศึกษาจริงๆ แต่ตอนนี้ยังขอเชื่อแบบคนโบราณไว้ก่อน ยังคิดว่าจะเก็บเงินสักก้อนไว้เดินทางย้อนรอยเส้นทางพระพุทธศาสนา จะว่าไปมันก็ไม่ค่อยเกี่ยวอะไรกับเรื่องดับทุกข์เล้ย เป็นคล้ายเรื่อง
เที่ยวไปในโลกกว้างเสียมากกว่า เห็นไม่ตรงกันก็คงไม่เป็นไรใช่ไหมคะ
ท่านเจ้าของกระทู้ จบแค่นี้ค่ะ.

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #17 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 18:19 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ความคิดเห็นที่ 25 : (เอกอิสโร วรุณศรี)
เรียน คุณ 1325 ครับ
ถ้าถามว่า "คุณเอกอิสโรจะอธิบาย พุทธศาสนาทางใต้อย่างไรค่ะ "
ก็ตอบว่า ผมได้เคยอ่านประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ที่นักวิชาการในท้องถิ่น พยายามจะรวบรวมจากตำนาน พงศาวดาร ต่างๆ จะเห็นความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ก่อนที่ ศาสนาพรหามณ์ลัทธิไศวนิกาย จะเข้ามามีอิทธิพลในราว พุทธศตวรรษที่ ๑๑ ซึ่งเป็นที่มาของการสร้างเมือง "๑๒ นักษัตร" โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ นครศรีธรรมราช
จากการค้นคว้าทางโบราณคดี มีร่องรอยของศาสนสถานที่สืบเนื่องกับพุทธศาสนาที่เก่ากว่าพุทธศตวรรษที่ ๑๑ อาทิ ที่ จ.ปัตตานี ที่เรียกว่า "อาณาจักรลังกาสุกะ"

จากการศึกษาเอกสารโบราณของไทย หรือบางฉบับในปัจจุบันอาจจะคิดว่าแต่งขึ้นในศรีลังกา ซึ่งประเทศศรีลังกานำไปอ้างเป็นประวัติของประเทศเขาคือ "คัมภีร์มหาวงศ์" ที่แต่งโดย พระมหานาม ราวปี พ.ศ. 1000 ต่อมาคือคัมภีร์ "มูลศาสนา" และ ตำนานชิลกาลมาลีปกรร์" ที่แต่ประมาณ พ.ศ. 2000 "หรือคัมภีร์สังคีติยวงศ์ ที่แต่งโดยสมเด็จพระพนรัตน์ วัดเชตุพน เมื่อ พ.ศ. 2332 โดยเฉพาะ "คัมภีร์สังคีติยวงศ์ ที่มีข้อความระบุชัดเชนว่า "ชมพูทวีปเป็นที่ตั้งของประเทศไทย พม่า ลาว และกัมพูชา" และระบุว่า "พระโรจนราชครองสุโขไทยธานีตั้งอยู่ในชมพูทวีป ได้ไปขอพระพุทธสิหิงค์จากลังกาทวีป" และเมื่อเร็วๆ นี้
ผู้ชี่ยวชาญของกรมศิลปากร ท่านพิเศษ เจือจันทร์พงษ์ ได้ออกหนังสือเล่มหนึ่ง ฟันธงว่า
"พระพุทธสิหิงค์ในประเทศไทยจริงทุกองค์ แต่ไม่ได้มาจากศรีลังกา(ตามที่เขียนไว้ในคัมภีร์มหาวงศ์)"

อันนี้ ผมก็ขอเรียนว่าจริง เพราะลังการที่พระมหานาม ท่านแต่ง "มหาวงศ์" ไม่ได้อยู่ที่ประเทศศรีลังกา แต่ "ลังกาทวีป อยู่ที่ "ภาคใต้ของไทย ซึ่งในสมัยพุทธกาล เป็นเกาะ แยกจากกันระหว่างแนว สุราษฎร์กับนครศรีธรรมราช

ดังนั้น หากอยากรู้ความเป็นไปของพระพุทธศาสนาในภาคใต้ ก็ให้อ่าน คัมภีร์มหาวงศ์ และสังคีติยวงศ์ ครับ

และถ้าอยากรู้ความเป็นไปของพระพุทธศาสนาในบริเวณแถบประเทศไทย พม่า ลาว และกัมพูชา ก็จะต้องเปิดใจที่ย้อนกลับไปหาอ่านตำนานและพงศาวดาร ของแต่ละประเทศ แล้ววันหนึ่ง เราอาจจะได้ข้อสรุปว่า
"ประวัติศาสตร์ความเป็นไปของผู้คนบนผืนแผ่นดินที่เรียกว่าสุวรรณภูมิในปัจจุบันนั้นถูกบันทึกไว้อย่างละเอียดในพระไตรปิฎกและอรรถกถานั่นเองครับ"
จากคุณ : เอกอิสโร วรุณศรี

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #18 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 18:20 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ความคิดเห็นที่ 26 : (เอกอิสโร วรุณศรี)
นิดนึงครับ ผมอยากจะเล่าสู่กันฟังซึ่งหลายทานอาจจะไม่เชื่อว่า เมื่อก่อน พ.ศ. 2398 ไม่ได้มี "โบราณสถาน" ที่จะบ่งบอกว่า พระพุทธเจ้าประสูติที่ ต.ลุมมินเด ในประเทศเนปาลทุกวันนี้ จนกระทั่ง นักโบราณคดีชาวอังกฤษ สรุป ดังที่ข้าพเจ้าคัดลอก ขออภัยที่เป็นภาษาอังกฤษ เพราะต้องการรักษาต้นฉบับไว้..

Finally, British archeologists have determind that Lord Buddha was, indeed, born in Tilaurakot of Lumbini in Nepal.

โดยมีกุญแจสำคัญคือ...
The key, Coningham said, was pieces of ceramic painted greyware, used in South Asia between the 9th and 6th centuries B.C. "The site is clearly right at the center of the Buddhist holy land," Coningham said in an interview.

โดยก่อนนั้นมีข้อโต้แย้งเรื่องสถานที่ประสูติว่าอยู่ที่ใดระหว่างในอินเดีย กับเนปาล ..
For decades Nepal and India have argued over the location of ancient Kapilavastu, with each nation claiming the city for its own. Now, two archaeologists from England's University of Bradford have presented new evidence that Kapilavastu is modern Tilaurakot, a Nepalese town about 130 miles west of Kathmandu.

แล้วในที่สุด ตำนาน พงศาวดาร ความเชื่อของผู้คนที่สืบทอดมากันหลายชั่วอายุคน ก็มาถูกทำลาย ไปเพียงเพราะ เศษกระเบื้อง และเสาศิลาซึ่งไม่รู้ว่าเป็นของใคร? แต่เวลานี้ถูกอุปโลกน์ให้เป็นของ "พระเจ้าอโศก"

แต่คุณรู้ไหมว่า ถ้าคุณอยากรู้ "ประวัติของพระเจ้าอโศกตลอดถึงบรุพกรรมและความปราถนาแต่อดีตกาล" คุณจะไม่สามารถหาอ่านได้จากเสาศิลาที่อินเดีย เพราะแม้แต่ "การสังคายนาพระไตรปิฏก" ก็ไม่มีการจารึกไว้ การส่งสมณฑูตอกกเผยแพร่พระพุทธศาสนา ที่ว่ามีสายหนึ่งมาสุวัณณภูมิก็ไม่มีการกล่าวถึง เช่นเดียวกับการส่งพระลูกชาย-ลูกสาว คือ "พระมหินทร์และพระนางสังฆมิตตาเถรี" ไปเผยแพร่พุทธศาสนาที่ลังกาทวีป และนำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ไปปลูกที่ลังกา" ก็ไม่มีจารึกไว้เช่นเดียวกัน แต่คุณจะสามารถอ่านเรื่องราวทั้งหมดนี้โดยละเอียดได้ใน
"คัมภีร์มหาวงศ์ มูลศาสนา ญาโณทยปกรณ์ และสังคีติยวงศ์ "

ขอฝากชาวไทยและชาวพุทธอันเป็นที่รักทั้งหลายได้อ่านให้ครบ และจบทั้งเล่มแล้วค่อยมานั่งจับเข้าคุยกันอีกครั้งเถิด...เปิดใจให้กว้าง แล้วยกกรอบที่ "two archaeologists from England's University of Bradford " ครอบเอาไว้เมื่อ 150 ปี กว่าๆ มานี้ไว้ข้างๆ อาจบางทีเราอาจจะเห็นอะไรที่เหมือนกันก็เป็นได้

ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ท่าน..ขอสามัญผล อันองค์สมเด็จพระชินสีห์ได้เคยแสดงไว้ให้แก่พระเจ้าอชาตศัตรูที่ฆ่าได้แม้แต่พระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นพ่อ ถึงกับประกาศตนเป็นอุบาสกในพระศาสนา จงบังเกิดมีแด่ทุกท่าน ทุกคน เทอญ สาธุ...สาธุ...สาธุ
จากคุณ : เอกอิสโร วรุณศรี



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #19 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 18:22 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ความคิดเห็นที่ 29 : (เอกอิสโร วรุณศรี)
เรียนคุณ bj ที่นับถือ
ขอตอบสั้นๆ งานอ่านกเบื้องจารที่เป็นลายสือไทยนะครับไม่ใช่งานแปล..ของท่านเจ้าคุณอ่ำ ธมฺมทตฺโต ว่า "ใช้ได้ครับ"
และงานศึกษาของผมก็ต่อยอดมาจากงานของท่านเจ้าคุณอ่ำ ครับ และวันหนึ่งผมจะพิสูจน์ให้คนทั้งหลายได้รับว่า
"...ที่รัฐบาลในสมัย พ.ศ. 2509 และนักรู้ทั้งหลาย ป่าวประกาศว่า กเบื้องจารเป็นของปลอม เรื่องราวในกเบื้องจารเป็นเรื่องที่ท่านเจ้าคุณอ่ำ ผูกเรื่องขึ้นทั้งสิ้นนั้น..หาได้เป็นอย่างที่เขาว่าไว้ไม่ แต่...
เรื่องราวทั้งหลายคือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาและประวัติศาสตร์ประเทศไทยและสุวรรณภูมินี้ทั้งสิ้น"

ถ้าถามว่า "มีคนไทยถึงครึ่งประเทศไหม?" ที่เชื่อว่า "พระปุณณเถระ" ที่ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก "ปุณโณวาทสูตร" นั้น ท่านเป็นคนไทยมีบ้านเรือนอยู่แถบเพชรบุรี-ปราณบุรี ตามที่เรียกว่า "สุนาปรันต์" ตามที่ท่านเจ้าคุณอ่านได้จากกเบื้องจาร ซึ่งเมื่อยังมิได้ออกบวช นั้นมีอาชีพเป็นพ่อค้า 2 พี่-น้องชื่อ นายบุณ-นายจุน จนวันหนึ่งนำเกวียน 500 ไปค้าขายที่สาวัตถี และได้ไปเข้าเฝ้าพุรสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี แล้วจึงได้บวชด้วยวิธีเอหิภิกขุ กับพระพุทธองค์ ต่อมาได้กลับมายังสุนาปรันต์แล้วบรรลุอรหัตผล
..นายบุณ ที่ว่านั้น จากการศึกษาของผมก็คือ ท่านนำเกวียนออกจาก แถบเพชรบุรี-ปราณบุรี ไปตามเส้นทางที่มุ่งเข้าสู่ราชบุรี-บ้านโป่ง-ท่ามะกา-กาญจนบุรี-ไทรโยค-ทองผาภูมิ-สังขละบุรี-ด่านเจดีย์สามองค์-เมาะตะมะ(Maulamyaing)-สะเทิม(Thaton)-พะโค(Pegu) ซึ่งที่ พะโค หรือ หงสาวดี นั้น ผมกำหนดให้เป็น "กรุงสาวัตถี" ในสมัยพุทธกาล
ครานี้ คุณ bj คิดว่าพอเป็นไปได้หรือไม่? และอยากจะฝากว่า ถ้าจะช่วยกรุณาสืบค้นพงศาวดาร ตำนาน ของพม่า มาสอบค้นถึงความเชื่อที่สืบๆ มาของชนชาวมอญ หรือพม่ามาสอบเทียบกัน ก็จะเป็นการต่อยอดขึ้นไปอีก
แล้วต่อไปก็จะอธิบายได้ว่า ที่ "ถ้าเขางู" ที่พระพุทธองค์เสด็จมาเมื่อพุทธพัสสา ๔๔" ที่ใครๆ เขาไม่เชื่อก็จะมีเค้าลางขึ้นมา เรื่องยาวมากเกินกว่าที่จะคุยผ่านบอร์ด หากสนใจร่วมศึกษาค้นคว้า โปรดติดต่อได้ทางโทรศัพท์ที่
สำนักงาน 0-2252-9768-9 เวลาทำการ จันทร์-ศุกร์ฃ
มือถือ 0-1702-0791

"...หลวงปู่อ่ำท่านแปลไว้เพื่อให้ลูกหลานไทยอ่านและประกาศไว้ท้ายเล่มว่าทำทุกอย่างเพื่อหวังโพธิญาณ...
...คุณเอก...ทำไปเพื่อหวังอะไรครับ..."

ขอตอบและประกาศให้รู้ทั่วกันว่า
"ผลบุญใดที่ข้าพระพุทธเจ้าได้กระทำมาทั้งสิ้นนี้ นับเป็นอเนกชาตินับถึงชาติปัจจุบัน ข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้หวังซึ่งโภคสมัติ สวรรค์สมบัติ แต่เป็นไปความสุดปรารถนาแห่งพระโพธิญาณ เพื่อการตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแม้นานไกลโพ้นโน้น"
สมฺมปฺปธานํ ปจฺจุบนฺนกาลํ โพธิญาณํ อนาคตํ
จากคุณ : เอกอิสโร วรุณศรี



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #20 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 18:24 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ความคิดเห็นที่ 31 : (bj)
...โมทนากับคุณเอกครับ...ขอให้สมดังปรารถนาครับ...
...ที่ผมถามเพราะว่างานของท่านหลวงปู่อ่ำละเอียดมากพอที่จะใช้อ้างอิงได้...
...มีทั้งชื่อสถานที่และพ.ศ.ระบุ ซึ่งใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้...
...มีช่วงไม่กี่ร้อยปีที่ท่านไม่ได้อ่านไว้เนื่องจากหากระเบื้องจารไม่พบ...
...และอีกอย่างถ้าบริเวณเมืองไทยปัจจุบันเป็นไปดังสถานที่ที่คุณเอกศึกษา...ผมว่าเป็นไปค่อนข้างยาก...
...เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น...แสดงว่าบรรพบุรุษของไทยเคยมีช่วงใดช่วงหนึ่งที่ทำลายหลักฐานทางพุทธศาสนาที่สืบมาแต่สมัยพุทธกาล...
...ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นลูกหลานไทยคงไม่ได้สบายเหมือนปัจจุบันนี้...เพราะกรรมหนักเหลือเกิน...ลูกหลานต้องไม่อยู่เป็นสุขแน่...อย่างเช่นพม่าและเขมรปัจจุบัน...
...อีกอย่างอยากให้ดูแผนที่ขององค์ในหลวงที่พระองค์ท่านทำไว้ในพระมหาชกจะช่วยคุณเอกได้มากกว่า...
...ที่ผมเขียนไว้อย่างนี้เพราะอยากให้ตามรอยทางตามแนวพระพุทธเจ้าและองค์มหาโพธิสัตว์ทั้งหลายที่ท่านทำไว้แล้ว...
...แต่ถ้าศึกษาเพื่อทำประวัติศาสตร์ไทยให้กระจ่างผมก็โมทนาด้วยและเป็นกำลังใจให้ครับ...
...
...พระพุทธเจ้าผมเชื่อว่าเป็นคนไทย...คนไทยอาหม...
...และอาจเป็นคนไททุกๆพระองค์...ตามความเชื่อของผม...
...
...อีกอย่างสถานที่ศักสิทธิ์ของพระพุทธเจ้าไม่มีใครทำลายได้...
จากคุณ : bj


เครดิต ลานธรรม



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #21 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 18:47 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

พุทธศาสนาสมัยฟูนัน

ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 10 ฟูนันมีกษัตริย์เป็นชื่อของอินเดีย คือ เกาณฑิณยะ ประวัติศาสตร์แห่งราชวงศ์เหลียงของจีนบันทึกไว้ว่า

เกาณฑิณยะ เป็นพราหมณ์มาจากอินเดีย วันหนึ่งได้ยินเสียงจากสวรรค์สั่งให้ไปปกครองฟูนัน เขาจึงเดินทางไปประชาชนชาวฟูนันยินดีและยกเขาขึ้นเป็นกระษัตริย์ พระเจ้าเกาณฑิณยะ หรือโกณฑัญญะนี้จึงนำเอากฎหมายขนบประเพณีแบบอินเดียมาใช้

ตามบันทึกนี้ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (George Coedes) อธิบายเพิ่มเติมว่าการอพยพออกจากอินเดีย อาจสืบเนื่องมาจากความพ่ายแพ้ของราชวงศ์ต่างๆ ทางฝั่งตะวันออกของอินเดีย เช่น ปัลวะ เป็นต้น เพราะถูกพระเจ้าสมุทรคุปต์รุกราน แต่บางทัศนะว่าฟูนันประสบความทุกข์ยาก เพราะผู้ปกครองไม่ยุติธรรม บ้านเมืองระส่ำระสาย จึงไปเชิญเจ้าชายโกณฑัญญะ ผู้มีดวงตาเห็นธรรม ผู้ประพฤติพรหมจรรย์มาตั้งแต่ยังเล็กๆ ผู้สืบสายไศเลนทรวงศ์โบราณ ให้ไปครองฟูนัน (กรุงพนม) พระองค์ได้ทำบ้านเมืองให้เป็นสวรรค์ คนนอนหลับไม่ต้องปิดประตูบ้าน ประชาชนจึงถวายพระนามกษัตรย์องค์นี้ว่า “พระอินทร์” จารึกพระนามว่า “ศรีทรวรมเทวะ” เพราะพระองค์ได้ทรงใช้ธรรมทำให้บ้านเมืองเป็นสุขเมือพระองค์สวรรคต ราษฎร์ได้สร้างพระบรมธาตุประจำพระนคร อุทิศถวายบนยอดเขาพระวิหาาร ถวายพระนามตามวัฒนธรรมไศเลนทรว่า “ศรีสิขเรศวร” (พระอิศวรของภูเขา)

อนึ่ง ปราสาทเขาพระวิหารนี้ จากจารึก กล่าวถึงพระเจ้ายโศวรมันของขอม พระองค์เป็นโอรสของพระเจ้าอินทรวรมัน ดังนั้นคำว่า “ศรีนทรวรมเทวะ” จึงอาจหมายถึงพระเจ้าอินทรวรมันของขอมก็ได้ นี้เป็นมติของนักค้นคว้าท่านหนึ่ง

พระเจ้าโกณฑัญญะ (องค์นี้เป็นองค์ที่ 2 )ได้ส่งทูตและค้าขายกับจีน พระองค์เป็นผู้ปกครองฟูนัน เมื่อทรงสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 1046 ตำราหลายเล่มกล่าวสับสนเกี่ยวกับรายชื่อของกษัตรย์ฟูนันเพราะถือตามบันทึกจีนว่า Che-li-to-pa-mo ได้ส่งทูตพร้อมบรรณาการไปยังจักรพรรดิจีนใน ค.ศ. 434, 435 และ 438 ดร. มาชุมดาร์ ว่าชื่อนี้คงจะเทียบกับอินเดียได้ว่า ศรีอินทรวรมัน หรือ เศรษฐวรมัน ผู้สืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้าโกณฑัญญะ แต่เมื่อนำมาเทียบกับ พ.ศ. ของพระเจ้าโกณฑัญญะแล้วกลับเป็นยุคเดียวกัน ถ้าเช่นนั้น เชลิโตปะโม นี้จะเป็นใคร เมื่อกลับไปดูประวัติของพรระเจ้าโกณฑัญญะที่ราษฎร์ถวายพระนามว่า “ศรีนทรวรมเทวะ” ที่กล่าวมาแล้วก็น่าเป็นคนเดียวกับ ศรีทรวรมเทวะ (ศรี อินทร ปรม เทว ป เป็น ว หรือ พ ตามความนิยม) และจารึกที่เขาพระวิหารของสูรยวรมเทวะอ้างว่า พระองค์เป็นลูกหลานโดยตรงของศรีนทรวรมเทวะจึงมีสิทธิ์ใในดินแดนเขาพระวิหารด้วย ดังนั้นก็คือพระเจ้าโกณฑัญญะองค์ที่ 2 นั้นเอง

ผู้สืบราชสมบัติต่อมาคือพระเจ้าชัยวรมัน พระโอรส ความจริงพระเจ้าชัยวรมันครองราชมาตั้งแต่ พ.ศ. 1020–1057 พระองค์คงจะครองประเทศต่างๆ ในทางใต้ได้ดีและเรียบร้อย จึงได้รับสมญาจากพระเจ้าจักรพรรดิจีนว่า “แม่ทัพแห่งงทิศใต้ที่มีความสงบ” และด้วยเหตุนี้ นายอโมเนียร จึงให้ความเห็นว่า คำ “ฟูนัน” ในภาษาจีนนั้นหมายถึง “ผู้คุ้มครองทิศใต้” พระองค์ส่งทูตและบรรณาการแก่จีนเสมอมาจนมีความสนิทสนมกับจีนมาก พระมเหสีของพระเจ้าชัยวรมันชื่อว่า กุลประภาวตี เมื่อพระองค์สวรรคต ก็มีการแย่งชิงราชสมบัติเกิดขึ้น ผลปรากฎว่า พระโอรสองค์โตคือ รุทวรมัน ซึ่งงประสูติจากมเหสีรองได้ชัยยชนะต่อโอรสองค์เล็กที่มีสิทธิ์ได้ราชสมบัติ พระราชโอรสองค์เล็กเชื่อว่าได้แก่ คุณวรมัน ซึ่งประสูติจากพระมเหสีกุลประภาวตี

พระเจ้ารุทวรมัน (พ.ศ. 1057) ได้ส่งทูตติดต่อกับจีนหลายครั้ง ระหว่าง พ.ศ. 1060–1082 ประมาณ 6 ครั้งชื่อรุทวรมันนี้ปรากฎในจารึกพุทธศาสนาที่เป็นภาษาสันสกฤตด้วย พระองค์ทรงเลื่อมใสพุทธศาสนามาก ต่อมาภายหลังฟูนันก็ถูกกัมพูชารุกราน กัมพูชา (ทางเหนือของเขมร) เคยเป็นเมืองขึ้นของฟูนันมาก่อน แต่ได้กลายเป็นรัฐอิสระและเจริญขึ้นตามลำดับ ฝ่ายกษัตรย์แห่งฟูนันพ่ายแพ้ จึงย้ายเมืองหลวง (ซึ่งคาดว่าอยู่ที่วาธปุระ ใกล้ๆกับ บาพนม) ไปที่ “นรวรนคร” (นครบุรี Angkorborei) ทางใต้ แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนจะสิ้นพุทธศตวรรษที่ 11 กัมพูชาก็ปราบฟูนันลงได้อย่าางสิ้นเชิง



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #22 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 18:48 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ในหนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ของ อาจารย์ วสิน อินทสระ กล่าวว่าอาณาจักรฟูนันหรือพนม ตั้งขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 ซึ่งในขณะเดียวกับที่พุทธศาสนามหายานเกิดขึ้นในอินเดีย และพุทธมามกะชาวอินเดีย ได้นำเอาพุทธศาสนาแบบมหายานมาสั่งสอนประชาชนในแหลมอินโดจีน ปรากฎว่าชาวฟูนันนิยมให้การนับถือทั้ง 2 นิกายรวมทั้งศาสนาพราหมณ์ด้วย

อาณาจักรฟูนันคือ อาณาเขตที่เป็นดินแดนกัมพูชาเวลานี้ และเลยเข้ามาถึงภาคอีสานและภาคเหนือของไทยและเลยไปถึงพม่า นับว่าเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในเวลานั้น ชาวฟูนันคงเป็นพวกตระกูลมอญ เขมร กษัตริย์ของอาณาจักรฟูนัน เดิมเป็นพราหมณ์ชื่อ “โกณฑัญญะ” มาจากอินเดีย ได้แต่งงานกับหัวหน้าของชาวฟูนัน ซึ่งเป็นสตรีชื่อว่า “โสมนาคี” เพราะนิยมสักการะงูใหญ่ ซากอาณาจักรฟูนันบางทีจะเป็นเมืองศรีเทพ เมืองนี้อยู่ในป่าดงดิบแห่งลุ่มแม่น้ำป่าสัก เขตจังหวัด เพชรบูรณ์ โดย ดร. เวลส์นักโบราณคดี พร้อมกับกรมศิลปากรได้ร่วมกันขุด ได้พบซากเมืองร้างแห่งนี้ เป็นเมืองเก่าที่สุดที่สร้างขึ้นสมัยก่อนขอม เข้าใจว่าชาวอินเดียผู้อพยพเป็นผู้สร้าง ได้พบเทวรูปพระานรายณ์ เข็มหลักเมืองซึ่งมีอักษรสันสฤตจารึกอยู่ เป็นอักษรแบบราชวงศ์ปัลลวะในอินเดียใต้ และได้พบซากกำแพงเมืองใหม่ ซึ่งสร้างซ้อนกันในสมัยขอมมีอำนาจในภูมิภาคนี้ นอกจากเมืองศรีเทพแล้ว ก็ไม่ได้พบเมืองของอาณาจักรฟูนันอื่นอีก พราหมณ์โกณฑัญญะสอนวัฒนธรรมและอารยธรรมให้จนรุ่งเรืองตั้งเป็นอาณาจักรฟูนันขึ้น มีข้อสังเกตประการหนึ่งว่า สร้อยพระนามของกษัตริย์ฟูนันมักลงท้ายคำว่า “วรมัน” ซึ่งเป็นอย่างเดียวกับพระนามของกษัตริย์ทางอินเดียใต้

โกณฑัญญะพราหมณ์ อาจเป็นคนอินเดียใต้ก็ได้

เมื่อพุทธศตวรรษที่ 10 มีธรรมทูตชาวฟูนัน (ฟูหนำ) 2 รูปชื่อพระสงฆปาละและมันทรเสน ได้เดินทางไปสู่นครนานกิง ท่านสังฆปาละได้แปลหนังสือที่มีค่าหลายเล่ม และเล่มหนึ่งที่มีค่าที่สุด คือคัมภีร์วิมุตติมัคค์ แปลจากต้นฉบับภาษาบาลี คัมภีร์เล่มนี้ได้สูญจากโลกปริยัติฝ่ายบาลีมานานแล้ว ได้มีนักปราชญ์ในปัจจุบันเช่น ดร.บาปัดได้ใช้ต้นฉบับจีนแปลกลับเป็นภาษาบาลี และแปลเป็ยภาษาอังกฤษ ในคัมภีร์ปรมัตถมัญชุสาวิสุทธิมัคค์มหาฎีกา ซึ่งพระธรรมปาละเป็นผู้แต่ง ได้อ้างถึงชื่อวิมุตติมัคค์ บางทีคัมภีร์นี้จะเป็นของคณะสงฆ์ฝ่ายอภัยคิรีวิหาร อย่างไรก็ตามไม่ต้องสงสัยเลยว่า วิสุทธิมัคค์ของพระพุทธโฆสะ อาจจะแต่งขึ้นเพื่อแข่งกับวิมุตติมัคค์นี้ ปกรณ์ทั้งสองเล่มมีลีลาคล้ายคลึงกัน สีลนิเทสเกือบพูดได้ว่ามีความเหมือนกับ สมาธินิเทส วิมุตติมุคค์พิสดารกว่าวิสุทธิมัคค์ในบางอย่าง แต่ปัญญานิเทส วิมุตติมัคค์ย่อกว่าวิสุทธิมัคค์มาก ส่วนพระมันทรเสนนั้น ได้แปลคัมภีร์ที่เกี่ยวกับลัทธิมนตรยานหลายเล่ม จากผลงานของคัมภีร์เหล่านี้ ทำให้เราทราบว่าพุทธศาสนาในอาณาจักรฟูนันมีฐานะมั่นคง จนสามารถทำประโยชน์ให้กับประเทศอื่นได้

ล่วงมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-12 ชื่อฟูนัน (ฟูหนำ) ได้เริ่มเสื่อมลง เพราะถูกพวกเจนละ (ขอมหรือเขมร) ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของฟูนันมาก่อนแย่งอำนาจ โดยพระเจ้าภววรมันกษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ คือกัมพูชาในปัจจุบัน ซึ่งเป็นประเทศราชของฟูนันมาแต่ก่อน มีเมืองสมพูปุระเป็นราชธานี ได้แข็งอำนาจขึ้นมาดังที่กล่าวไว้แต่เบื้องต้น พระอนุชาของพระองค์ ชื่อจิตตเสน ได้ยกกองทัพเข้าทำลายอาณาจักรฟูนันลงจักรวรรดิแห่งนี้จึงแบ่งแยกออกเป็น 2 แคว้นใหญ่ คืออาณาจักรเจนละบก ซึ่งกินเขตภาคเหนือกัมพูชาขึ้นไป จนถึงนครพนม ส่วนอาณาจักรเจนละน้ำ ได้แก่ กัมพูชาภาคกลางลงมาถึงอ่าวญวน ในอาณาจักรเจนละประชาชนนิยมนับถือศาสนาพราหมณ์ ดังนั้นพุทธศาสนาจึงชะงักความเจริญไประยะหนึ่ง


เครดิต บ้านจอมยุทธ



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #23 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 18:49 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

พุทธศาสนาสมัยศรีวิชัย

สมัยอาณาจักรศรีวิชัย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 มีเมืองหลวงชื่อ “ปาเลมบัง” พุทธศาสนาในอินเดียได้เปลี่ยนแปลงเป็นมหายานมากแล้ว มหายานได้แผ่คลุมไปทั่วอินเดียทั้งเหนือและใต้ (ไม่ใช่มหายานแผ่ขึ้นทางเหนือ เถรวาทหรือหินยาน แผ่ลงทางใต้อย่างที่เข้าใจกัน) และยุคนั้น มหายานจากอินเดียใต้ก็แผ่เข้าสู่อาณาจักรศรีวิชัยซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับไทยสมัยทวาราวดีอยู่แล้ว มหายานสมัยนั้นนับว่าเจริญเต็มที่ทั้งด้านการศึกษาและปฏิบัติ ศูนย์กลางใหญ่อยู่ที่แหลมมลายู-เกาะสุมาตรา ท่านควอริช เวลส์ และ ดร. มาชุมดาร์ นักโบราณคดี กล่าวว่า ไศเลนทรได้ยึดบริเวณอ่าวบ้านดอนจากศรีวิชัยประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 14 แล้วขยายอำนาจไปเหนือชวาและแหลมมลายูทั้งหมด จนในที่สุดไศเลนทรก็ได้เป็นใหญ่เหนือแหลมมลายู เกาะสุมาตรา และหมู่เกาะชวาทั้งหมด อาณาเขตทางตอนเหนือคลุมมาถึง จ. หวัดสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน (ยุคนั้น เมืองนครศรีธรรมราชเป็นประเทศราช)

ครั้งนั้นพุทธศาสนาสมัยศรีวิชัยเป็นแบบมหายาน เพราะกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร แห่งอาณาจักรศรีวิชัย ทรงนับถือลัทธิมหายานนิกายมนตรยานอย่างเดียวกับราชวงศ์ปาละแห่งอินเดียใต้ และกษัตริย์ทั้งสองมีไมตรีต่อกันนั่นเอง ลัทธิมหายานในสมัยศรีวิชัย คงไม่สามารถขยายอิทธิพลเลยสุราษฎร์ธานีขึ้นมา เพราะเวลานั้นเหนือขึ้นมายังเป็นเขตอิทธิพลของเถรวาทหรือหินยานอยู่ เรามองดูตามทัศนะของศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงยืนยันว่า ศิลปะศรีวิชัยมาถึงอู่ทอง จ. สุพรรณบุรี และทีวัดศรีมหาโพธิ์ จ. ปราจีนบุรี(ที่อื่นไม่พบ) ปรากฎในศิลาจารึกว่าประมาณ พ.ศ. 1550 กษัตริย์เชื้อสายศรีวิชัยองค์หนึ่ง ได้ขึ้นมาจากนครศรีธรรมราช มาครองที่ลพบุรี และโอรสของพระองค์ได้ไปครองประเทศกัมพูชา ต่อมาอีกไม่นานศาสนาและศิลปวิทยาการของเขมรได้เข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้นในยุคนี้ ในจารึกหลักที่ 19 กล่าวว่า ที่เมืองลพบุรีมีพระทั้งสองนิกายคือ สถวีระ (เถรวาท) และมหายาน (ดูประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2 หน้าที่ 12 ) เข้าใจว่าเถรวาทเป็นนิกายเดิม สืบมาแต่ครั้งสุวรรณภูมิ ส่วนมหายานนั้นเจริญอยู่ในเขมรก่อน พึ่งเข้ามาเจริญในประเทศไทยในตอนที่เราอยู่ในอำนาจของเขมรนั่นเอง หรือไม่ก็มหายานอาจจะเข้ามาพร้อมกันทั้ง 2 ด้าน คือด้านเขมรและด้านศรีวิชัยในเวลานั้น อาณาจักรศรีวิชัยได้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระปริยัติธรมที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก

พุทธศิลป์

สมัยศรีวิชัยนั้นมีพุทธศิลป์ที่มีชื่อเสียง คือ มหาเจดีย์บุโรบุโดที่เกาะชวา และเจดีย์พระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี นอกจากนี้ยังมี พระอวโลกกิเตศวร และพิมพ์พระเล็กๆ เป็นรูปของอวโลกกิเตศวรด้วย ส่วน จ. ตรัง อยู่ที่ถ้ำเขาวิหาร มีกรุบรรจุพระพิมพ์เล็กๆ เป็นศิลป์แบบปาละ จ. พัทลุง อยู่ที่ถ้ำคูหาสวรรค์ เขาอกทะลุ จ. ยะลา อยู่ที่ถ้ำเขาตระเภา ทั้ง 3 จังหวัดสุดท้ายนี้ ซึ่งล้วนเป็นคตินิยมของมหายาน ส่วนมากค้นพบเฉพาะพระพิมพ์เล็กๆ และรูปแกะสลักเล็กๆ เท่านั้น ในเรื่องนี้ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงสันนิฐานว่าพระพิมพ์เล็กๆ ที่เป็นดินดิบนั้นคงทำตามประเพณีของลัทธิมหายาน คือเมื่อเผาศพพระเถระแล้วเอาอัฐธาตุโขลกเคล้ากับดิน แล้วพิมพ์เป็นพระพุทธรูปหรือรูปพระโพธิสัตว์เพื่อประสงค์ปรมัตถประโยชน์แก่ผู้มรณภาพ อัฐธาตุนั้นเผามาครั้งหนึ่งแล้วจึงไม่เผาอีก มิใช่ทำเพื่อหวังจะสืบอายุพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังได้พบวัตถุโบราณและพระพุทธรูปกระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ นับแต่สุราษฎร์ธานี จ.ปัตตานีและไทรบุรี ที่นครศรีธรรมราชได้พบจารึกที่วัดเสมาเมือง บรรยายถึงพระจริยาวัตรที่ประกอบด้วยคุณธรรม (ตามแนวมหายาน) พูดถึงการสร้างปราสาท 3 หลัง และการสร้างพระสถูป 3 องค์ เป็นต้น.

เครดิต บ้านจอมยุทธ



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #24 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 18:50 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

พุทธศาสนาสมัยลพบุรี

จักรวรรดิทวาราวดีดำรงอยู่จนถึงศตวรรษที่ 15 ต่อมาถูกขอมรุกรานมาแต่ทิศตะวันตก ทางใต้พวกศรีวิชัยรุกราน อาณาจักรนี้จึงดับสูญไป นักโบราณคดีสมัยก่อนมีความเชื่อว่า เมืองหลวงของทวาราวดี คือเมืองนครปฐม แต่ร้างไปเพราะกองทัพพม่าในรัชสมัยพระเจ้าอโนรธามังช่อแห่งพุกาม ซึ่งแผ่อำนาจมาทางตะวันออกทั้งในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำปิง อิทธิพลของพม่าอาจจะมาถึงภาคกลางของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจริง เมื่อพม่าตีมอญแตกในเขตใต้ ก็อาจกระทบกระเทือนมาถึงพวกมอญในสุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย พระเจ้าอโนรธามังช่อจึงได้แบบอย่างพระเจดีย์ที่วัดพระเมรุเอาไปสร้างอนันทเจดีย์ขึ้นในพุกาม ซึ่งปรากฎว่ามีทรวดทรงสัณฐานอย่างเดียวกับพระเจดีย์วัดพระเมรุไม่มีผิด แต่ในกรณีหลังอิทธิพลของพม่ามิได้ครอบงำมาถึงลุ่มแม่น้ำปิงเลย นักโบราณคดีรุ่นใหม่เชื่อกันว่า อิทธิพลพม่ามิได้เลยฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวินเสียด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม นครปฐมได้ร้างไปตั้งแต่ศึกพุกามครั้งนั้น พระเจาอโนรธามังช่อได้กวาดต้อนพระสงฆ์และศิลปกรสาขาต่างๆ กลับไปพม่าเป็นจำนวนมาก จึงทิ้งอาณาบริเวณนี้ให้แก่พวกขอมเข้ามาครอบครองภายหลัง เราเรียกสมัยนี้ว่า สมัยลพบุรี สมัยลพบุรีเริ่มต้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 15–18 เป็นยุคที่จักรวรรดิของเรืองอำนาจที่สุดในภูมิภาคนี้ พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เป็นผู้ตั้งจักรวรรดิขอมขึ้นใหม่ อาณาบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและภาคอีสานทั้งภาคเป็นประเทศราชของขอม ขอมมาตั้งเมืองอุปราชปกครองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีเมืองลพบุรีเป็นเมืองสำคัญ เมืองนี้เรียกกันในภาษาเดิมว่าละโว้ เป็นเมืองเก่าก่อนของขอม ที่รู้ว่าเก่าก็เพราะได้พบศิลาจารึกภาษามอญโบราณ ในบริเวณศาลาสูง คือศาลพระกาฬเดี๋ยวนี้ เมื่อขอมเข้ามาเป็นใหญ่ ได้แปรคำว่าละโว้ เข้าหาภาษาสันสกฤตเป็น ลวปุระหรือเมืองพระลพ ซึ่งเป็นโอรสของพระราม จึงมีความศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับพระรามอยู่ในเมืองนี้ ส่วนทะเลสาบชุบศร พวกขอมให้ผูกนิยายขึ้นว่าพระราได้มาชุบศรที่นี่ ศรอันศักดิ์สิทธิ์คือ พรหมศาสตร์ อัคนิวาตประลัยวาต เพราะฉะนั้น น้ำในทะเลสาบแห่งนี้จึงเป็นน้ำศักด์สิทธิ์ กษัตริย์ทุกพระองค์ของขอม เมื่อทำพิธีมูรธาภิเษก ต้องใช้น้ำในสระนี้ ส่วนตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ขอมตั้งเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัยปกครอง ในภาคอีสานขอมตั้งเมืองสกลนคร พิมาย เป็นเมืองอุปราชปกครอง อิทธิพลของขอมเริ่มตั้งแต่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงที่จังหวัดนครพนม เรื่อยมาถึงเมืองเพชรบุรีเป็นที่สุด ทางทิศตะวันตกก็เริ่มตั้งแต่เมืองสุพรรณบุรีและสิงห์บุรีเข้ามา สำหรับทิศเหนือนั้นไปสิ้นสุดที่เมืองกำแพงเพชร ศรีสัชนาลัย ดังนั้นอิทธิพลของขอมมิได้ล้ำเข้าไปในลุ่มแม่น้ำปิงเลย เพราะที่นั่นยังมีอาณาจักรมอญ ซึ่งตกค้างจากสมัยทวาราวดี ตั้งมั่นต่อสู้พวกขอมอย่างเหนียวแน่น เราจึงไม่พบศิลปกรรมของขอมในลุ่มแม่น้ำปิงแม้สักแห่งเดียว

พุทธศิลป์
สถานที่พวกขอมสร้างเป็นคติในทางศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนาทั้งนั้น โดยมากสร้างด้วยทัพพสัมภาระคือ อิฐ แลง และหิน สถานที่สร้างด้วยอิฐเป็นสิ่งที่เก่าที่สุด ต่อมาก็เป็นแลง และเมื่อขอมมีกำลังมากก็สร้างด้วยหิน ทุกแห่งที่ขอมเข้าไปปกครองต้องมีเทวสถานหรือพุทธสถานอย่างใดอย่างหนึ่ง พวกขอมนับถือศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธปนเปกันไป ศาสนาพราหมณ์ส่วนใหญ่นับถือลัทธิศิวเวท ส่วนพุทธศาสนานั้นนับถือลัทธิมหายาน ร่องรอยโบราณสถานของขอมในยุคนี่ที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาล้วนเป็นมหายานทั้งนั้น อาทิ เช่น พระปฏิมากรรมของขอม มักทรงเครื่องอลังการวิภูษิตาภรณ์ มีกระบังมงกุฏบนพระเศียรที่เรียกกันว่า ทรงเทริด พระโอฐหนา ดวงพระเนตรใหญ่ พระกรรณยาวลงงมาจดพระอังสะ ลักษณะใกล้ไปทางเทวรูปมาก พระปฏิมากรที่ว่านี้คือ รูปพระอาทิพุทธะในคติมหายาน ถ้าเป็นรูปพระศากยมุนีก็มักจะมีรูปพระโพธิสัตว์ซ้ายขวาแป็นรูปอัครสาวผมปพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และรูปปรัชญาปารมิตาโพธิสัตว์ รูปพระอวโลกิเตศวรนั้น บางทีทำเป็น 4 กรหรือ 6 กรบ้าง คนชั้นหลังไม่รู้นึกว่าเป็นรูปพระนารายณ์หรือพระพรหมไปก็มี ส่วนพระเครื่องชุกหนึ่งว่า นารายณ์ทรงปืน ความจริงเป็นรูปพระอวโลกิเตศวร พระเครื่องแบบมหายานนี้ขุดได้ที่ลพบุรีส่วนมาก รวมทั้งพระเครื่องที่เรียกกันว่า พระหูยานด้วย ที่จริงเป็นพิมพ์ของพระอักโษภยพุทธะ พระพุทธเจ้าประจำทิศบรูพา ปราสาทขอม 3 หลังที่ลพบุรีเดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธเจ้าตรีกาล ตามคติมหายานมาแปลงเป็นเทวสถานในภายหลัง ปราสาทหินพิมายที่โคราช ก็เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกมหึมา ที่เรียกว่าชยพุทธมหานาค และประดิษฐานรูปปฏิมา พระไตรโลกวิชัย อันเป็นปางหนึ่งของพระอาทิพุทธะ พระพุทธรูปสมัยลพบุรีส่วนใหญ่นิยมสร้างเป็นปางนาคปรกเป็นส่วนมาก และเป็นหินที่เห็นเป็นสำริดมีน้อย เหตุที่สร้างปางนาคปรกนั้น เนื่องจากพวกขอมได้มีลัทธิบูชางูใหญ่ แม้หัวหน้าสตรีก็มีชื่อเป็นงู

คือโสมนาคี พระพุทธรูปสมัยลพบุรี มีทั้งพระศิลา พระหล่อ และพระพิมพ์ โดยสรุป พระพุทธรูปปางเหล่านี้คือ

1. ปางสมาธิ มีปางนาคปรก ไม่มีนาคปรกบ้าง
2. ปางมารวิชัย (ชนะมาร คือปางตรัสรู้)
3. ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ยืนกรีดนิ้วพระหัตถ์
4. ปางประทานอภัย เป็นพระยืนตั้งพระหัตถ์ข้างเดียวบ้าง 2 ข้างบ้าง (ตั้งพระหัตถ์ข้างเดียวเรียกปางห้ามญาติ 2 ข้างเรียกปางห้ามสมุทร)
5. ปางป่าเลไลยก์ คงดัดแปลงมาจากปางปฐมเทศนาแบบทวาราวดี

รูปพระโพธิสัตว์ตามลัทธิมหายานในลพบุรี มักสร้างแต่ 2 องค์คือ

1. รูปพระโพธิสัตว์อวโลกกิเตศวร ทำอย่างเทวรูป มีที่สังเกตคล้ายรูปพระนารายณ์ แต่มือบน 3 มือถือลูกประคำและหนังสือ มือล่าง 2 มือถือดอกบัวและน้ำอมฤต ทำเป็นมนุษย์หลายหน้า (ซ้อนกันอย่างหัวโขนทศกัณฐ์) หลายมือหลายเท้าบ้าง

2. รูปนางภควดีปัญญาบารมี ทำเป็นรูปนางยกมือขวาถือหนังสือ มือซ้ายถือดอกบัว ซึ่งมักเข้าใจกันว่าเป็นรูปนางอุมาภควดี


เครดิต บ้านจอมยุทธ



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #25 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 18:53 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

พุทธศาสนาสมัยลานนา

เดิมสุวรรณภูมิในสมัยศตวรรษที่ 8–17 ได้ผ่านสมัยสำคัญ คือสมัยฟูนัน ทวาราวดี ศรีวิชัย และลพบุรี เป็นลำดับ ทำให้วัฒนธรรมและอารยธรรมในภูมิภาคนี้รุ่งเรืองถึงขีดสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีศูนย์กลางในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อคนไทยลงมาถึง ไทยพวกที่อยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ค่อนข้างจะอาภัพ เพราะบริเวณฝั่งซ้ายไม่มีร่องรอยแห่งอารยธรรมใดๆ เลย ส่วนมากเป็นป่าดง ไทยฝั่งนั้นจึงอยู่กันอย่างสภาพชุมชนกลุ่มชนเล็กๆ กระจัดกระจายกันไป ส่วนคนไทยฝั่งที่ข้ามาฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ได้พบซากแห่งอารยธรรมที่สูงยิ่ง และรับเอาอารยธรรมเหล่านี้ไว้เป็นของตนเอง โดยเฉพาะคนไทยที่เดินลงมาถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา รับมรดกทางอารยธรรมจากพวกทวาราวดีได้หมด ทั้งยังได้เปรียบในทำเลทำกิน เป็นเหตุให้ศูนย์อำนาจของชนชาติไทยอยู่ตรงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อเราดูวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เราจึงไม่สงสัยว่า เหตุไรชนชาติไทยหลายกลุ่มหลายพวกที่อพยพลงมาสุวรรณภูมิ จึงมีแต่ชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้น กลายเป็นชนชาติใหญ่ที่สุด ทั้งนี้เพราะความที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นปฏิรูปเทศนั่นเอง ต่อมาในศตวรรษที่ 18 มีชนชาติไทยกลุ่มหนึ่งได้บุกบั่นไปทางตะวันตกข้ามทิวเขาปาดไก่ (ในแผนที่เรียกว่า ปัตตกอย) คำนี้แผลงมาจากคำว่า ปาดไก่ เป็นคำไทย ตามตำนานเล่าว่า เมื่อไทยมาถึงตีนดอยนี้ได้ทำพิธีเซ่นผีก่อนข้ามทิวเขานี้ ไทยพวกนี้ได้อพยพลงไปอยู่ในอัสสัมของอินเดีย แผ่กระจายตามตอนบนแห่งลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร เรียกว่า พวกไทยอาหม คำว่าอาหมมีนักปราชญ์บางท่านนิยามว่า มาจากคำว่า “อสม” แปลว่าไม่มีอะไรเปรียบ อันเป็นชื่อของมณฑลอัสสัม บ้างว่าชื่อมณฑลมาจากชื่อชาติไทยอาหมต่างหาก เพราะเมื่อข้ามทิวเขาปาดไก่เข้ามา ไทยต้องผจญกับพวกคนป่าที่ดุร้ายที่สุด คือพวกนาคา พวกนี้ชอบล่าหัวคนเป็นกีฬา ไทยจึงใช้วิธีหนามยอกเอาหนามบ่ง จับเชลยนาคาแร่เนื้อกินต่อหน้า พวกนาคาก็กลัวคนไทย ไทยได้ตั้งอาณาจักรมีเมืองเคาหดีเป็นเมืองหลวงในลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร และยั่งยืนอยู่ได้ถึง 6 ศตวรรษ ภายหลังถูกพวกมุสลิมทำลาย แต่คนไทยก็ยังมีอยู่ตลอดแม่น้ำพรหมบุตร หากแต่เปลี่ยนศาสนาไปเป็นฮินดูและลืมภาษาไทยของตน ไปพูดภาษาอัสสัม

ย้อนความเดิมในพุทธศตวรรษที่ 12 พระนางจามเทวี พระราชธิดาแห่งกษัตริย์มอญในอาณาจักรทวาราวดี ได้เสด็จขึ้นครองตามคำเชื้อเชิญของพวกมอญพื้นเมืองที่นี่ พระนางได้ครองเมืองหริภุญไชย คือลำพูนปัจจุบันได้ทรงนำเอาอารยธรรมแบบทวาราวดีและพุทธศาสนาเถรวาทขึ้นไปด้วย ทรงสร้างวัดไว้ 4 มุมเมืองลำพูน ทำให้เมืองนี้เป็นจตุรพุทธปราการ พระพุทธศาสนาประดิษฐานลงอย่างมั่นคงตั้งแต่สมัยนี้ เมื่อขอมรุ่งเรืองในสมัยลพบุรี ศิลปะแบบขอมไปไม่ถึงลุ่มแม่น้ำปิง เพราะอิทธิพลศิลปะทวาราวดีกั้นไว้ ปัจจุบันเราสามารถดูได้จากวัดกู่กุดในเมืองลำพูน เป็นรูปสถูป 4 เหลี่ยม แบ่งเป็นชั้นๆ มีคูหาทุกชั้นทุกด้านในคูหามีพระพุทธรูปยืนรวมทั้งหมด 60 องค์ ข้างๆ สถูปใหญ่มีสถูปเล็กอีกองค์หนึ่งชื่อ สุวรรณจังโกฏิเจดีย์ ศิลปะวัตถุทั้ง 2 ชิ้นนี้มีอายุกว่าพันปีแล้ว เป็นอิทธิพลแบบทวาราวดีในภาคเหนือ

ต่อมาศตวรรษที่ 15 เมื่อพวกขอมแผ่อำนาจจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นไป ได้ปะทะกันระหว่างพวกมอญที่ครองลำพูน กับพวกขอมที่ครองเมืองลพบุรี ปรากฏว่าอิทธิพลของขอมไม่ขึ้นไปถึงแม่น้ำปิงเลย เพราะฉะนั้น เราไม่พบศิลปวัตถุแบบขอมในภาคเหนือ ไม่ว่าในที่ใดๆ สักแห่งเดียว ในรัชสมัยพระเจ้าอาทิจจราชแห่งลำพูนได้ทรงสร้างพระธาตุหริภุญไชยขึ้นกลางพระนคร ตามตำนานเล่าว่า ที่ตรงนั้นเดิมเป็นห้องลงบังคลของพระองค์ ในเวลาที่พระองค์กระทำสรีรกิจดังกล่าวทุกครั้ง จะมีอีกาถ่ายมูลต้องพระองค์ และขณะที่อ้าปากไล่ มูลของอีกาก็ลงในปากพอดี พระองค์จึงแต่งอุบายให้จับอีกาตัวนั้นไว้ แล้วส่งเด็กทารกไปอยู่ใกล้อีกาจนสามารถรู้ภาษากันได้แล้ว เมื่อเด็กนั้นเติบโตขึ้น จึงเล่าตามอีกาบอกว่าในบริเวณสถานที่ทรงบังคลนั้น มีพระบรมธาตุฝังอยู่ พระองค์จึงทำพิธีขุด และได้พบพระธาตุจริงๆ จึงให้สถาปนาสวมพระธาตุนั้น ในสมัยนี้พุทธศาสนาได้รุ่งเรืองมากมีการเรียนพระไตรปิฎกอย่างหลาย และมีการแต่งฉันท์ภาษามคธในรัชสำนักด้วย ในรัชสมัยพระเจ้าสรรพสิทธิ พระองค์ได้สละราชออกผนวชระยะหนึ่ง พุทธศาสนาแบบที่ใช้ภาษาบาลีนี้ได้หลายมาก่อนที่เราจะติดต่อกับลังกา

ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าเม็งรายกษัตริย์แห่งนครเงินยาง (เชียงแสนเก่า) ได้ทรงรวบรวมเผ่าไทยในอาณาจักรลานนาให้เป็นปึกแผ่น ทรงขับไล่อิทธิพลมอญออกไปจากลุ่มแม่น้ำปิง เมื่อตีหริภุญไชยได้โดยการยิงธนูไฟให้ใหม้เมืองแทบทั้งหมด แล้วเสด็จเข้าเมืองลำพูน ทอดพระเนตรเห็นสิ่งปรักหักพังเพราะเพลิงไหม้ ทอดพระเนตรวิหารไม้สักหลังหนึ่งที่วัดพระบรมธาตุ ไม่เป็นอันตายจึงทรงประหลาดใจ ภายหลังทรงทราบว่า วิหารนั้นเป็นที่ประดิษฐานพระเสตังคมณี (พระแก้วขาว) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของหริภุญไชย เช่นเดียวกับพระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปคู่เมืองของกรุงเทพฯ ในปัจจุบันพระเสตังคมณีนี้ พระนางจามเทวีได้อัญเชิญมาจากลพบุรี

ต่อมาพระเจ้าเม็งรายได้ทรงสร้างเมืองใหม่ที่เชิงเขาสุเทวบรรพต (ดอยสุเทพ) บนฝั่งขวาของแม่น้ำปิง คือนวบุรี (ปัจจุบันคือ เชียงใหม่) ทรงเป็นปฐมกษัตริย์พระองค์แรกแห่งอาณาจักรลานนาไทย โปรดให้สถาปนาพระตำหนักเดิมขึ้นเป็นวัด ให้ชื่อว่า วัดเชียงมั่น เป็นที่ประดิษฐานพระเสตังคมณี อาณาจักรหริภุญไชยที่มอญตั้งขึ้น และครองมาประมาณ 6-7 ศตวรรษ มีกษัตริย์ปกครองกว่า 40 พระองค์ เป็นอันสิ้นสุดลง

พุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าเม็งรายเป็นแบบเถรวาทที่รับมาจากมอญศิลปกรรมจึงมีอิทธิพลทวาราวดีอยู่ นักโบราณคดีได้แบ่งสมัยพระพุทธรูปทางภาคเหนือเป็น2สมัยคือ

-เชียงแสนยุคต้น
-เชียงแสนยุคหลัง

เชียงแสนยุคต้น ทำแบบอย่างพระพุทธรูปอินเดีย สมัยราชวงศ์ปาละ ระหว่าง พ.ศ. 1273–1740 ครั้งนั้นมหาวิทยาลัยนาลันทากำลังรุ่งเรือง พระพุทธรูปรุ่นแรกมีพระองค์อ้วน พระรัศมีเป็นต่อมกลม นั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์มารวิชัย (พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาห้อยลงมาทางพระชานุขวา) พระอุระนูน ชายสังฆาฏิสั้นอยู่เหนือราวพระถัน พระพักตร์กลมสั้น พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เล็ก พระหนุเป็นปม เส้นพระศกใหญ่เป็นต่อมกลม หรือเป็นก้นหอย ไม่มีไรพระศก ฐานมีบัวรองมีทั้งบัวหงายบัวคว่ำ มีกลีบแซม และมีเกษร

เชียงแสนยุคหลัง เป็นของไทยชาวลานนาและลานช้างทำตามอย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยคือ พระรัศมีเป็นเปลว นั่งขัดสมาธิราบ ชายสังฆาฏิยาว เส้นพระศกละเอียด มีไรพระศก พระพุทธรูปยุคนี้เอาอย่างสุโขทัย แต่สุโขทัยเอาอย่างมาจากลังกา

เครดิต บ้านจอมยุทธ



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #26 เมื่อ: 5 เม.ย. 14, 19:04 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

?ตะลึง รอยพระพุทธบาททับทิมสยามแห่งอ่าวไทย มหัศจรรย์ 2,600 ปี พุทธชยันตีหนึ่งเดียวในโลก?



นับเป็นเรื่องมหัศจรรย์เหนือคำบรรยายที่บังเกิดขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ “รอยพระพุทธบาท” ที่ถูกบันทึกไว้ให้ชาวโลกได้รับรู้ มีเพียง 5 แห่ง และมีชาวพุทธนิยมไปสักการะ ก็คือ เขาสุวรรณมาลิกา อินเดีย เขาสุวรรณบรรพต อินเดีย เมืองโยนะกะบุรี อินเดีย แม่น้ำนัมมะทา อินเดีย และที่ดินแดนสยามสุวรรณภูมิ ก็คือ สุมนกูด หรือเขาคิชฌกูฏ จันทบุรี แต่ก็ยังมีความเชื่ออยู่ว่ารอยพระพุทธบาทยังมีอีกมากมายในดินแดนสยามสุวรรณภูมิ หรือแผ่นดินสยามแห่งนี้ ที่ยังมีการค้นพบอีกหลายแห่งในภาคต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นการค้นพบที่น่าทึ่งก็คือ ได้มาจากนิมิตแห่งความลี้ลับ ปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติที่วิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ เพื่อนำไปพบรอยพระพุทธบาท ทั้งบนยอดเขาสูง และพื้นราบซึ่งล่าสุด ครูบาสันยาสี ได้มีนิมิตเห็นรอยพระพุทธบาทขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในมหาสมุทรอ่าวไทย ที่ริมชายหาดกล้วย เกาะกูด จ.ตราด หรือแหลมหินลับมีด ดินแดนติดต่อทางทะเลกับประเทศกัมพูชา และได้ตั้งชื่อว่า “รอยพระพุทธบาททับทิมสยาม”

ครูบาสันยาสี ภิกขุ แห่งสำนักปฏิบัติธรรมพระพุทธบาทจันทาราม (เขาถ้ำพระ)ต.ทุ่งขนาน อ.สอยดาว จ.จันทบุรี ซึ่งมีความเลื่อมใสและศรัทธาในพุทธศาสนา มีความปรารถนาหลุดพ้นจากวัฏฏสงสารทั้งมวล เพื่อสู่พระนิพพาน ได้เดินทางไปปฏิบัติธรรม ณ ยอดเขาพญาเดินธง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ขณะที่นั่งกรรมฐานในวันวิสาขบูชา 2,600 ปี พุทธยันตี ได้เกิดนิมิตเห็นรอยพระพุทธบาทริมหาด ในมหาสมุทรอ่าวไทย เกาะกูด จ.ตราด และได้มีดวงวิญญาณของโอปปาติกะ ผู้ดูแลรักษาสถานที่ และบอกว่าเป็นดวงวิญญาณของเจ้าหญิงสุมลมาลย์ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้ดูแลรักษาสถานที่เกาะกูด เกาะกระดาษ และดูแลรักษารอยพระพุทธบาทแห่งนี้มายาวนาน ปรารถนามาอาราธนานิมนต์พระคุณเจ้าทางนิมิต บอกว่ารอยพระพุทธบาทตั้งอยู่บนอ่าวกล้วย ซึ่งอยู่ในพื้นที่เกาะกูด สถานที่ตั้งรอยพระพุทธบาทเป็นก้อนหินขนาดใหญ่ ลักษณะก้อนหินยื่นลงไปในทะเล เป็นรอยพระพุทธบาท 2 รอยคู่กัน ประทับรอยกลับไปกลับมา (หรือขึ้นลง) เป็นรอยเท้าขนาดใหญ่ เท่ากับรอยเท้าคนแปดศอก มีส้นเท้าและปลายนิ้วอย่างชัดเจนตลอดจนก้นหอย นอกจากนี้ยังมีรอยเท้าเท่ากับคนธรรมดาอยู่บนโขดหินอีกเป็นจำนวนมาก

นิมิตดังกล่าวนี้สอดคล้องกับการเล่าขานกันมายาวนานนับร้อย ๆ ปี ของชาวเกาะกูดและพื้นที่ใกล้เคียงว่าบนเกาะแห่งนี้มีรอยพระพุทธบาทขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ริมชายเกาะ เมื่อน้ำทะเลลดลงจึงจะมองเห็นแม้ว่าจะมีบุคคลจำนวนมากพยายามค้นหารอยพระพุทธบาท แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดพบเห็นมาก่อน และเชื่อกันว่าก่อนกึ่งพุทธกาลเกาะกูดเป็นดินแดนสร้างอาณาจักรมหานิกาย ฮินดู เผยแผ่ศาสนา พระพุทธองค์เสด็จมาอาณาจักรสุวรรณภูมิเพื่อเทศนาโปรดสัตว์ จึงเกิดรอยพระพุทธบาทบนโขดหินริมชายหาด แต่ไม่เคยมีใครค้นพบมาก่อน เมื่อมีนิมิตดีเช่นนี้ ครูบาสันยาสี หรือมหาโยคี จึงได้ลงจากยอดเขาพญาเดินธง จ.ลพบุรี พร้อมศิษยานุศิษย์จำนวนหนึ่งเดินทางมายังท่าเรือจังหวัดตราด เช่าเหมาเรือเร็วขนาดใหญ่ฝ่าคลื่นลมไปค้นหาเป็นระยะทาง 40 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง ถึงแม้จะเป็นหน้าฤดูมรสุม มีฝนตก มีคลื่นลมแรง แต่ก็ได้มีปาฏิหาริย์ให้เห็น เมื่อเริ่มออกเดินทางท้องฟ้าแจ่มใส คลื่นลมสงบเงียบ ทำให้การเดินทางไม่พบอุปสรรคใด ๆ ทั้งไปและกลับ

เป็นที่น่าแปลกใจของคณะที่เดินทางร่วมไปด้วย เพราะแม้แต่ครูบาสันยาสีก็ไม่เคยเดินทางไปยังอ่าวต่าง ๆ ของเกาะกูด แต่สามารถบอกทิศทางนำพาคนขับเรือเร็วซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ไปยังอ่าวกล้วยได้อย่างถูกต้องตามจุดที่ได้เกิดนิมิตเห็นรอยพระพุทธบาท และยังได้สร้างความประหลาดใจให้กับลูกจ้างทำสวนยางพาราจำนวนหลายคนที่ปลูกบ้านพักอยู่ริมชายหาดใกล้ ๆ กับรอยพระพุทธบาท ต่างพูดกันว่า นับเป็นเรื่องมหัศจรรย์จริง ๆ เพราะสถานที่แห่งนี้ได้เดินผ่านไปผ่านมาทุกวัน แต่ไม่มีใครเคยเห็นรอยพระพุทธบาทแห่งนี้เลย ทำให้เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมาก เช่นเดียวกับ นางมณีจันทร์ ศรีทองคำ ได้มาทำธุรกิจที่พักอาศัย และมีที่ดินอยู่บนเกาะกูด เคยได้ยินผู้เฒ่าพูดและเล่ากันมาหลายยุคหลายสมัยว่า ดินแดนเกาะกูดเป็นดินแดนแห่งธรรมที่รุ่งเรืองมาก่อน และมีการพูดกันว่าบนเกาะแห่งนี้มีรอยพระพุทธบาทอยู่แต่ไม่เคยมีใครค้นพบ จนมาทราบข่าวว่า ครูบาสันยาสี พร้อมคณะศิษย์ปได้เดินทางมาสำรวจจึงได้ขอติดตามคณะไปด้วย รู้สึกตกใจ และตะลึงอย่างมากที่พบรอยพระพุทธบาทตามคำเล่าลือมานานแสนนาน ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าพระท่านรู้ได้อย่างไรและเดินทางไปถูก ทั้งที่บริเวณใกล้เคียงรอยพระพุทธบาทได้มีบ้านพักคนงานลูกจ้างทำสวนยาง ปลูกบ้านพักอาศัยอยู่ริมชายหาดแห่งนี้มานานหลายปี เดินผ่านไปผ่านมาทุกวันแต่ไม่มีใครพบเห็นมาก่อนเลย

เพื่อเป็นการพิสูจน์ความจริงให้ประจักษ์ต่อสายตาชาวโลก ครูบาสันยาสี พร้อมคณะศิษย์ได้พาผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ และทีวี เดลินิวส์ ร่วมเดินทางไปบันทึกภาพเพื่อเป็นสักขีพยาน ตรงจุดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ตรงข้ามกับเกาะกง กัมพูชา และได้พากันลงน้ำทะเลขึ้นไปยังชายฝั่ง พบรอยพระพุทธบาทชัดเจนอยู่บนแผ่นหินริมชายหาด จึงได้นำบายศรี ดอกไม้ ธูปเทียนไปสักการะเพื่อขออนุญาตในการตรวจสอบ และบันทึกภาพมาเผยแพร่ให้สาธุชนชาวพุทธได้รับทราบว่า พบรอยพระพุทธบาท ซึ่งค้นพบในปีพุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้ ซึ่งเป็นปีมหามงคลของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในดินแดนสุวรรณภูมิของไทย กลางอ่าวไทยตอนล่าง ซึ่งมีความชัดเจน สวยงาม เป็นธรรมชาติ และจะมองเห็นได้ชัดในช่วงน้ำทะเลลง พร้อมตั้งชื่อว่า “รอยพระพุทธบาททับทิมสยาม”.

พัชรพล ปานรักษ์ / ชิงชัย เชิดกลิ่น


เครดิต นสพ.เดลินิวส์



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #27 เมื่อ: 6 เม.ย. 14, 01:24 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

?ตะลึง รอยพระพุทธบาททับทิมสยามแห่งอ่าวไทย มหัศจรรย์ 2,600 ปี พุทธชยันตีหนึ่งเดียวในโลก?




noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #28 เมื่อ: 6 เม.ย. 14, 10:23 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

มีหลักฐานว่า พุทธศาสนาเกิดในไทยหรือประเทศใกล้เคียงมากกว่าในอินเดียตอน3


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #29 เมื่อ: 6 เม.ย. 14, 12:32 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ปัญหามา ปัญญามี
ปัญญามี เกิดจากสติ
สติดีจำเป็นที สมาธิ มั่นคง..!!
.................. q*014q*014

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #30 เมื่อ: 7 เม.ย. 14, 13:58 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

คุณทองผาเข้าใจธรรมะขั้นพื้นฐาน ต่อไปจะมีดวงตาเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นจะเห็นเรา...คือพระพุทธเจ้านั่นเองครับ...



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #31 เมื่อ: 21 พ.ค. 14, 07:51 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

เริ่มต้นในกระทู้ใหม่ครับคุณจูครับ..เริ่มกระทู้ใหม่หน้า 61 เรื่อง "มีหลักฐานว่า พุทธศาสนา น่าจะเกิดในไทยหรือประเทศใกล้เคียงมากกว่าในอินเดียตอน3"เราไปเริ่มใหม่ที่นี่ครับ..



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #32 เมื่อ: 21 พ.ค. 14, 07:54 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

พูดคุยกันได้ทุกเรื่องครับ...ยกเว้นเรื่องการเมืองครับ...

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:  ประเทศ หรือ ใกล้เคียง มากกว่า 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
: