หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ผลวิจัยครั้งใหม่ปฏิวัติความคิดเดิมๆเกี่ยวกับการเกิดโรคเบาหวานในเมืองใหญ่ทั่วโลก  (อ่าน 49 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 16 พ.ย. 15, 15:04 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

แบ็คสวาร์ด, เดนมาร์ก--16 พ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

จากการวิจัยครั้งใหม่ที่ทาง University College London (UCL) ได้จัดทำตามโครงการความร่วมมือ Cities Changing Diabetes นั้น พบว่า ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นความกดดันในเรื่องของเวลา เวลาที่ใช้ในการเดินทาง รวมถึงที่อยู่อาศัยนั้น ต่างมีบทบาทสำคัญต่อการเกิดโรคเบาหวาน [1]

- ผลวิจัยเกี่ยวกับการเกิดโรคเบาหวานในเมืองครั้งใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งจัดทำในเมืองใหญ่ 5 เมืองที่มีประชากรรวมกัน 60 ล้านคน บ่งชี้ว่า เมืองเหล่านี้จำเป็นต้องพิจารณายุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขและการวางแผนเมืองเสียใหม่ เพื่อรับมือกับโรคเบาหวานที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว
- ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคเบาหวานมากกว่า 400 ล้านคน โดยกว่าสองในสามจากทั้งหมดใช้ชีวิตอยู่ในเมือง [2], [3]
- Novo Nordisk ผู้ริเริ่มโครงการความร่วมมือนี้ ได้ให้คำมั่นว่าจะให้เงินสนับสนุนกว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในด้านผู้เชี่ยวชาญและการวิจัยในโครงการ Cities Changing Diabetes ไปจนถึงปี 2563
- ผลการค้นพบดังกล่าวจะได้รับการนำเสนอต่อคณะผู้แทนในการประชุมสุดยอดระดับนานาชาติที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ในวันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายนนี้ พร้อมกันนั้นจะมีการประกาศว่า ในปี 2559 แวนคูเวอร์และโจฮันเนสเบิร์กจะเข้าร่วมกับเม็กซิโกซิตี้ เซี่ยงไฮ้ เทียนจิน โคเปนเฮเกน และฮิวสตัน ในฐานะเมืองพันธมิตรของโครงการ

การวิจัยระดับนานาชาติที่ทาง University College London (UCL) ได้จัดทำขึ้นตามโครงการความร่วมมือ "Cities Changing Diabetes" ได้ท้าทายความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันว่าด้วยการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโรคเบาหวานในเขตเมือง โดยผลการค้นพบบ่งชี้ว่า ในเมืองต่างๆทั่วโลกนั้น ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการแพร่ระบาดของโรคเบาหวานมากกว่าที่เคยคิดกัน

รับชมสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่
http://www.multivu.com/players/English/7690951-study-rethink-rise-diabetes-in-cities/

ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคเบาหวานมากกว่า 400 ล้านคน ซึ่งกว่าสองในสามใช้ชีวิตอยู่ในเมือง [1], [2] ด้วยเหตุนี้ การวิจัยระยะเวลาหนึ่งปีในโครงการ Cities Changing Diabetes ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ-ภาคเอกชน-ภาควิชาการ จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจต่อปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยในเมืองเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขที่กดดันมากที่สุดปัญหาหนึ่งในโลกยุคปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อศึกษาปัญหาอันซับซ้อนเช่นนี้ จึงได้มีการสัมภาษณ์ผู้ที่มีความเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเบาหวานกว่า 550 ครั้งใน 5 เมืองใหญ่อย่างโคเปนเฮเกน ฮิวสตัน เม็กซิโกซิตี้ เซี่ยงไฮ้ และเทียนจิน

"โครงการวิจัยทั่วไปให้ความสำคัญกับปัจจัยเสี่ยงทางชีวการแพทย์ที่ส่งผลต่อโรคเบาหวานเป็นหลัก จึงไม่มีการเจาะลึกถึงผลกระทบจากปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีต่อโรคร้ายนี้" เดวิด เนเปียร์ ศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยาการแพทย์แห่ง UCL กล่าว "การวิจัยเชิงบุกเบิกของเราจะช่วยให้เมืองทั่วโลกสามารถชี้นำให้ประชากรของตนใช้ชีวิตอย่างห่างไกลจากโรคเบาหวานได้"

การวิจัยดังกล่าวบ่งชี้ว่า ความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานในเมืองมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่ผสมผสานกันอย่างซับซ้อน [1] ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้คนมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในระยะแรก และท้ายที่สุดก็ส่งผลให้มีโอกาสน้อยลงในการได้รับการวินิจฉัย การรักษา และดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ปัจจัยทางสังคมที่ค้นพบมีทั้งในแง่ของการเงิน ภูมิศาสตร์ ทรัพยากร และข้อจำกัดด้านเวลา ขณะที่ปัจจัยทางวัฒนธรรมครอบคลุมถึงความคิดในเรื่องขนาดของร่างกายและสุขภาพ รวมถึงขนบธรรมเนียมที่ฝังรากลึกมาเป็นเวลานาน [1]

"ข้อมูลเชิงลึกที่เราได้รับจากโครงการ Cities Changing Diabetes ได้ปฏิวัติความคิดของเราที่มีต่อโรคเบาหวานในเมือง" ดร.อาร์มันโด อาเวด ออร์เทกา รัฐมนตรีสาธารณสุขประจำเม็กซิโกซิตี้ กล่าว "ความเข้าใจใหม่ๆเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงทางสังคมและวัฒนธรรม จะช่วยปูทางสู่ความก้าวหน้าในการกำหนดนโยบายสาธารณสุขให้เจาะจงและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับพลเมืองของเรา"

ผลการค้นพบสำคัญในเมืองที่ร่วมการวิจัย [1]

- ในฮิวสตัน ความคิดเดิมๆที่ว่าผู้ด้อยโอกาสเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงได้ถูกหักล้างลง เพราะมีการค้นพบว่าทั้งกลุ่มที่มีและไม่มีข้อจำกัดทางการเงินต่างก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน
- ในเม็กซิโกซิตี้ บทบาททางเพศอาจมีส่วนเพิ่มความเสี่ยง เนื่องจากผู้หญิงมักไม่ใส่ใจสุขภาพของตนเอง เพราะไม่อยากให้ตัวเองถูกมองว่าเป็นภาระ
- ในโคเปนเฮเกน โรคเบาหวานไม่ใช่สิ่งที่ผู้คนกังวลมากที่สุด เนื่องจากยังมีปัญหาทางสังคมและสุขภาพอีกมากมายให้กังวล เช่น การว่างงาน ปัญหาทางการเงิน และความโดดเดี่ยว
- ในเซี่ยงไฮ้ วัฒนธรรมในการปฏิเสธความยุ่งยากนั้น ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเลือกที่จะไม่ขอความช่วยเหลือจากเพื่อน ครอบครัว และผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์
- ในเทียนจิน ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุของโรคแตกต่างกันไป ทั้งการรับประทานอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ การโหมทำงานหนักเกินไป และสุขภาพจิตใจที่ย่ำแย่

การค้นพบครั้งนี้ผลักดันให้ Novo Nordisk เกิดความตั้งใจที่จะให้การสนับสนุนการต่อสู้กับโรคเบาหวานในเมือง ผ่านการลงทุนมูลค่าถึง 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐในด้านผู้เชี่ยวชาญและการวิจัยไปจนถึงปี 2563 โดยคุณลาร์ส เรอเบียน ซอเรนเซน ประธานและประธานบริหารของ Novo Nordisk กล่าวว่า "เรามีความมุ่งมั่นตั้งใจมาอย่างยาวนานในการนำเสนอแนวทางการต่อสู้กับโรคเบาหวานที่นอกเหนือไปจากการใช้ยา การวิจัยนี้เผยให้เห็นอย่างชัดเจนถึงเหตุผลที่เราได้ริเริ่มโครงการ Cities Changing Diabetes ขึ้นมา เพื่อปฏิวัติแนวโน้มของโรคร้ายนี้ ผ่านการดำเนินงานอย่างตรงจุดตามความรู้ความเข้าใจที่ค้นพบใหม่"

โครงการ Cities Changing Diabetes ประกอบไปด้วยการดำเนินงาน 3 ขั้นตอนที่มีความเชื่อมโยงกัน ได้แก่ ระยะศึกษา ระยะแลกเปลี่ยน และระยะปฏิบัติการ ซึ่งในตอนนี้ระยะศึกษาได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว หลังจากนี้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญ 250 ท่านจากทั่วโลกจะมารวมตัวกันที่การประชุมสุดยอดที่กรุงโคเปนเฮเกน เพื่อพูดคุยถึงผลการศึกษาและหารือถึงวิธีการจัดการกับโรคเบาหวานตามเมืองต่างๆ

สำหรับเป้าหมายในระยะยาว โครงการความร่วมมือนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดการกับการระบาดของโรคเบาหวานในเมืองต่างๆทั่วโลก ผ่านการแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกและความรู้จากทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยในปี 2559 แวนคูเวอร์และโจฮันเนสเบิร์กจะเข้ามาร่วมเป็นเมืองพันธมิตรในโครงการ เพื่อมีส่วนในการให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่โครงการนี้ต่อไป

แหล่งข่าว: Novo Nordisk

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม