ร่วมวิเคราะห์บทความทางด้าน
ภาษีกับการก้าวเข้าสู่ประชาคมเสรีอาเซียน หรือ AEC ท่านสามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ทาง Link ด้านล่างค่ะ
+++++++++++++
ภาษี กับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน :
ดำริ ดวงนภา (Tax Auditor) ผู้บริหารสถาบันคัสเม่และสำนักงานโปรซอฟท์การบัญชี ระยอง
บทความ นี้ มีวัตถุประสงค์ ให้ท่านผู้อ่านได้ทราบถึงผลกระทบทางภาษีอากร เศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน จากการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asian Economic Community : AEC) ซึ่งประเทศสมาขิก ได้ลงนามในปฏิญญาตกลง ให้เป็นประชาคมเดียวกัน โดยมีผลในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 นี้ ผลจากการเปิดเสรี มีประเด็นที่ผู้ประกอบการไทย ควรต้องเตรียมพร้อม เพื่อรองรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และเตรียมตัว ให้แข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ ในขณะที่รัฐบาลก็จำเป็นต้องปฏิรูประบบภาษีให้เหมาะสมและทันสมัย ซึ่งได้วิเคราะห์ปัญหา และแนวทางแก้ไขไว้ ในส่วนท้ายของบทความ
กล่าวได้ว่า การลดอัตราการจัดเก็บ ภาษีเงินได้นิติบุคคลของรัฐบาลไทยที่ผ่านมา(เป็นการลดชั่วคราว) จากอัตรา 30 % ให้เหลือ 23 % ในปีภาษี 2555 และ เหลือ 20 % ในปีภาษี 2556-2557-2558 นับเป็น มาตรการทางการคลัง มาตรการหนึ่ง ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเพิ่มแรงจูงใจการลงทุน จากนักลงทุนต่างประเทศ ถือเป็นนโยบายเชิงรุกของรัฐบาลในการเตรียมความพร้อมในการรับมือ ก่อนการเปิดเสรี AEC ในสิ้นปี 2558 ที่จะถึงนี้
โดยที่ เป้าหมายของ AEC มีความต้องการให้ประเทศในกลุ่มอาเซียน เป็นตลาดเดียว และ เป็นฐานการผลิตเดียว(Single Market & Single Production) ทั้งนี้เพื่อเสริมความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลก วิธีการก็คือ ให้แต่ละประเทศ ( 10 ประเทศ) * ในกลุ่มประชาคมอาเซียน มีการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และแรงงาน ให้มีการย้ายปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ได้โดยเสรี กระแสของการเปิดเสรี หรือ กระแสโลกาภิวัฒน์ ของการเคลื่อนย้ายทุน แรงงาน การค้าเสรี เช่นนี้ จะส่งผลกระทบต่อ โครงสร้างรายได้ภาษี ของแต่ละประเทศ จากการศึกษาผลกระทบของ AEC ต่อโครงสร้างการจัดเก็บภาษี ของนักวิชาการภาษีอากร พบว่า เมื่อเปิดเสรี AEC จะทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้ ของแต่ละประเทศจะมีข้อจำกัดมากขึ้น การกำหนดนโยบายภาษีไม่อาจกำหนดได้โดยเพียงการพิจารณาจากข้อมูลพื้นฐานภายในประเทศของตนเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ทุกประเทศ จำเป็นต้องพิจารณาทุกประเภทภาษีของตนเอง เปรียบเทียบกับภาษีของประเทศต่าง ๆ ในกลุ่ม AEC เพื่อการกำหนดนโยบายภาษีที่เหมาะสมและสอดคล้อง ต่อการแข่งขัน เช่น (ตารางที่ : 1)
(รับชมรูปตารางพร้อมอ่านบทความต่อเนื่องได้ทาง http://prosoftaccounting.blogspot.com/2015/12/aec-aec.html]http://prosoftaccounting.blogspot.com/2015/12/aec-aec.html )
สำนักงานบัญชีโปรซอฟท์การบัญชี 20 ปีแห่งความไว้วางใจเพื่อชาวระยอง
