ดร.ประมวล สุธีจารุวัฒน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์แง่คิดสรุปๆ เกี่ยวกับปัญหาของ แอร์พอร์ตลิงก์ ที่ประสบปัญหาขัดข้องบ่อย ที่บอกว่านี่เป็นสัญญาณเตือนแล้ว เพราะระบบดังกล่าวกำลังรวน และคำเตือนเมื่อ 2 ปีก่อน ดูเหมือนจะยังไม่ได้รับการแก้ไข...
1.
งานซ่อมบำรุงของ SARL แตกต่างไปจาก BTS และ MRT เพราะต้องบริหารซ่อมบำรุงด้วยตัวเอง ใช้ outsource จากเอกชนเหมือนรถไฟฟ้าอื่นๆ ที่จ้างบริษัท Siemens มาดำเนินการ แต่ก็ยังมีปัญหาที่ใหญ่ตอนนี้คงเป็นวิธีบริหารจัดการขององค์กรเอง
2. กระบวนการซ่อมบำรุง หลังเปิดให้บริการมา 5-6 ปีแล้ว แม้จะรับมือได้ แต่ปัญหาเกิดจากการขาดแคลนอะไหล่ซ่อมบำรุงเป็นหลัก เป็นต้นเหตุทำให้ปัญหาสารพัดของ SARL เป็นเหมือนระเบิดเวลา
3. ทีมงานวิจัยของจุฬาฯ เคยบอกข้อมูลเมื่อปี 2557 ว่า รถไฟฟ้า SARL มีระบบความปลอดภัยในการใช้งานราวๆ 1.3 ล้านกิโลเมตร ตามคู่มือรถไฟฟ้าเมื่อใช้งานครบ 1.2 ล้านกิโลเมตร จะต้องทำการซ่อมบำรุงหนัก แต่ปัจจุบัน SARL ยังไม่มีการซ่อมบำรุงแบบนี้ ทำให้ตอนนี้น่าจะทำระยะไปแล้ว 1.7 ล้านกิโลเมตร ย่อมหมายถึง ทุกอย่างกำลังดำเนินไปภายใต้ความไม่แน่นอน ไม่มีใครรับรองผลได้
4. SARL ซื้อขบวนรถ 9 ขบวน Express 4 กับ CityLine 5 ใช้ไปก็มีเสีย 1 ขบวน เลยถอดอะไหล่รถคันนั้นมาซ่อมให้ขบวนที่เหลือ ปลายปี 2558 ก็หยุดให้บริการแบบ Express ทำให้ดัดแปลงรถมาบริการ CityLine ก่อนที่จะเสียอีก 1 ขบวน อะไหล่ก็ถูกเวียนกันซ่อมต่อไป
5. เหตุสุดวิสัยร้ายแรงอาจจะเกิดได้จากความบกพร่องของสภาพราง เหมือนที่เคยเกิดกับ BTS แต่ร้ายแรงกว่า บวกกับการตอบสนองเหตุฉุกเฉินที่ล่าสุด อย่างกรณีล่าสุดทำให้เป็นสัญญาณเตือนที่ต้องระวัง
6. ปัญหาของ SARL ตอนนี้อาจเป็นเรื่องซ่อมบำรุง แต่โครงสร้างองค์กรและการบริหาร ท่ามกลางความไม่พร้อมของไทย อาจจะส่งผลต่อการพัฒนาระบบรางอื่นๆ ได้ในอนาคต
7. SARL ตอนนี้อยู่ในสภาพวิกฤต เวลาได้พิสูจน์แล้ว เงื่อนไขบริการจัดการต่างๆ ไม่สามารถทำอะไรได้เลย รัฐบาลต้องอะไรสักอย่าง ก่อนที่จะสายเกินไป...
ที่มา:
Facebook: Assistant Professor Pramual Suteecharuwat, Ph.D.