ทำนมแล้วยังให้นมลูกได้ไหม มีผลกระทบอย่างไรบ้าง เป็นคำถามหนึ่งที่ถูกถามมา บ่อยมากๆ ว่า ทำนมแล้วยังให้นมลูกได้ หรือไม่? สำหรับการทำศัลยกรรมตก
แต่งเพื่อการลดหรือเพิ่มขนาดของเต้านม ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องคือ
"เรื่องของการตัดเอาท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม และเส้นประสาทออกไปหรือไม่" เพราะอาจทำให้กลไกน้ำนมพุ่ง "Let Down Reflex" ขาดหายไป การส่งกระแสประสาทให้เกิดการสร้างน้ำนมก็จะลดลงหรือหายไปได้ ถ้ายังคงอยู่ดีก็ไม่มีผลกระทบโดยตรงกับการให้นมค่ะ และยังสามารถใช้หลักการเดิม คือ 3 ดูด ดูดโดยเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี ยิ่งดูดมากน้ำนมยิ่งมากได้เหมือนเดิมค่ะ

การเพิ่มขนาดเต้านมอาจทำโดยการสอดใส่ถุงน้ำเกลือ หรือถุงซิลิโคนเข้าไปใต้เต้านม สมัยนี้มักสอดเข้าบริเวณรักแร้หรือบริเวณอื่นที่ไม่มีการตัด ตกแต่งบริเวณหัวนม กลุ่มนี้มักไม่มีปัญหาจากการตัดท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนมต่างจากกลุ่มที่ตัดหรือลดขนาดของเต้านม ที่มักมีการตกแต่งบริเวณหัวนม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมีความแตกต่างกันตามเทคนิคที่แพทย์ แต่ละท่านทำและการให้ความสำคัญกับการให้นมลูก โดยเฉพาะคุณ ๆ ที่ตัดสินใจทำศัลยกรรมประเภทนี้ในวัยที่ยังอาจมีลูกได้ ถ้ายังไม่ทราบว่าผ่าตัดแบบไหนก็คงต้องถามแพทย์ที่ทำให้ค่ะ
ให้นมลูก หน้าอกที่ทำมาจะเบี้ยวไหม ?คุณ
แม่ที่ผ่าตัดหน้าอกมาอาจลังเลว่า ให้นมลูกแล้วเต้านมจะเสียทรงจากที่ทำมาไหม สำหรับผู้ที่คิดว่าหลังจากให้นมบุตรแล้วหน้าอกเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างจนอยู่ตัวแล้วไม่เปลี่ยนแปลงอีกก็สามารถทำได้ แต่สำหรับใครที่แพลนจะมีลูกต่อไป คุณหมอมักจะแนะนำว่าหน้าอกอาจมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอีก หากทำแล้วอาจต้องมีการแก้ไข
สรุป :ผ่าตัดเสริมหน้าอกใส่ซิลิโคน ถุงน้ำเกลือ ฯลฯ ที่เต้า หรือ ทางรักแร้ สามารถให้นมได้ไม่มีปัญหา
ถ้าผ่าตัดลดขนาด หรือผ่าตัดบริเวณหัวนม ในบางกรณีอาจมีความเสี่ยงตัดเอาท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม และเส้นประสาทออกไป ทำให้มีผลกับการให้นมได้ ต้องปรึกษาคุณหมอก่อน
น้ำนมจะพอเลี้ยงลูกไหม ?
โดยส่วนใหญ่จะพบว่า
แม่หลังจากผ่าตัดเสริมเต้านม สามารถประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้เท่ากับคนที่ไม่ได้ผ่าตัด มีบางรายที่มีอาการชาหรือหมดความรู้สึกที่บริเวณลานนม หรือหัวนมซึ่งอาจใช้เวลาในการฟื้นฟูกลับเป็นปกติได้ในเวลา 6 เดือนหลังผ่าตัด หรือบางรายอาจเป็นถึง 2 ปีแล้วแต่กรณี ผู้ที่ผ่านการผ่าตัดอาจรู้สึกไม่มั่นใจว่า จะมีน้ำนมพอให้ลูกกินหรือไม่ ขอแนะนำให้ทำในสิ่งต่อไปนี้
พยายามอย่าใช้ความรู้สึกเป็นตัวตัดสินดูที่สุขภาพลูกเป็นหลัก
หมั่นให้ลูกกินนมอย่างสม่ำเสมอ กินอย่างถูกวิธี
สวมเสื้อยกทรงหรือมีสิ่งประคับประคองเต้านมไว้เสมอ โดยไม่ให้หลวมหรือคับแน่นจนเกินไป
อย่าให้มีการดึงรั้งหัวนมหรือเต้านม เช่น การดึงเอาหัวนมออกจากปากลูก ฯลฯ
ดูแลตนเองโดยการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อน และมีจิตใจที่แจ่มใส
ถ้าจำเป็นต้องกระตุ้นน้ำนมให้ลูกดูดกระตุ้นที่เต้าก่อนเสมอ
สามารถบีบเก็บน้ำนมด้วยมือหรือปั้ม เพื่อใช้เสริมให้ลูกในกรณีที่จำเป็น โดยให้นมลูกผ่านทางสายยางขนาดเล็ก หรือใช้หยดที่มุมปากตอนดูดจากเต้าก็ได้
ใช้การเสริมด้วยนมชงเป็นทางเลือกสุดท้าย ถ้าแสดงอาการน้ำนมที่ได้ไม่พอ
คัดลอกมาจาก http://artebeauteclinic.com
จากนิตยสารนิตยสาร Modern Mom
ที่มาwww.rakluke.com