เรื่องล่าสุดของหมวด
เติมเสน่ห์ให้ฤดูร้อนนี้กับ 7 น้ำหอมออกใหม่ ความลับที่ทำให้ใครก็อยากอยู่ใกล้
ทรงผมสั้นเกาหลี 2021 ทรงน่ารักๆ ไม่แก่
พอกันทีกับหมีแพนด้า! มาแก้ปัญหาใต้ตาดำตามแบบฉบับผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นกัน
H-FURUZAWA เปิดตัว 2 ผลิตภัณฑ์ คืนความกระจ่างใส ให้วัย 30 พลัส
"ชมพู่ อารยา" แจกวิธีโพกผ้าเก๋ แบบง่ายๆ ทำได้เพียง 10 วินาที
ก้าวสู่วัยแตกเนื้อสาวอย่างมั่นใจด้วย 6 วิธีดูแลตัวเองที่สาววัยใสควรรู้
ถอดรหัส 100 ปี GUCCI ผ่านคอลเลคชั่นที่น่าตื่นตาที่สุดในประวัติศาสตร์แฟชั่น
"เก๋ไก๋ สไลเดอร์" ปลดล็อคความคิด ใส่ชุดว่ายน้ำอวดความแซ่บ ปนน่ารักครั้งแรก
รวม 50 ไอเดียแมทช์ "เสื้อเชิ้ต" หลายสไตล์ แต่งแล้วไม่เชย แถมสวยดูดีสุดๆ
เปิดใจเจ้าแม่แฟชั่น "ขิม-ทิพย์ลดา เชาวนปรีชา" เพราะทุกลุคที่เห็นล้วนผ่านการคิดมาแล้ว
ใส่แตะก็สร้างลุคเก๋ได้ รวม 10 รองเท้าแตะคู่เด่นประจำซีซันมาให้ใส่สบายกันร้อนนี้
ส่องไอเทมแฟชั่นของสาวๆ ที่หนุ่มญี่ปุ่นมองว่า "ไม่เห็นน่ารักเลย"
7 วัน 7 เมนูอาหาร ทำกินที่บ้าน ไม่ง้อร้านอาหาร
วิธีรับมือพฤติกรรมเครียดแล้วชอบกิน ทำตามนี้...เลี่ยงปัญหาน้ำหนักพุ่งได้ชัวร์
"จ๋า ณัฐฐาวีรนุช" แนะนำท่าออกกำลังกายที่บ้านด้วย "ถุงเท้า" คู่เดียว
8 คุณประโยชน์จากคีนัว ซูเปอร์ฟู้ดที่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารครบ
วิธีทำเต้าหู้ลูกสะใภ้ ครบรสถึงใจ อร่อยทำง่ายไม่แพ้ลูกเขย
คุณแม่ต้องรู้ 5 ข้อเสียจากการปล่อยให้ลูกหลับคาขวดนม
หน้า: 1
แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?
ผ่านไตรมาสแรกมาได้ คุณพ่อคุณแม่คงโล่งใจ ที่ลูกน้อยในท้องแข็งแรง และพร้อมเติบโตไปจนถึงวันคลอด แต่ในไตรมาสที่สองนี้ ยังมีอะไรอีกมากมายรออยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นอาการที่เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงสรีระ และฮอร์โมนของตัวคุณแม่เอง ดังนั้น ถ้ารู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ คลายกังวล และเตรียมตัวรับมือได้1.ลูกดิ้น เข้าเดือนที่ 4 คุณแม่บางคนจะเริ่มรับรู้ถึงความรู้สึกเหมือนมีอะไรมาตอดตรงหน้าท้อง อาการแบบนี้ คือลูกน้อยเริ่มดิ้นจนคุณแม่รู้สึกได้ ช่วงนี้ คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่จดบันทึกการดิ้นของลูก เพื่อเฝ้าสังเกตุความผิดปกติ และสำหรับคุณแม่บางท่าน อาจเริ่มรับรู้ว่าลูกดิ้นได้ช่วงเดือนที่ 5 ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องปกติ2.หน้าท้อง อาจขยายใหญ่ หรือไม่ก็ได้ คุณแม่หลายคนเข้าใจผิดว่า เข้าเดือนที่ 4 ท้องต้องโต หากท้องไม่โต ลูกอาจตัวเล็ก อันที่จริง ท้องจะโตหรือไม่โต มาจากปัจจัยหลายๆข้อ ทั้งประวัติการตั้งครรภ์ กรรมพันธุ์ หรือแม้กระทั่งสรีระของคุณแม่เอง ซึ่งขนาดท้อง ไม่ได้สัมพันธ์กับขนาดของตัวเด็ก 3.ฉี่บ่อย เนื่องจากมดลูกจะเริ่มขยายจนไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ อาจทำให้พื้นที่เก็บปัสสาวะเหลือน้อยลง จึงปวดฉี่บ่อยขึ้น4.ปวดบริเวณข้อต่อต่างๆ ร่างกายของเรามีความมหัศจรรย์ที่สุดก็คือตอนตั้งครรภ์ เพราะร่างกายจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับวันคลอด ไตรมาสที่สองนี้ กระดูกเชิงกรานจะเริ่มเคลื่อนขยายออก โดยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะถูกหลั่งออกมา เพื่อคลายเส้นเอ็นที่ใช้ยึดกระดูเชิงกราน แต่การหลั่งของฮอร์โมน ไม่ได้ออกฤทธิ์เฉพาะจุด แต่กลับออกฤทธิ์กับข้อต่อทั่วร่างกาย ช่วงนี้คุณแม่จึงจะเริ่มมีอาการปวดเมื่อย และอาจรุนแรงขึ้นเมื่อถึงไตรมาสที่สาม5.ปวดหลัง ขนาดท้องที่โตขึ้น ทำให้ร่างกายคุณแม่มีจุดศูนย์ถ่วงที่เปลี่ยนไป ส่วนท้องที่ขยาย จะดึงรั้งกระดูกสันหลัง จนเกิดเป็นอาการปวดเมื่อย ซึ่งหากปล่อยไว้ อาจทำให้คุณแม่หงุดหงิด เมื่อ คนท้องนอนไม่หลับ จนกลายเป็นความเหนื่อยล้าสะสม ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกในท้องอาการต่างๆที่เกิดขึ้น ถือเป็นเรื่องปกติของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ แต่สำหรับอาการปวดเมื่อยต่างๆ ทั้งข้อต่อ และบริเวณหลัง คุณแม่ควรหาตัวช่วยเพื่อไม่ให้กลายเป็นปัญหาเรื้อรัง โดยอาจใช้ยานวด ปรับท่านั่ง ท่านอน ใช้ หมอนรองสำหรับคนท้อง หรือ หมอนรูปตัวยู เป็นอุปกรณ์เสริม เพื่อช่วยลดอาการปวดเมื่อย และทำให้สามารถพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ ส่งผลดีต่อทุกฝ่าย ทั้งคุณแม่ และลูกน้อย
แจ้งเตือน
ภาพและเนื้อหาต่อไปนี้ ไม่เหมาะสมแก่เด็ก และเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี