หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: จีน-ญี่ปุ่นหารืออย่างจริงจังเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัล  (อ่าน 12 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 11 ธ.ค. 20, 07:13 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

รายงานจาก Science and Technology Daily | IUSTC:

ในปี 2563 โรคโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อโลก ขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัลได้เน้นย้ำถึงศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ในการร่วมตอบสนองต่อการระบาดทั่วโลก

รายงานของ Oxford Economics ประมาณการว่า สัดส่วนของเศรษฐกิจดิจิทัลต่อจีดีพีโลกจะขยายตัวจาก 15% สู่ระดับ 25% ภายในปี 2568 ปัจจุบัน ในแง่ขนาดเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น สหรัฐอเมริกามีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 1 ตามมาด้วยจีนเป็นอันดับ 2 ขณะที่เยอรมนี ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักรอยู่ในอันดับ 3 ถึง 5

เทรนด์การพัฒนาผลักดันให้ "เศรษฐกิจดิจิทัล" มีความโดดเด่นบนเวทีโลก ขณะที่ประเด็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ได้รับการโปรโมทภายใต้กรอบความร่วมมือระดับทวิภาคและพหุภาคี

"การประชุมย่อยด้านเศรษฐกิจดิจิทัล" ภายใต้ "การประชุมปักกิ่ง-โตเกียว" ครั้งที่ 16 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการ 12 ท่านจากจีนและญี่ปุ่น ได้หารือกันถึงความเป็นไปได้ในการร่วมมือระหว่างสองประเทศ ซึ่งสองฝ่ายได้บรรลุฉันทามติในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

หัวข้อใหม่: เศรษฐกิจดิจิทัลเกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลสังคมอย่างไร

เรากำลังสร้างประชาคมดิจิทัลแบบไหน คุณจ้าว เจียนหนาน รองประธานฝ่ายพาณิชย์และหัวหน้าผู้แทนของ Tencent Cloud ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ตอกย้ำถึงความสำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัล โดยกล่าวว่า "เทคโนโลยีดิจิทัลเปรียบเหมือน "เส้นเอ็น" ของความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคม โดยช่วยบรรเทา "ผลกระทบที่รุนแรง" ด้วย "ความยืดหยุ่นสูง" และช่วยออมแรงสู่การ "ฟื้นตัวเป็นรูปตัว V" ของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในขั้นตอนการข้ามผ่านความเลวร้ายทางเศรษฐกิจอันเป็นผลมาจากโรคระบาด"

เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทอย่างไรในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและธรรมาภิบาลสังคม

คุณหลิว ซ่ง รองประธานบริษัท Alibaba ชี้ว่า ธรรมาภิบาลดิจิทัลจะกลายเป็นทิศทางที่สำคัญในการเสริมสร้างโลกาภิบาล จากมุมมองของการต่อสู้กับโควิด-19 และการฟื้นฟูเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ธรรมาภิบาลร่วมแบบพหุนิยมอิงเทคโนโลยีดิจิทัลจะกลายเป็นธรรมาภิบาลสังคมและเมืองรูปแบบใหม่ ผู้เชี่ยวชาญในที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ และเชื่อว่าเอเชียจะกลายเป็นภูมิภาคสำคัญในการทดลองพัฒนาระบบดิจิทัลในระดับโลก

สำหรับคำถามเกี่ยวกับวิธีการจัดการข้อมูล โดยเฉพาะการยืนยันข้อมูลข้ามพรมแดน ภาษีอากร และปัญหาอื่น ๆ ที่หลายประเทศกำลังเผชิญอยู่ คุณหลิวอธิบายโดยยกตัวอย่างภูมิปัญญาในการจัดการน้ำแบบจีนโบราณ โดยกล่าวว่า "องค์ประกอบของข้อมูลทุกวันนี้มีความคล้ายคลึงกับองค์ประกอบของน้ำอย่างมาก การจัดการข้อมูลก็คล้ายกับการจัดการน้ำ ซึ่งไม่ควรถูกขัดขวางหรือกระจาย เนื่องจากองค์ประกอบข้อมูลมีความหลากหลายและแตกต่าง จึงไม่สามารถใช้กฎตายตัวในการควบคุมสภาพคล่องของข้อมูล"

ตัวแทนจากทั้งสองประเทศเห็นพ้องกันว่า ยุคแห่งเศรษฐกิจดิจิทัลได้เริ่มขึ้นแล้ว ความรู้และข้อมูลดิจิทัลได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต และเป็นพลังขับเคลื่อนใหม่ที่ผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคม

ในส่วนของเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งอาจนำไปสู่การปฏิวัติทางเทคโนโลยีรอบใหม่ มีคำถามว่าเราจะรุกสร้างสรรค์นวัตกรรมและก้าวไปข้างหน้าอย่างเป็นระเบียบภายใต้กฎเกณฑ์ไปพร้อมกันได้อย่างไร

คุณฟาง หานถิง ผู้ดำเนินการประชุมจากฝั่งจีน และรองประธานของหนังสือพิมพ์ Science and Technology Daily แสดงให้เห็นว่า นวัตกรรมกับกฎเกณฑ์เป็นคู่ตรงข้ามกัน หากปราศจากกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่แน่นอนก็จะไม่สามารถระบุได้ว่าสิ่งไหนควรควบคุมและสิ่งไหนควรผ่อนคลาย ในทางกลับกัน หากไม่มีการควบคุมความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเมื่อกิจกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ ก็จะเกิดปัญหาที่คาดเดาไม่ได้มากมาย หากมองจากอีกมุมหนึ่ง นวัตกรรมคือการบุกเบิกสิ่งใหม่ ขณะที่กฎเกณฑ์จะช่วยปกป้องนวัตกรรม ซึ่งองค์ประกอบทั้งสองนี้ควบคุมและส่งเสริมซึ่งกันและกันในเวลาเดียวกัน

ยกตัวอย่างเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ คุณโทชิโอะ อิวาโมโตะ หัวหน้าที่ปรึกษาองค์กร บริษัท NTT DATA Corporation แนะนำว่า นักพัฒนาข้อมูลด้านเทคโนโลยี AI จำเป็นต้องกำหนดกฎเกณฑ์การใช้ข้อมูล และควรกำหนดกฏเกณฑ์ควบคุมผู้ใช้ข้อมูล ขณะเดียวกัน คุณโนริฮิโระ ซูซูกิ กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท Hitachi เสนอแนะว่า การใช้ข้อมูลจำเป็นต้องใช้ปัญญามากขึ้นเพื่อสร้างสมดุลระหว่างประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวม

จุดเริ่มต้นใหม่: สร้างความไว้วางใจภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)

ความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัลคือหัวข้อหลักในการประชุม

คุณทัตสึยะ อิโตะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่น กล่าวว่า จีนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มที่ในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19

คุณโนริฮิโระ ซูซูกิ ระบุว่า แต่ละประเทศเผชิญสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป และเราจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างครอบคลุม เช่น สถาบันและระบบ ในการพูดคุยในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เขาแสดงความคาดหวังว่าญี่ปุ่นและจีนจะสามารถยกระดับความร่วมมือในส่วนนี้

คุณฟาง หานถิง กล่าวย้ำว่า จีนและญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศ ควรพิจารณาอย่างจริงจังเกี่ยวกับการยกระดับความร่วมมือในห่วงโซ่อุตสาหกรรมดิจิทัล เพื่อสร้างความมั่นใจว่าห่วงโซ่อุตสาหกรรมจะไม่หยุดชะงัก ตลอดจนร่วมกันใช้และรักษาไว้ให้เหมือนกับผลิตภัณฑ์สาธารณะ

คุณสวี่ จือยวี่ ประธานฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์สากล บริษัท Huawei Technologies Co., Ltd. เน้นย้ำว่า ความปลอดภัยของเครือข่ายและการปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ คือแนวทางปฏิบัติสูงสุดและรากฐานของธุรกิจเสมอมา โดยตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี บริษัทให้บริการลูกค้าในกว่า 170 ประเทศและดินแดน และไม่เคยได้รับคำร้องขอจากรัฐบาลให้เปิดเผยข้อมูลผู้ใช้ บริษัทจะไม่ทำให้สิทธิ์ของลูกค้าหรือความอยู่รอดของบริษัทตกอยู่ในความเสี่ยง

ผู้เข้าร่วมการประชุมจากทั้งสองฝ่ายได้กล่าวถึง "ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)" ที่เพิ่งมีการลงนามไปเมื่อไม่นานมานี้ โดยเห็นพ้องว่า ท่ามกลางความไม่แน่นอนในกระบวนการพัฒนาระบบดิจิทัลนั้น การลงนามในข้อตกลงนี้จะมอบโอกาสครั้งประวัติศาสตร์ในการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและอุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งความร่วมมือระหว่างจีนและญี่ปุ่นในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีมีแนวโน้มสดใส

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2563 จีนได้ผลักดันโครงการ Global Data Security Initiative ในงานสัมมนาระหว่างประเทศในหัวข้อ "การคว้าโอกาสดิจิทัลเพื่อความร่วมมือและการพัฒนา" โดยคุณฟางได้กล่าวถึงความไม่สมดุลของข้อมูลระหว่างจีนกับญี่ปุ่น โดยย้ำว่าสื่อของสองประเทศควรรายงานข่าวอย่างสมดุลให้ประชาชนได้รับทราบ เพื่อที่จะสร้างรากฐานความไว้วางใจซึ่งกันและกันให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ "เราควรเคารพอธิปไตยดิจิทัลของกันและกัน สร้างความเชื่อใจร่วมกันภายใต้กรอบของยูเอ็น และบูรณาการเศรษฐกิจดิจิทัลระดับภูมิภาคภายใต้กรอบความร่วมมือระดับพหุภาคีอย่างเช่น RCEP"



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม